Skip to main content

บุรฮานุดดีน อุเซ็ง (1*)

 
เกริ่น
 
          นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ตันศรี นายิบ ตุนราซัค ประกาศว่าปี 2009 นี้ ผู้ฝากเงินออมสะสมเพื่อการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์(2*) อยู่ประมาณ 5.1 ล้านคน จะได้รับเงินโบนัส หรือเงินปันผลจากการที่ TABUNG HAJI นำไปลงทุน และมีผลกำไรมีมีผลกำไรจากการประกอบผลจำนวน 17,000,000,000 ล้านริงกิต (RM1.7 billion) คงเหลือกำไรสุทธิ 1.1 พันล้าน หลังจากที่ได้มีการหัก เพื่อชำระซะกาต 2.5 %และค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว เงินปันผลที่ TABUNG HAJI  มีแผนจะคืนกำไรในรูปโบนัส อัตรา 5% จ่ายเข้าบัญชีผู้ฝากโดยตรง    การจ่ายคืนกำไรในรูปโบนัสจะแบ่งออกเป็น 2 งวดจากผลกำไรสุทธิจำนวน 1.1 พันล้านคือ งวดแรกจ่ายเข้าบัญชีผู้ฝากในอัตรา 2.27 % ของวงเงินกำไรจำนวนเงิน 465 ล้านริงกิตในเดือนกันยายน 2009 และงวดที่สองจ่ายเข้าบัญชีผู้ฝากอีกจำนวน เงินอีก 635 ล้านริงกิต อัตรา 2.75 % .ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010(3*)
 
     (1*).ศึกษาและเรียบเรียงจาก เอกสาร IDB Prize Winners Lecture Series No.4 เรื่อง TABUNG HAJI ในฐานะเป็นสถาบันการเงินอิสลาม ที่ระดมทรัพยากรการลงทุนตามวิถีอิสลาม และจัดการอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญ ของ สำนักการวิจัยและการฝึกอบรม IDB เจดดะฮฺ ซาอุดิอาระเบียเป็นหลักในการนำเสนอ และได้นำข้อมูลข่าวสารล่าสุดตลอดจนประสบการณ์ผสมผสานขึ้น
 
(2*) ฮัจญ์” ในบทความนี้เขียนตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้าที่ 969 “ฮัจญ์” น.พิธีปฎิบัติศาสนากิจที่สำคัญในศาสนาอิสลาม ซึ่งจะต้องกระทำที่นครมักกะฮ์ (เมกกะ) ประเทศซาอุดีอาระเบีย ปัจจุบัน เขียนเป็นหัจญ์ ก็มี” ส่วนการเขียน “ฮัจญ์” เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524
 
(3*) Zulkifli Abd Rahman: TABUNG HAJI declares 2.5% bonus payment, Thursday October 1,2009: http://thestar.com.my/news/story.asp/?file=/25009/10/1/nation/48207&sec=nation
 
 ปัจจุบัน TABUNG HAJI  มีสินทรัพย์รวมทั้งสิน 24,000,000,000 ริงกิตมาเลเซีย(RM24 billion :สองหมื่นสี่พันล้านริงกิต)  จากการเริ่มต้นเมื่อครั้งแรก เมื่อมีการก่อตั้งTABUNG HAJI ขึ้น ภายใต้ข้อบัญญัติกฎหมายที่ 8 ว่าด้วยการบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย ปี 1969 และข้อบัญญัติกฎหมาย เอ 168 ว่าด้วยการบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย ฉบับแก้ไขปี 1973 (พ.ศ. 2516) รัฐบาลประเทศมาเลเซียได้เริ่มต้นจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นครั้งแรกเมื่อ 30 ก.ย.1963 (พ.ศ. 2506) เป็นกองทุนด้วยจำนวนเงินเพียง จำนวน 152,000 ริงกิตมาเลเซีย ขณะนั้นมีสมาชิกลงทะเบียนและแสดงความจำนงที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เพียง 1,281 คนและเริ่มมีการฝากเงินสะสมเพื่อการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์และมีการแสดงความจำนงมอบ (aqat Izin)ให้ TABUNG HAJI นำเงินฝากที่มีเพียง 46,600 ริงกิตมาเลเซียนำไปลงทุนหมุนเวียนเพื่อเกิดประโยชน์แล้วนำผลกำไรในรูปโบนัส คืนสมาชิกผู้ฝากเงินออมสะสมปัจเจกบุคคลรายเล็กรายน้อย
 
ประเทศมาเลเซียได้รับการจัดสรรโค้วต้าฮัจญ์จากประเทศซาอุดีอาระเบียประมาณ 26,000 คนเคยประสบปัญหาต่างๆนาๆ นับตั้งแต่ปัญหาการเก็บเงินออมสะสม ด้วยวิธีการตามประเพณีโบราณ ด้วยการเก็บใต้ที่นอน ยัดใส่ในหมอน หรือนำไปเก็บไว้ในไห ในโอ่งแล้วนำไปฝังใต้ดิน บางรายเก็บเงินซื้อทอง ที่ดิน ซื้อปศุสัตว์ ต่างประสบปัญหาเสียหาย ถูกขโมย มูลค่าเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่ต้องการให้เงินออมสะสมดังกล่าวแปดเปื้อนกับสิ่งที่ต้องห้ามฮะรอม เช่นดอกเบี้ยเป็นต้น ได้สร้างปัญหาต่างทางเศรษฐกิจทั้งในเมืองและชนบทในประเทศมาเลเซียอย่างกว้างขวาง
 
          แม้กระนั้นก็ตาม ประเทศมาเลเซียมีสำนักงานกิจการฮัจญ์ (the Pilgrims Affairs Office ที่ทำหน้าที่ในการดูแลอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ แต่ก็ปรากฏว่าผู้แสวงบุญชาวมาเลเซียยังต้องประสบปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ หลอกลวงจากผู้ประกอบการ ปัญหาตกเครื่องไม่ได้เดินทาง ปัญหาผู้ประกอบการรับเงินแล้วแต่ไม่ได้เดินทาง ปัญหาตกเครื่องบิน หรือเดินทางได้ถึงแค่ปีนัง ปัญหาต่างๆที่ประเทศซาอุดี อาระเบีย เช่นปัญหาเรื่องที่พัก การเอารัดเอาเปรียบเรื่องราคาค่าที่พัก ที่พักแออัด ยัดเยียด ที่พักห่างไกลจากมัสยิดฮะรอม ปัญหาการจัดหาอาหารที่ต้องขนเสบียงอาหาร อาหารพื้นเมืองนำไปปรุงในที่พักอาศัยจนมีผลต่อการใช้เวลาในการประกอบศาสนกิจ ทำให้เกิดความไม่สะอาด ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่พัก เป็นต้น
           
            ด้วยความตระหนักและสำนึกในสภาพหรือชะตากรรมของผู้ที่ได้รับสถานะภาพ เป็นแขกของอัลลอฮฺ จึงมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการก่อตั้งสถาบันการออมเงิน ดำเนินการภายใต้กรอบและหลักการชารีอะฮฺอิสลาม ซึ่งราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ อุงกู อับดุลอาซิส (Royal Professor Ungku Abdul Aziz) ผู้หนึ่งที่ได้พิจารณาเห็นถึงความจำเป็นของชาวมุสลิม ที่จะต้องค่อยๆเก็บเงินเล็กสะสมน้อยใช้เวลาเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ จึงนำเสนอรัฐบาลเพื่อ  ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินที่ปลอดดอกเบี้ยและรวบรวมนำเงินดังกล่าวไปลงทุนเพื่อแสวงหากำไรภายใต้หลักการพื้นฐานอิสลาม ด้วยหลักการที่ว่า “ผู้แสวงบุญต้องเก็บเงินสะสมกับสถาบันการเงินที่ปลอดดอกเบี้ย แต่ต้องมีผลกำไรตอบแทน” และเป็นผลที่มาของการเริ่มต้นของการจัดตั้ง TABUNG HAJI และดำเนินการจนถึงวันนี้ผู้แสวงบุญชาวมาเลเซีย เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ได้อย่างสมเกียรติและได้รับการปฏิบัติสมฐานะ ด้วยค่าใช้จ่ายด้วยเงินจำนวนน้อยกว่าเพราะการอำนวยความสะดวกของTABUNG HAJI ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรแถมยังได้รับเงินคืนตอบแทน รวมทั้งการได้รับเงินโบนัสคืนอีกเป็นประจำทุกปี ตลอดจนการตั้งเป้าหมายต่อผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์เมื่อกลับมาตุภูมิแล้วพร้อมๆกันได้รับฮัจญ์มับรูรแล้ว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง กายและใจ การปฏิบัติตน ตลอดจนทัศนะคติ และจิตวิญญาณ แก่ผู้แสวงบุญ ด้วย
 
แต่หากย้อนมองกลับกระบวนการบริหารจัดการกิจการฮัจญ์ในประเทศไทย วันนี้ผู้แสวงบุญชาวไทยก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างคล้ายๆกับผู้แสวงบุญชาวมาเลเซียเมื่อ 51 ปีก่อนเช่นในอดีต ผู้ที่มีความประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ชาวไทยจะต้องเข้าสู่กระบวนการที่ดำเนินการโดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เช่นห้างหุ้นส่วน บริษัท แต่ห้ามหน่วยราชการหรือองค์กรของรัฐดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการฮัจญ์เอกชนต้องจดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการฮัจญ์กับสำนักเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทยเท่านั้น  กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ที่มีฐานะแค่เพียงเลขาธิการ ที่มีเจ้าหน้าจากกองศาสนูปถัมภ์ เพียง 4 - 5 คน และคัดเลือกจากพนักงาน ข้าราชการกระทรวงต่างๆแต่ละปีไปทำหน้าที่ในการปฏิบัติการอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญ  ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ด้วยสภาพที่ได้รับรู้ การสัมผัสการดำเนินการจากประเทศเพื่อนบ้านและจากพบเห็น และการได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การไปมาหาสู่ในระหว่าง ผู้แสวงบุญชาวไทย และชาวมาเลเซีย จึงได้ทราบข้อมูลข่าวสารและได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ ที่พักอาศัย การอำนวยความสะดวก การดูแล ตลอดจนราคาค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระให้กับผู้ประกอบ การ จึงมีกระแสเรียกร้องในหมู่ชาวไทยมุสลิมให้มีการพิจารณานำรูปแบบการบริหารกิจการฮัจญ์ โดย เฉพาะองค์การ TABUNG HAJI ประเทศมาเลเซีย มาปรับใช้กับคนไทยบ้าง และเริ่มถี่ขึ้น เริ่มต้นจาก เจ้าหน้าที่กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ในยุคผู้อำนวยการ ศอ.บต. นายชิต นิลพานิชย์ ได้มีนำเสนอและขออนุมัติเดินทางศึกษาดูงานTABUNG HAJI ประเทศมาเลเซีย

           ในด้านการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร กลุ่มวะฮฺดะฮ นำโดย ฯพณฯ วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ในฐานะเคยเป็นอมีรรุลฮัจญ์  ขณะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา, นายเด่น โต๊ะมีนา นำคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร , สมาชิกวุฒิสภา , นักวิชาการ นักกฎหมาย ฯลฯ ไปศึกษาดูงานกิจการศาสนาอิสลาม ประเทศมาเลเซีย ,อินโดนีเซีย สิงค์โปร ฟิลิปปินส์และศรีลังกา ฯลฯ โดยเฉพาะการบริหารกิจการฮัจญ์ และได้ดูงานที่สำนักงานใหญ่ Tabung Haji ที่ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ.2540 และในปี พ.ศ.2544 ตามลำดับ

 
            ครั้งล่าสุด(พ.ศ.2553) ผู้เขียนมีโอกาสร่วมเดินทางดูงานTABUNG HAJIอีกครั้งกับ คณะกรรมา   ธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติการบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎร นำโดยรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย นายถาวร เสนเนียม และนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผอ.ศอ.บต. พร้อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชายแดนภาคใต้นักวิชาการ นักกฎหมาย เดินทางไปไปดูงาน TABUNG HAJI  อีกครั้ง เพื่อจะใข้เป็นข้อมูลในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สงเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.....อีกครั้ง เจ้าหน้าที่TABUNG HAJI ที่มีความคุ้นเคยกล่าวกับผู้เขียนเชิงกระเซ้าว่า “ไม่แน่ใจว่าจะมีการมาศึกษาดูงานอีกกี่ครั้ง จึงจะเกิด TABUNG HAJI ในประเทศไทย สักที่” ผู้เขียนก็ได้แค่กล่าวว่า....อินซาอัลลอฮฺ
 
บทความนี้จึงเป็นผลจากการศึกษาจากเอกสารข้อมูลข่าวสารตลอดจนการนำประสบการณ์ในฐานะเคยเป็นผู้ปฎิบัติงานในการอำนวยความสะดวก และเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทยและเคยนำเสนอผลักดันให้มี “ตำแหน่งกงสุลฝ่ายกิจการฮัจญ์” ผ่านหน่วยงานต่างๆและประสบความสำเร็จเป็นมติคณะรัฐมนตรี ด้วยการเสนอผ่านสภาเสริมสร้างสันติสุข ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ และ พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ศึกษาและสร้างความเข้าใจในถึงโครงสร้าง ผลงาน ประสบการณ์ในการบริหารจัดการการนำทุนที่เกิดจากเงินฝากสะสมรายเล็กรายน้อยไปสู่การลงทุนที่มีผลมากมาย ตลอดจนผลสำเร็จการปฏิบัติการการอำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญด้วยประสิทธิภาพ ประหยัดเกิดผลสูงสุดต่อผู้แสวงบุญและมีผลต่อประเทศชาติยิ่งสืบไป

 

ตารางแสดงถึงสมรรถนะด้านการเงินการคลัง ของ Tabung Haji และ
อัตราการขยายตัวเงินออมฝากสะสมเพื่อฮัจญ์เพิ่มเกือบหมื่นล้านเหรียญในรอบ 5 ปี
 
 
 
แผนภูมิแสดงแยกประเภทผลกำไรสุทธิการดำเนินการ ปีละ 1.100.000.000 เหรียญ (RM1.1 bil)
 
 
 
 
บทนำ
 
 
Islamic Researce and Training Institute, ISLAMIC DEVELOPMENT BANK (IDB) จัดทำเอกสาร
 หนังสือ เกี่ยวกับ TABUNG HAJI  เผยแพร่ ในคราวสถาบันฯมอบรางวัล IDB Prize Winners ปี 1410 H
 
                   ดร.โอมาร์ ซาเฮร ฮาฟิส รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและการฝึกอบรม Islamic Researce and Training Institute, ธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา ISLAMIC DEVELOPMENT BANK (IDB) กล่าวประกาศเกียรติคุณ ในโอกาสที่ สถาบันฯมอบรางวัล IDB Prize Winners แก่ TABUNG HAJI  ว่า.........”.เมื่อได้คำนึงและพิจารณาถึงบทบาทอันสำคัญของ TABUNG HAJI  ในการดำเนินการบริหารเงินกองทุนภายใต้กรอบหลักการศาสนาอิสลาม สนองเป้าประสงค์ที่จะให้การประกอบศาสนากิจการบำเพ็ญบุญในพิธีฮัจญ์ ได้อย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ โดย TABUNG HAJI ได้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ในการวางแผน เพื่อเกิดพลังการกระตุ้นให้ชาวมุสลิมได้มีแรงจูงใจในการสะสมเงินออมในอันที่จะนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย TABUNG HAJI ได้นำเงินออมจากการสะสมเงินออมของปัจเจกชนรายเล็กๆรวมกันเป็นกองทุนไปดำเนินการในการลงทุน ให้เกิดประสิทธิภาพ และนำสู่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การค้า การเกษตรกรรม และอสังหาริมทรัพย์ (Real estate) ภายใต้กรอบและสอดคล้องกับหลักการกฎมายชารีอะฮฺอิสลาม มิใช่แค่เพียงวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้บริการแก่ปัจเจกชนผู้ฝากเงินสะสมเท่านั้น แต่การดำเนินการที่นำสู่การลงทุนขนาดใหญ่ โดยใช้เทคนิคการลงทุนที่ซับซ้อนและสอดคล้องกับหลักการกฎหมายชารีอะฮฺอิสลามซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจสังคมประเทศมาเลเซียอีกด้วย”………
 
ปี 1410H ธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา ISLAMIC DEVELOPMENT BANK (IDB) มอบรางวัลยกย่อง TABUNG HAJI ในฐานะเป็นสถาบันการเงินอิสลามหนึ่ง ที่มีการระดมทรัพยากรการลงทุนตามวิถีอิสลามและจัดการอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญ “TABUNG HAJI AS AN ISLAMIC FINANCIAL INSTITUTION THE MOBILIZATION OF INVESTMENT RESOURCES IN AN ISLAMIC WAY AND THE MANAGEMENT OF HAJJ   และสำนักการวิจัยและการฝึกอบรม Islamic Research and Training Institute แห่งธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา ISLAMIC DEVELOPMENT BANK (IDB) ได้จัดทำเอกสารชื่อ IDB Prize Winners Lecture Series No.4 เผยแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแบบอย่างที่ดีและเป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเผยแพร่แก่ประเทศมุสลิมและประเทศอื่นๆ เพื่อที่จะได้มรการนำแนวทางการจัดการเกี่ยวกับการเงินการคลัง การอำนวยความสะดวกการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ในฐานะแขกของอัลลอฮฺ และมีผลก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติยิ่งสืบไป

 

 

Tabung Haji กองทุนเพื่อกิจการฮัจญ์
 
1. สำนักงานบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย หรือ LEBAGA URUSAN DAN TABUNG HAJI ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “TABUNG HAJI” ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยการวางแผนโครงการทางเศรษฐกิจระบบหนึ่ง ภายใต้กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจในบริบทของประเทศมาเลเซีย โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการให้บริการเงินออม การสะสมเงินที่ปลอดดอกเบี้ย และมียุทธศาสตร์หลักด้วยการใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินออมสะสมของปัจเจกชนมุสลิมรายย่อย และเป็นการหลีกเลี่ยงการที่เงินออมกระจายปลีกย่อยเป็นเบี้ยหัวแตก ซึ่งมีผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจในชนบท  ในเมืองตลอดจนเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศมาเลเซีย
 
การบริการการออมเงิน เพื่อสะสมเงินที่จะใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ต้องเป็นเงินที่ปราศจากการแปดเปื้อนดอกเบี้ย เพื่อที่จะเป็นการช่วยให้การประกอบศาสนกิจในพิธีฮัจญ์ของมุสลิม ซึ่งเป็นศาสนาบัญญัติที่บังคับแก่มุสลิมทุกคนที่มีความสามารถจะต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนึ่งครั้งในชีวิต มีความสมบูรณ์สมประสงค์และหวังอัลลอฮฺ ทรงตอบรับศาสนกิจฮัจญ์และไม่เป็นการบันทอนสถานะทำให้ประสบปัญหาเพิ่มความยากจนยิ่งขึ้น
 
2. พร้อมๆกับการประกอบศาสนกิจฮัจญ์ แล้วก็ยังเป็นการเปิดโอกาสให้มุสลิมทุกระดับชั้นได้มีโอกาส และสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนการสร้างสรรค์เศรษฐกิจของชาติอีกทางหนึ่ง
 
3. TABUNG HAJI ประสบความสำเร็จในการขยายการดำเนินการการลงทุนทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน เช่น ภาคการพานิชกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้และผลกำไรที่เกิดจากการในไปลงทุนสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตาม นโยบายเศรษฐกิจใหม่ ของรัฐบาลมาเลเซีย (The New Economic Policy)
 
พันธกิจ TABUNG HAJI
 
 
          1.อำนวยความสะดวกและการบริการที่ดีที่สุดแก่ผู้แสวงบุญในการประกอบพิธีฮัจญ์    
2.คืนกำไรแก่การออมเงินสะสมของผู้แสวงบุญอย่างสูงสด
 
 
วัตถุระสงค์ TABUNG HAJI
 
          1.เพื่อให้ชาวมุสลิมมีโอกาสค่อยๆสะสมเงินออม เพื่อนำไปใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ในพิธีฮัจญ์ หรือประโยชน์อื่นๆที่เป็นประโยชน์
            2.เพื่อให้ชาวมุสลิมมีโอกาสใช้เงินสะสมในการมีส่วนร่วมในการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ภาคพานิชกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้หลักการศาสนาอิสลาม
            3.เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก สวัสดิการและการคุ้มครอง ชาวมุสลิมผู้แสวงบุญ ด้วยการบริการและอำนวยความสะดวกจากTABUNG HAJI
 
วิวัฒนาการและความเป็นมาของ TABUNG HAJI 

 

          1. ได้มีการศึกษา วิจัยสังเกตการณ์นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมาพบว่า “ในอดีต โดยเฉพาะชาวชนบท สังคมมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ยังไม่มีระบบ หรือมาตรฐานในการบริหารการจัดการเกี่ยวกับการเงิน หรือการจัดเก็บสะสมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ และพบว่าบางส่วนมีความวิตกกังวลว่าเงินที่จะใช่จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์นั้นจะไม่เป็นเงินบริสุทธิ์ แปดเปื้อนปนกับเงินไม่บริสุทธิ์เช่น เงินดอกเบี้ย หรือพัวพันกับสิ่งที่เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักการชารีอะฮฺ ซึ่งเป็นเงินฮะราม   จึงเกิดธรรมเนียมตามแบบโบราณถือปฏิบัติในการเก็บออมหรือเก็บเงินสะสมเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเก็บเงินด้วยการยัดเงินสะสมในกระบอกไม้ใผ่ ยัดใส่หมอน ซ่อนใต้เบาะที่นอน บรรจุลงไห หรือโอ่งแล้วนำไปฝังใต้ดิน หรือมีวิธีเพื่อความปลอดภัยกว่านั้น บางรายก็ใช้วิธีการซื้อที่ดิน ทองคำ หรือปศุสัตว์ เช่นวัว ควาย ที่สามารถขายได้อย่างง่ายดายและสะดวกเมื่อจำเป็นต้องการใช้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังดินแดนฮะรอม แต่นับว่าเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงในแง่ความมั่นคง ปลอดภัย ตลอดจนมูลค่าที่อาจเปลี่ยนแปลงตามสภาวะ ความเปลี่ยนแปลงเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชาติ
 
            2.ด้วยเหตุผลความเชื่อที่ว่าการเก็บเงินตามธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น แน่นอนที่สุด ต้องเป็นเงินที่ปราศจากการแปดเปื้อนกับเงินไม่บริสุทธิ์ไม่พัวพันกับเงินฮะราม หรือถูกเจือปนและเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยหรือสิ่งต้องห้ามตามหลักการชารีอะฮฺ และถือเป็นเงินที่บริสุทธิ์ในการใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการแสวงบุญ พิธีฮัจญ์
 
            3.อย่างไรก็ตาม วิธีการเก็บเงินสะสมตามธรรมเนียมประเพณีดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบและการสร้างความเสียหายแก่ภาคเศรษฐกิจทั้งในเมือง และชนบทของประเทศมาเลเซีย จากผลที่เกิดขึ้นจากวิธีการดังกล่าวทำให้ผู้แสวงบุญที่เดินทางกลับจากการไปประกอบพิธีฮัจญ์ จะประสบปัญหาความยุ่งยากภายหลัง เช่น บางรายขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อเดินทางแล้วกลับสร้างปัญหาในเรื่องการดูแล ค่าใช้จ่ายของครอบครัวในระหว่างก่อนการเดินทางกลับภูมิลำเนา บางรายขายทรัพย์สินของตนจนหมดสิ้น เพราะมีความตั้งใจ ตั้งความหวังว่าตนจะไปเสียชีวิตในดินแดนฮะรอม แต่เมื่อไม่ได้เสียชีวิตตามที่คาดหวังสมความตั้งใจ ก็ต้องกลับมาเผชิญกับปัญหาต่างๆ นานาที่แสนสาหัสยิ่งกว่า หลังจากกลับมาตุภูมิ
 
            4.หนึ่งในข้อเสนอการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น คือการก่อตั้งสถาบันการออมเงิน ดำเนินการภายใต้กรอบและหลักการกฎหมายชารีอะฮฺอิสลาม แผนการตามโครงการจัดตั้งสถาบันการออมเงินถูกเสนอโดย ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ อุงกู อับดุลอาซิส (Royal Professor Ungku Abdul Aziz) ผู้หนึ่งที่มีความตระหนักถึงความจำเป็นของชาวมุสลิม ที่จะต้องค่อยๆเก็บเงินเล็ก สะสมน้อยใช้เวลาเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ตามเอกสารรายงานเรื่อง “แผนพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้แสวงบุญ” (A Plan to Improve the Economic Position of Potential Pilgrims) ถูกนำเสนอรัฐบาลในปี 1959 ( พ.ศ.2502)  เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล ด้วยการจัดตั้งสถาบันการเงินที่ปลอดดอกเบี้ยและแสวงหากำไรภายใต้หลักการพื้นฐานอิสลาม มีข้อความในรายงานตอนหนึ่งระบุว่า “ผู้แสวงบุญต้องเก็บเงินสะสมกับสถาบันการเงินที่ปลอดดอกเบี้ย สถาบันการเงินนั้นต้องมีผลกำไรตอบแทนแก่ผู้ฝาก” จากข้อเสนอดังกล่าวเป็นผลให้มีการเริ่มต้นของการจัดตั้ง “วิสาหกิจการเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจญ์มาลายันมุสลิม (The Malayan Muslim Pilgrims Saving Corporation) ที่ทำหน้าที่เพียงเก็บเงินออมฝากสะสมของผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญเพียงอย่างเดียว
 
การก่อตั้ง LEMBAGA URUSAN TABUNG HAJI
 
          1.เอกสารแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดองค์กรและภารกิจของ  TABUNG HAJI   ได้ถูกนำเสนอต่อ ท่านชีค มะฮมูด อัล ชะฮฺลตุต (Sheikh Mahmoud Al – Shahltut ) อธิการบดี มหาวิทยาลัย อัลอัซฮัร กรุงไคโร ระหว่างเดินทางมาเยือนประเทศมาเลเซียในปี 1962 (พ.ศ.2512) หลังจากที่ได้มีการศึกษารายงานดังกล่าว ท่านได้ให้ความเชื่อมั่นว่า รายงานข้อเสนอดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการกฎหมายชารีอะฮฺอิสลามแต่อย่างใด
 
2.ในเดือนสิงหาคม ปี1962 (พ.ศ.2505) “วิสาหกิจการเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจญ์มาลายันมุสลิม (The Malayan Muslim Pilgrims Saving Corporation)ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการและเริ่มเปิดให้การบริการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1963 (พ.ศ.2506) และอีก 6 ปีต่อมาในปี   1969 ( พ.ศ.2512) “วิสาหกิจการเงินฝากสะสมเพื่อกิจการฮัจญ์มาลายันมุสลิม ถูกควบรวมกับ สำนักงานกิจการฮัจญ์ (the Pilgrims Affairs Office) ซึ่งมีการก่อตั้งและดำเนินงานนับตั้งแต่ปี 1951 ( พ.ศ. 2494) ที่รัฐปีนัง จึงทำให้มีองค์กรหนึ่งเกิดขึ้นภายใต้ชื่อ “สำนักงานบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย หรือ LEBAGA URUSAN DAN TABUNG HAJI” ภายใต้ข้อบัญญัติกฎหมายที่ 8 การบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย ปี 1969 และข้อบัญญัติกฎหมายที่เอ 168 การบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย ฉบับแก้ไขปี 1973 (พ.ศ. 2516)
3. สำนักงานบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย TABUNG HAJI ตามกฎหมายข้อบัญญัติกฎหมายที่ 8 การบริหารและกองทุนกิจการฮัจญ์แห่งประเทศมาเลเซีย ปี 1969 นับเป็นองค์กรแห่งเดียวในโลกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการและสนองความต้องการของมุสลิมในประเทศมาเลเซียในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ด้วยกระบวนการการออมเงินสะสมเงินและการลงทุนที่ไม่ขัดหลักการกฎหมายชารีอะฮฺอิสลาม TABUNG HAJI ยังรับผิดชอบในการบริหารเงินกองทุนที่ได้มาจากการผู้ฝากเงินออมสะสมและนำไปดำเนิน การทางธุรกรรมและการลงทุน ดังนั้น TABUNG HAJI จึงเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการโครงการต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ การพานิชกรรม อุตสาหกรรม การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์การเกสรกรรมจวบจนถึงปัจจุบัน
จึงนับได้ว่า TABUNG HAJI เป็นสถาบันการเงินการคลังที่เข้มแข็งที่สุดสถาบันหนึ่ง
 
ผังโครงสร้างการจัดองค์กร และภารกิจ ภารกิจ และหน้าที่ ใน TABUNG HAJI

 

โครงสร้างการจัดองค์กร และภารกิจ ภารกิจ และหน้าที่ ใน TABUNG HAJI
 
1.      กรรมการอำนวยการ Board of Directors มีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล การดำเนินงานของTABUNG HAJI ในรูปของคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย
 
1) ประธานคณะกรรมการอำนวยการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดย พระราชาธิบดี (Yang Di Pertuan Agong)
2) รองประธานคณะกรรมการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งโดยพระราชาธิบดี (Yang Di Pertuan Agong)
3) ผู้แทน สำนักนายกรัฐมนตรี
4) ผู้แทนกระทรวงการคลัง
5) ผู้อำนวยการทั่วไป
6) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนแตงตั้งโดยรัฐมนตรี และ
7) ผู้แทนกระทรวงว่าการสาธารณสุข (โดยการทาบทาม)
 
กรรมการอื่นอีกที่มิใช่เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง โดยไดรับการแต่งตั้งหรือด้วยการเสนอชื่อมุสลิมคนหนึ่งเป็นกรรมการบริหารกองทุน และกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่จะให้การดูแลการอำนวยความสะดวกและสวัสดิการผู้แสวงบุญ ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงานที่เกี่ยวข้องและหน้าที่อื่นๆที่อยู่ภายใต้กฎหมายการอำนวยความสะดวกและกรรมการกองทุน
 
เพื่อให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงในภารกิจ คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่ที่จะต้องรับฟังคำแนะนำจากสภาที่ปรึกษาด้านการเงินการคลัง และสภาที่ปรึกษาการอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ ซึ่งทั้งสองสภาถูกกำหนดตามความในข้อบัญญัติกฎหมายฯ
 
 ตาราง แสดงการบริหารเงินกองทุนในการลงทุนภาคธุรกิจของ Tabung Haji ประจำปี 2009
 

ลำดับ
รายการการลงทุน Investment
RM million
Percentage %
1.
ลงทุนในหุ้น
3,696.18
32.36
2.
ลงทุนบริษัทที่มีรายชื่อในตลาดหลักทรัพย์
877.73
7.68
3.
บริษัทในเครือ
410.05
3.59
4.
บริษัทเงินทุนในเครือ
1,284.96
11.25
5.
ลงทุนในหุ้น
1,671.08
14.63
6.
ลงทุนตามระบบมุฎอรอบะฮฺ
1,644.19
14.39
7.
ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
1,839.30
16.10
 
รวมจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้น
11,423.49
100
ตาราง แสดงผลกำไรจากการลงทุนภาคธุรกิจของ Tabung Haji ประจำปี 2009

ลำดับ
กำไรจากการลงทุน Income
RM million
Percentage %
1.
กำไรจากหุ้ส่วนการค้า
131.32
18.94
2.
การลงทุนเงินสดและกำไรจากมุฏอรอบะฮฺ
139.32
20.10
3.
เงินปันผลจากหุ้น
201.06
29.00
4.
กำไรจากการเช่า อาคารสำนักงานฯลฯ
39.85
5.75
5.
กำไรจากบริษัทในเครือ
118.49
17.09
6.
กำไรจากการขายทรัพย์สิน
38.57
5.56
7.
อื่นๆ
26.64
3.56
8.
รวมจำนวนเงินกำไรทั้งสิ้น
639.25
100
 
2.      สภาที่ปรึกษาด้านการเงินการคลัง Financial Advisory Council
 
สภาที่ปรึกษาด้านการเงินการคลัง เป็นหน้าที่ที่ถูกกำหนดตามข้อบัญญัติกฎหมาย มีวัตถุ ประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือคณะกรรมการอำนวยการ สภาที่ปรึกษาประกอบด้วย
 
1) ผู้อำนวยการทั่วไป
2) ผู้อำนวยการกองคลังและ
3) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี
 
สภาที่ปรึกษาด้านการเงินการคลังมีภารกิจต้องประชุมทุก ๆ ระยะเวลา 3 เดือนต่อครั้งเพื่อนำเสนอรายงานและการให้คำแนะนำอย่างรอบคอบต่อคณะกรรมการอำนวยการ
 
3.สภาที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการกิจการฮัจญ์ Hajj Operations Advisory Council
 
สภาที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการกิจการฮัจญ์เป็นหน้าที่ที่ถูกกำหนดตามข้อบัญญัติกฎหมายมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือคณะกรรมการอำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
 
1) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกและสวัสดิการผู้แสวงบุญ
2) ให้คำปรึกษาหารือแก่รัฐมนตรี ในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
สภาที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการกิจการฮัจญ์ ประกอบด้วย
 
1) ประธานคณะกรรมการอำนวยการ และมีตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษา อีกตำแหน่ง
2) ผู้แทน สำนักนายกรัฐมนตรี
3) ผู้แทนกระทรวงการคลัง
4) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ
5) ผู้อำนวยการทั่วไป ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภาฯ
6) ผู้แทนจากรัฐต่างๆ ประเทศมาเลเซีย
 
สภาที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการกิจการฮัจญ์ มีภารกิจต้องประชุมอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง
 
4. คณะกรรมการด้านการเงินการคลัง Finance Committee
 
คณะกรรมการด้านการเงินการคลัง มีอำนาจหน้าที่ ตามที่คณะกรรมการ มอบหมายและมีหน้าที่รับผิดในด้านการบริหารงานและการลงทุนเงินกองทุน
 
คณะกรรมการด้านการเงินการคลังประกอบด้วย
 
1) ผู้อำนวยการทั่วไป เป็นประธาน
2) ผู้อำนวยการคณะกรรมการด้านการเงินการคลัง เป็นเลขานุการ
3) ผู้แทน สำนักนายกรัฐมนตรี
4) ผู้แทนกระทรวงการคลัง และ
5) ผู้ทรงคุณวุฒิ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ จำนวนหนึ่งคน
 
5. คณะกรรมการด้านการอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ Welfare Committee
 
คณะกรรมการด้านกรอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการ การปกป้อง ควบคุม ตลอดจนการดูแลในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้แสวงบุญ ให้เป็นไปตามนโยบายการอำนวยความสะดวกที่คณะกรรมการกำหนด
 
คณะกรรมการด้านการอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญประกอบด้วย
1) ผู้อำนวยการทั่วไป เป็นประธาน
2) ผู้อำนวยการคณะกรรมการด้านการอำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญ เป็นเลขานุการ
3) ผู้แทน สำนักนายกรัฐมนตรีและ
4) ผู้ทรงคุณวุฒิ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ จำนวนหนึ่งคน
 
โปรดติดตามตอนที่2
ประสบการณ์ผลสำเร็จของการดำเนินงาน ของ TABUNG HAJI ในประเทศมาเลเซีย