Skip to main content
ถ่ายทอดสด!!!
 
สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน
เครือข่ายสื่อพลเมืองไทยพีบีเอส
และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
 
ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย สิ่งที่เรียกว่า "สื่อภาคประชาชน" และแนวคิดเกี่ยวกับ "สิทธิในการสื่อสาร" เติบโตขึ้นได้อย่างไร ผู้คนในชายแดนใต้/ปาตานีจะเรียนรู้บทเรียนของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนได้อย่างไร?
 
 
โรงเรียนวิชาการเมือง
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
(College of Deep South Watch)
ร่วมกับ
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
 
ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมฟังบรรยายสาธารณะ (Public Lecture)
 
ในหัวข้อ
 
"สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร:
บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์"
 
 
People's media and Communication rights in Indonesia and the Philippines
 
 
บรรยายโดย
Lecturer
 
รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Assoc. Prof. Dr. Ubonrat Siriyuvasak
 
นักวิชาการอิสระ
Independent Scholar
 
 
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556
เวลา 13.30 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ ชั้น 3
คณะวิทยาการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
July 30, 2013
13.30 – 16.00 Hrs
Chukiat Pitichareonkiat Rooms, floor 3,
Faculty of Communication Science
Prince of Songkla University, Pattani Campus
 
 
ดาวน์โหลดงานวิจัย
 
People's Media and Communication Rights
in Indonesia and the Philippines
 
 
 
 
ภูมิหลังผู้บรรยาย
 
 
color:#984806;">รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ หรือ “อาจารย์ย่า” ของบรรดาสื่อมวลชนและลูกศิษย์ลูกหา เป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อุบลรัตน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาด้านปริญญาโทด้าน Communication จาก มหาวิทยาลัยฮาวาอิ และสำเร็จปริญญาเอก ด้านการสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
 
เธอเป็นอาจารย์สอนวิชาด้านการสื่อสารมวลชน ระบบสื่อสารมวลชนและวัฒนธรรมสื่อ มีงานวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่มากมาย  เช่น  การสื่อสารและการครอบงำทางวัฒนธรรม (งานแปลของ เฮอร์เบิร์ต ชิลเลอร์),  ระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทย:  โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองและผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในยุคปฏิรูป,  อารมณ์ขันในสื่อมวลชน และประเด็นที่เราจะร่วมพูดคุยกันก็เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนที่ชื่อ สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปินส์” ซึ่งจัดทำโดย มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ โดยนำประสบการณ์ภาคสนามเมื่อครั้งที่อาจารย์ได้รับทุนสนับสนุน โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย (API) เมื่อปี 2546-2547
 
งานกิจกรรมภาคประชาสังคม อาจารย์เคยเป็นคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)  เคยเป็นประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญในการให้ข้อเสนอแนะต่อทิศทางที่ควรจะเป็นของสื่อมวลชนไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนมีสื่อสารมวลชนบางค่ายเรียกขานอาจารย์ว่าเป็น “เสาหลัก” ของวงการสื่อมวลชนไทย

 

Event date