Skip to main content

หลังจากเวลาผ่านไปไม่ต่ำกว่า 17 ปี การพูดคุย 60 กว่าครั้ง และมีการล้มโตะเจรจาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง ในสุดท้่ายฝ่ายขบวนการปลดปล่อยบังซาโมโรซึ่งนำโดยแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร Moro Islamic Liberation Front (MILF) กำลังจะบรรลุถึงข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้โอกาสพูดคุยกับท่าน Haji Mohajirin T. Ali หนึ่งในคณะเจรจาจากขบวนการ MILF เกี่ยวกับประสบการของท่านในการเจรจา 

ในการสนทนา ท่านก็เน้นหลายครั้งว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในกระบวนการสันติภาพคือ ความอดทน และความพร้อมที่จะรับฟังอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่การนำเสนอความเห็นของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ ซึ่งท่านก็อธิบายว่า เป็นกระบวนการที่ทำให้เราเหน็จเหนื่อ

อย่างไรก็ตาม คำพูดของท่่านให้ผมตระหนักถึงความเป็นจริงที่ว่า ถึงแม้การเจรจาเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง ย่อมยังดีกว่าการด่ากันหรือการฆ่ากัน 

หวังว่าบทสรุปต่อไปนี้เป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านไม่มากก็น้อย 

****************************************************

ช่วยอธิบายประสบการณ์ในการเจรจาของท่า

“สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเจรจาคือ ความอดทน การเจรจาเป็นกระบวนการที่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อย บางทีเราต้องใช้เวลาเป็นหลายๆ ชั่วโมงเพื่ออภิปรายถ้อยคำแค่คำเดียวในการตกลงด้วย 

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเจรจาการบริหารการตำรวจ รัฐบาลต้องการใช้คำว่า police force in Bangsamoro แต่เราอยากใช้คำว่า police force of Bangsamoro แค่เพื่ออภิปรายร่วมกับเรื่องคำบุพบทคำเดียว เราต้องใช้เวลาการประชุมทั้งหมด 

ในการเจาจา ฝ่ายรัฐบาลมักจะแข็งกร้างต่อเราตลอด แต่เราก็ต้องฟังเขา ไม่ใช่เรานำเสนอหรือยืนยันจุดยืนของเรา แต่เราต้องฟังเขามากกว่า แต่เมื่อเขาพูดสิ่งที่เขาอยากจะพูดทั้งหมดแล้ว เขาก็อาจจะเปิดใจเื่พื่อรับฟังเรา เราต้องใช้ความอดทนสูง เพราะในสุดท้ายเขาจะเปลี่ยนท่าที่” 

เปลี่ยบอย่างไร 

“ขอยกตัวอย่างนี้ สมัยก่อน ประมาณสิบปีที่แล้ว เมื่อทหารตำรวจได้เจอเรา พวกเขาไม่ได้ทักทายเรา แต่ดุว่า (scold) เราทุกครั้ง แต่ตอนนี้พวกเขาก็สุภาพต่อเรา เพราะพวกเขาก็ตระหนักถึงพลังของเรา ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายในเวลาสองสามวัน แต่หลังจากเจรจากันมาหลายๆ ปี 

แต่ในขณะเดียวกัน อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการเจรจาคือ ความคงเส้นคงวา เพราะการเจรจาเป็นการสะสมของการพูดคุยหลายๆ ครั้ง และเอกสารที่อ้างอิงในการเจรจาเป็นเอกสารฉบับล่าสุด เมื่อท่าทีของเราขาดความคงเส้นคงว่า จะปรากฎในเอกสารต่างๆ และจุดอ่อนเช่นนี้จะส่งกระทบต่อฝ่ายเรา ในสุดท้ายเราจะเสียเปรียบ ฉะนั้น แม้ว่าผู้นำของประเทศจะเป็นใครก็ตาม เราก็ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรักษาความคงเส้นคงวา” 

ถ้าผู้นำของประเทศ (ประธานาธิบดี) เปลี่ยน จะส่งผลกระทบต่อการเจรจาไหม 

“ผู้นำบางคน เช่น Marcos กับ Estrada ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ตราบใดที่ผู้นำของประเทศมีเจตนาที่จะเจรจากับเรา ในการเจรจา เราก็มีจุดยืนที่ชัดเจนว่า เราเจรจากับรัฐบาล ไม่ใช่ฝ่ายบริหารของรัฐบาลเท่านั้น ไม่ว่าผู้บริหารรัฐบาลเป็น Aroyo หรือ Aquino ก็ตาม คู่เจรจาของเรา ไม่ใช่ชุดบริหารของรัฐบาล แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ทั้งหมด 

เนื่องจากคู่เจรจาของเราเป็นรัฐบาล เราก็ต้องมีโครงสร้าง การแบ่งหน้าที่และวิธีทำงานเหมือนรัฐบาลด้วย เรามีโครงสร้างการปกครองบริหารเหมือนรัฐบาลด้วย จากศูนย์กลางถึงระดับภูมิภาค” 

เพื่อเพิ่มอำนาจทางการเืมืองขององค์กร MILF ส่งตัวแทนลงสมัครในการเลือกตั้งบ้างไหม 

“วันก่อน เราส่งตัวแทนขององค์กรลงสมัครเลือกตั้ง แต่ตอนนี้ไม่ส่ง เพราะเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ ถ้าจะชนะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง และเป็นที่มาของความขัดแย้งที่รุนแรงด้วย ฉะนั้นตอนนี้เราก็หยุดส่งตัวแทน แต่เรารักษาระบบการบริหารปกครองของเราให้เข้มแข็ง"

คนในองค์กรท่านทุกคนทราบถึงเนื้อหาของการเจรจา/พูดคุย สิ่งที่เจรจา/Wพูดคุยกับฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ หมายความว่า คนที่อยู่ปลายสุดของสายบัญชาการก็เข้าใจถึงเนื้อหาของการพูดคุย/การเจรจาหรือเปล่า 

"โดยหลักการแล้ว ทุกครั้งมีการพูดคุย/เจรจา พวกเราก็มีการประชุมภายในหลายๆ ครั้ง และการประชุมนั้นต้องมีในทุกระดับ ฉะนั้นเราก็พยายามเพื่อให้สมาชิกขององค์กรทุกคนเข้าใจถึงเนื้อหาการพูดคุย/เจรจา เพราะถ้าเราเจรจาโดยไม่นำเสียงที่มาจากระดับบนดิน (ground level) ซึ่งหมายถึงคนที่ต่อสู้ในสนามรบ การเจรจาของเราก็เหมือนกับการประท้วงหน้าสถานที่ราชการ ไม่ใช้การเจรจา ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ฟัง ต้องมีเอกภาพขององค์กร มิฉะนั้นเราไม่สามารถดำิเนินการเจรจาได้”

ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสายทหารกับสายการเมืองในองค์กรของท่าน

“สายทหารกับสายการเืมือง ต้องไปเคียงคู่กันไป เหมือนล้อสองล้อของจักรยาน ทั้งสองฝ่่ายต้องแข็งแรงและมีความเชี่ยวชาญในการดำำเนินการต่อสู้เพื่อบรรลุอุดมการณ์ของเรา แต่มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย เมื่อการปะทะกันเกิดขึ้น อย่างเช่นในสมัยที่ Estrada เป็นประธานาธิบดี มีการปะทะกัน ในช่วงนั้น ต้องให้สายทหารกำหนดนโยบาย เพื่อความอยู่รอดขององค์กรภายใต้ภาวะสงคราม แต่เมื่อมาถึงขั้นตอนเจรจา สายการเมืองต้องนำสายทหาร" 

แล้วเมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการเจรจา อย่างเช่น สายการเมืองต้องการเจรจา แต่สายทหารไม่ต้องการเจรจา ถ้ากรณีเช่นนี้เกิดขึ้น องค์กรของท่านจะแก้ไขปัญหาอย่างไร 

"ปัญหาแบบนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเหมือนกับโลกการเมืองทั่วไป มีฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน องค์กรของเราก็เป็นแบบนั้น เป็นการรวมตัวของคนที่มีหลากหลายความคิด มันเป็นจุดแข็งด้วย เป็นไปไม่ได้ว่า สมาชิกทุกคนจะเห็นด้วยเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่งตั้งแต่แรก มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มันเป็นเรื่องธรรมดาขององค์กรของพวกเรา 

สำหรับแก้ไขปัญหาเช่นนี้ การสื่อสารภายในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทราบถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในองค์ฺกร และทุกระดับต้องรู้ด้วย ถ้าการสื่อสารภายในองค์กรไม่ได้จะนำไปสู่ความแตกแยกขององค์กร” 

องค์กรของท่าน มีความสงสัย หรือความไม่ไว้วางใจต่อการเจรจา หรือคู่เจรจาไหม 

“ช่วงแรกๆ ของการก่อตั้งองค์กร ในเมื่อเราแยกตัวออกจาก M์NLF มีความสงสัยอย่างสูง เพราะในช่วงนั้น เรายังไม่แน่ใจเรื่องความอยู่รอดขององค์กร แต่เราก็ได้ผ่านขั้นตอนนั้นแล้ว และตอนนี้เรามั่นใจว่า เราเจรจากับฝ่ายรัฐบาลได้ เพราะเรามั่นใจกับองค์กรของเรา”