Skip to main content

2

เท้าความ mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                ในคราวก่อนที่ผมเขียนเรื่อง โลกมลายู Nusantara – Patani เป็นปฐมบท ผมได้เล่าถึงพื้นที่ที่เรียกว่า นูซันตาราและปาตานี ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ แต่ในคราวนี้ผมจะขอเล่าถึงเรื่องราวของคนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังพื้นที่แห่งนี้บ้างว่าประกอบได้ด้วยใคร และท้ายที่สุดคือ ชาวปาตานีคือใคร minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชนชาติต่างๆในโลกมลายู นูซันตารา ตอนที่ 1 minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">โอรังอัสลี
mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">(Orang Asli)
mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                โอรังอัสลีเป็นคำในภาษามลายู แปลว่า คนดั้งเดิม ซึ่งหมายถึงชนเผ่าที่อาศัยและเร่ร่อนในพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม เงาะป่า ซาไก เซมัง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่นับถือ ภูต ผี เป็นหลักและมีลักษณะทางสายเลือดเป็นนิกโกรลอยด์ คือเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำและมีผมหยิกหยอย ก่อนที่จะมีบันทึกใดๆหรือที่เรียกว่าก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่แถบนูซันตาราก็เป็นแหล่งที่อยู่ของกลุ่มโอรังอัสลีมาก่อนแล้ว minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">เมืองท่าค้าขายและผู้คนเลือดผสม
minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">(Mixed bloods)
minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ในราวๆ คริสต์ศตวรรษที่ 14 หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ความต้องการเครื่องเทศของชาวตะวันตก และการเสาะแสวงหาแหล่งทรัพยากรในดินแดนใหม่ กระตุ้นให้นักเดินทางต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในนูซันตารา ชวา สุมาตรา บอร์เนียว และหมู่เกาะแถบนี้ จนเกิดเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลกในยุคนั้น เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก เป็นเส้นทางค้าขายที่เชื่อมต่อมหาอำนาจต่างๆของโลกในสมัยนั้น เป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลที่เชื่อมโลกของจีน อินเดีย อาหรับ และโรม เข้าด้วยกัน mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                แล้วชนชาติไหนบ้างล่ะที่เดินทางเข้ามาและมีอิทธิพลในดินแดนแห่งนี้ ? minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">อินเดีย
mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                ตำนานมะโรงมหาวังสา (Merong Maha Wangsa) หรือตำนานเมืองไทรบุรี (Hikayat Kedah) ได้อ้างถึงการสืบเชื้อสายโรมที่มาจากชมพูทวีปหรืออินเดีย มาก่อตั้งวงษ์ที่บริเวณหนึ่งแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของนูซันตารา ร่องรอยทางโบราณคดีที่หมู่บ้าน Lembah Bujang (Bujang Valley) ในรัฐเคดาห์ของมาเลเซีย ก็ปรากฏอารยะธรรมของฮินดูจากอินเดียอย่างมากมาย รวมทั้งร่องรอยของชาวอาหรับที่เดินทางมายังแถบนี้ด้วย (หินจารึกชื่อ Ibnu Sardan) นอกเหนือจากนี้เรายังสามารถเห็นร่องรอยทางโบราณคดีและอารยะธรรมอินเดียได้ทั้งจาก ชวา บาหลี ในนูซันตาราก็มีกระจายตามพื้นที่ต่างๆมากมาย ในภาคใต้ของไทยก็มีกระจายตามพื้นที่ กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เป็นต้น minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับอารยะธรรมอินเดียมีปรากฏกระจายไปทั่วภูมิภาคนี้ แต่ร่องรอยเหล่านั้นแทบจะหาไม่ได้เลยในพื้นที่ปาตานี ยกเว้นแหล่งโบราณคดีกลุ่มบ้านท่าสาป-หน้าถ้ำ (ยะลา) และแหล่งโบราณคดีกลุ่มบ้านจาเละประแว (ยะรัง ปัตตานี) เชื่อว่าถ้าไม่ถูกทำลายไปแล้วก็คงเพราะไม่มีการขุดค้นในเรื่องนี้อย่างจริงจัง mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">จีน
mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                ในหมิงสื่อลู่ (Ming Shi Lu หรือจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง) หม่าฮวน (Ma Huan ล่ามและผู้จดบันทึกในกองเรือมหาสมบัติของราชวงศ์หมิง) บันทึกว่า ในปี ค.ศ.1405 กองเรือจำนวน 317 ลำ บรรทุกลูกเรือจำนวน 27,800 คน โดยการบัญชาการของ “เจิ้งเหอ” เดินทางท่องสมุทรครั้งแรกจากอู่หลงเจียงในนครนานกิงเพื่อมุ่งสู่เมืองคาลิคัทในอินเดีย ได้แวะยังอาณาจักรจามปา อาณาจักรมัชปาหิตบนเกาะชวา และอีกสามเมืองอิสระบนเกาะสุมาตรา คือเมืองเซอมูดรา เมืองเดลีและเมืองอาเจ๊ะห์ minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ในบันทึกของหม่าฮวน ได้เล่าถึงแหล่งชุมนุมของพ่อค้าชาวจีนที่มีฐานะดีที่อพยพมาอยู่บนเกาะชวาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยเฉพาะที่เมืองเกรซิค (Gresik) และสุราบายา (Surabaya) มีชาวจีนมาอยู่นับพันครอบครัว และได้เล่าถึงโจรสลัดชาวจีนชื่อ เฉินจู้อี้ (Chen Zu Yi) จากมณฑลกว่างตงที่ยึดครองเมืองท่าปาเล็มบังและปล้นสะดมเหล่านักเดินทางที่ผ่านช่องแคบมะละกา minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ในการเดินทางครั้งที่ 2 ของกองเรือมหาสมบัติของราชวงศ์หมิงโดยเจิ้งเหอ ได้จอดที่เมืองมะละกาเพื่อรับรองฐานะความเป็นรัฐอิสระของมะละกาจากองค์จักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิง และในการเดินทางท่องสมุทรครั้งสุดท้ายของเจิ้งเหอ (ค.ศ.1436) เฟ่ยเซิน แม่ทัพของกองเรือเจิ้งเหอ ก็ได้แต่งงานกับหญิงท้องถิ่นและไม่กลับไปเมืองจีนกับกองเรือ mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                ตำนานเรื่องฮังลิโป (Hang Li Bo) ของมะละกา ก็ได้เล่าถึงเจ้าหญิงจีนผู้แสนสวยเดินทางมากับกองเรือเจิ้งเหอ เพื่อมาอภิเษกสมรสกับสุลต่านมันซูรชาห์ (Sultan Mansur Shah) สุลต่านแห่งมะละกา โดยพาข้าราชบริพารติดตามมาตั้งรกรากที่มะละกาด้วย 500 คน โดยที่สุลต่านให้พำนักอยู่ที่เชิงเขาแห่งหนึ่งใกล้ท่าเรือมะละกา ซึ่งต่อมาเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า บูกิตไชน่า (Bukit Cina) minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                การที่ชาวจีนละทิ้งถิ่นฐานและอพยพมายังนูซันตาราและชวาก่อนการยาตราทางสมุทรของกองเรือมหาสมบัติราชวงศ์หมิงหรือราวๆคริสต์ศตวรรษที่ 10 นั้น มาจากหลายสาเหตุเช่น ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความอดอยาก การถูกบังคับขู่เข็ญหรือลี้ภัยทางการเมือง แต่หลังจากกองเรือมหาสมบัติได้ยุติบทบาทในการท่องสมุทร ก็ได้เกิดแรงดึงดูดหพ่อค้าชาวจีนคิดแสวงผลกำไรจากการค้าระหว่างประเทศแทนกองเรือมหาสมบัติของราชสำนัก ทำให้เกิดการทยอยอพยพย้ายถิ่นของชาวจีนเพื่อทำการค้าในนูซันตารามากขึ้นโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">อาหรับ
mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">

                มีหลักฐานมากมายที่เชื่อได้ว่าชาวอาหรับ โดยเฉพาะอาหรับฮัดรอมีย์ ได้เดินทางมายังนูซันตารานานแล้ว โดยเฉพาะ Batu Ibn.Sadan หรือหินจำหลักของอิบนูซารดานที่ค้นพบแถบหมู่บ้านบูจัง (Bujang Valley, Lembah Bujang) ในรัฐเคดาห์ เป็นหินขนาด 19*37 cm. เขียนคำว่า Ibnu Sardan 213 หรืออิบนูซัรดาน 213 ในภาษาอาหรับ (ปัจจุบันหลักฐานชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาที่ Musium Negara,Kuala Lumpur) การค้นพบของหินก้อนนี้สามารถเสริมสร้างทฤษฎีที่ว่าศาสนาอิสลามและ/หรือชาวอาหรับมีมาก่อนหน้านี้ในแถบ Lembah Bujang ถ้าหากว่าเลข 213 หมายถึงปีฮิจเราะห์ที่ 213 (ศักราชอิสลาม) ก็จะตีความได้ว่าศาสนาอิสลามและ/หรือชนชาติอาหรับมาสู่ดินแดนนี้ในปี ค.ศ.882 หรือก่อนหน้านั้น mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

                เรื่องราวในบันทึกที่เกี่ยวกับ Wali Songo หรือนักบุญทั้งเก้าของอินโดนีเซียก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สามารถใช้ในการสืบเสาะเรื่องการเข้ามาของชาวอาหรับฮัดรอมีย์ เพราะเหล่าวาลีหรือนักบุญเหล่านี้ล้วนสืบเชื้อสายจากอาหรับฮัดรอมีย์ทั้งสิ้น ซึ่งก็คงจะได้มีโอกาสเล่าเรื่องนี้ในโอกาสหน้า มีหลายๆตระกูลในนูซันตาราที่สืบเชื้อสายของอาหรับฮัดรอมีย์ที่ยังคงตกทอดและสืบเชื้อสายจวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งในอินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซียและปาตานี เช่น ตระกูลโบลเกียของสุลต่านบรูไน ตระกูลอัลอิดารุสหรืออิดรีส (Ustaz Azhar Idris) ตระกูลอัลอัตตาส (Prof.Naqib Alatas) ตระกูลอัลยุฟรีย์ และอีกหลายๆตระกูลในปาตานี mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi">                                                                                                                      mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-theme-font:minor-bidi">วัลลอฮู อะอ์ลัม mso-ascii-theme-font:minor-bidi;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:
"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">

 

 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่งท้าย

                  ยังมีอีกหลายชาติทีเดียวที่แวะเวียนมา และอพยพมาตั้งรกรากในดินแดนนูซันตารา แต่คงต้องยกยอดไปเล่าในตอนต่อไปครั้งหน้าแล้วครับ เพื่อไม่ให้กลายเป็นเรื่องที่ยืดยาวจนเกินไป ตั้งใจจะเล่าถึงชนชาติ สัญชาติและศาสนา แต่เอาเข้าจริงๆ เฉพาะเรื่องชนชาติก็ยังเล่าได้ไม่หมด ไว้เล่าเรื่องชนชาติต่างๆในดินแดนนี้อย่างคร่าวๆ พอสังเขป ประกอบความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ค่อยว่าเรื่องสัญชาติและศาสนาในคราวต่อไปครับ...Insha Allah

 

 

 

 

 

 

mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">