Skip to main content

             ผ่านไปแล้วอย่างเงียบเชียบ คือเวทีที่สื่อไทยพบกับคนจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นหนแรก

เป็นการพบปะที่เปิดโอกาสให้มีการซักถามกันอย่างเต็มขั้นและให้เวลาพูดคุยกันเกินวัน เนื้อหาของการถาม-ตอบก็มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ น่าจะเป็นผลประโยชน์ที่สาธารณะพึงจะได้รับรู้ แต่ข่าวนี้กลับไม่ได้ปรากฏมากนัก ทำให้ดูเหมือนว่าท่ามกลางวิกฤติการเมืองข่าวถูกกลบจนแทบจะมิด จะมีก็แต่คนที่ติดตามข่าวภาคใต้อย่างใกล้ชิดและผู้อ่านเวบไซท์ศูนย์ข่าวอิศราเท่านั้นจึงจะรู้ว่ามีการพบปะกันเกิดขึ้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของผู้ที่ติดตามเรื่องราวความขัดแย้งในภาคใต้ บล็อคนี้จึงใคร่ขอนำเนื้อหาบางส่วนของการพบปะถาม-ตอบดังกล่าวมาบันทึกเอาไว้เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ต่อสาธารณะ. ถือว่าเป็น record ของการพูดคุยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ความรู้ในเรื่องท่าทีต่อการสร้างสันติภาพของฝ่ายต่อต้านรัฐนับเป็นเรื่องที่เราท่านยังเข้าถึงน้อยมากก็ว่าได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดในการสื่อสาร ที่ผ่านมาสื่อไทยเข้าไม่ถึงขบวนการเพราะท่วงทำนองอันเนื่องมาจากความเป็น "ไทย" ขณะที่สื่อมลายูที่เข้าถึงก็มีน้อยเพราะความล่อแหลมที่เกิดจากความเป็น "มลายู" 

ส่วนจะอ่านหรือตีความกันอย่างไร เป็นเรื่องของทุกท่านจะไปว่ากันเอาเอง

ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตัวแทนหกคนจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามกลุ่มคือกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนท กลุ่มบีไอพีพีและกลุ่มพูโลซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวงพูดคุยสันติภาพกับรัฐบาลไทยได้พบปะกับผู้สื่อข่าวเจ็ดคนจากหกสำนักจากกรุงเทพฯ เนื้อหาของการพูดคุยชี้ให้เห็นว่า เหตุผลที่ตัวแทนฝ่ายขบวนการตัดสินใจเปิดตัวพบสื่อไทยน่าจะมาจากความต้องการสร้างความเข้าใจกับสังคมไทยถึงรากเหง้าของความขัดแย้ง และส่งสัญญาณว่าทางกลุ่มเอาจริงเรื่องการสร้างสันติภาพ การพูดคุยในพื้นที่ไม่เปิดเผยกินเวลาราววันครึ่ง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

 

อยากให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ "Times New Roman"">

ประเด็นสำคัญที่พวกเขาตอกย้ำกับสื่อไทยก็คืออยากเห็นความต่อเนื่องของกระบวนการสันติภาพที่ได้รับการยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้รัฐบาลทุกชุดที่ขึ้นมารับตำแหน่งสานต่อ ทั้งนี้เพราะได้บทเรียนในอดีตว่า การพูดคุยก่อนหน้านี้ที่กระทำกันอย่างปิดลับ เมื่อรัฐบาลชุดถัดมาไม่ยอมรับก็ต้องชะงักไป ซึ่งเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายขบวนการเห็นว่ากระบวนการสันติภาพจะต้องเดินหน้าอย่างเปิดเผยและไม่ปิดลับ  "Times New Roman"">

สำหรับขั้นตอนของการพูดคุยเพื่อสันติภาพขณะนี้ พวกเขาระบุว่า กำลังรอกำหนดนัดหนใหม่ หลังจากที่กลุ่มเสนอเงื่อนไขห้าข้อไปให้ฝ่ายรัฐบาลบวกกับคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นเอกสาร 38 หน้าตามที่เป็นข่าว และเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ก็ได้รับคำตอบจากรัฐบาลว่า รับที่จะหารือเงื่อนไขทั้งห้าข้อดังกล่าวร่วมกัน แต่รัฐบาลได้เสนอเรื่องใหม่เพิ่มเติมเข้าไปอีกสองเรื่องเพื่อจะให้พูดคุยกันด้วย คือ ประการแรก เสนอให้สองฝ่ายร่วมมือกันลดความหวาดระแวงและความขัดแย้ง และเพื่อแสดงความจริงใจ ขอให้ทุกฝ่ายลดความรุนแรง เคารพสิทธิมนุษยชนในทุกโอกาสที่สามารถทำได้  ประการที่สองขอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันเร่งรัดทำงานในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างและกระจายรายได้อย่างทั่วถึงตลอดจนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ให้ถือว่าทุกศาสนามีความสำคัญเท่าเทียมกันและทุกคนได้โอกาสในการปฏิบัติตามหลักความเชื่อของตนเอง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ส่วนเงื่อนไขห้าข้อที่ฝ่ายขบวนการเสนอให้ฝ่ายไทยรับหารือร่วมนั้น ประกอบไปด้วย ประการแรก ให้มาเลเซียเป็นคนกลาง ไม่ใช่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก ข้อสอง การพูดคุยนี้ให้ถือว่าเป็นไประหว่างชาวปาตานีที่มีกลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นตัวแทน กับรัฐบาลไทย สาม ให้มีสักขีพยานจากกลุ่มอาเซียน องค์การความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี และจากองค์กรอิสระ สี่ ให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมและยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข และห้า ให้ยอมรับว่าบีอาร์เอ็นเป็นผู้ปลดปล่อยไม่ใช่ผู้แบ่งแยกดินแดน "Times New Roman"">

ในช่วงของการถามตอบ ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่มีการหยิบยกกันขึ้นมาคือเรื่องการรายงานข่าวของสื่อไทยต่อเรื่องความขัดแย้ง ตัวแทนบางคนกล่าวว่า เห็นได้ชัดว่าสื่อในกรุงเทพฯจำนวนหนึ่งตั้งข้อสงสัยกับการเดินหน้าของกระบวนการสันติภาพและเสนอข่าวเรื่องนี้ในทางลบตลอดมา และยังสะท้อนความรู้สึกว่า สื่อไทยยังไม่แสวงหาข้อเท็จจริงมากเท่าที่ควร หลายเหตุการณ์ไม่ใช่การลงมือของกลุ่มแต่กลับรายงานว่าเป็นการกระทำของฝ่ายขบวนการโดยยึดข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เป็นหลัก รวมทั้งเรื่องการนิยามกลุ่มผู้ก่อเหตุเพื่อแสดงการต่อต้านรัฐซึ่งกระทำด้วยมูลเหตุจูงใจที่เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมแต่กลับถูกเรียกว่า “โจรใต้” ซึ่งกลุ่มผู้สื่อข่าวก็ชี้ว่า การทำงานในพื้นที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลเพราะอันตรายจากความรุนแรง ในขณะที่คำอธิบายจากแหล่งข่าวอื่นไม่มี ที่สำคัญสื่อก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข่าวในฝ่ายขบวนการเองได้ อย่างไรก็ตามฝ่ายตัวแทนของขบวนการเรียกร้องให้สื่อไทยสนับสนุนกระบวนการสันติภาพด้วย "Times New Roman"">

 

ยืนยันเข้าร่วมอย่างเต็มใจ

การพบปะพูดคุยหนนี้ที่เกิดขึ้นท่ามกลางสภาวะที่การผลักดันเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพกำลังเกิดช่องว่าง เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาการเมืองต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยทำให้บุคคลที่อยู่เบื้องหลังผลักดันการทำงานของฝ่ายไทย คืออดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พุ่งความสนใจไปที่เรื่องของการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมและต่อมากับการคลี่คลายวิกฤติที่เกิดกับรัฐบาล ทั้งหมดนี้ทำให้การสานต่อกระบวนการเชื่องช้า ในขณะที่อีกด้านการเสนอข่าวของสื่อส่วนหนึ่งมีเค้าลางว่าจะพ่วงเอาเรื่องความพยายามคลี่คลายความขัดแย้งเข้ากับปัญหาการเมือง แต่ผลของการพบปะกันกับสื่อหนนี้ ฝ่ายขบวนการได้ยืนยันถึงเจตนาในการผลักดันสันติภาพ โดยอธิบายว่า ฝ่ายตนเข้าร่วมกระบวนการด้วยตนเองและพร้อมเดินหน้าอย่างเต็มที่ 

ตัวแทนของฝ่ายขบวนการกล่าวถึงที่มาของการเข้าร่วมการพูดคุยเพื่อสันติภาพหนล่าสุดนี้ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายยังคาใจว่าอาจเป็นการสร้างฉากว่า แม้จะเป็นเรื่องจริงที่อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเข้าไปชักชวน แต่การพูดคุยนั้นมีมาก่อนที่พ.ต.ท.ทักษิณจะก้าวเข้าไป ในกลุ่มเองเคยตั้งเงื่อนไขกันไว้ว่า จะเข้าร่วมพูดคุยสันติภาพก็ต่อเมื่อกระบวนการนั้นสอดคล้องกับเงื่อนไขสามประการ กล่าวคือ ฝ่ายไทยประกาศดำเนินการอย่างชัดเจนและไม่กระทำแบบเงียบๆ  สอง มีมาเลเซียเป็นตัวกลางประสาน และสาม เมื่อการพูดคุยนั้นครอบคลุมถึงทุกกลุ่มที่ปฏิบัติการในพื้นที่  "Times New Roman"">

"เราไม่เคยคาดคิดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะกล้าประกาศที่จะดำเนินการภายใต้เงื่อนไขทั้งสามข้อ เมื่อก่อนเราไม่เคยคุยเรื่องพวกนี้ คิดอย่างเดียวว่าจะได้เอกราชได้อย่างไร พอยิ่งลักษณ์ประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการเราก็มาปรึกษากัน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้งสามข้อก็เลยเข้าร่วม" แต่ตัวแทนทั้งหกยอมรับว่า เพราะการที่พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เข้าไปชักชวนทำให้มีบางกลุ่มไม่ยอมเข้าร่วมในตอนแรก mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ตัวแทนกลุ่มยืนยันว่าไม่ได้มีการบีบบังคับพวกตน เพียงแต่ในช่วงลงนามเพื่อจะเริ่มพูดคุยนั้นทางฝ่ายขบวนการยังไม่พร้อมแต่ทว่ามีเจตนาที่จะพูดคุยเพื่อสันติภาพอยู่แล้ว  อย่างไรก็ตามเมื่อได้เข้าร่วมแล้ว "ก็ได้มีการแก้ไขกระบวนการภายในที่เป็นจุดอ่อนจนเราค่อนข้างเชื่อมั่นว่ากระบวนการจะเดินหน้าต่อไปได้แม้ว่าตอนเกิดภาพอาจจะไม่ค่อยสวย จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีอีกหลายส่วนอยากเข้ามามีส่วนร่วม" ตามรายงานข่าวล่าสุดปรากฏว่ากลุ่มพูโลภายใต้การนำของนายกัสตูรี มาห์โกตา แสดงท่าทีต้องการจะเข้าร่วมวงพูดคุย แต่ฝ่ายตัวแทนชี้แจงว่าเนื่องกลุ่มของนายกัสตูรีเป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยของพูโล จึงได้มีการมอบหมายให้พูโลทั้งหมดไปตกลงกันเองก่อนว่าจะส่งใครเข้าร่วมตามโควต้าที่กำหนดให้ไปคือสองที่นั่ง “เราถือว่าเขาครอบครัวเดียวกันให้ไปตกลงกันเอาเอง”

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ตัวแทนบางคนยอมรับว่า คนที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพในฝ่ายที่ก่อเหตุมีประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ และจำนวนอีกเท่าๆกับไม่เห็นด้วย ส่วนที่เหลือยังไม่แน่ใจ "Times New Roman"">

สมาชิกขบวนการทั้งหกตอบคำถามเรื่องเหตุใดจึงต้องดึงโอไอซีและเสนอให้มาเลเซียมาเป็นคนกลางโดยอธิบายว่า การเสนอให้โอไอซีเป็นผู้สังเกตการณ์ก็เพราะ "เราเป็นมุสลิม อยากให้มีองค์กรมุสลิมมาเป็นสักขีพยาน ถ้าทำอย่างลับ เมื่อมีข้อตกลงอาจมีบางฝ่ายไม่ทำตาม" ส่วนการเสนอให้มาเลเซียเป็นตัวกลางนั้นเป็นเพราะมาเลเซียเป็นประเทศที่เข้าใจปัญหาความขัดแย้งนี้ดีที่สุด ขณะที่รัฐบาลไทยเองก็ไม่ต้องการเห็นประเทศอื่นเข้ามามีส่วนเพราะต้องการยืนยันสถานะว่าปัญหานี้เป็นปัญหาภายใน ดังนั้นแม้ว่าฝ่ายขบวนการเคยเสนอให้ยุโรปเข้ามาช่วยแต่ไทยไม่ยอม จึงต้องเสนอคนที่เป็นที่ยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย "Times New Roman"">

"จริงอยู่เรารู้ว่ามาเลเซียมีเป้าหมาย มีผลประโยชน์ ทักษิณเองก็มีผลประโยชน์ แต่เรามาคิดว่าถ้าเราเข้าร่วมกระบวนการสันติภาพเราเองก็จะได้ประโยชน์ และการให้มาเลเซียทำได้ประโยชน์มากกว่าให้คนอื่นมาเป็นตัวกลาง" mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

 

ไม่ได้เป็นผู้ลงมือทุกเหตุการณ์ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ตัวแทนฝ่ายขบวนการกล่าวถึงมาตรการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตนโดยการกำหนดเงื่อนไขลดความรุนแรงช่วงเดือนถือศีลอดที่ผ่านมาว่า เป็นเงื่อนไขที่กลุ่มเอาจริงและได้เตรียมผลักดันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงห้าวันแรกของเดือนรอมฎอนที่ไม่ปรากฏเหตุการณ์รุนแรงใดๆ แต่มาตรการนี้กลับสะดุดเพราะมีคนของขบวนการและมีครูสอนศาสนาถูกฆ่า ทำให้สมาชิกฝ่ายใช้กำลังในพื้นที่หมดความอดกลั้นและออกมาตอบโต้ หลังจากนั้นเหตุการณ์รุนแรงจึงทวีขึ้น 

"กลไกรัฐมีมากมายไม่ใช่ทหารอย่างเดียว คนถืออาวุธมีเยอะเกินไป คนที่พยายามทำงานบางทีก็ถูกยิงเช่นรุสดี ยาบะ ซึ่งใช้ความพยายามอย่างสูงที่จะให้กลุ่มและขบวนการได้มาคุยก้น แต่ท้ายสุดก็ถูกยิงตาย รัฐบาลบอกว่ากลุ่มเป็นคนยิง เราบอกว่าไม่ได้ทำ" mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

พวกเขาชี้ว่าการลดความหวาดระแวงในพื้นที่เป็นเรื่องยาก แต่ยืนยันว่า คนไทยพุทธไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติการ ตัวแทนฝ่ายขบวนการอ้างว่า เหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่นั้นหลายอย่างไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและขบวนการ แม้แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเอง หลายหนก็ไม่ได้เป็นการกระทำของสมาชิกของขบวนการ แต่เป็นการแก้แค้นกันเองของญาติหรือคนใกล้ชิดกับเหยื่อที่ถูกกระทำ   "Times New Roman"">

"ขบวนการเองจะทำอะไรเราไตร่ตรอง มีเหตุผล เป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง เพราะเราไม่ได้ขัดแย้งกับคนไทย และเราไม่อนุญาตให้สมาชิกทำเองเพราะมีกฎเกณฑ์ชัดเจน” พร้อมกับกล่าวว่าในแนวทางของอิสลามห้ามการฆ่าพระหรือทำลายศาสนาอื่น “เราเป็นนักสู้ เราไม่ใช่ฆาตกร" mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

สำหรับคนไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่ที่ตกเป็นเป้าหมายนั้น พวกเขากล่าวว่าส่วนหนึ่งเพราะกระทำเรื่องที่เป็นอันตรายต่อขบวนการเช่นช่วยหาข่าวให้เจ้าหน้าที่ หลายรายทำเช่นนี้แม้ว่าจะได้รับคำเตือนแล้ว "แต่ยังท้าทาย" ด้วยการไม่หยุดการกระทำนั้นๆ นอกจากนี้การที่กลุ่มคนไทยพุทธรวมทั้งพระและครูอยู่รวมกับเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทำให้พวกเขาถูกเหมารวมหรือติดร่างแหไปด้วย

ตัวแทนทั้งหกยืนยันว่า กลุ่มตนสู้กับรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเพราะถูกกระทำ สาเหตุเพราะมีปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมมากมายที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเห็นได้ชัดว่ามลายูมุสลิมถูกปฏิเสธตลอดมา mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

“เงื่อนไขหลักที่ทำให้มีการต่อสู้ คือเงื่อนไขในประวัติศาสตร์การที่ปาตานีถูกยึด ภาษามลายูถูกห้ามใช้ ชาติพันธุ์มลายูถูกปฏิเสธ นี่เป็นเงื่อนไขในการต่อสู้ยาวนานมาแล้ว” "Times New Roman"">

 

ออโตโนมีเรื่องใหม่ยังต้องถกกันอีกมาก "Times New Roman"">

ตัวแทนของสามกลุ่มในฝ่ายขบวนการยังอธิบายเพิ่มเติมถึงถ้อยคำบางคำที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันว่าฝ่ายขบวนการหมายถึงอะไรกันแน่ เช่นการใช้คำว่าเขตปกครองพิเศษ ซึ่งมีผู้ระบุว่ามาจากคำว่าออโตโนมี่ (autonomy) โดยยืนยันว่าคำคำนี้ขบวนการไม่ได้เป็นผู้ใช้ "Times New Roman"">

"คำว่าออโตโนมี่ เป็นการแปลของรัฐบาลไทยหรือไม่ก็มาเลเซียที่แปลจากภาษามลายูมาเป็นอังกฤษแล้วก็มาเป็นไทย เราเองใช้ภาษามลายูที่มีความหมายว่า การกำหนดชะตากรรมของตนเอง ส่วนใครจะไปแปลอย่างไรเป็นเรื่องของเขา" ตัวแทนกล่าวพร้อมทั้งอธิบายว่า ที่ได้ยกกรณีกรุงเทพฯและพัทยาขึ้นมานั้นไม่ได้หมายความว่าต้องการรูปแบบของทั้งสองเมือง แต่เพียงต้องการจะยกตัวอย่างว่า ไทยเองก็มีพื้นที่ที่เป็นเขตปกครองพิเศษอยู่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"กรุงเทพฯและพัทยาจัดการตนเองบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่เราไม่ต้องการแบบนั้น เราต้องการระบบที่อยู่บนพื้นฐานของประวัติศาสตร์และการเมือง ไม่ใช่เศรษฐกิจ" mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">อย่างไรก็ตาม สมาชิกขบวนการทั้งสามกลุ่มต่างยืนยันว่า ในเรื่องนี้กลุ่มยังจะต้องคุยกันเองอีกมากเพื่อทำให้ความคิดในเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"เราไม่เคยคุยกันเรื่องออโตโนมี่มาก่อน เพราะเท่าที่ผ่านมาเราคิดแต่เรื่องเมอร์เดก้า (merdeka - เอกราช) มาโดยตลอด แต่การมีกระบวนการสันติภาพได้เปิดเส้นทางนี้ให้กับเรา" พวกเขาชี้ว่า เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และความคิดยังไม่ตกผลึกในกลุ่ม ดังนั้นจึงยังไม่อาจบอกได้ชัดเจนในเวลานี้ว่าต้องการรูปแบบอย่างไรกันแน่ 

นอกจากนี้ตัวแทนจากสามกลุ่มยังอธิบายต่ออีกถึงคำว่า “สิทธิการเป็นเจ้าของ” ซึ่งมีการเอ่ยอ้างถึงกันมากโดยอธิบายว่าเรื่องนี้ครอบคลุมสามเรื่องด้วยกัน คือเรื่องของแผ่นดิน ประชากร และอำนาจ โดยในเรื่องแรกพวกเขาชี้ว่า ดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นของมลายูตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากต่างประเทศไม่ว่าคนมลายูเหล่านั้นจะนับถือศาสนาอะไรก็ตาม และพวกเขาครองดินแดนนี้ตั้งแต่สมัยลังกาสุกะ

"สิทธิในดินแดน สิทธิความเป็นชนชาติมลายูปาตานี และสิทธิทางการเมือง ทั้งสามอย่างคือสิ่งที่จะกำหนดชะตากรรมของคนมลายูปาตานี" mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"ขอให้สื่อมวลชนอย่าได้รับประวัติศาสตร์ด้านเดียว ถ้าดูแล้วจะเห็นว่า แม้แต่เขมร พม่า ลาว ก็ไม่ได้เขียนประวัติศาสตร์อย่างที่ไทยเขียน และถ้าเราได้เข้าใจประวัติศาสตร์ด้านอื่น เข้าใจความจริงชุดอื่นนอกจากชุดของไทยก็จะเข้าใจปัญหา" เมื่อถามว่าการที่รัฐบาลและฝ่ายขบวนการยึดถือประวัติศาสตร์กันคนละฉบับจะทำอย่างไรจึงจะเข้าใจกันได้ ได้รับคำตอบว่า สิ่งหนึ่งที่อาจจะทำร่วมกันได้ ก็คือการตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมกัน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

  

ชี้หนทางต่อสู้อย่างสันติตีบตัน – รัฐไทยรู้จักแต่ภาษาความรุนแรง

เมื่อถามว่าเหตุใดจึงต้องต่อสู้ด้วยการใช้ความรุนแรงและไม่ใช้ทางเลือกอื่น ตัวแทนของฝ่ายขบวนการชี้แจงว่าเรื่องนี้สำหรับพวกตนนับเป็นความจำเป็น เพราะการต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงถูกปราบปรามเสมอมาและไม่เคยได้ผล "Times New Roman"">

“ยกตัวอย่างหะยีสุหลงซึ่งยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐบาลไทยในยุคนั้น หะยีสุหลงก็ไม่ได้ใช้ความรุนแรง” พวกเขาระบุว่าในที่สุดกรณีของหุะยีสุหลงก็เหมือนกรณีอื่นๆคือถูกกำจัด ส่วนกรณีอื่นๆที่ยกตัวอย่างได้ชัดเจนก็เช่นกรณีการปราบปรามที่ดุซงญอ เป็นต้น  พวกเขาชี้ว่า ปี2547 นับเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคใหม่ของการต่อสู้ โดยระบุว่า ตราบใดที่เงื่อนไขประวัติศาสตร์และการไม่ยอมรับชนชาติมลายูปาตานียังอยู่ เงื่อนไขการต่อสู้ก็ไม่สิ้นสุด และชี้ว่า เงื่อนไขเรื่องความไม่เป็นธรรมที่เกิดซ้ำๆเรื่อยมาได้กลายเป็นเครื่องตอกย้ำคนแต่ละรุ่น ทั้งรุ่นใหม่เช่นเดียวกับรุ่นเก่าไม่ให้ลืมเรื่องราวเหล่านั้น เช่นเรื่องราวที่เกิดกับหะยีสุหลงซึ่งเป็นเงื่อนไขความแค้นให้กับผู้คนรุ่นเก่า แต่เมื่อความทรงจำเรื่องหะยีสุหลงเริ่มจะเรือนลางลงตามกาลเวลา ก็ปรากฏเรื่องใหม่มาย้ำเตือนอีกเช่นเรื่องของกรือเซะและตากใบ ตัวแทนบางรายกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ใหม่กว่านั้น เช่นเรื่องกรณีการกราดยิงที่มัสยิดไอร์ปาแย การยิงชาวบ้านสี่ศพที่สะพานกอตอแต่มีเด็กวัยสิบสี่รอดชีวิต

“เรื่องของความเป็นธรรมมีสองมาตรฐาน ในแง่ของการปกครองในพื้นที่ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีมุสลิมไปอยู่ในตำแหน่งสูงๆ” พร้อมกับชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงในประการหลังเกิดขึ้นก็เมื่อหลังจากที่มีการใช้ความรุนแรงแล้วเท่านั้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

“เรื่องระเบิด ยิงกันไม่ใช่ว่าเราชอบ แต่ไม่มีทางเลือก เพราะว่าพูดปากเปล่ารัฐบาลไทยไม่ฟัง ต้องใช้ภาษาอาวุธ” แต่พวกเขาชี้ว่าเมื่อมีช่องทางในการพูดคุยเพื่อสันติภาพขบวนการก็จะเข้าร่วมเพื่อผลักดันให้เกิดความสงบในพื้นที่เพราะเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ “แต่ถ้าแนวทางสันติภาพเดินไม่ได้ แนวทางการใช้อาวุธก็ต้องเดินต่อ” และว่า “ขณะนี้เรายังไม่ไปถึงไหน ยังไม่ได้ตกลงอะไร เพราะฉะนั้นวิธีการต่อสู้ยังเหมือนเดิม จนถึงวันหนึ่งที่ตกลงกันได้และประชาชนรู้สึกพอใจวันนั้นก็จะไม่มีการยิงกันหรือใช้ความรุนแรง”  

“คนไทยพุทธเพิ่งจะอยู่ในความรุนแรงเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่เราอยู่ในความรุนแรงมาสองร้อยปีแล้ว” หนึ่งในตัวแทนเสนอว่าเพื่อจะลดความรุนแรงที่เกิดกับคนไทยพุทธ ด้านหนึ่งควรจะมีองค์กรเชื่อมโยงสร้างความเข้าใจระหว่างพุทธและมุสลิม และสอง ควรจะแยกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงออกจากกลุ่มคนไทยพุทธ "Times New Roman"">

 

ยืนยันคุมกำลังในพื้นที่ได้

ตัวแทนของกลุ่มบีอาร์เอ็นอ้างถึงข้อสงสัยในประเด็นเรื่องของการคุมกำลังในพื้นที่ของตัวแทนที่เข้าร่วมพูดคุยโดยยืนยันว่า สิ่งที่มักมีการพูดกันเสมอว่าคนรุ่นใหม่ไม่ทำตามผู้อาวุโส คนในพื้นที่ไม่ทำตามคนที่อยู่ข้างนอกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะสมาชิกในองค์กรต้องอยู่ในระเบียบขององค์กร เมื่อถามถึงตัวแทนของบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมพูดคุยว่ามีสถานะเป็นตัวแทนแท้จริงอย่างไรหรือไม่ หนึ่งในตัวแทนของบีอาร์เอ็นตอบว่า “เราไม่ใช่ราชการ เราเป็นนักเคลื่อนไหว คนที่ชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องเสนอหน้า” และเมื่อถามว่าฮัสซัน ตอยิบซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเจรจาของฝ่ายขบวนการนั้นอยู่ในองค์กรแกนนำของบีอาร์เอ็นหรือไม่ก็ได้รับคำตอบว่า “ในองค์กร มีผมและหัวหน้าผมเท่านั้นที่รู้จักกัน คนอื่นไม่จำเป็น”

ผู้สื่อข่าวถามว่า เพื่อแสดงความจริงใจทางกลุ่มบีอาร์เอ็นจะวางอาวุธก่อนได้หรือไม่ ตัวแทนบีอาร์เอ็นกล่าวว่า หากจะเดินในแนวทางนี้ก็อาจจะต้องถอยคนละก้าว แต่รัฐบาลต้องถอยก่อนเพราะความที่ “เป็นรัฐบาล”

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

 

                และทั้งหมดนั้นก็คือใจความโดยย่อของการถาม-ตอบระหว่างสื่อไทยและตัวแทนฝ่ายขบวนการทีผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาปัญหาความขัดแย้งหนนี้และที่อยากเห็นกระบวนการคลี่คลายปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสันติ