Skip to main content

 

แปลและเรียบเรียง นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ
สำนักสื่อวารตานี [WARTANI]

 

 
รายงานเสวนาพิเศษท่ามกลางการทำสงครามกับหลากหลายแนวทางสู่สันติภาพปาตานี นักวิชาการอิสระ อ.อัฮหมัด สมบูรณ์ แนะสู้ในกรอบรัฐธรรมนูญฉบับพลเมือง ยืนยันประชาชนปาตานีสามารถกำหนดชะตากรรมตนเองได้ภายใต้กรอบกฎหมายรัฐไทย สิ่งสำคัญมันจะทำได้จริงหรือไม่ต้องกลับถามตัวเอง
 
ผู้ดำเนินรายการ : อาเต๊ฟ โซ๊ะโก
นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า
หัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA]
 
 
 
หากใครจำกันได้และศึกษาประวัติศาสตร์ตลอดระยะเวลาที่เกิดสงครามระหว่างปาตานีกับรัฐไทยที่ซึ่งมีกรุงเทพเป็นศูนย์กลางของอำนาจ การต่อสู้ที่ผ่านมาระหว่างปาตานีกับรัฐไทยมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน
 
ประเด็นแรก คือ ทุกครั้งสงครามที่เกิดจากรัฐไทยสงครามนั้นจะเป็นสงครามเพื่อขยายดินแดน แต่สงครามที่เกิดขึ้นจากปาตานีจะเป็นสงครามที่ต้องการปกป้องอำนาจอธิปไตยของตนเอง นี่คือความแตกต่าง
 
วันนี้เราคงได้มาฟังกันว่า ปาตานีทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่กับรัฐไทยอันมีกรุงเทพเป็นศูนย์กลางของอำนาจหกครั้งด้วยกัน สงครามในแต่ละครั้งจะผลัดกันแพ้และผลัดกันชนะ แต่ครั้งสุดท้ายที่ปาตานีแพ้สงครามคือปี ค.ศ.1786 นั้นคือปีสุดท้ายที่ปาตานีแพ้สงคราม และเป็นครั้งสุดท้ายอีกเช่นกันที่ปาตานีมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง จากนั้นเป็นต้นมาเราก็เปลี่ยนสถานะจาก Patanian Citizenship หรือพลเมืองของปาตานีกลายมาเป็นพลเมืองของประเทศไทยโดยจำใจหรือยอมรับโดยดุษฎีก็สุดแล้วแต่ นั่นเป็นประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เกิดขึ้นระหว่างปาตานีกับรัฐไทย
 
หลังจากนั้นเป็นต้นมาการปรับเปลี่ยนนโยบายและการดำเนินนโยบายจากรัฐไทยก็มีอย่างเสมอมาเพื่อที่จะให้เมืองที่อยู่ภายใต้บรรณาการ ไม่เฉพาะปาตานี บางส่วนของอีสาน และบางส่วนที่เป็นล้านนาก็เกิดขึ้น หนึ่งนโยบายที่เราทราบกันก็คือ นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม หรือ Assimilasi ในภาษามลายู Assimilation ในภาษาอังกฤษ นโยบายผสมกลมกลืนคือ การกลืนความเป็นมลายูที่ละนิดทีละหน่อย ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่สุดคือพวกเรา ณ ที่นี้ เราสามารถใช้ภาษาไทยและเข้าใจภาษาไทยได้มากกว่าภาษาของบรรพบุรุษตนเอง นี่คือผลพวงจากนโยบาย Assimilation ที่ชัดเจนที่สุด
 
หลังจากนั้นเป็นต้นมา เนื่องจากการใช้นโยบายผสมกลมกลืนก็เกิดการต่อสู้จากปาตานีอยู่เรื่อยมา การแข็งเมือง การเรียกว่าเป็นกบฏเจ็ดหัวเมือง เป็นต้น มันก็มีอยู่ตลอดเวลาแต่การใช้นโยบายเพียงแค่นั้นมันยังไม่เพียงพอ นโยบายถัดมาคือ Divide and rule นโยบายแบ่งแยกและปกครอง คือแบ่งแยกปาตานีจากที่เป็นรัฐเดียวกลายเป็นรัฐเจ็ดหัวเมืองด้วยกัน แบ่งเป็นหัวเมืองเล็กหัวเมืองน้อยและแต่งตั้งคนที่ตัวเองไว้ใจ บ้างก็เป็นคนมลายูปาตานีที่ใส่ความคิดสยามเข้าไป บ้างก็เป็นคนมลายูปาตานีที่คิดว่าต้องรักษาภาพว่าตนเองยังให้อำนาจต่อคนมลายูปาตานีอยู่ ยังไม่เพียงพออีกเช่นกัน
 
นโยบายถัดมาที่ใช้ต่อปาตานีคือ มีนโยบายที่จะทำยังไงก็ได้ที่สามารถกลืนความเป็นมลายูปาตานีให้มากที่สุด ซึ่งมันก็ทำไม่ได้ผล การแบ่งแยกและปกครองก็ทำได้ชั่วขณะเท่านั้น คนมลายูปาตานีถูกกล่าวหาเป็นคนที่ค่อนข้างหัวแข็งและแข็งกร้าว ก็เลยมีการดึงคนที่ไม่รู้อะไรต่อเรื่องนี้เลย หรือเพื่อนชาวไทยที่เป็นคนภาคอีสานและที่เป็นคนภาคเหนือ หรือกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนที่ต้องการหาที่ทำกิน รั
 
ฐก็มีการเปิดนโยบายให้มีการย้ายคนเหล่านั้นเข้ามาในพื้นที่ เพื่อให้คนมลายูปาตานีมีสัดส่วนน้อยลง นโยบายดังกล่าวเขาเรียกว่า Transmigration หรือนโยบายการอพยพคนจากที่หนึ่งมาอีกที่หนึ่ง ซึ่งเราจะพบเห็นจากนิคมต่างๆที่มีอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือในปาตานีและเนื่องจากใช้นโยบายเหล่านั้น ใช้ไม่ได้ผลก็ต้องใช้การบังคับ นโยบายถัดมาเป็นนโยบายแบบรัฐไทยนิยม มีการใช้บังคับให้เราเปลี่ยนวัฒนธรรม คือนโยบายทางทหาร หรือ Militarization
 
คือการใช้กฎหมายที่บังคับ อย่างปัจจุบันที่เราทราบดีอย่างชัดเจนคือ กฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉิน และพรบ.ความมั่นคง นี่คือภาพรวมทั้งหมดระหว่างสงครามระหว่างปาตานีกับรัฐไทย
 
อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
ผู้อำนวยการ หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันพระปกเกล้า
 
สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ อย่างไร ขอตอบว่าได้แน่นอน มั่นใจเต็มล้านเลยว่าได้ เพราะมันมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งที่เราพูดวันนี้เราพูดภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ได้พูดนอกเหนือรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าเราพูดนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแล้วเราอาจจะมีข้อกล่าวหาเป็นคนอย่างอื่น รัฐธรรมนูญที่รองรับคำตอบผม ว่าได้หรือไม่ได้ ที่น่าสนใจหลายมาตราในรัฐธรรมนูญ สิ่งสำคัญคืออย่านอนเคลิ้มต้องให้ใครมาปลุก แต่วันนี้ผมรู้สึกว่าทุกคนยังอยู่ในสภาวะนี้
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2550 มีพื้นฐานที่กล่าวอยู่สี่ข้อ หนึ่งคือให้การคุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ข้อที่สองคือ ลดการผูกขาดอำนาจของรัฐและเพิ่มอำนาจของประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐถืออำนาจมากเกินไปและเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชน ข้อที่สามคือการเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม ข้อที่สี่คือทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือพื้นฐานสำคัญของรัฐธรรมนูญ ต้องเข้าใจตรงนี้ เพราะฉะนั้นหากใครฟัง ต้องฟังให้ชัด ต้องฟังให้หมด อย่าฟังแบบไม่ชัดแล้วเข้าไปรายงานให้กับเจ้านายทราบ
 
มาตรา 69 “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศไทย โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ซึ่งหากคนอื่นคิดที่จะทำกับเราในรูปแบบอื่น เราสามารถที่จะปกป้องตนเองได้ ทุกคนลองคิดดูเอาเองแล้วกันว่าอะไรบ้างที่คนอื่นเขาทำต่อเรา
 
ถนนคนเดิน ไม่ใช่ให้รถถังวิ่ง ทุกวันนี้ผมไปนราธิวาสเจอ 13 ด่านที่ต้องขับผ่าน บางด่านบอกว่า ขออภัย ถ้าหากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตัวไม่สุภาพเขาแปลเป็นภาษามลายูว่า “Minta Maaf Kalau Pegawai Kerajaan Kerja Kurang Ajar”
มาตรา 37 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ ปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนชัดเจนมากในมาตรานี้
 
ซึ่งถ้าหากเรานำมาแปลเป็นภาษามลายูในมาตรานี้คือ คนมลายูมุสลิมสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อมาตรานี้ อย่างเช่น ถ้าหากในหมู่บ้านหนึ่ง คนมุสลิมทุกคนต้องการที่จะใช้ระบบชูรอเพื่อเลือกผู้ใหญ่บ้าน หากใครบอกว่าทำไม่ได้ คนนั้น คือ คนที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญและต่อต้านกฎหมายชารีอะห์ (กฎหมายอิสลาม)
 
ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองไม่ให้รัฐกระทำอันใดๆอันเป็นการริดรอนสิทธิเราต้องการที่จะเลือกใช้ระบบชูรอ (ระบบการเลือกตั้งสภาในอิสลาม) หรือจะทำอะไรก็ได้เพราะว่าเราถูกปกป้องโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพียงแค่เราไม่รู้และไม่เคยใช้ เคยใช้แต่ใช้เพียงครึ่งเดียว ไม่เคยใช้ให้หมด เพราะกลัว ไม่ได้น่ะ!! เพราะประชาธิปไตยมันต้องมีการเลือกตั้ง อีหม่ามยังต้องเลือกเลย
 
ตอนนี้มอบเงินเดือนให้คนละ 3,000 บาท ก็วุ่นวายแล้ว ยังไม่รวมถึงเงินเดือนผู้ใหญ่บ้านอีก 7,000 บาท บวกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อีก 20,000 กว่าบาท ซึ่งจะเห็นว่าเงินเดือนมากกว่าปริญญาตรีอีก เพราะฉะนั้นกลับไปสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านดีกว่า
 
มาตรา 66 “บุคคลซึ่งรวมเป็นชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีลองกลับไปอ่านดูมาตราที่ 66 เพิ่มเติมว่ามันมีอะไรบ้าง เพราะเราจะเห็นความสวยงามของบ้านเรา แต่เรากลับไปไม่ได้ อย่างเช่น ป่าบาลาฮาลา ถ้าหากใครเห็นว่าป่าบาลาฮาลาสวยงามแล้วต้องการจะกลับไปจะต้องไปกับ ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และถ้าหากจะไปเยี่ยมเยียนหมู่บ้านที่ถูกไล่ออกสมัยไล่กลุ่มคอมมิวนิสต์ก็ไม่สามารถเข้าไปได้  เพราะเป็นพื้นที่ความมั่นคง
 
และถ้าหากเราต้องการที่จะเห็นประวัติศาสตร์ของคนปาตานีที่หนีสงครามขึ้นไปอยู่บนยอดเขาป่าบาลาฮาลาเป็นร้อยๆปี ถึงช่วงเวลาหนึ่งที่กลุ่มคอมมิวนิสต์เข้าไปในหมู่บ้าน พวกเรากลับถูกรัฐไล่ออกและเผาหมู่บ้านนั้นทิ้ง ส่งผลให้ต้องอพยพมาอยู่ริมถนน จนวันนี้ก็ยังอยู่ริมถนนอีก แต่คนจีนในประเทศมาเลเซียเข้ามาทำสงครามในรัฐไทยสุดท้ายก็เรียกเข้ามาเพื่อให้มาเป็นคนไทยอยู่ในพื้นที่อำเภอเบตงเต็มไปหมด แล้วสรุปคนมลายูปาตานีได้อะไรไปบ้าง นี่คือ สิทธิที่เราควรจะพูด ควรจะเรียกร้อง ในสิ่งที่มันเรียกร้องได้ แต่เราก็ไม่เรียกร้องเพราะเราไม่รู้
 
สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ดำรงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำตกหลายแห่งเราเข้าไปไม่ได้เพราะถูกปิดไปด้วยเหตุผลหลายอย่าง
 
มาตรา 78 “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (3) กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เองนี่แหละคือสิ่งที่สามารถกำหนดชะตากรรมของพวกเราได้ วันนี้เราไปถึงจุดนี้แล้วหรือยัง กระทรวงมหาดไทยตอบว่า ผมให้การปกครองดีแล้ว ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปกครองดูแลห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ดีอยู่แล้วแต่ทำไมจังหวัดอื่นไม่มี ศอ.บต.เหมือนกับเราบ้าง ? มีอยู่แต่ในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างไร ? “ก็ผมให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แล้วถามต่อว่า อบต.มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็น อบต.ของประชาชนอย่างแท้จริง ผมเคยเป็นนายก อบต.สมัยที่หนึ่ง ผมรู้ว่า อบต.มีประโยชน์มากๆต่อประชาชน แต่ถามพวกเราว่า อบต.ที่บ้านเขาทำอะไรบ้าง ? มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร ? เงิน 100 บาท ไปถึงประชาชนกี่บาท ? นี่คือสิ่งที่เราสามารถจะเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ
 
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลาดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้นมันยุติธรรมมากในตัวบทรัฐธรรมนูญที่ร่างเอาไว้ แต่ในส่วนการนำไปปฏิบัตินั้นเราต้องถามตัวเราเอง เพราะไม่ว่ารัฐบาลไหนๆที่สามารถถืออำนาจได้ สิ่งไหนที่เป็นอำนาจของประชาชนพวกเขาก็ปิดไว้ไม่ให้ประชาชนทราบ เมื่อประชาชนขอครั้งหนึ่งพวกเขาก็เปิดให้ครั้งหนึ่ง แต่สิ่งไหนที่เป็นอำนาจของตนเองเขาก็กลับนำไปใช้
 
เพราะฉะนั้นพวกเราวันนี้อย่าไปเร่งรีบให้มาก ศึกษาดูก่อน ศึกษาให้รู้ ให้มากและให้ละเอียดแล้วค่อยมาว่ากัน อาจจะใช้พื้นที่ มอ.ปัตตานีนี้เป็นฐานในการพูดคุยอย่างนี้ เพราะ มอ.ปัตตานี เป็นแหล่งวิชาการที่สมควรมาพูดวิชาการ ไม่ใช่พูดเพื่อแบ่งแยกดินแดน
 
เพราะฉะนั้นคำตอบที่ผมตอบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า เราสามารถที่จะจัดการตนเองได้ เชื่อแล้วหรือยัง ? ยังไม่เชื่ออีกหรือ ? เชื่อหรือไม่ว่าเราทำได้ ? ในตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญตอบว่า เราทำได้ แต่สิ่งที่มันจะสามารถทำได้จริงหรือไม่นั้นต้องกลับไปถามตัวเราเอง 
อะไรคืออุปสรรคของการจัดการตนเอง ? ตอบว่า ผู้หญิง หรือผู้ชาย หรือทหาร หรือกฎหมาย สิ่งเหล่านี้หรือเปล่าที่เป็นปัญหาที่ไม่สามารถให้เรากำหนดชะตากรรมตนเองได้ ? ตอบว่าไม่ใช่ทั้งนั้น ตัวเราที่ไม่ใช่เงาและภาพลวงตา ลองกลับไปถามตนเองว่า เราจะสู้หรือไม่สู้ ?  ต่อสู้ ณ ที่นี่ คือ การต่อสู้ในเรื่องของการเรียกร้อง คำว่า ยูแว อย่าเข้าใจว่าเป็นการต่อสู้เพื่อต้องการแบ่งแยกดินแดนอย่างเดียว
 
สันติภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ถามตนเองให้แน่ชัดและให้กระจ่างว่าจะอยู่อย่างนี้ต่อหรือไม่ ?” ถ้าหากอยู่ได้ก็จงอยู่ตามสะดวก ไม่มีใครมาว่าอะไร ก็อยู่ไปเรื่อยๆทำ อามาลอีบาดัต ต่อไป เพราะอาจจะใกล้ถึงวันตายของเราและวันสิ้นโลกแล้ว ท่านศาสดาสุไลมานเคยกล่าวว่า ในช่วงภาวะสงครามหากใครยังขอดุอาอยู่ก็จงตัดคอเสียเลยจะบอกว่าสำคัญถึงขนาดนั้นเลย
 
ถ้าอยู่ไม่ได้ต้องช่วยกันหาทางออกร่วมกันเป็นเครือข่าย มีทางออกมากมาย เช่น คุย สนทนา เจรจา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่เหมาะสม
 
จะคุยกับใคร ? หรือจะคุยกับผู้ใด ?” คือคำถามที่รัฐชอบใช้บ่อยมาก เช่น ถ้าหากจะคุยกับกลุ่มก่อการร้ายแล้วจะคุยกับใคร ? แล้วก็เดินไปคุยกันมั่ว ทั่ว ไปถึงประเทศสวีเดน ไปถึงประเทศอียิปต์บ้าง แต่ความจริงไม่ได้เดินทางไปคุยเจรจาเพื่อหาข้อยุติแต่อย่างใด กลับไปคุยเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คุยเรื่องรถเบนซ์รุ่นใหม่ล่าสุด นั้นคือสิ่งที่รัฐไทยเดินทางเพื่อหาข้อยุติตลอดระยะเวลาสิบกว่าปี
 
ใครควรจะยื่นมือก่อน ? ใครควรจะเสนอก่อน ? การยื่นมือ หรือการส่งสัญญาณเชิงบวก รัฐทำได้ ผู้คิดต่าง หรือคิดไม่เหมือนกับรัฐ ซึ่งผมเองก็คิดต่าง หากไปคิดว่าผู้คิดต่างกับรัฐเป็นกบฏ ทุกคนในห้องนี้ก็เป็นกบฏกันทุกคน
 
ถ้าหากทั้งคู่ต้องการจะให้เกิดสันติสุข (เมื่อคู่ต่อสู้หลักเห็นร่วมกัน มีความกังวลต่อบุคคลที่สาม ผู้สวมรอย หรือผู้ฉวยโอกาสทั้งหลาย ก็จะสามารถใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสให้แก่ตนเองได้น้อยมาก)
 
กลุ่มที่รอฉวยโอกาส คือ กลุ่มอุตสาหกรรมในภาวะสงคราม กลุ่มอุตสาหกรรมในความมั่นคง เช่น ถ้าหากทหารไม่ลงมาในพื้นที่ความขัดแย้งนี้ ถามว่าเมื่อไหร่รัฐจะสามารถซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ? เมื่อไหร่จะสามารถซื้อรถถังใหม่ ? เมื่อไหร่จะสามารถตั้งฐานไว้บนถนน ? มองซ้ายก็เจอ ขวาก็เจอ บนอากาศก็เจอ เขาสร้างกันทุกที่แต่ก็ยิงได้กันทุกวัน ได้ยินแทบทุกวัน เดียวนี้พวกอิทธิพลอำนาจมืด ค้าของเถื่อนมันมีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง เป็นคนเถื่อนเพราะไม่ใช่คนไทย แต่พวกเราทุกคนคือคนไทยจึงไม่ใช่คนเถื่อน
 
กลุ่มค้ายาเสพติดก็เป็นกลุ่มที่รอฉวยโอกาส แต่มันจะเกิดขึ้นในบ้านเราได้ยากมาก หากเราสังเกตดูการรักษาความปลอดภัยในบ้านเรา หรือว่าบ้านเรามีอยู่กี่ฝ่ายที่เราจะต้องฟันฝ่า มีอีกหลายกลุ่มมากมายที่เราจะต้องข้ามมันให้ได้
 
กลุ่มคนติดอาวุธที่ไม่เห็นหน้า ปิดด้วยผ้าหรือใส่แว่นตาดำเพื่อไม่ให้เราจำหน้าได้
 
กลุ่มรัฐบาล ที่มาแล้วก็ไป พวกเราคิดว่าไว้ใจได้หรือไม่ ? แต่รัฐบาลนี้อยู่นานหน่อย แต่รัฐบาลที่อยู่ครึ่งๆกลางๆก็ไม่ได้ทำอะไรเลย สองปีเจ็ดเดือนดีแต่พูด
 
กลุ่มมือที่มองไม่เห็น แต่มีอำนาจในการจัดการสารพัด ถ้าหากผู้ว่าราชการจะมาก็ต้องขออนุญาตจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ นี่คือมือที่มองไม่เห็น แล้วเราจะจัดและทำกับกลุ่มบุคคลอย่างนี้ได้อย่างไร ? มองไม่เห็น เป็นเงา แต่กลับมีอำนาจ ไม่รู้ว่าใคร แต่มีคนถูกยิง ไอ้เทพบอกว่าอย่าหันมาทางป๋าน่ะ !!”
 
ภารกิจด้านสันติภาพนั้นมาก หนักหนาสาหัส หนทางมีแต่ระยะทางยาวไกล ณ ปลายสุดขอบฟ้าที่เอื้อมถึง แม้จะอยู่ไกลแต่เราจะไปให้ถึงจุดหมายนั้น อยู่ที่ทุกคนว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง ?
 
ถ้าหากเรามาดูองค์ประกอบกองกำลังติดอาวุธของรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากคำนวณขั้นต่ำตามข้อมูล Deep South Watch (DWS) มีประมาณ 150,390 คน แบ่งเป็นทหารตำรวจอาชีพ (Military Police Professional.) 27 % เป็นกองกำลังกึ่งทหาร (Semi-Military Forces.) 17 % พลเรือนติดอาวุธ (Armed Civilians.) 56 % เฉลี่ย (1 เจ้าหน้าที่ : 13 ประชาชน) หรือ เจ้าหน้าที่ถืออาวุธ 1 คน สามารถดูแลประชาชน 13 คน แต่เก้าปีประชาชนเสียชีวิตไปแล้ว 5,000 กว่าคน
 
ส่วนงบประมาณที่ใช้โดยประมาณเฉลี่ยเก้าปีต่อประชาชนคนละ 100,000 บาท เพราะว่าใช้ไปทั้งหมดกว่าสองแสนล้านบาทแล้ว หากเอางบประมาณส่วนนี้มาสร้างโรงพยาบาลก็สามารถสร้างหลายร้อยกว่าโรงแล้ว อีกทั้งยังสามารถหาหมอดีๆมาอยู่ในพื้นที่บ้านเรา แต่วันนี้ถ้าหากไปโรงพยาบาลตั้งแต่เวลาเจ็ดโมงเช้ากว่าจะได้ตรวจเลือดก็ประมาณ 11 โมง จะเห็นได้ว่าก่อนจะตรวจเลือดทุกคนก็เป็นลมกันเป็นแถว นี่คือ ชะตากรรมของคนปาตานี
 
ประชากรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบสองล้านคนต้องการจะอยู่อย่างมีอนาคตหรือไม่มีอนาคต ขึ้นอยู่กับทุกคนรุ่นนี้จะตัดสินใจ จะอยู่ในรูปแบบพี่แกละ น้องคอดีเญาะ เพื่อนซก หรืออย่างไร ? หรือเรายังจะอยู่ในยุคไดโนเสาร์ ? หรือจะอยู่ในรูปแบบสุดคาดเดาได้ ใครมาฆ่าให้หมด ? หรือ เรายังสนุกกับการห้ำหั่นอีกหรือ ?         
ผู้ดำเนินรายการ
 
เมื่อสักครู่ผมมีหลายเรื่องมากที่จะท้าทายอาจารย์ เพราะผมฟังทั้งหมด ฟังแล้วเหมือนดูดีมาก แต่สรุปดูเข้าจริงกลายเป็นว่าอาจารย์เองก็ยอมรับที่จะอยู่ภายใต้รัฐไทย ผมขออนุญาตถามอาจารย์แต่ผมไม่อนุญาตให้อาจารย์ตอบช่วงเวลานี้ สมมุติว่าคนปาตานีไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้รัฐไทยแล้ว แน่นอนสิ่งที่คนปาตานีต้องการเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย บางคนก็เลือกที่จะสู้โดยที่ไม่ต้องใช้อาวุธ บางคนก็เลือกที่จะสู้โดยใช้อาวุธ แต่ถ้าคนปาตานีเลือกที่จะสู้ด้วยการสนับสนุนการใช้อาวุธแล้ว อาจารย์จะตอบว่าอย่างไร ?
 
 

บทเสวนาที่เกี่ยวข้อง
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [1] อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [2] ตูแวดานียา ตูแวแมแง
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [3] สุพัฒน์ อาษาศรี 
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [4] กริยา มูซอ
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [5] ฮัมซะห์ โกมลซัง ลัยดายัน
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [6]
 
วิดีโอเสวนา