Skip to main content
บูราฮานูดิน อุเซ็ง
แปล-เรียบเรียง*
 
 
 
color:#333333">หมายเหตุ: งานชิ้นนี้แปลและเรียบเรียงจากบทความเรื่อง My Pesantren : Darur Ridwan   ของ Mayra Walsh  นักศึกษา ตามโครงการ The Australian Consortium for ‘In-Country’ Indonesian Studies (ACICIS) โครงการแลกเปลี่ยน ออสเตรเลีย -อินโดนีเซีย มหาวิทยาลัย เมลเบอร์น ออสเตรเลีย เป็นผู้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง Pondok Pesantren dan Ajaran Golongan Islam Extrim
 
 
color:#333333">เช้าตรู่วันนั้นอากาศสดชื่นเย็นสดใสและยังคงไร้แสงสว่าง เวลานั้นตี 04.15  น.  เอ็ท (Eet) เพื่อนสนิทของฉัน เพื่อนนักเรียนชั้นปีที่ 6 ปลุกฉันด้วยเสียงงัวเงีย และถูกนำพรมหน้าจากหน้าต่างข้างเตียงนอนของฉัน  ณ ที่นี้ คือวิถีชีวิตของชุมชนเล็กๆ ดารุลริซวาน ได้เริ่มต้นมาสู่ชีวิตและคืบคลานอย่างช้าช้า เสียงไมโครโฟนจากมัสยิดที่ถูกเปิดขึ้นและมีเสียงทดสอบเสียง พร้อมๆกับเสียง ไอ แค็ก-แค็ก และมีเสียงจากนาฬิกาปลุกดังกังวานไปทั่ว เป็นเสียงเรียกเพื่อเชิญชวนตื่นขึ้นมาละหมาด และจากนั้นในเวลาอันไม่ช้า ทุกคนก็จะไปรวมกันที่มัสยิดเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่หลังอาคารหลักในอาณาบริเวณชุมชนนั้น  เอ็ท เธอเป็นคนรูปร่างเล็ก แต่เป็นคนที่มีความมั่นใจสูง เป็นผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยง คอยดูแลฉัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มเดินทางมาถึงครั้งแรก  เอ็ทเร่งเร้าฉันเพราะเกรงว่าจะไม่ทันคนอื่นๆเขาอีก
 
...................................................................................
 
color:#333333"> เปเซ็นเตร็นดารุลริซวานของฉัน[1] ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะชวาตะวันออก ที่ค่อนตั้งไปทางตะวันออกของเกาะ  หมู่บ้าน บายูวางี (Banyuwangi) นักเรียนนักศึกษาที่นี้ ส่วนใหญ่ดังเช่น เอ็ท  เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้านใกล้เคียง แต่ก็มีบางส่วนที่มีภูมิลำเนาจากแดนไกล เช่น บาหลี สุราบายา และสุลาเวซี  พวกเธอเป็นลูกสาวของนักธุรกิจ ครู พนักงาน ข้าราชการ แม่บ้านที่ทำงานหนักและทุ่มเทเพื่อสร้างความมั่นใจ และจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมากกว่าการส่งเรียนในโรงเรียนประจำท้องถิ่นใกล้ๆ ในประจำหมู่บ้าน  ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ลูกหลานของเขา จะได้รับการปลูกฝังจริยธรรมที่ดีงามเลิศ และเรียนรู้วิชาการด้านศาสนาที่เคร่งครัด
 
color:#333333">การละหมาด ญามะอะฮฺ ยามเช้าเวลาซุบฮิ  เป็นเสมือนการปลุกหรือสร้างความตื่นตัว รับความสดชื่นของอากาศยามเช้า  เป็นวิถีแห่งการเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ที่เต็ม ด้วยบรรยากาศที่สดชื่น และเย็นสบาย ดังที่ฉันได้เข้าร่วมในการละหมาดยามเช้าร่วมกับเพื่อนๆนักเรียน ประมาณ 60 คน รวมถึงประชาชนเพื่อนบ้านข้างเคียงรอบๆบริเวณเปเซ็นเตร็น  ฉันสวมชุดละหมาดสีขาว อาบน้ำละหมาด ก่อนเดินเข้าสู่มัสยิด อ่านอายะฮฺกุรอ่านตามควรแก่อัตตภาพ (เพราะฉันยังอ่านไม่ค่อยคล่องนัก) และร่วมปฏิบัติศาสนกิจ ละหมาดร่วมกับคนอื่นๆ - ยืน- ก้ม- กราบ – สลามจนเสร็จ
 
color:#333333">เบื้องหลังข้อเท็จจริง
 
color:#333333">จะเป็นอะไรไป เมื่อผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามและ เป็นนักศึกษาสาวจากประเทศออสเตรเลียเลือกมาใช้ ชีวิตในโรงเรียนกินนอนของชาวมุสลิมในชวาตะวันออก ฉันคือหนึ่งในจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยน ตามโครงการ และเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย (ACICIS) ได้เข้ามาลงสนามศึกษาตามโครงการฯ  ด้วยความตั้งใจเป็นพิเศษที่เลือกมาที่นี้ เป็นความตั้งใจจะมาศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในภาคสนามจริง ๆซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะหมกหมุนในการศึกษาจากตำราวิชาการ
 
color:#333333">นับตั้งแต่ผลพวงจากเหตุการณ์วางระเบิดพลีชีพที่ เกาะบาหลี โดยฝีมือของเครือข่ายกลุ่มญามีอะฮฺ อิสลามียะฮฺ หรือเจไอ สื่อนานาชาติต่างพร้อมใจกันประโคมข่าว กล่าวหาว่า โรงเรียนปอเนาะ  ปาเซ็นเตร็น ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นเสมือนแหล่งกบดานและบ่มเพาะของบรรดาพวกมุสลิมหัวรุนแรง บางคนอาจคิดเลยเถิอว่า ฉันเป็นคนหนึ่งที่มีจิตใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น และเป็นผู้ที่สนับสนุนความรุนแรงดังกล่าว ฉันเองนั้นเป็นผู้หนึ่งที่เพียงพยายามเข้าไปศึกษาหาประสบการณ์ชีวิตในปอเนาะ ดารุลริซวาน มากกว่าที่จะเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องและมีบทบาท สำคัญและนับเป็นโอกาสที่ดีของฉันที่จะได้เข้ามาสัมผัสและฉันได้พิจารณาแล้ว พบว่า สิ่งที่ฉันประสบพบเองกลับมีความแตกต่างจากพื้นฐานความรู้สึก ความเข้าใจผิดๆว่า พวกเขาไม่เป็นมิตรและต่อต้านตะวันตก ตามที่สื่อนานาชาติพยายามป้ายสี สร้างภาพลักษณ์ หรือแสดงให้เห็นตลอดมา
 
color:#333333">ฉันได้มีโอกาสสัมผัสโดยตรงกับสภาพความเป็นจริงในชุมชนที่นี้ เปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน พร้อมๆ
color:#333333">กับเหตุการณ์การวางระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม2002 (พ.ศ 2545) และทางการอินโดนีเซียได้ทำการสืบสวน สอบสวนติดตามผลอย่างใกล้ชิด และสามารถทำการจับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวแล้ว ฉันรู้สึกว่าฉันได้รับการปฏิบัติอย่างดีมาก ต่อการเข้ามาและเป็นประสบการณ์พิเศษซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างจากภาพลักษณ์ที่สื่อนานาชาติพยายามยัดเยียด พรรณา สร้างภาพปอเนาะ เปเซ็นเตร็นมีวิถี ความไม่เป็นมิตร ต่อต้านตะวันตก
 
color:#333333">ข่าวสาร และภาพที่บันทึกนำมาเผยแพร่ที่น่ากลัวของเหตุการณ์ที่เกาะบาหลีนั้น  พวกเราได้รับทราบพร้อมๆกัน  ฉันนั่งติดตามข่าวบนพื้น และจ้องการรายงานสดทางโทรทัศน์ในบ้านหลังใหญ่เป็นเวลาประมาณชั่วโมงเศษ  ยิ่งรู้สึกสับสน และกังวลกับจำนวนของเหยื่อที่เพิ่มขึ้น ฉันก็ไม่ได้นั่งดูอยู่คนเดียว ยังมีคนอื่นๆหลายคนนั่งอยู่บนพื้น รวมทั้ง ปะกียายี Pak Kiai[2] สมาชิกในครอบครัว นักเรียนรุ่นพี่ และ ครูผู้สอนหลายคน พวกเขาต่างปลอบใจและแสดงความเห็นอกเห็นใจกับฉัน ต่อเหตุการณ์ที่มีผู้บริสุทธิ์หลายคนต้องสูญเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก
 
color:#333333">ฉันได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบมากมายซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ระเบิดที่มีต่อประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะชุมชนชาวบาหลี และยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ผู้ก่อเหตุไม่คำนึงถึงผลกระทบตามมา ต่อการเมือง เศรษฐกิจ  ชุมชนที่นี้เขาจะสนทนากันถึงสภาพของครอบครัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลีย เขาพูดถึงสิ่งที่ไม่มีคำสอนในอัลกุรอานที่สนับสนุนการกระทำที่เป็นอาชญากรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์  เช่นนักท่องเที่ยวในย่าน กูตา (KUTA) และกล่าวว่าผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ เป็นผู้บิดเบือน ทำลายสัจธรรมคำสอนอิสลามและกระทำไปเพื่อสนองวาระทางการเมืองของพวกเขาเท่านั้น ทั้งๆที่ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติ
 
color:#333333">หลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย
color:#333333">  
color:#333333">นับตั้งแต่ที่ฉันได้มาอยู่ที่ เปเซ็นเตร็น ดารุลริดวานที่ห่างไกลแต่ ก็ไม่ได้ทำให้ฉันคิดถึงบ้านนัก  ครั้งแรกที่มาถึงที่นี้ ความรู้สึกที่มีก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอน และความหวาดวิตกกังวล ได้ถูกขจัดไปจากความรู้สึกของฉันไปเรียบร้อยแล้ว จากการได้รับการต้อนรับขับสู้ อย่างอบอุ่น และโดยเฉพาะการที่ได้มาอาศัยอยู่กับครอบครัว ของ กียาอี อัสลาม ท่านเป็นผู้ที่มีบุคลิกอ่อนโยน มีท่าทีเป็นมิตร ผ่อนปรน เป็นคนรักครอบครัว ท่านจะคลุกอยู่กับ หลานๆ ทุ่มเทเวลาและต้องคอยตอบคำถามอันมากมายของพวกเขา อย่างไม่เบื่อหน่าย เกี่ยวกับครูฝ่ายปกครองและการกวดขันเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางศาสนา ปะกียาอี อัสลาม วางตัวได้อย่างเหมาะสม ได้รับการเคารพเป็นอย่างสูงและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจากนักเรียน นักศึกษา
   
color:#333333">ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้นำใน ดารุลริซวาน ท่านวางตัวเป็นแบบอย่างวิถีชีวิตในปาเซ็นเตร็นทุกๆด้าน  บทบาทในฐานะสมาชิกชุมชนและท้องถิ่น ท่านเป็นผู้มีบททบาทในระดับการเมืองท้องถิ่นด้วยการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งการเป็นผู้สนันสนุนในฐานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นในนามผู้แทนพรรค Partai  Perdatuan  pembangunan (PPP) กว่า 10 ปี และสังกัดเป็นสมาชิกองค์กร Nahdlutu  Ulama (NU)องค์กรมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ปะกียาอี เป็นผู้สถาปนา เปเซ็นเตร็น แห่งนี้ เพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนสตรีโดยเฉพาะ  โดย ร่วมก่อตั้งกับศรีภรรยา ตั้งแต่ปี 1989 (พ.ศ. 2532) เป็นต้นมา
 
color:#333333">ความโดดเด่นของ เปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน คือความทันสมัย ในหลักสูตรการเรียน การสอน ขณะที่ เปซ็นเตร็น ทั่วไป เปิดสอนมีหลักสูตรสอนวิชาการศาสนาเพียงอย่างเดียว  แต่ ที่เปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน มีการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรที่ผสมผสาน ระหว่างวิชาการศาสนาและวิชาสายสามัญ ที่เปิดการสอนวิชาสายสามัญสอดแทรก เช่นวิชา เคมี คณิตศาสตร์ จิตวิทยา และภาษาอังกฤษ เป็นต้น
 
color:#333333">สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
 
color:#333333">มิใช่แค่ความทันสมัยของเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน ถูกจำกัดเพียงรายละเอียดของหลักสูตรการเรียน การสอนเท่านั้น  แม้สิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต และการอยู่อาศัย อื่นๆก็จะยึดถือพื้นฐาน และมีความเรียบง่ายในชีวิตประจำวันก็ตาม  ปะกียาอี อัสสลามและนักเรียน ต่างก็ตระหนักถึงผลกระทบที่จะมีต่อคุณภาพชีวิตและการศึกษาในเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน เสมอ  พื้นที่ใช้สอย ที่จัดสรรให้นักเรียน ประกอบด้วย ห้องโถง 3 ห้องโถงใหญ่ที่ใช้สำหรับนักเรียนหญิงจำนวน 60 คน ห้องนอนขนาดใหญ่ใช้เป็นที่นอนสำหรับนักเรียนชั้นต้น จำนวน 40 คน และอีก 2 ห้องใช้ที่ที่นอนของนักเรียนรุ่นอาวุโส ห้องละ 10 คน แต่ละคนจะมีฟูกที่นอนบางๆ วางบนพื้น และมีตู้สำหรับเก็บทรัพย์สินสิ่งของส่วนตัว คนละหนึ่งตู้
 
color:#333333">เวลากลางวัน ฟูกที่นอนของทุกคนจะถูกรวมเก็บไว้ที่มุมห้อง จึงทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับทำกิจกรรมอื่นๆ แม้ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำมีจำนวนจำกัดอยู่บ้าง ไม่มีห้องพยาบาลเฉพาะ แต่สามารถอาศัยห้องเรียนที่มีโต๊ะและเก้าอี้ มีห้องสมุดที่มีชั้นวางหนังสือ หนังสือกิตาบเก่าแก่ที่ถ่ายเอกสารรวมเล่มไว้
 
color:#333333">สภาพความเรียบง่าย แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความกระตือรือร้นของนักเรียนและฉัน ฉันพบว่าเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน จะเป็นชุมชนของเยาวชนที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาแสวงหาความรู้คำสอนทางศาสนา และอยู่ร่วมในการสร้างสรรค์สันติภาพ และสร้างสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรในการสร้างความสงบสุขและความรื่นรมย์ต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนของเขา สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำกัด และกฎระเบียบที่เข้มงวด หมายถึงสิ่งที่เป็นความหลากหลายในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นอุปสรรคทำให้นักเรียนต้องออกจากประชาคม หรือไปอาศัยอยูที่อื่น
 
   
color:#333333">กิจวัตรประจำวันของนักเรียน color:#333333">  ในเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน  ถูกกำหนดขึ้นตามเวลาที่สอดคล้องกับการละหมาดวันละ 5 เวลาเป็นหลัก  เริ่มต้นด้วยตื่นขึ้นมาละหมาด รุ่งอรุณ ซุบฮิ ตั้งแต่เวลาตี  4.30 น เริ่มสู่การเรียนการสอนของโรงเรียนตังแต่เวลา 07.00 น. เรียนภาคเช้าจนกระทั้งถึงเวลา 12. 00 น.สัปดาห์ละ 6 วัน การเรียนการสอนจะผสมผสานวิชาการศาสนาอิสลาม ซึ่งเน้นการเรียนด้วยภาคภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของอัลกุรอาน  กับวิชาการสายสามัญทั่วไป  มีการเรียนการสอนในมัสยิดวันละ 2 ครั้งหลังเวลาละหมาด และนักเรียนทุกคนต้องมาเรียนวิชาการการอ่านอัลกุรอ่านที่ถูกต้อง และการท่องจำอัลกุรอาน จาก ปะกียาอี  อัสสลามด้วยตนเอง
 
color:#333333">ปะกียาอี อัสลาม จะเป็นผู้สอน วิชาการอรรถาธิบาย การแปลความหมายในอัลกุรอาน ตลอดจนการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อิสลามที่ถูกล่าวในอัลกุรอานและจากหนังสือที่อ้างอิงอื่นๆ ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนที่เต็มไปด้วยความผ่อนคลาย และไม่มีการใช้กฎข้อบังคับใดๆแก่นักเรียน
 
color:#333333">เป็นสภาพทั่วไปที่เป็นอยู่ตามปกติ ในประเทศอินโดนีเซียนั้น กิจกรรม ความเคลื่อนไว ต่างๆจะชะลอลงหลังละหมาดดุฮริ color:#333333">  จนถึงเลาละหมาดอัซริ แล้วจะเริ่มต้นใหม่อีกในเวลาประมาณ 16.00 น.อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการฟักผ่อนหลังเที่ยงแล้ว  ในช่วงนั้นตั่งแต่ช่วงบ่ายจนถึงเย็น นักเรียนในเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน  ก็จะสาละวนกับการเรียนวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรพิเศษ เช่น วิชาลูกเสือเนตรนารี การกีฬา การเย็บปักถักร้อย การเรือนการครัว  การทำงานในแคนทีน และวิชาการทำหน้าที่ทั่วไป จนถึงเวลาการดับไฟฟ้า คือเวลา 22.00 น.(มีการขยายถึงเวลา 23.00 น.ในช่วงการสอบ)
 
color:#333333"> ฉันต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับการต้อนรับ การเอาใจใส่ดูแลและเอื้ออาทรที่มีต่อฉัน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ฉันมาอยู่ที่นี้ นับตั้งแต่การเข้ามาอยู่ จนเสร็จสิ้นกำหนดการเดินทางกลับ ฉันได้เรียนรู้อะไรที่มากมายเกินคาด และได้มาอาศัยอยู่ในครอบครัวและอาศัยอยู่ร่วมกับเพื่อนๆในชุมชนมุสลิม ในเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน แห่งนี้   และในฐานะที่เป็นสมาชิกใหม่ในชุมชนแห่งนี้  ฉันมีความภาคภูมิใจ ที่ได้สวมใส่เครื่องแบบนักเรียน เสื้อ ที-เชริ์ต ของเปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน และมีความภาคภูมิใจที่จะเรียก เปซ็นเตร็น ดารุลริซวาน  แห่งนี้ว่า  เป็นในเปซ็นเตร็น ของฉัน
 
 


[1] เปเซ็นเตร็น Pesantren เป็นภาษาอินโดนีเซีย  แปลว่า ปอเนาะ มีรากศัพท์มาคำว่า เปอ ซันตริ per- santri –an ความหมายโดยทั่วไป ที่พักของนักเรียน หมายถึง ที่พักของนักเรียน (Dofier:1985:18) ปอเนาะ หรือ เปเซ็นเตร็น จึงหมายถึง หอพัก ที่พักของนักเรียน (WAHID :2001 :171) ปอเนาะ คล้ายๆกับ สถาบันทหาร หรือ หรือที่อยู่ของชุมชนที่อยู่รวมกันที่ผูกพันกับศาสนา
 
[2] Pak หมายถึง คุณ(ชาย)  หรือ พ่อ Kiai คำนำหน้านามเรียกผู้นำทางศาสนาอิสลาม หรืออาจเรียกว่าโต๊ะกูรู บาบอ เป็นต้น