Skip to main content

 

ใบแจ้งข่าว: 19 สิงหาคม 2553
 
       ในวันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๓๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๐ เดือนรอมฎอน(ปฏิทินจันทรคติ) เวลาพระอาทิตย์ตกดิน  เป็นวันครอบรอบ ๖ ปีเหตุการณ์ตากใบ  ครอบครัวผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ รวมถึงชาวตากใบ และอำเภอใกล้เคียง จะได้ร่วมกันทำบุญ เลี้ยงอาหาร และละศีลอดร่วมกัน เพื่อระลึกถึงบรรดาผู้สูญเสีย และผู้รอดชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว
 
       ชาวตากใบ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น ณ โรงเรียนตาดีกาบ้านจาเราะ หมู่ ๑ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
 
หมายเหตุ*
 
       เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ ประชาชนชาวตากใบได้มีการชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายหลังเจ้าหน้าที่ได้สลายการชุมนุม และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี หลังสลายการชุมนุมมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ๖ ศพ ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ๑ ศพ และเมื่อมีการขนย้ายผู้ชุมนุมไปถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร ปรากฏมีผู้เสียชีวิตอีก ๗๘ ศพ รวมผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น ๘๕ ศพ และมีผู้สูญหาย บาดเจ็บและทุพพลภาพอีกจำนวนมาก
 
       วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาลจังหวัดสงขลาอ่านคำสั่งคดี ช. ๑๖/ ๒๕๔๘ (คดีไต่สวนการตาย)ได้ใจความสำคัญคือผู้ตาย(ระบุชื่อ ๗๘ รายชื่อ) ทั้งเจ็บสิบแปดตายที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี  เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย คือ ผู้ตายทั้งเจ็ดสิบแปดขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่
 
การสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรม
 
๑.  พนักงานอัยการได้ถอนฟ้องผู้ชุมนุม ๕๙ คน (ต่อมาเสียชีวิต1คน) เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙  โดยให้เหตุผลต่อสาธารณะว่า “..การยุติข้อพิพาทในคดีนี้จะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การฟ้องคดีและและการดำเนินคดีนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะและอาจกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ รวมทั้งผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ”
 
๒. คดีแพ่งที่ญาติผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ทุพลภาพเป็นโจทก์ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ เพื่อเรียกค่าเสียหายในกรณีผู้เสียชีวิตจากการขนย้ายในเหตุการณ์ที่ตากใบ จำนวน ๗ สำนวน ในปี 2548-2549 ต่อมาได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงยอมรับค่าเสียหายทางแพ่ง
 
๓. สำนวนที่มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบจำนวน ๗ คน เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสืบทราบได้ว่าใครเป็นผู้ทำให้เสียชีวิต เนื่องจากการเสียชีวิตอยู่ในช่วงเหตุการณ์ชุลมุนระหว่างการชุมนุม จึงไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิต พนักงานอัยการจึงสั่งให้งดการสอบสวน
 
๔. สำนวนที่มีผู้เสียชีวิตจากการขนย้ายผู้ถูกจับกุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารจำนวน ๗๘ คน ภายหลังศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งไต่สวนการตายพนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนส่งอัยการ โดยอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าผู้ใดทำให้เสียชีวิต และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมีความเห็นพ้องกับอัยการในการสั่งไม่ฟ้อง จึงไม่ได้มีการดำเนินคดีในกรณีนี้แต่อย่างใด
 
Press Release: August 19, 2010
 
      At sunset on Sunday, 22 August 2010, which is also the 10th day of the month of Ramadan (in the lunar calendar), it will be the six-year anniversary of the events in Tak Bai, when people lost their lives and were injured and disabled.  At 6: 30 p.m., we will gather with the people of Tak Bai and neighboring districts to make merit, prepare food, and break the fast together, in honor and to remember those who died and those who survived these events.
 
       The people of Tak Bai invite everyone who is interested to join these activities at Tadika school Ban Jarah  M.1 Priwan , Takbai Narathiwat
 
Note:
 
       On 25 August 2004, citizens in Tak Bai held a protest in front of the Tak Bai district police station in Narathiwat province. Subsequently, state officials dispersed the protest and took a large number of citizens into custody.  They were taken to Inkayuthboriharn Army Camp in Nong Chik district in Pattani province. During the dispersal of the protest, 6 people were killed, and 1 person subsequently died at the hospital. In addition, there were 78 people who died while being transported to InkarayuthboriharnArmy Camp. In total, there were 85 people who were killed, as well as a large number of people who were injured, disabled, or disappeared.
 
       On 29 May 2009, the Songkhla Provincial Court read the order in Case Cho. 16/2005 (Postmortem Inquest), which noted that the people who died (78 persons were named) at Inkayuthboriharn Army Camp in Bo Thong subdistrict in Nong Chik district in Pattani province on 25 October 2004, died as a result of suffocation while they were in the custody of officials who were carrying out their duties as civil servants.
 
The Investigation and Judicial Process
 
1. The prosecutor withdrew the case against 59 people who protested at Tak Bai (1 out of the 59 persons died while the case was pending) on 6 November 2006. They gave the following justification: “Ending the dispute in this case will be one factor that will have a positive effect on solving the problem of unrest in the southern border provinces. Prosecuting this casewould not have had any benefit to the public, and may have impacted the safety or security of the nation, as well as the broader interest of the nation.”
 
2. The families of those who died and those who were injured and disabled brought a civil case and sued state agencies in order to ask for compensation in the case of people who died or were injured or disabled while being transported during the events in Tak Bai. There were 7 cases filed in 2005-2006.  Subsequently, there was mediation and both sides agreed to accept civil compensation.
 
3. The officials have unable to ascertain who was responsible for the deaths of the 7 people who died during the dispersal of the protest in front of the Tak Bai district police station. The reason given for this is that as the deaths took place during a period in which many people were protesting, it cannot be ascertained who precisely caused those people to die. The prosecutor has ordered an end to the investigation.
 
4. After the Songkhla Court issued an order in the postmortem inquest case of the 78 people who were killed during the transportation of those arrested to Inkayuthboriharn Camp, the investigating officer sent the case to the prosecutor, and the prosecutor chose not to prosecute the case. The reason given for this is that there was insufficient evidence about what and who caused the people to lose their lives. The governor of  Pattani province and the prosecutor shared the option that the case should not be prosecuted, and that it would be impossible to proceed with the case.
 
Event date