Skip to main content

เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา มีการจัดเวทีประชุมนานาชาติ ไตรสันติภาพ บนเส้นทางสังคมมุสลิม โดยครั้งนี้กลุ่มองค์กรที่ทำงานในจังหวัดชายแดนใต้ด้านสันติภาพมาร่วมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยน “ความรู้ ทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้ง” 

เวทีประชุมนานาชาติ “ไตรสันติภาพ”  บนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวงเสวนาพูดเรื่อง ความรู้ทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยมีกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านสันติภาพในพื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

 

แวอิสมาแอล์ แนแซ ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชนกล่าวว่า พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ความขัดแย้งมานานและเป็นเวลาในการก้าวสู่การเปลี่ยนผ่าน เช่นการเปลี่ยนผ่าน ที่ไม่เคยเจราสู่การพูดคุยส่วนใหญ่หากจะเรียนรู้เรื่องสันติภาพหรือวิทยาการจะเป็นพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่ที่มีความขัดแย้ง ทำงานเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานติดต่อ จัดทำหลักสูตรเพื่อ ให้คนทำงานประเด็นสันติภาพหรือภาคประชาสังคมในพื้นที่ความขัดแย้งสามารถเข้าศึกษาในหลักสูตร
 
ด้านเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ หนึ่งในเครือข่ายที่ลงพื้นที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ กับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความไม่สงบ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสันติภาพ โดยจัดกิจกรรมการสานเสวนา เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง หวาดระแวงต่อกันได้
 
โซรยา จามจุรีนักวิชาการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ม.อ. กล่าวว่า  ปัตตานีกลุ่มผู้หญิงจะนำความรู้เพื่อนำไปปฎิบัติ เพราะผู้หญิงเป็นนักปฎิบัติการไม่ใช่เรียนแล้วก็จบ แต่ว่าเรียนแล้วเอาทักษะที่ได้ไปลงมือทำจริง เช่น เรียนรู้เป็นวิทยากรในการสานเสวนาผู้หญิงก็จะไปจัดสานเสวนาในพื้นที่ที่มีความหวาดระแวงให้คนที่หวาดระแวงกันมีโอกาสได้คุยกันและสรุปบทเรียน ถือเป็นองค์ความรู้อีกอย่างหนึ่งและยกระดับมันขึ้นมา01.01 //โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่เป็นเหยื่อเป็นผู้รับผลกระทบ เขาก็จะตระหนักในคุนค่าศักยภาพของตัวเอง แม้จะเป็นคนตัวเล็กตัวน้อย // แต่ก็มีพลังมีศักยภาพมีพลังอำนาจในตัวที่จะเป็นคนเปลี่ยนแปลงให้เกิดสันติภาพ สันติสุขในสังคมนี้ได้
 
จากหลายกิจกรรมในหลายองค์กรและหลายสถาบัน ที่ทำงานด้านความรู้ในพื้นที่ชายแดนใต้ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าการใช้ความรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสันติภาพ
 
รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการ ศูนย์เฝ้าระวังสถานกาษณ์ภาคใต้กล่าวว่า  คนทำในหลายองค์กรในระยะหลังๆมา สะท้อนสิ่งนี้ แต่ยังไม่ได้คำตอบที่สำเร็จรูป เพราะในบริบทในพื้นที่บ้านเราก็มีสิ่งแวดล้อมอีกแบบหนึ่ง แต่ดีที่คนเริ่มตั้งสติ ว่าเราอยู่จุดไหนถ้าไปข้างหน้า ต้องใช้ความรู้ในการเดิน มันไปแบบเดิมไม่ได้ เราต้องเรียนรู้ พื้นที่ต่างมากขึ้น

จากนี้ไปเราอาจจะได้เห็น หลายๆองค์กรที่ทำงานในพื้นที่ความขัดแย้ง ร่วมกันการแลกเปลี่ยน เพื่อเกิดเป็นความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะกลายเป็นอีกส่วนสำคัญของกระบวนการสันติภาพในชายแดนใต้