Skip to main content

 

เมื่อเปรียบเทียบสภาพสังคมปัจจุบันซึ่งอยู่ท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคมศีลธรรมจริยธรรมอย่างรุนแรง แม้ในปัจจุบันมีหน่วยงานองค์กร สถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อย่างหลากหลายรูปแบบ แต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ความขัดแย้งของคนในสังคม ยิ่งซ้ำเติมปัญหาคุณธรรม จริยธรรมให้เสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ผนวกกับปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สถาบันในครอบครัวมีผลกระทบโดยตรง เกิดเด็กกำพร้า หญิงหม้ายขึ้นในสังคม
ปัญหาสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้คนห่างเหินจากศาสนา อำนาจวัตถุนิยมได้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของคนในสังคมส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย ดังที่ได้เห็นในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การพนัน การมั่วสุมระหว่างชายหญิงอย่างเสรีจนเกิดปัญหาการผิดประเวณีนำสู่การทำแท้งในหมู่เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ ผู้คนในสังคมขาดความรัก ความสามัคคี เกิดความแตกแยกของคนในครอบครัว ชุมชน หรือแม้กระทั่งปัญหาการหย่าร้างในครอบครัว ที่ส่งผลให้คนในครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น ซึ่งเป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆได้ถูกทำลายลง ส่งผลให้เกิดปัญหาดังที่ได้กล่าวข้างต้น
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องส่งเสริมให้คนในสังคมยึดมั่นในศาสนา ซึมซับถึงแก่นแท้ของศาสนา พร้อมส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีความรัก ความอบอุ่นอีกทั้งเสริมสร้างให้คนสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโดยตรง อย่างเป็นรูปธรรม สามารถแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อคนในสังคมได้และเมื่อเปรียบเทียบสภาพสังคมมุสลิมในอดีตสังคมมุสลิมเป็นสังคมสันติสุขมีความอนุรักษ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาสูงเคารพความเป็นมุสลิมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบันสังคมมุสลิมเกิดปัญหาหลายอย่างโดยหลักๆ คือปัญหาด้านสังคมวิถีวัฒนธรรม ภาษา และความเป็นอยู่ เช่น สังคมขาดระเบียบสังคมวุ่นวาย ครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติด อบายมุข ตลอดจนความยุ่งเหยิงทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมทางสังคมปัจจุบัน ที่คล้อยตามกระแสโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมมุสลิม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
ดังนั้นทางมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้มีมติในที่ประชุมเห็นสมควรมีการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อจัดงานให้ประชาชน ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมมุสลิมโดยมีบทบาทร่วมสร้างเสริมให้คนให้สังคมมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาในสังคมร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน

 

กำหนดการโครงการมหกรรมสืบสานวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่ 28-29 ตุลาคม 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา โดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกับมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
 
 
วันที่ 28 ตุลาคม 2552
เวลา                                       กิจกรรม
 
09.30น.                 พิธีเปิดโครงการฯ โดยการอ่านพระมหาคำภีร์ อัล-กุรอาน
                            กล่าวรายงานโดย นายรอมซี ดอฆอ ประธานโครงการ
                            กล่าวเปิดงานโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้  ทีปรึกษาโครงการ
 
10.00น.                 สานเสวนาหัวข้อ “สื่อกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการเผยแผ่หลักการอิสลาม”
                                        เสวนาโดย           1.ทนายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ         
-ประธานศูนย์ทนายมุสลิม
                                                                  2.นายตูแวดานียา มือรีงี                     
-สื่อมวลชน
                                 ดำเนินรายการโดย นายสุไฮมี อาแว
 
        11.30น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ               
        12.30น.                 พักเที่ยง ละหมาดซุฮ์รี
        13.00น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ
 
        13.30น.                 สานเสวนาหัวข้อ  “อิสลามกับการพัฒนาสังคม”
                                     เสวนาโดย  อับดุชชะกูร์ บินซาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
                                                 -ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
                                    ดำเนินรายการโดย นายรอมซี ดอฆอ                                                               
        15.00น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ
        16.00น.                 เสร็จสิ้นกิจกรรม
 
วันที่ 29 ตุลาคม 2552
เวลา                                       กิจกรรม
 
  09.30น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ               
        10.00น.                 สานเสวนาหัวข้อ “บทบาทอูลามอต่อการแก้ไขปัญหาเยาวชน”
                                    เสวนาโดย อาจารย์อิบรอฮิม ยานยา                  
-รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
-นักวิชาการอิสระ
                                    ดำเนินรายการโดย นายสุไฮมี ดูลาสะ  
 
        11.30น.                 กิจกรรม อ่านบทกวีมลายูท้องถิ่น และอื่นๆ 
        12.30น.                 พักเที่ยง ละหมาดซุฮ์รี
        13.00น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ
 
        13.30น.                 สานเสวนาหัวข้อ “ประวัติศาสตร์กับวัฒนธรรมชายแดนใต้”
                                     เสวนาโดย           1.พล.ต.ต.จำรูญ   เด่นอุดม
-ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
-สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองและนักวิชาการอิสระ
          2.นิรอมลี นิมะ
           -ที่ปรึกษามูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้              
                                     ดำเนินรายการโดย นายสุไฮมี อาแว
        15.00น.                 กิจกรรม อนาซีด และอื่นๆ
        16.00น.                 พิธีปิด
 
Event date