Skip to main content

ฐปนีย์ เอียดศรีไชย

 

 

 

 

หลังเกิดเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลเจาะไอร้อง เป็นการก่อเหตุที่รุนแรงในการบุกยึดโรงพยาบาล และมีการตั้งคำถามมากมายถึงพฤติกรรมการก่อเหตุ ทั้งในมิติของใครคือผู้ก่อเหตุ ทำไมต้องบุกยึดโรงพยาบาล ทำไมต้องเป็น อ.เจาะไอร้อง ซึ่งเป็น 1 ใน อ.นำร่อง 5 อ.สันติสุขของ กอ.รมน.ภาค 4 เรื่องกำหนดเขตปลอดภัยหรือ safty zone จะเชื่อมโยงอย่างไรกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขที่รัฐบาลไทย (Party A) กำลังพูดคุยกับกลุ่มผู้คิดต่างที่รวมตัวเป็นกลุ่มมาราปาตานี Mara Patani (Party B ซึ่งกำลังพูดคุยเรื่องพื้นที่ปลอดภัย)

ทีมข่าว 3 มิติ จึงส่งคำถามไปสอบถาม นายอาบูฮาเฟซ อัล ฮากิม หนึ่งในสมาชิกกลุ่มมารา ว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับมาราหรือไม่ ถ้าไม่คิดว่าจะเป็นใคร และคิดอย่างไรกับการบุกยึดโรงพยาบาล รวมทั้งเรื่องนี้จะส่งผลกระทบกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขที่กำลังหารือเรื่อง Safty Zone หรือไม่

นายอาบูฮาเฟซ ตอบคำถามมาเป็นภาษาอังกฤษดังนี้ และสรุปใจความรายงานในข่าว 3 มิติ เมื่อคืนวันที่ 16 มีนาคม

: Abu Hafez Al-Hakim answer in English

The incidence at the hospital, although we don't exactly know who the attackers were, but there are enough indications that they were the RKK ,considering the facts that the date 13 March was symbolically chosen , with some other sporadic attacks elsewhere on the same day.
The incidence was NOT related to Mara since the similar attacks had occurred several times in the past even before the formation of Mara.

The signal ,if any , is a reminder that if the Thai state is not serious about solving the root causes of conflict and not refrain from unjust acts that we see day by day, the armed wing of the movements will retaliate from time to time.
Until now both Mara and Thai side has not agreed on any "safety zones" arrangement. When the process is formal we will discuss its possibility, and must be agreed upon by both sides,on how best to implement the safety zones and appropriate mechanism to make it workable. Therefore , since the agreed safety zones is not yet in place , there is no reason why this could be linked to rejection of Mara. The safety zones in Cho-Ai-Rong was a unilateral proposal from Army Region 4 . Considering the area is the stronghold of the RKK the retaliation is understandable.

The primary target was the army/ranger unit adjacent to the hospital. While the target is legitimate ,using hospital ground, facilities and personals en route to the attack is very much against the IHL. So was the decision to erect an army/ranger armed unit in close proximity to the hospital. In this respect BOTH sides have violated the IHL.

Therefore it is important that BOTH sides must mutually agree on the safety zones in the peace process and principles of IHL be applied. BOTH the Thai armed forces and the RKK must be EDUCATED on the principles of IHL and the rules engagement contained there in.

I personally do not think that the incidence could affect the dialogue process. On the contrary, it is even more necessary to push it forward so that the safety zones could be agreed upon as soon as possible.

The technical teams of both party A and B will finalise the Terms of References pretty soon. And if all are OK we expect the process will start officially in the near future.

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลเจาะไอร้อง แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบแน่นอนว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุคือใคร แต่ก็มีสิ่งบ่งชี้เพียงพอ ว่าเป็นกลุ่ม อาร์เคเค โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริง ที่ว่า วันที่ 13 มีนาคม ถูกเลือกเป็นเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งในวันเดียวกันนี้ ก็มีการก่อเหตุที่กระจายไปในที่อื่นๆด้วย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม มารา (Mara) เนื่องจากการโจมตีในลักษณะเดียวกันนี้ เคยเกิดมาแล้วหลายครั้งในอดีต ก่อนที่จะมีการก่อตั้ง กลุ่ม”มารา” ด้วยซ้ำ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า หากรัฐไทย ไม่จริงจังกับการแก้ไข ต้นเหตุรากเหง้าของความขัดแย้ง และไม่ระงับการกระทำที่อยุติธรรม ซึ่งปรากฏให้เห็นทุกวัน ฝ่ายติดอาวุธของขบวนการ ก็จะตอบโต้เป็นะระยะๆ

จนถึงขณะนี้ กลุ่มมารา และ ฝ่ายไทย ยังไม่สามารถตกลงในการก่อตั้ง พื้นที่ปลอดภัย(Safety zone)ได้แม้แต่แห่งเดียว เมื่อกระบวนการเจรจา มีขึ้นอย่างเป็นทางการ เราก็จะหารือถึงความเป็นไปได้นี้ และจำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย ว่า จะนำแผนการก่อตั้งเขต Safety Zone ไปปฎิบัติให้ดีที่สุดได้อย่างไร รวมถึงกลไกที่เหมาะสม ที่สามารถทำงานได้จริงและเนื่องจากเขตSafety Zone ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นกลุ่มมารา จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องออกมาปฎิเสธ ว่า เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เกิดขึ้น

เขตเซฟตี้ โซน ในอำเภอเจาะไอร้อง เป็นข้อเสนอแต่ฝ่ายเดียวของกองทัพภาค 4 และเมื่อพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นฐานที่มั่นของกลุ่ม อาร์เคเค ก็ทำให้การตอบโต้ที่เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้

เป้าหมายเบื้องต้นของการโจมตี เป็น หน่วยทหาร ที่อยู่ประชิดกับโรงพยาบาล ในขณะที่ ผู้ก่อการ ก็ใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล อาคาร และเจ้าหน้าที่ มุ่งโจมตีหน่วยทหาร ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) อย่างมาก

ดังนั้นการตัดสินใจที่ตั้งหน่วยทหาร ใกล้กับพื้นที่โรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ด้วยความเคารพ ข้าพเจ้าเห็นว่า ทั้งสองฝ่าย ได้ละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยธรรม หรือ IHL

ดังนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ ทั้งสองฝ่าย จำเป็นต้อง เห็นชอบร่วมกัน เกี่ยวกับเขตปลอดภัย (Safety Zone) ภายใต้กระบวนการเจรจาสันติภาพ ขณะเดียวกัน หลักการของกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ก็จำเป็นต้องถูกนำไปใช้ และทั้งทหารไทย และ กลุ่มอาร์เคเค ก็จำเป็นต้องศึกษา ถึงหลักการของ IHL และ กฎการปะทะ (Rule of engagement) ที่ระบุไว้ในกฎหมาย IHL

โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้า ไม่คิดว่า เหตุการณ์ดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขกับฝ่ายรัฐไทย ในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น ที่ทั้งสองฝ่าย ควรจะผลักดันการก่อตั้งเขตปลอดภัย (Safety Zone) โดยเร็วที่สุด

และทีมเทคนิค ของกลุ่มเอ (รัฐไทย) และ บี (Mara) จะร่างขอบเขตการทำงาน (TOR) ให้เสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆนี้ และ หากทุกฝ่ายเห็นด้วย เราคาดว่ากระบวนการ จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้นี้