Skip to main content

 ทัศนะคนในไทยพุทธ“นครปัตตานี”ที่ป้าไก่ยังรับไม่ได้ บทความโดย นวพล ลีนิน

                จากการลงนามระหว่างตัวแทนรัฐไทย กับ ฝ่ายขบวนการ BRN เพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยนำสู่การสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเนื้อข่าวที่ว่า ในวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย เวลา 10.00น. มีพิธีลงนามการแสดงเจตนารมย์ทั่วไปในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ข้อตกลงทั่วไปในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ  ระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ของไทยกับมาเลเซีย และนายฮาซัน ตอยิบ หัวหน้าฝ่ายประสานงานต่างประเทศขบวนการ บีอาร์เอ็น โคออดิเน็ท ผู้รับมอบอำนาจพร้อมแกนนำอีก 5 คน โดยตัวแทนฝ่ายไทยที่ร่วมพิธีประกอบด้วย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ท.สุรวัฒน์ บุตรวงษ์ ผู้แทน  กอ.รมน.  พล.ต.ท.สฤษดิ์ชัย เอนกเวียง ผบช.สันติบาล และผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ขณะที่ตัวแทนประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย  ดาโต๊ะมูฮัมหมัด ทาจูดดิน บินอับดุลวาฮับ เลขาธิการสมาภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซีย พร้อมด้วย รมช.ต่างประเทศมาเลเซีย ผู้บริหารระดับสูงของมาเลเซีย    ซึ่งทางการมาเลเซีย ได้ในเรื่องของสถานที่และประสานงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยต่อไป นั้น "Times New Roman";color:#333333">

 มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทั้งกลุ่มการเมืองที่ตั้งแง่ไม่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ โดยเฉพาะแกนนำฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ฝ่ายที่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้น แสดงความคิดเห็นให้สื่อสาธารณะได้รับทราบว่า ยังมีกลุ่มที่ต้องการทำลายกระบวนการสันติภาพในครั้งนี้ กลายเป็นประเด็นการเมืองไปเสียจนได้ สำหรับผู้คนในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่ต้นมองว่า อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น คือแสงเล็กๆในม่านหมอกแห่งความรุนแรงที่ปกคลุมพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มานับ 10 ปี ในบทเรียนเก่าๆ แม้ความหวังใหม่ที่เกิดขึ้น อาจยังไม่ข้ามพ้นความหวาดระแวงจากเรื่องราวเก่าๆ ดังนั้นผู้คนอีกส่วนหนึ่งคงยังยับหยั่งชั่งใจไม่กล้าตั้งความหวังมากจนเกินไป และการยับยั้งชั่งใจที่ลงจังหวะ  เพราะเมื่อไม่นานนักหลังกระบวนการดังกล่าวเสร็จสิ้น เหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้น

 เสียงสะท้อนจากผู้คนในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ ผู้เกี่ยวข้องในระดับสูงควรรับฟัง และทำความเข้าใจกับผู้คนในพื้นที่ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าผลงานที่จะเกิดขึ้นนั้นช้าเกินไปหรือถูกใครที่ไหนคว้าไปเสียก่อน เพราะอย่างไรชาวบ้านในพื้นที่ทนทุกข์กับสิ่งที่เกิดขึ้นมามากจนชาชินเสียแล้ว ดังนั้นจึงควรใส่ใจกับพื้นที่พูดคุยในระดับล่างให้มากที่สุด เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมมากที่สุด ทฤษฏีทุ่งสะวันน่าในสมมุติฐานที่ว่าเสือสองตัวจับมือกันฝูงแพะจึงตกอยู่ในความลำบาก หากรัฐบาลตกลงกันพัฒนาพื้นที่โดยให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์มากกว่าการสร้างความเข้าใจต่อประชาชน อาจสร้างปัญหาต่อเนื่องที่รุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิม บาดแผลจากความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ผสมรวมกับความขัดแย้งในส่วนกลาง ได้กล่อมเกื้อให้ประชาชนในพื้นที่มีความคิดที่แตกต่างกัน เป็น 2 กลุ่ม  หากพิจารณาตามแนวทางการสร้างสันติภาพแล้ว นั้นคือ กลุ่มที่เลือกสันติภาพโดยยึดพื้นที่สันติสุขไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กับ กลุ่มที่เลือกสันติภาพแบบยั่งยืนโดยหยิบปัญหาใต้ผืนพรมขึ้นมาพูดคุย จึงจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนในพื้นที่ และกลุ่มชาวไทยพุทธในพื้นทีจังหวัดชายแดน เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรรับฟังความคิดเห็น
                ชนกลุ่มน้อยในชนกลุ่มน้อยของสามจังหวัดชายแดนใต้ คือกลุ่มชาวไทยพุทธซึ่งมีประชากรประมาณ 
20%   หรือประมาณ 380,000 คน จากประชากร 1.9 ล้านคนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ตัวเลขประชากรไทยพุทธกับการมีอยู่จริงของชาวไทยพุทธในพื้นที่อาจคลาดเคลื่อนกันอยู่มาก แต่ความเป็นคนในพื้นที่มีความผูกพันทางเครือญาติ หรือความผูกพันทางทรัพย์สิน ชาวไทยพุทธแม้อยู่นอกพื้นที่ ก็ยังให้ความสำคัญต่อความเคลื่อนไหวในพื้นที่ โดยเฉพาะสายสัมพันธ์ของกลุ่มเครือญาติที่สืบสายมาจากยุคที่ข้าราชการจากส่วนกลาง หรือจากภูมิภาคอื่นได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ นับตั้งแต่รัฐสยามปฏิรูปโครงสร้างการปกครองเรื่อยมา

                แน่นอนว่าความยึดโยงในกลุ่มชาวไทยพุทธกับอัตตาลักษณ์ความเป็นชาวสยาม สายสัมพันธ์ต่อกลุ่มอนุรักษ์นิยม บนทัศนะคติที่เกื้อหนุนต่อจุดยืนแห่งความเป็นรัฐชาติที่มั่นคง มีเสถียรภาพ ในความเป็นชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ความเป็นเป็นชนชั้นกลางของคนไทยพุทธในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนารัฐชาติให้เจริญตามแบบนานาอารยประเทศ มากกว่าการพัฒนากระบวนการทางประชาธิปไตยภาคประชาสังคม โดยเฉพาะในช่วงหลังปฏิรูปการเมืองในระยะ 15-20 ปีที่ผ่านมา ตัวแทนทางการเมืองในระดับประเทศที่เป็นชาวไทยพุทธในพื้นที่แทบไม่ปรากฏให้เห็น พลังในการแสดงออกทางการเมืองของชาวไทยพุทธในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูคล้ายอ่อนล้าลงไปพร้อมๆกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งภายในพื้นที่และในระดับประเทศ โดยส่งสัญญาณแห่งความเงียบ “ความเงียบ”ที่เก็บพลังแห่งความอึดอัดใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น หรือเสียงให้สัมภาษณ์ทางภาพข่าวที่แสดงถึงความสิ้นหวังต่อการแก้ไขสถานการณ์ในพื้นที่ บนทางเลือกเดียวที่ว่า “หากเลือกที่จะอยู่ที่นี่ก็ต้องจับปืน”

                คำถามชวนคิดในบรรยากาศที่หวาดกลัว ทำไมชาวไทยพุทธโดยส่วนใหญ่ถึงยังมองไม่เห็นทางเลือกอื่นที่มากกว่าการติดอาวุธ? ความเข้าใจในกระบวนการสันติภาพที่ผ่านมาเปิดพื้นที่ได้มากพอแล้วหรือยัง? ทางเลือกที่สร้างความเข้าใจระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน ในเกราะป้องกันภัยที่ดีกว่า คือชาวบ้านไทยพุทธกับชาวไทยมลายูมุสลิมดูแลซึ่งกันและกัน คำถามในประเด็นนี้คือ อย่างไหนปลอดภัยกว่ากัน?

                ป้าไก่ เพ็ญสุข เสียงเพราะ เป็นครูโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา บ้านเดิมเป็นคนจังหวัดแพร่ มาศึกษาที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ปี 2519 บรรจุเป็นครูที่โรงเรียนรือเสาะชินูปถัมภ์ เคยสัมผัสชีวิตครูในพื้นที่ที่มีกองกำลังพูโลที่มีอุดมการณ์ชัดเจนอยู่ในป่า แม้สถานการณ์ปัจจุบันที่น่ากลัวกว่าเมื่อก่อน แต่ป้าไก่เลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดยะลา เพราะชื่นชอบในอัธยาศัยไมตรีของคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ป่าไก่ทำงานกิจกรรมสังคมในพื้นที่หลายอย่าง เคยได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมาแล้วหลายรางวัล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานในราชการครู งานที่เชื่อมประสานเพื่อรักษาความปลอดภัยในตัวเมืองยะลา และความเป็นครูฝ่ายปกครองที่มีความสัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนในพื้นที่ป้าไก่เป็นคนตรงไปตรงมา พูดคุยโผงผางสนุกเฮฮา ยินดีให้เปิดเผยชื่อจริงตัวจริงในบทความชิ้นนี้

ป้าไก่แสดงทัศนะโดยรวมในฐานะชาวไทยพุทธในพื้นที่ว่า คนไทยพุทธส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดประเด็นเรื่องสถานการณ์ในพื้นที่กันแล้ว เพราะความรู้สึกเบื่อบวกกับความรำคาญกับข่าวที่ได้ยินซ้ำซาก ส่วนหนึ่งคือความรู้สึกผิดหวังต่อการแก้ปัญหาที่ผ่านมา เห็นว่าต่างฝ่ายต่างก็ไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา การปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องหาต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งป้าไก่มองว่าประเด็นการแบ่งแยกดินแดนยังไม่ใช่ประเด็นหลัก หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในสมัยที่ตนเองเป็นครูใหม่ สมัยพูโลยังมีกองกำลังอยู่จริงในป่า ซึ่งโดยส่วนตัวป้าไก่รู้สึกชื่นชมว่ากลุ่มพูโลรุ่นก่อนมีศักดิ์ศรีมากกว่า หากเทียบกับปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ปัญหาที่พัวพันกับการผลประโยชน์ การสร้างฐานอำนาจการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพื้นที่ ต้นเหตุของปัญหาที่ยังดูคลุมเครือกับเครือข่ายยาเสพติด และงบประมาณที่ลงมาในพื้นที่ mso-ascii-font-family:Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:
Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ป้าไก่มองว่าชาวบ้านไทยพุทธส่วนใหญ่ มีความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกับชาวมุสลิมในพื้นที่ แน่นอนว่าความหวาดระแวงจากสถานการณ์ที่ผ่านมา การอยู่ร่วมกันในความแตกต่างค่อนข้างยาก ในขณะที่ชาวมุสลิมพูคุยกันที่มัสยิด แต่คนพุทธเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญกับการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ที่วัดในวันพระ การไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องศาสนาของชาวพุทธก็เป็นจุดอ่อนหนึ่งที่ทำให้พลังของชาวพุทธซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่อยู่แล้ว ยิ่งมีความแตกแยกกันมากขึ้นอีก  โดยต่างคนต่างมุ่งทำงานเลี้ยงชีพของตัวเองมากกว่าเรื่องปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  ตรงจุดนี้ป้าไก่เห็นด้วยที่เปิดให้มีวงเสวนาพูดคุยเยอะๆ ความจริงใจในการแก้ปัญหาของภาครัฐจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ขอร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนึกถึงแนวทางที่ในหลวงได้พระราชทานไว้  “...สงสารในหลวง”เป็นประโยคที่ป้าไก่สะท้อนการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ และกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

                ประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจการปกครอง ป้าไก่ยืนยันชัดเจนว่ายังรับไม่ได้ แม้กระทั่งได้ยินประโยคนี้ก็รู้สึกหดหู่ใจ บนความคิดที่ว่า สามจังหวัดชายแดนภาคใต้น่าจะเป็นพื้นที่ปกติเหมือนภูมิภาคอื่น เหมือนจังหวัดอื่นๆของประเทศไทย   ในทัศนะของป้าไก่หากเขตปกครองพิเศษเกิดขึ้นจริง นั้นหมายถึงความพ่ายแพ้ของอำนาจรัฐ แม้กระทั่งการเจรจาที่ผ่านมา เหตุการณ์ระเบิดก็ยังเกิดขึ้น และกรณีเลือกตั้งผู้ว่า ป้าไก่ไม่เห็นด้วยแม้ในเจตนาดีแต่ความกังวล ว่ามั่นใจได้อย่างไรว่าจะได้คนดี หรือความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นจากการแข่งขันกัน ป้าไก่ฝากทิ้งท้าย ด้วยประโยคที่เรามักได้ยินเสมอๆว่า “หากเป็นไปได้ อยากให้กลับมาเหมือนเดิม  แต่มันคงเป็นไปไม่ได้แล้วล่ะ  เพราะหลายอย่างเปลี่ยนแปรไป วิถีชีวิตก็ไม่เหมือนเดิม แต่ก็อยากให้คนในพื้นที่ไม่ไปหลงใหลกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากนัก ความเจริญที่เกิดขึ้น หลงกับวัตถุนิยมมากเกินไป ถ้าทุกคนเข้าใจก็น่าจะเกิดความสงบในพื้นที่”

ประโยคที่ว่า “อยากให้บ้านเรากลับมาเป็นเหมือนเดิม” เป็นประโยคที่มักได้ยินอยู่เสมอๆ ไม่เฉพาะป้าไก่ ชาวบ้านในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ทั้งพุทธและมุสลิม มักนึกถึงบรรยากาศในอดีตที่แม้มีการสู้รบเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ต่างกัน ในบริบทของความเป็นชุมชนในอดีตที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกัน พื้นที่การสู้รบที่แยกออกไปจากตัวบ้านร้านตลาด วิถีชีวิตที่เรียบง่ายด้วยโครงสร้างการปกครองที่มาจากส่วนกลาง  อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนกระบวนการทางการเมืองได้เปิดพื้นที่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ในการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดด หากเราจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม พื้นที่การพูดคุยจำเป็นต้องเปิดกว้างให้มากขึ้น จากรากเหง้าชาวสยามพุทธอนุรักษ์นิยม กับชาวไทยมลายูมุสลิมผู้ปลุกกระแส ชาตินิยมมลายูและวิถีแห่งอิสลามขึ้นมาเช่นกัน  ทางออกของการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างนี้จะเป็นอย่างไร? หรือจะให้รบกันจนอ่อนล้าไปข้างหนึ่ง? หรือคำตอบอาจอยู่ในเสียงหัวเราะอย่างไม่เข้าใจของผู้คนในรุ่นหลานของพวกเรา เมื่อพวกเขาอ่านเรื่องราวการฆ่าฟันกันของคนในรุ่นพวกเรา. mso-ascii-font-family:Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:
Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">