Skip to main content
 บุรฮานุดดีน อุเซ็ง
แปลและเรียบเรียง*1
 
 
 
 
          ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป European Union(*2) มีประชากรเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 15 ล้านคนและจากการวิเคราะห์และคาดการณ์ว่าทิศทางของการขยายตัวของประชากรมุสลิมที่จะอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในยุโรปตะวันตกในอีก 10 ปีข้างหน้าคือ พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2120) จะมีตัวเลขสูงถึง 30 ล้านคน
 
          ปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่ของมุสลิมที่อาศัยอยู่ในยุโรป เป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากย้อนยุคนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เป็นต้นมา ช่วงที่คลื่นมุสลิมหลังไหลอพยพเข้าสู่ยุโรป มาในรูปของกรรมกรคนงานเป็นจำนวนมาก การเข้ามาเสี่ยงโชคเพื่อหางานทำในตะวันตกเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2443 (ค.ศ.1900) มีมุสลิมเข้ามาอาศัยในยุโรปประมาณ 50,000 คนเศษและกระจัดกระจายอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆแถบยุโรปตะวันตก
------------------------------------------------   
 
(*1.) แปลและเรียบเรียง จากเอกสารเรื่อง Migration To The West :a case study of Islam in Great Britain ซึ่ง Dr.Muhammad Manazir Ahsan ผู้อำนวยการมูลนิธิ Islamic Foundation เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นผู้นำเสนอที่ประชุม สันนิบาติโลกมุสลิม เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ณ เมืองมักกะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย มีตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วประชุม 3 ท่านคือ ท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา, ดร.อิสมาแอล ลุตฟี จะปะกียา และนายวิรัช มินทราศักดิ์ เอกสารนี้ได้เผยแพร่ลงติพิมพ์ในวารสาร The Muslim World League Journal Vol.38 No2 – 3 ฉบับประจำ เดือน กุมภาพันธ์ 2010 –มีนคม 2010
 
            วัตถุประสงค์ ในการเผยแพรเอกสารนี้เพื่อใช้เป็นบทเรียน แนวทางในการปฏิบัติระหว่างรัฐกับประชากรที่มีลักษณะของการปฏิบัติกันในประเทศที่เป็นต้นแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ใช้หลักการปกครองโดยคนข้างมากและเคารพสิทธิของคนส่วนน้อย The majority Rules Minority rights การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคในการปฏิบัติตามความเชื่อ สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติ การสงเคราะห์สนับสนุน เป็นบทเรียนการต่อสู้แบบสันติ อหิงสา อดทนอดกลั้น ภายใต้ความสามัคคี สมานฉันท์ของพลเมืองในประเทศ
 
(*2) สหภาพยุโรป European Union EU มีสมาชิกถาวร 27 ประเทศ ได้แก่ 1.เบลเยียม 2.ฝรั่งเศส 3.เยอรมนี 4.อิตาลี 5.ลักเซมเบิร์ก 6.เนเธอร์แลนด์ 7.เดนมาร์ก 8.ไอร์แลนด์ 9.สหราชอาณาจักร 10.กรีซ 11.โปรตุเกส 12.สเปน 13.ออสเตรีย 14. ฟินแลนด์ 15.สวีเดน 16.ไซปรัส 17.เอสโตเนีย 18.ฮังการี 19.ลัตเวีย 20ลิทัวเนีย 21.โปแลนด์ 22.สโลวาเกีย 23.มอลตา 24.สโลวีเนีย 25.สาธารณรัฐเช็ก 26.โรมาเนีย และ 27.บัลกาเรีย
 
       ประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิก 28.โครเอเชีย 29.ตุรกี :(ตุรกีเป็นสมาชิกสมทบของ EEC ตั้งแต่ปี 2506 และสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อปี 2520 สหภาพยุโรปเพิ่งเปิดการเจรจากับตุรกี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2548 หากสำเร็จ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกีต้องใช้เวลาถึง 10 ปี), 30.มาซิโดเนีย.
 
       ประเทศที่กำลังจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกในอนาคต: 31.เซอร์เบีย 32.มอนเตนีโกร 33.บอสเนีย 34.แอลเบเนีย
         
          ยุคแรกๆที่มุสลิมเริ่มต้นเข้ามาพัวพันในดินแดนตะวันตก คือในยุคกลางทางประวัติศาสตร์ยุค สงครามครูเสด เมื่อมุสลิมพิชิตตะวันตกและมีชัยเข้าครอบครองสเปน ซิซิลี และในยุคอาณาจักรอ๊อตโตมาน (The Ottoman Empire) แต่ในยุคนั้นไมมีการบันทึกตัวเลขแน่นอนเกี่ยวกับจำนวนประชากรมุสลิมในยุโรปตะวันตก
 
          เรามาพิจารณาตัวเลขประชากรมุสลิมปัจจุบัน ที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆแถบยุโรปตะวันตกดังนี้
 
          ประเทศออสเตรีย มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 400,000 คนเศษคิด เป็นอัตราส่วนร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ ศาสนาอิสลามนับเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ รองลงมาจากจำนวนผู้นับถือศาสนาคริส นิกาย โรมัน แคธอลิค และ คริสเตียน นิกายโปรเตสแตนต์ เชิร์ส
         
          ย้อนหลังในปี พ.ศ.2417 (ค.ศ. 1874) รัฐบาลออสเตรียก็ได้มีการรับรองสถาน ภาพศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการ และให้เสรีภาพขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตามความเชื่อ การนับถือศาสนาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน มุสลิมในประเทศออสเตรียได้ร่วมกันจัดตั้ง ชุมชนผู้นับถือศาสนาอิสลามในออสเตรีย (the Islamic Religious Community in Austria :IRCA )  จดทะเบียนถูกต้องอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2522(ค.ศ.1979)
 
          สถานภาพของมุสลิม ปรากฏชัดเจนเมิ่อต้องเผชิญหน้ากับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างอาณาจักรสุลต่าน แห่ง อ๊อตโตมานร่วมศตวรรษ  การอพยพย้ายถิ่นฐานของมุสลิมจากบอลข่าน และตุรกี เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มจำนวนประชากรมุสลิม ส่วนใหญ่แล้วมุสลิมในออสเตรียเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจาก ประเทศตุรกี, บอสเนีย–เฮอร์เซโกเวีย, โคโซโวและ อัลบาเนีย ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่อพยพมาจากประเทศอิหร่านและ อียิปต์
 
          ประเทศเบลเยี่ยม มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 400,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 4 ของประชากรทั้งประเทศ หากแยกแยะมุสลิมที่อาศัยในเบลเยี่ยมตามลักษณะเชื่อชาติแล้ว ว่าส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายโมร็อคโก และตุรกี มีมุสลิมจากแอลจีเรีย และตูนีเซีย ปะปนอยู่ ส่วนใหญ่แล้วอพยพเข้ามาเพื่อขายแรงงานเป็นกรรมกรในพื้นที่อุตสาหกรรม รอบๆเมืองใหญ่
 
          ประเทศเดนมาร์ก มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 270,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ มุสลิมส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพมาจากประเทศตุรกี ,บอสเนีย, และโซมาเลีย, มีชาวอพยพเชื้อสายอาหรับ เช่นอิรัค, ปาเลสไตน์ และเลบานอน และจำนวนหนึ่งมาจากประเทศปากีสถาน ส่วนใหญ่มุสลิมเดนมาร์ดกอาศัยอยู่ในเขตเมือง เพื่อหางานทำในเมือง มีร่องรอยประวัติศาสตร์ของชุมชนผู้อพยพ ในเมืองปรากฏอยู่
 
          ประเทศฝรั่งเศส มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 6,000,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ คลื่นผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศสกลุ่มแรก เป็นมุสลิมมาจากประเทศแอลจีเรีย และโมร็อคโก รวมประมาณ 30.000 คนเศษเป็นมุสลิมที่ถูกรัฐบาลประเทศฝร้งเศสกะเกณฑ์ชาวมุสลิมภายใต้ประเทศอาณานิคมเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ระหว่างสงครามโลกที่ I  ปีพ.ศ.2457 – 2461 (ค.ศ.1914 – 1918)  ซึ่งมีความต้องการแรงงานมากจนถึงปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ต่อมาแรงงานจากประทศตุรกี หลั่งไหลเข้ามาตาม แอลจีเรียในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.970)และสิ้นสุดการหลั่งไหลเข้ามาในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990)
 
 
ตัวเลขประชากรฝรั่งเศสที่นับถือศาสนาอิสลาม แยกตามลักษณะประเทศดั้งเดิม fy’ouh
-แอลจีเรีย มากที่สุด                      2,000,000 คน
-โมร็อคโก                                  1,500,000 คน
-ตูนีเซีย                                         400,000 คน
-ตุรกี                                             400,000 คน
-ปากีสถานและอินโดนีเซีย                 150,000 คน
-กลุ่มประเทศอาหรับ                       100,000 คน
-อื่น เช่นลี้ภัย/เข้าเมืองผิดกฎหมาย      500,000 คน
 
          มุสลิมส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนนี มีส่วนน้อยนับถือชีอะฮฺ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้ออิหร่านและเลบานอนมาแต่กำเนิด มีอิสลาม สายอิสไมลี (Ismaili )ที่ค่อนข้างเข้มแข็ง เนื่องจากที่ปารีสเป็นศูนย์กลางของ อาการ์ ข่าน ผู้นำอิสไมลี ยังมีกลุ่มซูฟี สาย Muridist และสาย Alawiyya  บ้างเล็กน้อยซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่มุสลิมเชื้อสาย แอลจีเรีย ,ตุรกี , เซเนกัลและ มาลี
 
          ประเทศเยอรมัน  มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 4,100,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ ในเยอรมันมีมุสลิมเชื้อสายตุรกีอาศัยอยู่เป็นกลุ่มชาวมุสลิมจำนวนมากประมาณ 70 % ของจำนวนมุสลิมทั้งหมด มุสลิมเชื้อสายอิหร่านประมาณ 4 %และมีมุสลิมผิวขาวเชื้อสายเยอรมันพื้นเมืองประมาณ 4 % นอกนั้นมีมุสลิมเชื้อสายโมร็อคโก, อัฟกานิสถาน, บอสเนีย, อิรัค,และปากีสถาน
 
          เช่นเดียวกับการอพยพเข้าประเทศฝรั่งเศส คลื่นชนแรงงานอพยพเริ่มประเทศเยอรมันเข้าช่วงสงครามโลกครั้งที่ I และมีความต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2533(ค.ศ.1990) มุสลิมส่วนใหญ่ นับถือนิกายสุนนี
 
          ประเทศอิตาลี มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 1,000,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ  ประกอบด้วย มุสลิมเชื้อสายต่างๆ ดังนี้
 
                -โมร็อคโก                           34 %
                -อัลบาเนีย                          27%,
                -ตูนีเซีย                              11 %
                -เซเนกัล                              9 %
                -อียิปต์                                 7 %
                -มุสลิมผิวขาวอิตาลีพื้นเมือง       2 %  
 
                ในจำนวนนี้เป็นมุสลิมนับถือนิกายสุนนี 98 % ส่วนหนึ่งนับถือชีอะฮ จำนวนประมาณ 1,000 คนเศษ ส่วนใหญ่มีเชื่อสายจากอิหร่าน และเลบานอน
 
          ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 1,000,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 6 ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อพยพจากประเทศตุรกี , โมร๊อคโ, ซูรินัม อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มมุสลิมอพยพกลุ่มแรก มุสลิมเชื้อสายซูรินัมประมาณพันคนเศษ อพยพเข้ามาเนื่องหลังจากได้รับเอกราชจากฮอลแลนด์ในปี พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) มีมุสลิมผิวขาวเชื้อสายดัทช์พื้นเมือง ประมาณ 5,000 คน
 
          ประเทศนอร์เวย์ มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 80,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญาเป็นมุสลิมที่อพยพมาจากประเทศตุรกี บอสเนีย, โซมาเลีย, อิหร่าน, อิรัค และปาเลสไตน์ มุสลิมในนอร์เวย์เป็นชนผู้มีฐานะด้อยทางเศรษฐกิจ หากเปรียบเทียบกับชนชาวนอร์เวย์พื้นเมือง และชาวยุโรปผู้อพยพอื่น       
 
          ประเทศสเปน มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 600,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 2.4 ของประชากรทั้งประเทศ แม้ว่าในประวัติศาสตร์มุสลิมจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับประเทศสเปนมาช้านานก็ตาม มีชาวสเปนพื้นเมืองเข้ารับอิสลามเพียงประมาณ 5,000 คนเศษเท่านั้น มุสลิมในประเทศสเปนส่วนใหญ่อพยพมาจาก โมร็อคโก, ซีเรีย, ปาเลสไตน์, และมุสลิมจากประเทศตอนเหนืออัพริกา มุสลิมเป็นกลุ่มชนค่อนข้างมีเศรษฐกิจดีเป็นส่วนใหญ่
         
          ประเทศสวีเดน มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 400.000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 4 ของประชากรทั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อพยพมาจาก บอสเนีย, อิหร่าน, อิรัค , เลบานอน, โซมาเลีย, และตุรกี ส่วนใหญ่อพยพมาใช้แรงงาน เริ่มหลั่งไหลเข้ามานับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ.1960) ปัจจุบันมีกฎหมายที่มีความเข้มงวดเกี่ยวกับการอพยพ จึงทำให้จำนวนประชากรมุสลิมไม่มีการเพิ่มจำนวนมากนัก
 
                ประเทศอังกฤษ. มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 2,000,000 คนเศษ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศ มีมุสลิมอพยพเข้าสู่ประเทศอังกฤษรุ่งเรืองในยุคที่สุดในต้นปี พ.ศ.2503   เมื่อประเทศอังกฤษยุคนั้นต้องการผู้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานกรรมกร ผู้อยยพมาจากประเทศเอเชียใต้เป็นจำนวนมากที่สุด จึงไม่เป็นการแปลกใจที่ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ประมาณ 80 % เป็นมุสลิมที่มีพื้นเพอพยพจากประเทศปากีสถาน, บังคลาเทศ และอินเดีย นอกจากนี้เป็นมุสลิมที่อพยพมาจากประเทศอาหรับ, มาเลเซีย,อิหร่าน, ตุรกี, ในทางกลับกัน มุสลิมอพยพที่อาศัยในประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตสภาพตกต่ำ แต่มุสลิมในประเทศอังกฤษพึงพอใจในสิทธิในความเป็นพลเมืองอังกฤษ
 
 
                ขณะที่เรากังวลกับความรู้สึกเกี่ยวกับอนาคตของประชากรมุสลิมอพยพเข้าสู่ยุโรปตะวันตก(*3) เรามาศึกษากรณีเฉพาะของอิสลาม และมุสลิมในประเทศอังกฤษ เพื่อที่เราจะได้รับรู้อย่างเที่ยงธรรมเกี่ยวกับ ประเด็นปัญหา ความท้าทายที่มีต่อประชาคม ชุมชนมุสลิมในประเทศนี้อย่างตรงไปตรงมา
 
                อิสลามในอดีตอพยพเข้าสู่ประเทศอังกฤษมีความแตกต่างกับอิสลามพิชิตตะวันตกเข้าสู่เข้าสู่สเปนและยุโรปตะวันออก  และอิสลามและมุสลิมเข้าสู่ประเทศอังกฤษมิใช่เป็นยุคคลาสสิคของอิสลาม อันเป็นยุคที่อิสลามมีความเจริญ รุ่งเรืองสุดขีด ขณะที่ในศตวรรษที่ 19 จึงมีตัวเลขข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกลุ่มชาวคริสเตียนที่เมือง ลิเวอร์พูล จำนวนหนึ่งหันเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม และเราเองไม่อาจทราบถึงกลุ่มคนกลุ่มอื่นๆ หรือ,มีปัจเจกบุคคล อื่นๆที่หันมานับถือศาสนาอิสลามได้อย่างเปิดเผยทางสาธารณะ และมีหลักฐานแสดงถึงชาวอังกฤษบางคนที่มีการติดต่อกับชาวมุสลิมในสเปน ในภาคใต้ของอิตาลี และยุโรปตะวันออก ซึ่งได้หันมาเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามอย่างเงียบๆและลับๆ โดยไม่มีการเปิดเผยและแสดงตัวแสดงตน ไม่กล้าให้เป็นข่าวสู่สาธารณะ
 
หลักฐานอิสลามยุคแรกเข้าสู่อังกฤษ
 
                หลักฐานสำคัญประการแรกคือ มีเหรียญทองคำที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ (the British Museum)จำนวนหนึ่ง และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า King Arther หรืออีกพระนามว่า “King Offa” (มีพระชนม์ระหว่างปี พ.ศ. 1300 – 1339 (ค.ศ. 757 - 796) มีเหรียญทองคำมากมาย และมีเหรียญทองคำจำนวนหนึ่งที่อีกด้านหนึ่งมีลายนูนพิมพ์คำ“kaimah shahadah”(คำปฏิญานตนอิสลาม)
 
 
--------------------------------------------------
(*3) สถิติ จำนวนประชากรมุสลิมในยุโรป
 
 

 
ลำดับ
 
ประเทศ
 
จำนวนประชากรทั้งประเทศ/คน
ประชากรมุสลิม
ประชากรมุสลิม
ร้อยละ
1.
Albania-Eastern Europe
3.208.000
1.244.383
38.790
2.
Austria-Western Europe
8.391.000
187.119
2.230
3.
Belgum-Western Europe
10.480.000
377.280
3.600
4.
Bulgaria- Eastern Europe
7.584.000
900.221
11.870
5.
Denmark-Western Europe
5.453.000
164.681
3.020
6.
Finland-Western Europe
5.293.000
9.527
0.180
7.
France- Western Europe
61.946.000
6.194.600
10.000
8.
Geargia- Eastern Europe
4.361.000
872.200
20.000
9.
Germany-Western Europe
82.534.000
3.053.758
3.700
10.
Gibraltar-Western Europe
29.000
2.465
8.500
11.
Greece- Eastern Europe
11.172.000
368.676
3.300
12.
Italy- Western Europe
58.946.000
1.414.704
2.400
13.
Kosovo-Eastern Europe
2.126.700
1.815.989
85.390
14.
Latvia-Eastern Europe
2.265.000
8.607
0.380
15
Liechtenstein-Eastern Europe
36.000
1.235
0.140
16.
Lithuania-Eastern Europe
3.371.000
4.719
0.140
17.
Luxembourgh-Western Europe
472.000
5.192
1.100
18.
Macedonia-Eastern Europe
2.040.000
510.000
25.000
19.
Malta- Western Europe
408.000
4.488
1.100
20.
Moldova -Eastern Europe
3.760.000
7.520
0.200
21.
Montenegro- Eastern Europe
598.000
96.876
16.200
22.
Netherland -Western Europe
16.450.000
888.300
5.400
23.
Norway- Western Europe
4.727.000
49.161
1.040
24.
Poland- Eastern Europe
38.022.000
3.802
0.010
25.
Portugal- Western Europe
10.662.000
53.310
0.500
26.
Romania -Eastern Europe
21.344.000
213.440
1.000
27.
Russia- Eastern Europe
141.780.000
14.461.560
10.200
28.
San marino -Western Europe
31.000
0
0.
29.
Serbia -Eastern Europe
8.032.300
200.808
2.500
30.
Slovakia -Eaestern Europe
5.392.000
1.078
0.020
31.
Spain- Western Europe
44.593.000
535.116
8.000
32.
Swalbard- Western Europe
3.980
0
0
33.
Sweden- Western Europe
9.160.00
283.960
3.100
34.
Switzerland- Western Europe
7.512.000
232.872
3.100
35.
Ukraine
45.859.000
206.366
0.450
36.
United Kingdom-Western
61.019.000
1.220.380
2.000
37.
VaticanCity Western Europe
1.000
0
0
special
THAILAND
64.316.000
3.370.158
5.240
 
Etc…
 
 
 
TOTAL
6.773.254.236
1.479.200.275
21.839
Compiled by MOHAMMAD HUSNI NAGAWI -2008
*Prof.John Esposito and Prof. Ibrahim Kalin .THE 500 MOST INFLUENTIAL MUSLIN IN THE WORLD .2009,  The Royal Islamic Strategic Studies Centre,2009
 
                แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุอังกฤษ อธิบายในหลักฐานชิ้นนี้และไม่ได้ให้ความสำคัญใดใดในพัฒนาการ หรือการแสวงหาข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติม
 
          Dr.Muhammad Hamidullah นักประวัติศาสตร์มุสลิมท่านหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงความสำคัญจากหลักฐานที่ปรากฏบนเหรียญทองดังกล่าวและวิเคราะห์ว่า กษัตริย์อาเธอร์ อาจเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีความศรัทธาเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว และมีความเป็นไปได้ที่ทรงไม่ประสงค์แสดงพระองค์ทางสาธารณะอย่างเอิกเกริก แม้ไม่อาจกล่าวว่าปรากฏการณ์นี้เป็นความจริงแน่นอน แต่หากพิจารณาถึงสถานการณ์และเหตุผลแล้ว ในศตวรรษที่ 8 ขณะนั้นอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายถึงประเทศอังกฤษแล้ว และรวมถึงในราชสำนักแล้ว(*4)
 
          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประการที่สอง คือนับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติ ศาสตร์ของประเทศอังกฤษที่น่าเป็นจุดที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองระดับโลกได้ คือกรณีการแต่ง งานของ Robert of St.Alban กับน้องสาวของ Salahuddin Ayyubi ในปี พ.ศ.. 1728 (ค.ศ.1185) เหตุผลและความสำคัญคือ กรณีนี้เนื่องจาก Robert of St.Alban เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนักรบเรืองนามจากสมรภูมิ สงครามครูเสด ท่าน Richart the Lionheart (ริชาร์ดใจสิงห์) และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า ตามหลักการนิติศาสตร์อิสลาม(Fiqh) ว่าอิสลามอนุญาตให้ชายมุสลิมแต่งงานกับหญิงชาวยิว    หรือชาวคริสต์ ในฐานะเป็นชาวคัมภีร์ (Ahl al Kitab)ได้ แต่ไม่อนุญาตให้หญิงมุสลิมแต่งงานกับชาย คริสต์ หรือชายยิว หากจะพิจาณาว่าท่าน Salahuddin Ayyubi ผู้ปลดปล่อยกรุงเยรูซาเล็มและเป็นผู้นำสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลาม เป็นผู้ไม่ตระหนักในกฏเกณฑ์ข้อนี้หรือ ? ที่ยอมให้น้องสาวแต่ง งานกับชายชาวคริสต์ หรือบางที่อาจเป็นไปได้ที่ Robert of St.Alban ได้เปลี่ยนความศรัทธาหันมาเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามก่อนหน้านั้นแล้ว อย่างน้อยเป็นผู้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเพื่อหวังจะแต่งงานกับหญิงมุสลิม เช่นเดียวกันปรากฏการณ์นี้ยังไม่มีการพิสูจน์ชัดเจน แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงนัยยะคือการปกปิดเพื่อการรักษาศักดิ์ศรีของราชสำนักแห่งราชวงศ์อังกฤษต่อสายตาสาธารณะประเทศอังกฤษก็ได้ บางทีหากได้มีผู้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับชีวิตของ Robert of St. Alban อย่างจริงจังและตรงไปตรงมาอย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะได้ทราบและพบว่า มีมุมมองที่เต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจกับเรื่องราวต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ในประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งยิ่ง
 
 
----------------------------------------
      (*4)ดูเอกสารแผ่นพับ “Did King Offa Embrance Islam ?” : Taha Publishers, London,
และ Professor Salim al- Hassani ,Islam in Britain , unpublished paper produced at the Islam in Europe conference organized by the Islamic Foundaton,Leiester ,September 1992
 
          หลักฐานประการที่สาม ที่ชี้บ่งถึงความสำคัญในประวัติศาสตร์ของอิสลามเข้าสู่อังกฤษ คือในยุครัชสมัยของ King John (มีพระชนม์ระหว่างปี พ.ศ. 1742 – 1759(ค.ศ. 1199 - 1216) พระองค์ได้มีการติดต่อเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับเจ้าเมืองมุสลิมอย่างลับๆ โดยพระองค์ได้ทรงส่งคณะทูตไปยังผู้ปกครองแห่งโมร็อคโก Amir of Morocco  ขณะนั้น ประวัติศาสตร์สำคัญบันทึกว่า “ปี พ.ศ. 1756 (ค.ศ. 1213) กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงแห่ง Magna Carta(*5) พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งคณะผู้แทนทางการทูตรวม 3 ท่าน เดินทางไปเฝ้า Amir of Morocco , Abdur Rahman al-Nasir พร้อมกับอัญเชิญพระราชสาส์นแจ้งว่า หากอังกฤษยินยอมประสงค์จะอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งอำนาจมุสลิม มีข้อแม้ว่า พระองค์จะไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการ   แต่พระองค์จะยอมรับอิสลามโดยดุษฏี
 
          นับเป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างประหลาดที่บันทึกไว้ว่า   Amir of Morocco ได้บอกปัดข้อเสนอโดยกล่าวว่า “อิสลามห้ามรับผลประโยชน์จากผู้ไร้อำนาจ หากกษัตริย์ต้องการเข้ารับอิสลาม แล้วให้ท่านต้องส่งผู้แทนการฑูตเข้ามาเฝ้า”
 
          แม้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ว่าประวัติศาสตร์มีการอ้างอิงจากหลายแหล่งข้อมูล เป็นการยากที่จะค้นคว้าถึงสิ่งที่ยังห่างไกลจากความเป็นจริง และยังคงเป็นเรื่องที่อยู่ในความลึกลับยากที่จะพิสูจน์ได้ ผู้ปกครองมุสลิมคนหนึ่งที่จะปฏิเสธการเรียกร้องเชิญชวน และเป็นโอกาสที่อังกฤษจะกลายเป็นประเทศมุสลิมแล้ว ได้เปลี่ยนไปอย่างน่าเสียดาย
 
                อย่างไรก็ตาม มีความจริงที่ปรากฏประการหนึ่งอย่างชัดเจนว่า หนึ่งในคณะทูตลับที่ King John ส่งไปยัง Morocco บาทหลวงท่านหนึ่งถูก เนรเทศจากลอนดอน เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ปฎิบัติตนขัดขืน และฝ่าฝืนต่อกฎหมาย Magna Carta จึ่งถูกลงโทษให้เนรเทศยังประเทศมองโกเลีย และต่อมาท่านได้กลับมาเป็นหัวหน้าคณะทูตแห่งมองโกล และต่อมาได้กลับมาสู่ยุโรปอีกครั้งหนึ่งท่านกล่าว “ว่ามีชาวยุโรปเข้ารับอิสลามจำนวนมาก”(*6)
 
          มีหลักฐานอ้างอิงถึงความสัมพันธ์การติดต่อระหว่างอังกฤษ และสเปน ด้านธุรกิจการค้า,การศึกษา และการเผยแพร่ศาสนา ซึ่ง D.M.Dunlop อธิบายเกี่ยวกับ กรณี ท่าน Abd al Rahman b.Harun al-Maghribi พระองค์ทรงแล่นเรือมายังประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.1444 (ค.ศ.901) (*7)
 
          เช่นเดียวกัน Adler of Bath นักวิชาการชื่อดังผู้แปลหนังสือว่าด้วยวิชา ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จำนวนหนึ่งจากหนังสือต้นฉบับจากภาษาอาหรับ เป็นภาษาลาติน ขณะที่เขากำลังศึกษาที่ประเทศสเปน ได้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานชื่อ Robert of Ketton ผู้ทำงานภายใต้การอุปถัมภ์
จาก Peter the Venerable พระอธิการแห่ง คลูนี(มีชีวิต พ.ศ.1637 – 1699 (ค.ศ.1094 – 1156) ด้วยความช่วยเหลือจากชาวคริสเตียนเชื้อสายอิตาลี แปลอัลกุรอาน จากภาษาอาหรับเป็นภาษาลาตินในปี พ.ศ.1684 -1688 (ค.ศ.1141-1143) และได้ส่งไปพิมพ์อัลกุรอานฉบับแปลเป็นภาษาลาตินนี้ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2086 ค.ศ.1543 (*8)
 
 -------------------------  
(*5)      Magna Carta หรือ Magna Charta หมายถึงกฎหมายที่ยิ่งใหญ่ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศอังกฤษ สมัยพระเจ้าจอห์น พระราชทานประกาศเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1218 (พ.ศ. 1758) นับเป็นรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิของประชาชน
 
 (*6) M.Mumtaz Ali,A Short History of Muslim Immigrations in Great Britian , เอกสารงานวิจัย วิทยานิพน์ระดับ M.Phil thesis,นำเสนอ University of Aligarrh , 1985
 
(*7) D.M. Dunlop, Arabic Science in the West,Karachi ,1958, หน้า 83
 
          T.W.Arnold ได้กล่าวอ้างถึง Ahmad b.Abdullah ชาวอังกฤษเกิดที่เมืองแคมบริจด์ ในศตวรรษที่ 17 ผู้เขียนหนังสือในการปกป้องอิสลาม (*9) และท่านเป็นผู้ที่รู้จักกันดีในฐานะ คณบดีภาควิชาภาษาอาหรับและอิสลามศึกษา คนแรกที่ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยแคมบริจด์ในปี พ.ศ.2175 (ค.ศ. 1632) และที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ปี พ.ศ. 2177 (ค.ศ.1634)เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าอังกฤษได้เริ่มให้ความเอาใจใส่ในอิสลาม หลังจากที่เคยมองอิสลามในแง่ลบมาตลอด (*10)
 
          เรายังทราบถึงบันทึกว่า ในปี พ.ศ.2263 (ค.ศ.1720) มีนักเขียนนิรนามท่านหนึ่งในอังกฤษเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิเสธแก้ข้อกล่าวหาของชาวคริสเตียนที่กล่าวโจมตีอิสลามและวิถีชีวิตของท่านศาสดา หนังสือชื่อ “Mahomet No Imposter”สะท้อนให้เห็นถึงอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวต่อชีวิตของผู้เขียนที่ไม่กล้าที่จะเปิดเผยชื่อของตนเอง หรือแม้สัญลักษณ์ของตน(*11)
 
 
ประวัติศาสตร์อิสลามในยุคต้น
 
        แม้ชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ เริ่มมีบทบาทและเห็นได้ชัดเจน ประมาณกลางศตวรรษที่ 19 เมื่อนักเดินเรือ หรืออาจเรียกด้วยภาษาสวยหรูว่า “กะลาสี” ผู้เดินเรือมาจากเมือง Bengal,Gujrat, Punjab, Sinth, Aden, Yemen, และ Somalia มาเทียบท่าเรือเมือง Cardiff, Liverpool, Tyneside และ London และมาตั้งรกรากอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษด้วยเงื่อนไขสภาพบังคับที่น่าเกรงกลัว
 
        นับเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์อิสลามยุคใหม่ในประเทศอังกฤษ จนสิ้นสุดในปลาย ศตวรรษที่ 19 เมื่อ William Henry Quilliam เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามในปี พ.ศ. 2430 (ค.ศ.1887)หลังจากกลับจากการเดินทางเยือนประเทศ โมร็อคโค และได้ศึกษาอิสลามอย่างอิสระ ,ท่านได้ศึกษาวิถีชีวิตท่านศาสดา และอัลกุรอานด้วยความเร้าร้อนและกระตือรือร้นในฐานะผู้เข้ารับอิสลามใหม่ ท่านใช้ปากกาเขียนหนังสือและเอกสารแผ่นพับจำนวนมาก เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและปกป้องอิสลาม ท่านสามารถทำให้สมาชิกในครอบครัว เพื่อนๆของท่านในลิเวอรพูลเข้ารับอิสลามจำนวนหนึ่ง
--------------------------
(*8) Norman Daniel ,Islam and the west :Making of an Image, new revivesed edition. 1993
 
(*9) T.W.Arnold,The preaching of Islam , Lahore, 1961 p.44
 
(*10) J.D. Latham , Arabic and Islamic Studies in U.K. NewBooks Quarterly on Islam and the Muslim World, London, Vol 1 , Nos 2 – 3 Spring 1981 , pp. 37 - 45
 
(*11) Norman Daniel,เพิ่งอ้าง
 
 
          ปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ.1891) Quilliam  ก่อตั้งสถาบันศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ที่เมืองลิเวอร์พูล เป็นสถาบันที่ครอบคลุมเกือบทุกด้าน มีมัสยิด โรงเรียนสอนศาสนาสำหรับเด็กผู้ชายภาคกลางวันและห้องเรียนสอนภาคบ่าย,ชมรมวรรณกรรมนักเขียน,ห้องสมุดบูรพาคดี,พิพิธภัณฑ์ และโรงพิมพ์ มีการจัดพิมพ์วารสารรายสัปดาห์ชื่อ “The crescent และจัดพิมพ์วารสารรายเดือนชื่อ Islamic World
 
          ผลจากการดำเนินงานอย่างลำบากเป็นเวลา 5 ปี มีผู้เข้ารับศาสนาอิสลามมากกว่า 30 คน และระยะเวลา 10 ปีต่อมามีผู้เข้านับถือศาสนาอิสลามใหม่จำนวน 150 คน นับเป็นความสำเร็จของอิสลามที่เมืองลีเวอร์พูล ภายใต้การนำของ Quilliam ซึ่งต่อมารู้จักกันในนาม  Shaykh Abdullah Quilliam ผู้ได้รับการดูถูก เยาะเย้ยจากคณะมิชชั่นนารีคริสเตียน จนนำสู่การใช้ความรุนแรง และถูกลอบทำร้ายร่างกาย โดยกลุ่มเด็กวัยรุ่นเมืองลิเวอร์พูล
 
          แต่ในทางกลับตรงกันข้าม Quilliam ได้รับเกียรติอย่างสูงจากผู้นำมุสลิมต่างๆเช่น สุลต่านแห่งโมร๊อคโก (Sultan of Morocco)ทรงพระราชทานคำหน้านาม “Alim” แก่ Quilliam และได้รับเกียรติจาก สุลต่านอับดุลฮามิดที่ สอง คาลิบแห่งอ๊อตโตมาน (The Ottoman Caliph Sultan hamid II) ผู้นำแห่ง อัฟกานิสถาน Amir  of Afghanistan พระราชทานคำหน้านาม “ Shaikhul Islam of the British Isles’
 
เดือนตุลาคม พ.ศ.2442 (ค.ศ.1899) พระเจ้าชาร์ แห่งอิหร่าน (Shah of Persia) แต่งตั้ง Quilliam ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ประจำเมืองลิเวอร์พูล
 
          ปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ.1891) สุลต่านอับดุลฮามิดได้เชื้อเชิญ Quilliam เดินทางเยือน กรุงสแตนติโนเปิล และ 3 ปีต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์จากสุลต่านมุสลิมไนจีเรีย ผู้สถาปนามัสยิดใน ลากอส  (Lagos)
 
          ปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ.1908) Quilliam เข้ารับการรักษาร่างกายซึ่งเจ็บป่วย ท่านต้องอพยพจากเมืองลีเวอร์พูล ไปอาศัยอยู่ทางตะวันออก และต่อมาไม่นาน ท่านQuilliam ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ ลอนดอน จากการที่ Quilliam มิได้อาศัยอยู่ในเมือง ลิเวอร์พูล ทำให้เมืองลิเวอร์พูลเกิดสุญญากาศช่องว่างการนำและการทำงานเพื่ออิสลาม และทำให้องค์กรที่เขาริเริ่มก่อตั้งถูกลดบทบาทไปในที่สุด(*12)
 
          การขยายตัวของประชากรมุสลิมในเมือง ลอนดอนและเมืองการศึกษาอื่นๆ เช่น เมืองอ๊อกฟอร์ด และ แคมบริจด์ มี ประชากรชุมชนมุสลิมเกิดขึ้น มีนักศึกษามุสลิมเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันต่างๆในอังกฤษมากขึ้น ชนชั้นสูงมุสลิมผู้มีอันจะกินจากประเทศอินเดีย เข้ามาศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับสูง เช่น บุตรชายสองคนจาก ตระกูล the Nawab Nazir of Bengal เข้ามาศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ร่วมทั้งท่าน Muhammad Ali Jinnah บิดาแห่งปากีสถาน เป็นต้น
 
        Muhammad Ali Jinnah เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ กรุงลอนดอน ในปี พ.ศ.2435(ค.ศ. 1892) และในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีผู้นำมุสลิมที่มีชื่อท่านหนึ่งคือท่าน Syed Ameer Ali (มีชีวิต ระหว่างปี 1849-1928) เข้ามาอาศัยในกรุงลอนดอนในปี พ.ศ.2447 (ค.ศ.1904) ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีของประเทศอินเดีย ท่านเป็นคนแรกและดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาตุลาการ (Indian Privy Councillor &Member of the Judicial Council) ในปี พ.ศ.2451 (1908)(*13) และดำรงตำแหน่งอายุรแพทย์ส่วนพระองค์พระราชินีวิคตอเรียเป็นเวลานานและท่านเป็นมุสลิมชาวอินเดีย(*14)
 
          นับว่าเป็นเรื่องปกติอย่างเมืองหลวงเช่นกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นเมืองศูนย์ร่วมของชุมชนประชากรมุสลิมที่มีความหลากหลายทั้งชาติ ภาษาและผิวสีต่างๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีมัสยิดสำหรับเป็นที่ชุมนุมของมุสลิมจากทุกประเทศทุกชาติทุกภาษา และมัสยิดแห่งแรกในประเทศอังกฤษจึงถูกสร้างขึ้นมาในปี พ.ศ.2432 (ค.ศ.1889) ตั้งอยู่ทางตะวันตกห่างจากลอนดอนประมาณ 25 ไมล์ โดย Shah Jehan Begum เจ้าเมืองโบปาล แห่งอินเดีย มีการวางแผนการก่อสร้างมัสยิดแห่งแรกในประเทศอังกฤษ ด้วยบริเวณที่กว้างขวางประกอบด้วย อาคารตัวมัสยิด ศูนย์กลางอิสลามที่มีห้องสมุด, หอพัก ,โรงเรียนถึงระดับเตรียมอุดมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัยอิสลาม แต่และแล้วมีเพียงโครงการก่อสร้างหอพักเท่านั้นที่ปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง
 
          การทำงานเพื่ออิสลามในประเทศอังกฤษได้รับแรงกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อท่าน Khawaja Kamaluddin ผู้เดินทางมาจากประเทศอินเดียเข้ามาอาศัยในประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ.1912) ประกอบกับเหตุการณ์การเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ของ Lord Headly (มีชีวิตระหว่างปี พ.ศ.2398 -2476) ด้วยการประกาศตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามอย่างปิดเผยและเอิกเกริกต่อสาธารณะชนที่ Caxton Hall กรุงลอนดอน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) นับสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมประเทศอังกฤษเป็นอย่างมาก
 
อย่างไรก็ตาม การเข้ารับอิสลามมิได้สร้างความสับสนกับบุคคลสำคัญอื่นๆ Headly Churchward เข้ารับอิสลามในต้นศตวรรษที่ 19 และได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ 1910)(*15)
 
          Khawaja Kamaluddin เริ่มต้นงานเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ในหมู่บ้านเล็กๆใกล้มัสยิด Shah Jehun และในปี พ.ศ.2456 (ค.ศ.1913) ท่านได้ผลิตวารสารรายเดือนชื่อ
 
----------------------------------------         
(*12) ศึกษาประวัติและชีวิตของ William Henry Quilliam จาก M.Akram Khan ,Islam and Muslim in Liverpool,  pp. 8 – 17 และ M.M Ally, History of Muslims in Britain , (M.a. thesis1981) pp. 46-64 , M.Mumtaz Ali,A Short History of Muslim Immigrations in Great Britian pp.30-35 , T.W.Arnold,The preaching of Islam , Lahore, 1961 pp.464, และ J.Nelson , Muslims in Western Europe, Edinburgh , 1992 pp. 4-5
 
        *ศึกษาและโพสต์ข้อมูลที่ Facebook @ William Abdullah Quilliam Appreciation Society Shaikh Abdullah Quilliam on the Caliphate หรือ William Henry Quilliam (มีชีวิตระหว่าง พ.ศ.2399-2476) เมื่อเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ได้เปลี่ยนชื่อ Abdullah Quilliam เป็นผู้ก่อตั้งมัสยิดแห่งแรกในประเทศอังกฤษ เปิดใช้ละหมาดในปี พ.ศ.2432 Abdullah Quilliam เป็นผู้ที่มีความรู้ในอิสลามที่ก้าวหน้ามาก และสร้างผลกระทบทั่วเกาะอังกฤษ เขาเป็นผู้ที่อุทิศตนในงานเขียนหนังสือในการเผยแพร่ศาสนา และอุทิศตนทำงานด้านศาสนางานการกุศลในองค์กรที่ท่านตั้งขึ้น
 
       ประวัติศาสตร์ปกปิดส่วนหนึ่งของประวัติของ อิสลามและมุสลิมในประเทศอังกฤษ และผู้คนมีทัศนคติและเข้าใจผิดคิดว่าศาสนาอิสลามในอังกฤษเกิดจากมุสลิมที่อพยพหลังไหลมาเป็นกรรมกรจากอนุทวิปอินเดียหลังสงครามโลกครั้งที่ II         ไมมีผู้ใดเคยทราบไหมว่าอิสลามในอังกฤษ ที่เป็นยุคแห่งชัยเมื่อ สมเด็จราชินีวิคตอเรีย เคยอ่านหนังสือผลงานของท่านชื่อ "The Faith of Islam".
 
 (*13) M.M Ally อ้างแล้ว หน้าที่ 44 - 55 , M.Mumtaz Ali อ้างแล้ว หน้าที่ 29 -30
 
(*14) J.Nelson , Muslims in Western Europe, Edinburgh , 1992 pp. 4 . Shaikh Abdullah Quilliam on the Caliphate
 
(*15) Eric Rosental . From Drury Lane to Macca : Being an Account of te Strange Life and Adventures of Hedley Churchward , an English convert to Islam, Howard Timmins Ltd. Captown ,re-pint 1982
 
Muslim India และ Islamic Review เนื้อหาสองส่วนกว่าได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการเข้ารับศาสนาอิสลามของ Lord Headley จุดสำคัญเพื่อเป็นการสร้างความสนใจในชุมชนเล็กๆ และจึงไม่เป็นการแปลกใจที่ วารสาร Islamic Review ได้นำเสนอยกย่องด้วยคำแก่ผู้เข้ารับนับถือศาสนาที่เด่นๆด้วยคำ ต่างๆ เช่นคำว่า Rahmatullah (ความเมตตาของพระเจ้า) Saifullah (ดาบของพระเจ้า)ต่างๆ เช่นคำว่า Rahmatullah (ความเมตตาของพระเจ้า) Saifullah (ดาบของพระเจ้า) และคำว่า al –Farug (ผู้แยกแยะความดีออกจากความชั่ว) เป็นต้น (*16)
 
 
          Lord Headley มีใช่แค่เพียงผู้ให้ขวัญกำลังใจและการให้การสนับสนุนการทำงานเผยแพร่ศาสนาอิสลามให้ประเทศอังกฤษอย่างเปิดกว้างเท่านั้น แต่ท่านยังสามารถสะกด ปิดปากการวิพากษ์วิจารณ์ การข่มขู่จากชาวคริสต์จำนวนหนึ่ง ตลอดจนการการดูถูก หัวเราะเยาะเย้ย ด้วยความตลกขบขัน และต่อมาท่านได้รับตำแหน่งประธานสมาคมมุสลิมอังกฤษ (The British Muslim Society) ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำอิสลามแก่ประชาชนชาวอังกฤษ นับได้ว่าท่านมีส่วนสำคัญเสริมสร้างเกียรติ ความภาคภูมิแก่มุสลิมในอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง และเป็นผลทำให้มีผู้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมีตัวเลขสูงมาก ซึ่งตามรายงาน จากวารสาร Islamic Review ว่า “.ในปี พ.ศ.2458 (ค.ศ. 1915)ตัวเลขผู้รับนับถือศานาอิสลามเพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 คน”(*17)
 
          ปี พ.ศ.2467 (ค.ศ.)ชาวอังกฤษประมาณ 1.000 คน เข้ารับอิสลาม นับเป็นผลงานหลักของสมาคมมุสลิมอังกฤษซึ่งนำโดย Lord Headley (*19) Pan-Islamic Society ภายใต้การนำของ Dr.Abdullah Suharawardy และ Muslim Literary Society ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2459 (ค.ศ.1916) ภายใต้การนำของ Abdullah Yusuf Ali นักอรรถาธิบายอัลกุรอ่านชื่อดังและได้รับการสนับสนุนจากนักอรรถาธิบายอีกท่านคือ Marmaduke Pickthal และ Syed Ameer Ali ผู้โด่งดัง
 
          สืบเนื่องจาการเพิ่มจำนวนประชากรมุสลิมในกรุงลอนดอนมีจำนวนมาก จึงได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสถาปนาให้มีมัสยิดกลางประจำเมืองหลวงแห่งอังกฤษ ความต้องการให้มีมัสยิดกลางประจำกรุงลอนดอนได้ถูกกระตุ้นยิ่งขึ้น เมือมัสยิดกลางประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้มีพิธีเปิดโดยรัฐบาลฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ.2469 (ค.ศ.1926)
 
          ฤดูหนาวปี พ.ศ.2471 -2472 (ค.ศ.1928-1929) Lord Headleyเดินทางไปเยือนประเทศอินเดียตามคำเชิญ และเป็นแขกของ The Nizam of Hyderabad และพร้อมรับเงินบริจาคเป็นเงินจำนวน £ 60,000 ปอนด์ เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในโครงการก่อสร้างมัสยิด และ Lord Headley ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปจัดตั้งเป็นกองทุน มีชื่อว่า The London Nizamiah Mosque Trust Fund และได้มีการนำเงินจากกองทุนไปจัดซื้อที่ดินจำนวน 1 เอเคอร์ที่ ถนน Mornington Avenue,West Kensington , W14 เป็นเงิน £ 28,000 ปอนด์
 
--------------------------------- -
(*17) Islamic Review Vol.III No.1 January 1915 p.9
 
(*18) Islamic Review Vol 7 1919 p 17-1.9 , M.M Ally อ้างแล้ว หน้าที่ 1
 
        โครงการก่อสร้างมัสยิดกลางและศูนย์กลางอิสลาม นับเป็นโครงการที่ใหญ่โตมากและต้องใช้จ่ายสูงมาก การระดมเงินสมทบไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้โครงการชะลอตัวลง ประกอบกับการเสียชีวิตของท่าน Khawaja Kamaluddin และ ท่าน Lord Headley สองนักกิจกรรมด้วยในปี พ.ศ.2475 (ค.ศ.1932) และพ.ศ.2476 (ค.ศ.1933) ตามลำดับ ทำให้การดำเนินการตามโครงการมัสยิดกลางแห่งกรุงลอนดอนกระทบเป็นอย่างมาก ไม่มีกิจกรรมการดำเนินการใดๆเกิดขึ้นจนกระทั้ง สงครามโลกครั้งที่ II เกิดขึ้น เมื่อท่าน Shaylh Hafiz Wahba ร่วมกับเพื่อนชาวอียิปต์และเพื่อนร่วมงาน เช่น ท่าน Abdullah Yusuf Ali สืบสานต่อด้วยการรับมอบที่ดินจากรัฐบาลอังกฤษหนึ่งแปลงจำนวน 2.3 เอเคอร์ เป็นที่ในบริเวณ Regent Park ใกล้ Handover Gate แลกเปลี่ยนกับที่ดินบริจาคในกรุงไคโร เพื่อนำไปก่อสร้างโบสถ์คริสเตียน นิวแองกลิกัน ในกรุงไคโร ประเทศ อียิปต์
 
----------------------------------------------------
(*19) ลอร์ด เฮดลีย์ อัล-ฟารุก (Lord Headley Al-Farooq) เป็นบารอนคนที่ 5 ของเฮดลีย์ (5th Baron of Headley 1855-1935) ชื่อและตำแหน่งเต็มๆ ของท่านคือ Right Honourable Sir Rowland George Allanson Allanson-Winn, Baron Headley ท่านเกิดปีค.ศ.1855 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ ในครอบครัวขุนนาง นับถือคริสต์โปรแตสแตนท์ ลอร์ดเฮดลีย์เป็นขุนนางระดับแถวหน้าของอังกฤษ, เป็นนักการเมือง, และเป็นนักประพันธ์
 
        ท่านสำเร็จการศึกษาจากเวสต์มินสเตอร์สกูล ลอนดอน ก่อนสำเร็จบปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ที่ตรินิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1877 รับราชการเป็นกัปตัน ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพันเอก (Lieut. Colonel) ใน 4th Battalion ของ North Minister Fusiliers โดยอาชีพแล้วท่านเป็นวิศวกร แต่กลับชื่นชอบวรรณกรรม ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นบรรณาธิการของ ซาลิสเบอรรีและวินเชสเตอร์เจอร์นัล (Salisbury and Winchester Journal) ท่านยังแต่งหนังสืออีกหลายเล่ม ที่ได้รับความนิยมสูงก็คือ ความตื่นตัวของชาวตะวันตกต่อศาสนาอิสลาม (A Western Awakening to Islam)
 
        ท่านเป็นเลขาฯ ของเซอร์เฟรเดอริก ซีเกอร์ ฮันท์, ส.ส.ในสภา, หลายปี ก่อนจะหันมาเป็นวิศวกรเต็มตัวในปี 1892 ท่านประสบความสำเร็จในอาชีพวิศวกรมาก และท้ายที่สุดถูกเลือกให้เป็นประธานสมาคมวิศวกรรมศาสตร์ ลอนดอน (the Society of Engineers, London)
 
          ลอร์ดเฮดลีย์ได้รับข้อเสนอให้ไปเป็นผู้ปกครองประเทศอัลบาเนียถึงสองครั้ง แต่ท่านปฏิเสธทั้งสองครั้ง ปี 1913 ท่านได้สืบทอดตำแหน่ง บารอนคนที่ 5 ของเฮดลีย์ (5th Baron of Headley), เป็นบารอนที่ 11 ของนอสเทล, ยอร์คไชร์ (11th holder of baronetcy of Nostell, Yorkshire, ตำแหน่งนี้ตั้งมาตั้งแต่ปี 1660) และเป็นบารอนที่ 5 ที่ลิตเติ้ลวาร์สลีย์, เอสเซก (5th holder of the baronetcy of Little Warsley, Essex, ตำแหน่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 1796)
 
          ลอร์ดเฮดลีย์รับอิสลามในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1913 และใช้ชื่อมุสลิมว่า อัล-ฮัจย์ ชัยค์ ซัยฟุรรอฮมาน รอฮมาตุลลอฮ อัล-ฟารุก (Al-Haj Shaikh Saifurrahman Rahmatullah al-Farooq) จากนั้นท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในงานเผยแพร่อิสลามที่เมืองโวคิง (Woking) ประเทศอังกฤษช่วง ทศวรรษ 1920 ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมชุมชนมุสลิมในหลายๆ ประเทศ ปี 1923 ไปทำฮัจย์ที่เมกกะ (ดูเหมือนว่าจะเป็นมุสลิมอังกฤษคนแรกๆ ที่ไปทำฮัจย์) ปี 1926 ไปอาฟริกาใต้ และปี 1927 ไปอินเดีย ซึ่งที่นี่ลอร์ดเฮดลีย์ได้เป็นประธานการประชุมตับลีกของภูมิภาคอินเดีย ที่เมืองเดลี
 
           ปี 1928 ที่ไฮเดอราบัด อินเดีย ลอร์ดเฮดลีย์ได้หาทุนก่อสร้างมัสยิดที่ลอนดอน อังกฤษ และน่าเสียดายที่ท่านสิ้นลมเสียก่อนจะได้เห็นความสำเร็จจากความตั้งใจอันยิ่งใหญ่ของท่าน (หมายเหตุ: แต่หากตอนนี้ท่านลอร์ดได้เห็นมัสยิดบานสะพรั่งทั่วเกาะอังกฤษละก็ คงตกใจน่าดู โดยเฉพาะมัสยิดโอลิมปิกที่กำลังจะสร้าง แต่โดนต่อต้านขนาดหนัก จะไม่โดนต้านได้ไง ก็เฉพาะห้องละหมาดใหญ่ขนาดจุคนได้ 70,000 คน นี่ยังไม่นับลานข้างนอก คาดว่าจะเป็นรองก็แค่หะรอมมาดีนา, ที่ซาอุ, เท่านั้น!)
 
            ลอร์ดเฮดลีย์เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่สุดของมุสลิมอังกฤษ ร่างของท่านถูกฝังอยู่ในแถวหน้าสุดมุมขวาของสุสานมุสลิมที่บรุกวู้ด
 
 
        โครงการก่อสร้างมัสยิดกลางและศูนย์วัฒนธรรมอิสลาม ได้เปิดอย่างเป็นทางการโดย กษัตริย์จอร์จที่ 6 (King George Vi ) เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธาน เมื่อวันพฤศจิกายน พ.ศ.2487 (ค.ศ.1944) และอีก 3 ปีต่อมาคณะฑูตานุทูตจำนวน 13 ประเทศร่วมกันเป็นคณะกรรมการ เข้ารับช่วงในการบริหารภายใต้ชื่อ กองทุนมัสยิดกลางแห่งกรุงลอนดอน ( The Central London Mosque Trust)
 
 
          ปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) หลังจากมีการเปิดซองประกวดแบบสถาปัตยกรรม เริ่มมีการก่อสร้างเฉพาะอาคารในปี พ.ศ.2520 (ค.ศ.1977)(*20)
 
ประวัติศาสตร์อิสลาม และมุสลิมในประเทศอังกฤษยุคใหม่
         
        ช่วงยุคใหม่ของประวัติศาสตร์ของชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ นับได้จากปรากฏการณ์ที่ใช้เปรียบเทียบได้กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การแบ่งแยกประเทศของอนุทวีปอินเดียในปีพ.ศ.2490 (ค.ศ.1947) รัฐบาลได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการอพยพ และนำสู่การขยายตัวของชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ คลื่นการอพยพของมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดหลั่งไหลเข้าสู่ดินแดนอังกฤษเกิดขึ้นปลายศตวรรษที่60 และต้นศตวรรษที่ 70 เมื่อครอบครัวผู้ติดตามเข้ามาด้วยจำนวนสมาชิกจำนวนมาก คู่สมรส ผู้ติดตามของเจ้าหน้าที่อังกฤษกับมุสลิม อดีตคนงาน และความต้องการแรงงานเพื่อนำมาใช้ในการบูรณะฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายที่เกิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ II และ ต่อมาความต้องการแรงงานในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ และการสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่
 
        แม้ว่าส่วนใหญ่มุสลิมที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศอังกฤษมาจากประเทศอนุทวีป คือ ปากีสถาน อินเดียและบังคลาเทศ ประมาณจำนวนหนึ่งในสามเป็นผู้อพยพมาจากปากีสถาน อินเดียและบังคลาเทศ ประมาณประเทศละ 10 เปอร์เซ็นต์และยังมีมุสลิมจำนวนหนึ่งมาจาก ตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , อัฟริกา และยังมีชาวอังกฤษผิวขาวพื้นเมืองที่เข้ารับอิสลาม ส่วนใหญ่แล้วมุสลิมจะอาศัยอยู่ทั้งเมืองใหญ่ เมืองเล็กในประเทศอังกฤษ และเมืองที่มุสลิมส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ใน กรุงลอนดอน, เบอร์มิงแฮม, แบรดฟอร์ด, แมนเชสเตอร์, เลสเตอร์ , เชฟฟิลด์, ลีด, และกลาสโกว์
 
        การอพยพหลังไหลสู่ตะวันตกมิใช่เพียงในประเทศอังกฤษเท่านั้น   แต่มุสลิมมีการอพยพเข้าสู่ประเทศต่างๆในยุโรป และศาสนาอิสลามได้เข้ามาเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคนี้ โดยเข้ามาแทนที่ลำดับที่สองซึงชาวยูดาย ศาสนาของชาวยิวที่ตกมาอยู่ในอันดับที่สาม
 
        ในปีพ.ศ.2541 (ค.ศ.2001) การสำรวจสำมะโนประชากรของในประเทศอังกฤษนั้น นับเป็นครั้งแรกที่กำหนดให้มีช่องรายการให้กรอกระบุศาสนาในแบบสอบถาม ปรากฏผลว่ามีผู้กรอกแบบสอบถามที่แสดงตนลงในแบบสอบถามเป็นมุสลิมประมาณ 1.6 ล้านคนเศษ และยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่กรอกช่องรายการระบุศาสนา จะมีผลสำรวจประชากรครั้งต่อไปในปีพ.ศ.2554 (ค.ศ.2011) คาดว่าจะมีประชากรมุสลิมเพิ่มจำนวนมากกว่าผลการสำรวจสำมะโนประชากรในปีพ.ศ.2541 อย่างแน่นอน
         
        อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากอัตราการเกิด (Rising Birth Rate) ในครอบครัวมุสลิม มีข้อมูลสถิติทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ได้รับมา เราสามารถระบุได้ว่ามีประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษประมาณ 2.000.000 คนเศษ(*21) มุสลิมส่วนใหญ่ที่อพยพ โดยเฉพาะผู้อพยพที่มาจากอนุทวีป อินเดีย–ปากี ปกติจะเป็นคน สองสัญชาติ คือสัญชาติอังกฤษ และสัญชาติประเทศดั้งเดิมคือสัญชาติปากีสถาน หรือบังคลาเทศเป็นต้น และบุตรหลานของผู้มีสัญชาติอังกฤษ และผู้มีหนังสืออนุญาตต่างด้าวที่มีถิ่นที่พำนักถาวร ก็จะได้รับสัญญาติอังกฤษโดยอัตโนมัติ
 
มัสยิดในประเทศอังกฤษ
 
          มีรายงาน ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนมัสยิดในประเทศอังกฤษ (Quilliam 2009)มีประมาณระหว่าง 1.200 – 1.600 มัสยิด ในประเทศอังกฤษ  มัสยิดเป็นศูนย์กลางและมีบทบาทสำคัญ ในวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิมในประเทศตะวันตก มัสยิดจะถูกใช้สำหรับเป็นที่ละหมาดวันละ 5 เวลา, ใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนวิชาการศาสนาอิสลาม เป็นที่พบปะในวาระต่างๆของชุมชน มีมัสยิดหลายแห่งให้บริการจัดการเรื่องทะเบียนและการจัดงานเลี้ยงฉลองงานสมรส การจัดงานบริการเกี่ยวกับการจัดการคนตายตามพิธีศาสนาอิสลาม ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นมัสยิดส่วนใหญ่จะให้บริการการเรียนการสอนศาสนาอิสลามในรูปแบบมัดราซะฮฺ หรือมักตับ ช่วงเวลา ตอนเย็น สอนวิชาการศาสนาอิสลาม การอ่านและท่องจำอัลกุรอาน วิชาอิสลามเบื้องต้น (ฟัรดูอีน) เป็นต้น เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งสอนแก่เด็กๆและเยาวชนสมาชิกในชุมชน บางมัสยิดจัดการเรียนการสอนแยกเพศ สำหรับสตรีโดยเฉพาะ
 
          อิหม่ามและคณะกรรมการประจำมัสยิด เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อวิถีการดำรง ชีวิตของชุมชน อิหม่ามจะเป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้ที่ยึดถือปฏิบัติตามคำสอนแห่งศาสนา และจะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ และชี้นำแก่ชุมชนตามกรอบแห่งหลักการชารีอะฮฺและฟิคหฺและเป็นผู้ทำหน้าที่ให้การเทศนาแก่ชุมชนตามหัวข้อและประเด็นต่างที่ชี้ทางนำและสอดคล้องวิถีอิสลามแก่ชาวชุมชนในทุกวันศุกร์
 
          แม้ว่ามัสยิดมีบทบาทสำคัญในการสนองความต้องการของชุมชนตามสภาพกาล ทัศนะเกี่ยวกับเวลาที่ผ่านไปอย่างน่าชื่นชม โดยเฉพาะทัศนะการแยกเพศ ชายหญิง มีบางปัญหาที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆในสังคม, ปัญหาเกี่ยวกับที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเกี่ยวกับตัวอิหม่าม คุณสมบัติ คุณวุฒิการศึกษา ปัญหาการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นใหม่ หรือเงื่อนไขเฉพาะกาล ความสามารถปรับประยุกต์กับสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนและความยุ่งยาก ตลอดจนถึงนวัตกรรมใหม่ๆในสังคม ที่จะมีผลกับปัจเจกชนและชุมชนส่วนรวม
 
        ยิ่งในยุคที่มีเหตุการณ์การก่อการร้ายที่มักเกิดขึ้น บ่อยในระยะนี้ สื่อสารมวลชนหลายแขนงมักจะหยิบยกปัญหาและมีการกล่าวหาที่มีผลกระทบต่อบทบาทของมัสยิดและอิหม่าม สื่อบางชนิดหรือสื่อบางสำนักที่เป็นผู้ที่มีความอ่อนไหวและถูกชี้นำในทางผิด มักจะกล่าวหาและตำหนิว่า การก่อการร้ายหรือพวกสุดโต่ง หัวรุนแรงมักจะอยู่บริเวณประตูของมัสยิด ซึ่งเป็นการกล่าวหาที่ห่างไกลต่อความเป็นจริงซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีเพียงสื่อบาง กลุ่มที่เป็นสื่อกลุ่มเล็กๆ มีความเป็นอคติส่วนตัวพยายามที่จะกล่าวให้ร้ายแก่มัสยิดเพื่อสนองตัณหา ทัศนะความสุดโต่งของพวกเขานั้นเอง อย่างไรก็ตามชุมชนไม่เคยตกเป็นเหยื่อและประสบความสำเร็จในการปกปักษ์รักษามัสยิดให้พ้นน้ำมือของผู้ที่ไม่มีธรรมะในจิตใจ
------------------------------------------------------
(*20) ดูรายละเอียดประวัติมัสยิดกลางและศูนย์วัฒนธรรมอิสลาม แห่งกรุงลอนดอน
A.L Tibawi , History of the London Central Mosque and Cultural Centre, 1910 – 1980 Die Welt Islam XXI 1-4 1981,M.M Ally, History of Muslims in Britain  ,op. cit pp.78 -82,M.Mumtaz Ali,A Short History of Muslim Immigrations in Great Britian pp.44 -55,J. Nelson , Muslims in Western Europe, Edinburgh , 1992 pp. 4-5 op.cit pp.5 -6,Peter Clarke ,Islam in Contemperary Europe ,World Religions ,London 18990 pp.200- 201
 
(*21) นักวิจัยไม่เป็นมุสลิม เช่น J. Nelson, Peter Clarke และ Peach,ต่างยืนยันตัวเลขเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ว่าประชากรมุสลิมมีประมาณ หรือมากกว่า 1.000.000 คน (ดูในหนังสืออ้างอิงนักวิชาการเหล่านั้น) ในส่วนขององค์กรต่างของมุสลิม เชน องค์กร U.M.O.อ้างว่ามีประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษประมาณ 3.ล้านคนเศษ ตัวเลขที่น่าถูกต้องที่สุดน่าจะประมาณ 2. ล้านเศษ(ดูตัวอย่างตัวเลข ของ Shahid Raza ,Islam in Britain :Past Present and Future 1991, revised edition 1993)
 
        ข้อกล่าวหาที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง ซึ่งชุมชนต่างตระหนักดีถึงบทบาทของมัสยิดที่มีส่วนสำคัญเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรของชุมชน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย จึงมีความจำเป็นในการอบรมและพัฒนาทักษะการพูดของอิหม่ามซึ่งจะเป็นผู้ที่ใช้ในการพูด การเสนอสิ่งดีๆ ดังที่เป็นที่ทราบดีว่า ชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพื้นเพเดิมมีเชื้อสายอินเดีย-ปากีสถาน ซึ่งมีความนิยมที่จะสั่งเข้า หรือนำอิหม่ามมาจากอินเดีย หรือปากีสถานมาเป็นอิหม่าม ด้วยความรู้สึกมีความเชื่อมั่น และมีความสะดวกใจเกี่ยวกับแนวความคิด ความเข้าใจตลอดการเรียนการสอนศาสนาตามจารีตประเพณีนิยมที่เคยยึดถือปฏิบัติตามบรรพบุรุษ ในแบบดั้งเดิม
 
        อย่างไรก็ดีทัศนะแนวความคิดดังกล่าวค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ชุมชนเริ่มมีความคิดถึงความจำเป็นที่ผู้เป็นอิหม่ามควรจะเป็นคนท้องถิ่นปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานของชุมชน ปัญหาเงื่อนไขของสังคมและชุมชน และสามารถเผชิญหน้ากับสภาพสังคมและชุมชนของตนเองได้อย่างดีและตรงจุดที่สุด จึงส่งผลทำให้มีความพยายามในการสร้างและพัฒนาอิหม่ามให้เป็นอิหม่ามอย่างมืออาชีพการสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนะความคิดเห็นค่านิยมตะวันตก การปฏิบัติงานของผู้นำศาสนาควรมีการปรับตัวอย่างเหมาะสมภายใต้กรอบจริยธรรมคำสอนแห่งศาสนาอิสลาม
 
        สถาบันการศึกษาชั้นสูงThe Markfield Institute of Higher Education: MIHE,Markfield, Leicestershire U.K.จึงเกิดขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการวางรูปแบบและการมอบประกาศนียบัตร “วุฒิบัตรอนุศาสนาจารย์” แก่อิหม่ามและนักเรียนมุสลิมทั่วไป ซึงวุฒิบัตรนี้สามารถนำไปใช้เป็นคุณสมบัติหรือหลักฐานในการสมัครเข้าทำงานสำนักงานสาธารณสุข,งานราชทัณฑ์, กองทัพ และ ส่วนราชการอื่นๆในตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ผู้ทำหน้าที่ดูแลความต้องการด้านสภาพจิต และอารมณ์ของมุสลิม
 
          วุฒิบัตร หรือประกาศนียบัตร การฝึกอบรมหลักสูตรอนุศาสนาจารย์ (Chaplains) เป็นหลักสูตรที่สนองตอบต่อความขาดแคลนครูสอนศาสนาในโรงเรียนระดับม.ปลายและถาบันอุดมศึกษา ในส่วนราชการต่างเช่น สาธารณสุข, สังคมสงเคราะห์, ราชทัณฑ์, ตำรวจ, กองทัพ และวงการอุตสาหกรรม
 
          การฝึกอบรมหลักสูตร อนุศาสนาจารย์ ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมาร์กฟีลด์ นับเป็นการส่งเสริมความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของชุมชนและนำสู่ความสมานฉันท์แก่สังคมอันเป็นส่วนรวม วิชาที่ประกอบการสอนในหลักสูตรนี้ ได้แก่ วิชาการเกี่ยวกับการให้คำแนะนำช่วยเหลือการเอาใจใส่ในอิสลาม, วิชามิติทัศน์การให้คำแนะนำ มนุษยธรรม และการพัฒนาจิตใจ, วิชาการพัฒนาการความศรัทธา และความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างศรัทธา ในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนา เป็นต้น.
 
สถาบันการศึกษาชั้นสูงมาร์กฟีลด์(*22) ยังเปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท เช่นหลักสูตรสาขาวิชา ชุมชนมุสลิมศึกษา (Muslim Community Studies) นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรสาขาวิชา อิสลามศึกษา(Islamic Studies) ,มุสลิมศึกษา, สาขาวิชาการธนาคาร การคลังอิสลามและการจัดการ (Islamic Banking , Finance and Management ) หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชา ชุมชนมุสลิมศึกษา (Muslim Community Studies) เป็นสาขาวิชาที่เป็นพื้นฐานของการเสริมสร้างและพัฒนาความเข้าใจในสภาพการณ์ แนวทางที่มุสลิมสามารถใช้ชีวิต และทำงานร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษานำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในฐานะผู้มีบทบาทในการเป็นผู้นำ และนำไปบริหารจัดการกับ ป้จเจกบุคคลมุสลิม ชุมชน และสังคมที่กว้างขวางยิ่งสืบไป
 
มีหลักสูตรที่สำคัญๆที่น่าสนใจ เช่น
-อิสลามและพหุสังคม
-ประเด็นเกี่ยวกับเพศและวิถีครอบครัวในอิสลาม
-การบริหารจัดการมัสยิด
-กองทุนเงินซะกาดและการกุศล
ฯลฯ
 
-------------------------------------------------

(*22)The Markfield Institute of Higher Education;MIHE

Ratby Lane, Markfield, Leicestershire.U.K. Tel: 01530 244 922 Fax: 01530 243 102

            สถาบันการศึกษาชั้นสูง มาร์กฟิลด์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง ก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2543 นับเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงอีกสถาบันหนึ่งในประเทศอังกฤษที่เปิดสอน วิชาการอิสลามศึกษา และให้การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา เพื่อการศึกษาที่เป็นเลิศ มีการศึกษาวิจัย และการฝึกอบรม เพิ่มทักษะการเรียนการสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี และมีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น การพัฒนาทักษะและอาชีพ มีการการริเริ่มพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ สถาบันมีนโยบายในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ สร้างความสัมพันธ์อันดี ส่งเสริมการสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น และให้ความเคารพในความแตกต่างด้านความศรัทธา ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และความหลากหลายในชุมชน สังคม และให้โอกาสแก่ชุมชนศึกษาเกี่ยวกับการที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายในชุมชน และเกิดขึ้นเฉพาะหน้า และทั่วๆไป

        พันธะกิจของสถาบัน 1.เพื่อส่งเสริม การให้ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้าใจในอิสลาม ,โลกอิสลาม ,และชุมชนมุสลิมผ่านการบรรยาย การเรียนการสอน การวิจัย ตลอดจนการเผยแพร่เอกสาร ตำรา เป็นต้น 2.*เพื่อการปฏิบัติการ สร้างสมความสามารถในการวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การประเมินผลและการนำสู่การตัดสินใจและฝึกวินัยตนเอง ในการเก็บเกี่ยวความรู้ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ การชี้นำวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 3.เพื่อเสริมทักษะ สร้างนักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็น พัฒนาการด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ที่จะนำสู่การวิเคราะห์ เสริมสร้างความสามารถที่สอดคล้องกับคุณค่าด้านจริยธรรม  4.เพื่อเตรียมความพร้อม แก่นักศึกษาให้มีความเข้าใจและด้วยความสำนึกความรับผิดชอบกับการที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาร่วมสมัย ที่เกี่ยวข้อกับความทันสมัย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม พหุสังคม ทั้งในและนอกชุมชน 5.เพื่อสนับสนุน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมุสลิมผ่านกระบวนการฝึกอบรม การฝึกอาชีพ การจัดการสัมมนา และการบรรยาย 6.เพื่อสร้าง สะพานเชื่อม ความศรัทธา วัฒนธรรมและอารยะธรรม 7. เพื่อใช้  สรีระและทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการเสริมสร้างจริยธรรมการสร้างทัศน์ทำให้สถาบันมีความเป็นเลิศ

        หลักสูตร มี 2 ประเภท คือหลักสูตรระดับสูงกว่าปริญญาตรี และหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้น

        หลักสูตรระดับสูงกว่าปริญญาตรี เปิดสอน สาขาวิชา อิสลามศึกษา(Islamic Studies) ,สาขาวิขา ชุมชนมุสลิมศึกษา (Muslim Community Studies) , สาขาวิชาการธนาคาร การคลังอิสลามและการจัดการ (Islamic Banking ,Finance and Management )

        หลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้น MIHE เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น เปิดโอกาสให้มีการศึกษา การพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดจนทักษะการปฏิบัติ การสร้างสมประสบการณ์ในชุมชน เพื่อการปรับตัวรับกับประเด็นปัญหาสังคม ละชุมชน หลักสูตรถูกออกแบบเพื่อพัฒนาทัศนคติ ทักษะ อาชีพโดยผู้สอนที่มีประสบการณ์ และไม่จำกัดผู้เรียนเฉพาะมุสลิม แต่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสนใจ หรือองค์กรที่ทำงานในชุมชนมุสลิม และเสนอโอกาสแก่ผู้สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้ทัศนะใหม่ และได้รับการฝึกฝน สร้างสมประสบการณ์เพื่อยกระดับ-ช่วยเหลือชุมชนมุสลิมที่ต้องเผชิญปัญหาสังคมและชุมชน

        หลักสูตรระยะสั้น ประกาศนียบัตรอนุศาสนาจารย์มุสลิม มีดังนี้ :หลักสูตรวุอนุศาสนาจารย์มุสลิม (Training of Chaplains)หลักสูตรการแนะนำอิสลามเบื้องต้น( Introductions to Islam Counselling) หลักสูตรประกาศนียบัตรการธนาคารอิสลาม ( Certificate in Islamic Banking ) หลักสูตรประกาศนียบัตรการคลังอิสลาม : ทฤษฏี และการปฏิบัติ ( Diploma in Islamic Finance : Theory and Practice) และหลักสูตรอื่นๆ หลักสูตร

มีระยะเวลาของแต่ละหลักสูตร มี ตั้งแต่ 8 วัน จนถึง 7 เดือน

        คณาจารย์ ประกอบด้วย 

         -Professor Khurshid Ahmad Chair of the MIHE Board of Directors,
         -Dr. M. Manazir Ahsan Rector
         -Dr. Seif Tag El Dinl BSc (Hons), MSc, PhD Head of Islamic Banking, Finance and  Management
        -Dr. Ataullah Siddiqui BA (Hons), PhD (University of Birmingham) Academic Director and Reader,
        -Dr. Abdullah Sahin BA, PGCE, MEd, PhD (University of Birmingham) Head of Research
        -Shaikh Faizal Ahmad Manjoo Lecturer, MIHE
        -Ms. Fozia BoraLecturer, MIHE
        -Professor Mohammad Nejatullah Siddiq
        -Professor John Presley    B.A., PhD, Emeritus Professor of Economics
        -Dr. M. Fahim Khan เป็นต้น
        MIHE มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาร่วมสมัย หรือปรากฏการณ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆในสังคม หรือหากมีข้อชี้แนะเกี่ยวกับหลักสูตร หรือปัญหา ดังกล่าว หรือต้องการให้มีการสร้างหลักสูตรใหม่โปรดส่งรายละเอียด ข้อมูลได้ที่
 
Please email ; [email protected] with your contact details
 
 
 
          ขณะที่ระบบการเรียนการสอนตามรูปแบบ ระบบ มัดราซะและมักตับมีความสำคัญและมีคุณค่าส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษาชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษและวิถีชีวิตศาสนาในระดับการศึกษาพื้นฐานศาสนาเบื้องต้น(ฟัรดูอีน) แก่เด็กๆและเยาวชนทั้งชายและหญิง ซึ่งยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ หรือลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และต้องมีการปรับปรุงการสอนของครูผู้สอน ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ยังมีความด้อย หากเปรียบเทียบกับวิธีการสอน หรือกระแสหลักในระบบการศึกษา พบว่า นักเรียนมีความเบื่อหน่ายกับการเรียน และขาดการให้ความสนใจต่อการเรียนการสอน จึงเป็นหน้าที่ของชุมชนที่ต้องเสียสละทุ่มเททั้งเวลา แรงกาย รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ เพื่อสถาปนาระบบการศึกษาซึ่งเป็นหลักของชุมชนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
 
          ประการสุดท้าย มีเสียงเรียกร้องต้องให้มีการอำนวยความสะดวกแก่เพศอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน   เช่นการจัดสถานที่ อำนวยความสะดวกแก่สตรีที่เข้ามามีส่วนร่วม และเข้าร่วมกิจกรรมในมัสยิด การจัดสถานที่สำหรับสตรีเป็นสัดส่วนเฉพาะ ซึ่งในความเป็นจริง บางมัสยิดไม่ได้มีการก่อสร้างแยกที่ละหมาดของสตรีให้เป็นสัดส่วน มีมัสยิดหลายแห่งตอบรับข้อเรียกร้องและได้มีการแก้ไขจัดการและปรับปรุง สนองตอบข้อเรียกร้องด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยดีแล้ว
 
ณะกรรมการที่ปรึกษาอิหม่ามและมัสยิดแห่งชาติ
The Mosque and Imams National Advisory Board :MINAB
 
          MINAB เป็นองค์กรใหม่ที่มีส่วนสำคัญ เกี่ยวข้องกับมัสยิดโดยเฉพาะ นับได้ว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญของมุสลิมอังกฤษ สร้างความพึงพอใจแก่ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาลอังกฤษและชุมชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม องค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ คือ The Mosques and Imam National Advisory Board :MINAB หรือคณะกรรมการที่ปรึกษาอิหม่ามและมัสยิดแห่งชาติ องค์กรที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของชุมชน, จาก การริเริ่มการผลักดันของชุมชนมุสลิมและนำโดยชุมชน จุดประสงค์หลักเพื่ออำนวยหลักธรรมาภิบาลแก่มัสยิด การทำงานเพื่อยกระดับมาตรฐานในการจัดฝึกอบรมอิหม่าม การบริหารมัสยิด, MINAB เป็นองค์กรอิสระ ไม่มีการแบ่งแยกสังกัดนิกายใดๆ หรือกลุ่มคณะใดๆ มีผู้แทนจากหลากหลายสำนัก แนวความคิด ตัวแทนจาก 4 องค์กรระดับแนวหน้าของมุสลิม ร่วมบริหารคือ
 
          -สภามุสลิมอังกฤษ                The Muslim Council of Britain : MCB
            -สมาคมมุสลิมอังกฤษ            The Muslim Association of Britain : MAB
            -มุสลิม บริทิช โฟรั่ม                         The British Muslim Forum : BMF
            -The Al-Khoei Foundation : KF
 
            MINABมิได้มีเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์เพียงเพื่อช่วยเหลือมัสยิดในการดำเนินการหลักในการทำหน้าที่ในฐานะเป็นศูนย์กลางการจัดตั้งในชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นให้ช่วยเหลือในการพัฒนา ธรรมาภิบาล.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพัฒนาการเข้าถึง การมีส่วนร่วมของสตรี เยาวชนในการร่วมกิจกรรมของมัสยิด และยังมีเป้าหมายในการขยาย การฝึกฝนการปฏิบัติการที่ดีที่สุดในการพัฒนาการยกระดับมาตรฐานและสนับสนุนให้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง ในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ สร้างความสามัคคีปรองดองเป็นศูนย์กลางของการรวมตัวของพลเมืองและการพบปะสนทนา
 
 
          การร่างรัฐธรรมนูญองค์กร MINAB และระเบียบมาตรฐานจริยธรรมได้มีการประกาศใช้ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007)หลังจากใช้เวลากว่า 10 เดือนในการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เอกสารถูกแก้ไข ทบทวนเพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุดและให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009)พร้อมๆกับการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ผู้บริหารองค์กร และคณะกรรมการกลาง เริ่มเข้าทำงาน ขณะนั้นมีมัสยิดประมาณ 600 มัสยิดและ ดารุลอูโลม สมัครเป็นสมาชิก MINAB และคาดว่าสิ้นปี พ.ศ.2552 นี้จะหรือต้นปี 2553 จะมีมัสยิดสมัครเข้าเป็นสมาชิกถึง 1,000 มัสยิด
 
          เกี่ยวกับบทบาทมัสยิดในอนาคต ต้องยอมรับว่า บทบาทของอิหม่ามมัสยิดควรจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำ หรือชักจูงเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมชุมชนมุสลิมและชุมชนสังคมส่วนรวมและกับกลุ่มอื่นๆได้ และอิหม่ามต้องเป็นผู้คอยกระตุ้นนำพลัง ความสามารถของเยาวชนมุสลิมมาใช้ในกิจกรรมสร้างสรรค์ เกิดผลดีสังคมชุมชนมุสลิม และเพื่ออนาคตอันรุ่งโรจน์ในสังคมมุสลิมในตะวันตกต่อไป
 
          อิหม่ามควรเป็นผู้ที่เล่นบทบาทของผู้นำความศรัทธาและเป็นตัวกลางที่สำคัญในการเชื่อมต่อกันระหว่างชุมชนและชุมชนต่างศาสนิกและรัฐ ด้วยความระมัดระวัง ใช้ความละเอียดอ่อนพัฒนาการอย่างมืออาชีพ
 
          โรงเรียนมัดราซะฮฺ/มักตับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาแบบจารึตนิยม ควรจะมีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของเยาวชนมุสลิมในอนาคต ในฐานะเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย การถกกันในเรื่องของความเป็นพลเมืองกับการประยุกต์ผสมผสานกันในระหว่าง กรอบระเบียบ หลักการชารีอะฮฺ กับทัศนะที่เป็นกระแสหลักในสังคม มัสยิดและอิหม่ามควรที่จะมีบทบาทอย่างแข็งขัน มีความจริงจังในเรื่องของการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น องค์กรของกลุ่มคนต่างศาสนา และสื่อต่างๆ และในทำนองเดียวกันบทบาทของมัสยิดและอิหม่ามควรเป็นผู้ประสานงานร่วมกับองค์กรต่างในชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน บนพื้นฐานการประสานประโยชน์ร่วมกันอ้นเป็นประโยชน์ส่วนรวม
 
          มัสยิดและอิหม่ามควรเป็นผู้ที่มีทัศนะความเห็นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับชุมชนต่างศาสนา ต่างศรัทธา ในพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่อง และจะเป็นการเข้าร่วมกันในการเกื้อหนุนกันในเครือข่ายระหว่างศาสนา ในสังคมทีมีความหลากหลายในศรัทธา
 
          บทบาทของมัสยิดและอิหม่าม ในการใช้ความสามารถในการปกป้อง ป้องกันความรุนแรง จากการละเมิดของพวกหัวรุนแรงสุดโต่งบางพวกบางกลุ่มเป็นภารกิจประการหนึ่ง นับตั้งแต่อิสลามยังไม่ได้นำความศรัทธาเป็นมาตรการต่อต้านการละเมิดใช้ความรุนแรงดังที่ได้กล่าวในตอนต้น และรวมถึงเยาวชน สตรีและชนกลุ่มชนกลุ่มน้อยในคณะกรรมการมัสยิด จะต้องสนับสนุน เสริมสร้างความสามัคคี ความเป็นภราดรภาพในชุมชนมุสลิมในตะวันตก
 
          อีกประการหนึ่ง บทบาทของมัสยิดและอิหม่ามต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานตามอำนาจหน้าที่ร่วมกับหน่วยบังคับเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และหน่วยบริการ เพื่อกระตุ้นชุมชนตระหนักในความเป็นชุมชนและแก้ไขในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมุสลิมที่ชุมชนมีความจำต้องการเป็นพิเศษ ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข, ราชทัณฑ์,และ หน่วยบริการทางสังคม, โรงเรียนและหน่วยตำรวจหน่วยต่างๆเหล่านี้ซึ่งมีหน้าที่ในเขตรับผิดชอบ มัสยิดควรทำหน้าที่ในการจัดการ การชักนำ กำกับดูแลและติดตามการดำเนินกิจกรรมของเยาวชน และคณะเดียวกัน เปิดทางชักนำสตรีเข้ามาร่วมกิจกรรมของชุมชนด้วย
 
          กล่าวโดยสรุปแล้ว ยังมีกรณีบางประการของการที่เผชิญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของอิหม่ามและมัสยิดซึ่งมีในโครงการแนวความคิดที่ดีเยี่ยมที่เตรียมการไว้แล้วและมีแนวความคิดแนว ทางในเอกสารของ สภามุสลิมแห่งประเทศอังกฤษ(MCB) เป็นเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาความ สามารถและประสิทธิภาพในการสร้างมัสยิดและองค์กรอิสลาม และคาดหวังว่า MINAB จะจัดการกับประเด็นต่างๆเหล่านี้อย่างจริงจัง และสร้างความชื่นชมและการสนับสนุนทั้งจากประชาชนระดับรากหญ้าและผู้นำศาสนาในสถาบันมัสยิดและอื่นๆ
 
สำนักกลุ่มความเชื่อทางศาสนากลุ่มต่างๆของชุมชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ
 
          เป็นการยากที่จะจัดจำแนก หรือชี้ให้ชัดลงไปถึงกลุ่มระบบความเชื่อทางศาสนาหรือที่นักบูรพาคดีเรียกว่า “นิกาย” ซึ่งมุสลิมในอังกฤษจำนวนมากที่ไม่มีการแสดงออกถึงการเป็นผู้สังกัดกลุ่ม หรือเป็นสาวกของกลุ่มสำนักความเชื่อหรือนิกายใดออกมาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากเราจะจำแนกในมุสลิมสุนนี เราสามารถแยกแยะอย่างกว้างๆตามสายตา 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้คือ คือกลุ่ม the Barevis,กลุ่ม the Deobandi หรือ Tablighi Jammt, และ-กลุ่ม Jammat-i-Islami  ,หรืออาจแยกแยะตามลักษณะธรรมชาติที่มีเป็นไปตามลักษณะความทรงจำในอดีต เช่นมุสลิมอินเดีย และปากีสถาน ซึ่งยังมีการโต้เถียงกัน มีการกล่าวร้ายก่อกัน, ในศตวรรษที่ 70 และตนศตวรรษที่ 80 มีการวิวาทใช้กำลังประทุษร้ายต่อกันระหว่างมุสลิม กลุ่ม the Barevis แล กลุ่ม Deobandis ในประเทศอังกฤษ และยังมีความต่อเนื่องสืบมา จนถึงคนรุ่นที่สอง และรุ่นที่สาม หากมองผ่านมุมมองด้านการศึกษาแล้วมุสลิมในอังกฤษกลับไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวัง การจักกลุ่มตามที่กล่าวมาเบื้องต้นหากพิจารณา พื้นเพเดิม มุสลิมที่อพยพมาจาก อินเดีย-ปากีสถาน จากกลุ่มประเทศอาหรับ อัฟริกา และที่อพยพมาจากพื้นที่อื่น ซึ่งปกติโดยทั่วไปแล้วไม่เหมือน กลุ่ม Deobandi และ Barevis ยังมีมุสลิมกลุ่มเล็กๆ เช่น กลุ่ม Shi’ite กลุ่ม Ahl-e-Hadith และ กลุ่ม Muslim Brotherhood
 
          มุสลิมในอังกฤษมีลักษณะคล้ายคลึงกับมุสลิมใน ยุโรป และอเมริกา มีบทเรียนอันเป็นประสบการณ์เหมือนกัน โอกาสดีที่ได้โอกาสในการสร้างถื่นฐานหรือลงหลักปักฐาน,การขยายตัวจำนวนผู้เข้ารับอิสลาม มีการพัฒนาองค์กร หรือสถาบันต่างๆของชุมชนตนโดยได้รับการสนับสนุน หรือไม่ได้รับการดูแลสนับสนุน และอื่นๆ ระดับของความผิดหวังและเกิดความไม่พึงพอใจและเกิดความคับแค้นใจที่เกิดจากการสั่งสมประสบ การณ์จากความมีคติ การเลือกปฏิบัติเลือกดูถูกดูหมิ่น ความรังเกียจชิงชังไม่มีเหตุผล ความเกลียดชังเหล่านี่ไม่เสื่อมคลายแม้ว่า มุสลิมในอังกฤษ จะประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและการสถาปนาเอกภาพชุมชนมุสลิมและภาพพจน์ผ่านสื่อต่างทั้งสื่อสิงตีพิมพ์และสื่อ อิเล็คโทรนิคส์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และการดำเนินการอย่างมากมายอันเป็นการสนุนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอังกฤษก็ไม่อาจทำให้เป็นที่ยอมรับได้
 
          ผลสืบเนี่องจากการล้มสลายของคอมมิวนิสต์ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและโซเวียต-รัสเซีย ประเทศตะวันตกจึงใช้อิสลามหรือมุสลิมอย่างสะดวกที่จะใช้เป็นเป้าหรือแพะบูชายันต์ใหม่แทน ความพยายามที่จะป้ายสีหรือกล่าวหาทำให้มุสลิมมีภาพพจน์ของพวกเคร่งครัดจารีตนิยม(Fundamen- talist) และพวกเขาจึงมีความชอบธรรมในการบอกปัดหรือปฏิเสธใดๆ ในกระบวนการการจัดการศึกษาความเสมอภาคในการปฏิบัติภายใต้กฎหมาย การจ้างงาน กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่า เมือคำว่า พวกจารีตนิยมถูกนำเป็นข้อกล่าวหา หรือนำไปใช้ในการบิดเบือน หรือกลบเกลื่อนนั้นเอง จนกลายเป็นเรื่องราวปกติในวงการราชการที่มักการยกเป็นข้ออ้างสร้างความกลัวสงสัย หวาดระแวง และรู้สึกชิงชังรังเกียจอย่างแรงต่อมุสลิม จนนาย Michael Ignatieff นักเขียน นักจัดรายการวิทยุ ใช้คำกล่าวหาว่า มุสลิม หมายถึง พวกจารีตนิยม พวกจารีตนิยม หมายถึงพวกคลั่งไคล้อย่างไม่มีเหตุผล (Muslim means Fundamentalist, Fundamentalist means Fanatic)(*23)
 
การจัดการอิสลามศึกษาของชุมชุนมุสลิมในอังกฤษ
 
          การจัดการอิสลามศึกษาของชุมชนมุสลิมประเทศอังกฤษ มีความแตกแต่งไปจากมุสลิมในประเทศ เบลเยี่ยม , เดนมาร์ก, และบางประเทศอื่นในยุโรป ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในประเทศอังกฤษ เช่นในวงการอิสลามศึกษาอิสลามไม่ได้รับเงินอุดหนุนช่วยเหลืออย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และต้องบันทึกในที่นี้ว่าไม่เหมือนสหรัฐอเมริกา มุสลิมส่วนใหญ่ที่อพยพมาตั้งรกรากในประเทศนี้มีสถานภาพและภูมิหลังที่ด้อยการศึกษาอยู่แล้ว   แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าบุตรหลานของพวกเขาที่จะเติบโตขึ้นมาสืบต่อพวกเขาทั้งหมดให้การส่งเสริมสนับสนุน ด้วยเหตุนี้พบว่าพวกเขาต้องการที่ส่งคงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าในอิสลามตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณีในครอบครัวของเขา และไม่ต้องการให้ลูกหลานของพวกเขาสูญเสียเอกลักษณ์อิสลามของพวกเขา แม้จะจะเป็นแค่ผิวเผินหรือไม่สมบูรณ์นักก็ตาม เขามองการรุกของระบบวัฒนธรรมเซคิวลาร์ หรือฆราวาสโลกีย์มีพลังเหนือกว่ามาก หากไม่ได้ดำเนินการ หรือทำอะไรสักอย่างแล้ว คนรุ่นใหม่อันเป็นลูกหลานของพวกเขาจะถูกกระแสการกลมกลืนและสูญเสียอิสลามไปอย่างสมบูรณ์แน่นอน
 
--------------------------------
(*23) ดูรายละเอียดใน Observer July. 1992
 
          ดังนั้นด้วยความตระหนักต่อสภาพการณ์ดังกล่าว องค์กรมุสลิม ผู้นำชุมชุนมุสลิม จึงเรียกร้องต่อสมาชิกในชุมชนให้ตระหนักถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องมีการสถาปนาการเรียนการสอนวิชาศาสนาอิสลามด้วยการเสริมการเรียนการสอนพิเศษเวลาบ่ายหลังเลิกเรียน หรือเปิดให้มีห้องเรียนสุดสัปดาห์พิเศษตลอดจนการจัดตั้งโรงเรียนอิสระเป็นของชุมชนเองตามกำลังความสามารถที่พึงกระทำได้
 
          อิสลามส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบแยกเพศนักเรียนชาย-หญิงตามปกติแล้วเมื่อเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิงบรรลุถึงวัยที่เรียกว่า “ศาสนาภาวะ” (อากีลบาลิฆ)  ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ปกครองของเด็กก็จะไม่ส่งไปเรียนหนังสือโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่โตแล้วเข้าไปเรียนในโรงเรียนสหศึกษา และความวิตกกังวลเริ่มเครียดเพิ่มขึ้น เมื่อโรงเรียนที่เปิดสอนในลักษณะแยกเพศ หรือโรงเรียนชาย หรือโรงเรียนหญิง ถูกยกเลิกในหลายพื้นที่ และให้มีการเรียนรวมกัน หรือจัดตั้งใหม่เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนแบบสหศึกษาแทน
 
 
          ตัวอย่างเช่นที่ เมืองเลสเตอร์ มีโรงเรียนหญิงเฉพาะหญิงแห่งเดียว ชุมชนมุสลิมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดโรงเรียนสำหรับหญิงเป็นของชุมชนเองด้วยกำลังทรัพย์เพียงเล็กน้อย และบางครั้งทำให้ขาดสิ่งที่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกและไม่เพียงพอ สถาบันการศึกษาอิสลาม แห่งเมือง เลสเตอร์ จึงก่อตั้งขี้นในปี พ.ศ.2535 (ค.ศ. 1992) โรงเรียนประถมศึกษาอัล-อักซอร๋ ขึ้น และต่อมามีการสร้างโรงเรียนมาดีนะฮฺ ขึ้นมาอีกโรง และมีใช่เพียงแค่นั้น พร้อมกับโรงเรียนในเมืองเลสเตอร์ ก็ได้มีโรงเรียนมุสลิมเกิดขึ้นในเมืองต่างๆ เช่น กรุงลอนดอน, เบอร์มิงแฮม, แบรดฟอร์ด, แมนเชสเตอร์ ที่มีความพร้อม เปิดสอนหลักสูตรระดับประถมศึกษา   และระดับมัธยมศึกษา ทั้งโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิง
 
          เมื่อยังไม่มีการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาลอังกฤษ มุสลิมจึงมีทางออกด้วยการส่งลูกหลานไปเรียนศาสนาตอนเย็นซึ่งเป็นที่รู้จักในนามโรงเรียน    “มัดราซะฮฺมัสยิด” ที่จัดตั้งในบริเวณมัสยิด หรืออาจเป็นอาคารบ้าน ใช้เป็นสถานที่สอน  หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนไม่ค่อยทันสมัย รวมทั้งผู้สอนไม่ใช่เป็นครูมืออาชีพ ขาดคุณภาพในการสอน รวมทั้งผู้สอนไม่ค่อยสันทัดในการสอนเด็กๆด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ
 
          อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนในโรงเรียนมัดราซะฮฺในมัสยิด หรือบ้าน แม้จะไม่คอยมีคุณภาพ แต่ก็สามารถทำให้เด็ก – เยาวชนสามารถอ่านอัลกุรอานได้ สามารถละหมาดวันละ ห้าเวลาได้ เข้าใจภาษาพื้นเมืองดั้งเดมของบรรพบุรุษ และมีความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานอิสลาม หรือฟัรดูอีนได้
 
          กระนั้นก็ตาม สภาพที่ดำรงอยู่แม้เป็นทางออกของมุสลิมเพื่อสนองวิถีของมุสลิมได้แต่ก็นับว่าเป็นการสร้างภาระหนักในการเรียนของเด็กๆ เยาวชนซึ่งลำพังแต่ละวัน เด็กและเยาวชนต้องไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนตลอดทั้งวันแล้ว เด็กและเยาวชนมุสลิมต้องมาใช่เวลามาเรียนศาสนาต่อที่โรงเรียนมัดราซะฮฺในตอนเย็น ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนต่ออีกประมาณ 1 – 2 ชั้วโมง แทนที่จะเป็นเวลาพักผ่อนที่บ้านกับครอบครัว หรือใช้เป็นเวลาการพักผ่อน การเล่นกีฬา หรือนันทนาการ เสร็จจากการเรียนที่มัดราซะฮฺเมื่อกลับมาถึงบ้านก็เหนื่อยเกินไปที่จะต้องกลับมาจัดการเรื่องส่วนตัวและต้องมาทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
 
          และยังคงทำให้เด็กและเยาวชนมุสลิมไม่มีทางเลือกอื่น แม้การเรียนศาสนาที่โรงเรียนมัดราซะฮฺมิใช่จะเป็นระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบ แต่ชุมชนมุสลิมในอังกฤษถือว่าเป็นความจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสำนึกในคุณค่าแห่งอิสลามและอัตลักษณ์เฉพาะของเด็กและเยาวชนมุสลิมในประเทศอังกฤษ
 
          มีปัญหาอื่นๆ ที่ประสบคือปัญหาเรื่องการแต่งกาย ระเบียบเรื่องเครื่องแบบของนักเรียนหญิง อาหารฮาลาลที่โรงเรียน เครื่องแต่งกายสำหรับนักกีฬาว่ายน้ำ การเรียนวิชาเพศศึกษา วิชาการร้องเพลงเต้นรำและ การเล่นดนตรีเป็นต้น ปัญหาต่างๆเหล่านี้ บ้างอย่าง บางแห่งได้รับการยอมรับบ้างและอนุโลม หรือผ่อนผันในบางประการ และได้รับการชี้แจ้งด้วยการสร้างความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจจากเจ้าหน้าที่ พนักงานท้องถิ่น ประกอบกับความพยายาม ความทุ่มเท เอาใจใส่ของผู้นำชุมชน นักวิชาการศึกษา ซึ่งอยู่ในระหว่างการพูดจา การเจรจาและการศึกษาเพื่อหาทางแก้ไขสู่ทางที่ดีในโอกาสต่อไป
 
          ตัวเลขเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชน 6.000 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่ได้รับเงินช่วยเหลือ หรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอังกฤษ ประมาณ 85 %ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ โดยพื้นฐานจาก พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ. 1944 มีโรงเรียนสอนศาสนาจากชุมชนชาวคริสเตียน และชุมชนชาวยิว ได้รับใบอนุญาตเปิดสอนศาสนาและสามัญทั้งในเมืองและชนบท จำนวนหนึ่ง ด้วยความพยายามและมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของชุมชนที่จะดำเนินการเปิดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและวิชาสามัญ แม้ต้องร้องศาลก็ตาม และในที่สุด ชุมชนมุสลิมประสบความสำเร็จ ได้รับสิทธิ์ในการเปิดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ควบคู่วิชาสามัญแห่งแรกในปี พ.ศ.2540 (ค.ศ. 1997) นับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมามีโรงเรียนมุสลิมได้รับอนุญาตให้เปิดการเรียนการสอนเพิ่มอีก 10 โรง มีสถานะเป็นโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ จนถึงกลางปีพ.ศ.2552 (ค.ศ. 2009) มีผู้ยื่นขออนุญาตเปิดโรงเรียนอีก 15 รายอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจาณา
 
          มีตัวเลขในปีพ.ศ.2552 (ค.ศ. 2009)มีโรงเรียนในประเทศอังกฤษทั้งหมด รวม 20.282 โรง มีโรงเรียนเอกขนสอนศาสนาทั้งสิ้น 6.802 โรง ประมาณ ร้อยละ 68เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาคริสต์ นิกายเชริ์สออพอิงแลนด์ จำนวนร้อยละ 30 เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาคริสต์ นิกาย โรมันแคธอลิคและ ส่วนชุมชนชาวยิวมีโรงเรียนเอกชาสอนศาสนายูดายที่ได้รับอนุญาตแล้วประมาณ 38 โรง
 
 
*****************
ยังมีต่อโปรดติดตาม
อิสลามและมุสลิมในประเทศอังกฤษ : อิสลามพิชิตตะวันตก ตอนที่2