Skip to main content

 

 
 
กำหนดการ
มหกรรมสืบสานวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2552
ณ.หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
จัดโดย มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 
 
 
วันที่   28 ตุลาคม 2552
09.30 น.     พิธีเปิดโครงการ โดยการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน
09.40 น.       กล่าวรายงานการเปิดงานโดย นายรอมซี ดอฆอ   ประธานโครงการ
09.45 น.       กล่าวเปิดพิธี โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
10.00  น.      กิจกรรมอานาชีดรับเชิญ
10.30 น.       สานเสวนาในหัวข้อที่ ๑ “การใช้กฎหมายกับการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่หลากหลาย
                  ร่วมเสวนาโดย...
                  นายอาดิลัน   อาลีอิสเฮาะ    ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดยะลา
                  นายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ         ประธานศูนย์ทนายความประจำจังหวัดปัตตานี
                  อุซตาซอับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ       ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
                  ดำเนินรายการโดย...              ตัวแทนนักศึกษา
11.30 น.       กิจกรรมภาคเวที การแสดง ซีลัต ศิลปวัฒนธรรมมลายู อานาชีดสัมพันธ์
12.30 น.       พักเที่ยง ละหมาดซุฮ์รี
13.00 น.       กิจกรรมภาคเวที อานาชีด การอ่านกวี มลายูท้องถิ่น
13.30 น.       สานเสวนาในหัวข้อที่ ๒  “การเมืองการปกครองในศตวรรษหน้าโดยทัศนะของอิสลาม ”
                   ร่วมเสวนาโดย...
                  อาจารย์มัสลัน   มาหะมะ     รองอธิการบดี ม.อิสลามยะลา              
                  อาจารย์อะห์หมัดสมบูรณ์   บัวหลวง        อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์
                  นายมันโซร์   สาและ           คณะกรรมการมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ 
                        ดำเนินรายการโดย...   นายรอมซี ดอฆอ เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
15.00 น.      กิจกรรมภาคเวที การขับร้องอานาชีดเพื่อสันติภาพ
16.00 น.      เสร็จสิ้นกิจกรรม
 
วันที่ 29 ตุลาคม   2552
09.30 น.       กิจกรรมภาคเวที อานาชีดมลายูท้องถิ่นเพื่อสันติภาพ
10.00 น.       อภิปรายในหัวข้อที่ ๓ “ บทบาทอูลามอ กับโลกของเยาวชนในยุคข้อมูลข่าวสาร ”
                  ร่วมอภิปรายโดย...
                  อาจารย์อิบรอฮิม   ยานยา       รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
                  อาจารย์อิบราเฮ็ม  ณรงค์รักษาเขต    อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
                  นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ       อดีตรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
                  ดำเนินรายการโดย...                อาจารย์สุไฮมี อาแว   นักวิชาการอิสระ
11.30 น.       กิจกรรมภาคเวที อ่านบทกวีมลายูท้องถิ่น
12.30 น.       พักเที่ยง ละหมาดซุฮ์รี
13.00 น.       กิจกรรมภาคเวที
13.30 น.       สานเสวนาในหัวข้อที่ ๔ “การอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น จะนำสังคมสู่สันติ หรือ สร้างความขัดแย้ง?”               
                         ร่วมเสวนาโดย...
                   พลตำรวจตรี จำรูญ   เด่นอุดม   ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
                   นายนิรอมลี   นิมะ   ที่ปรึกษามูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้/กกต.จังหวัดยะลา
                   นายอิสมาแอล   เบญจสมิธ        นักวิชาการอิสระ
                   ดำเนินรายการโดย...     ตูแวดานียา มือรีงิง   หัวหน้าศูนย์ข่าวอามาน

15.00 น.      กิจกรรมภาคเวที                                                                                        16.00 น.      พิธีปิด โดย... พลตำรวจตรีจำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้  

หลักการและเหตุผล

เมื่อเปรียบเทียบสภาพสังคมปัจจุบันซึ่งอยู่ท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคมศีลธรรมจริยธรรมอย่างรุนแรง แม้ในปัจจุบันมีหน่วยงานองค์กร สถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อย่างหลากหลายรูปแบบ แต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ความขัดแย้งของคนในสังคม ยิ่งซ้ำเติมปัญหาคุณธรรม จริยธรรมให้เสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ผนวกกับปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สถาบันในครอบครัวมีผลกระทบโดยตรง เกิดเด็กกำพร้า หญิงหม้ายขึ้นในสังคม
ปัญหาสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้คนห่างเหินจากศาสนา อำนาจวัตถุนิยมได้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของคนในสังคมส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย ดังที่ได้เห็นในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การพนัน การมั่วสุมระหว่างชายหญิงอย่างเสรีจนเกิดปัญหาการผิดประเวณีนำสู่การทำแท้งในหมู่เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ ผู้คนในสังคมขาดความรัก ความสามัคคี เกิดความแตกแยกของคนในครอบครัว ชุมชน หรือแม้กระทั่งปัญหาการหย่าร้างในครอบครัว ที่ส่งผลให้คนในครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น ซึ่งเป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆได้ถูกทำลายลง ส่งผลให้เกิดปัญหาดังที่ได้กล่าวข้างต้น
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องส่งเสริมให้คนในสังคมยึดมั่นในศาสนา ซึมซับถึงแก่นแท้ของศาสนา พร้อมส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีความรัก ความอบอุ่นอีกทั้งเสริมสร้างให้คนสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโดยตรง อย่างเป็นรูปธรรม สามารถแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อคนในสังคมได้และเมื่อเปรียบเทียบสภาพสังคมมุสลิมในอดีตสังคมมุสลิมเป็นสังคมสันติสุขมีความอนุรักษ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาสูงเคารพความเป็นมุสลิมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบันสังคมมุสลิมเกิดปัญหาหลายอย่างโดยหลักๆ คือปัญหาด้านสังคมวิถีวัฒนธรรม ภาษา และความเป็นอยู่ เช่น สังคมขาดระเบียบสังคมวุ่นวาย ครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติด อบายมุข ตลอดจนความยุ่งเหยิงทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมทางสังคมปัจจุบัน ที่คล้อยตามกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมมุสลิม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
ดังนั้นทางมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้มีมติในที่ประชุมเห็นสมควรมีการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อจัดงานให้ประชาชน ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมมุสลิมโดยมีบทบาทร่วมสร้างเสริมให้คนให้สังคมมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาในสังคมร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน
 

 

 

Event date