Skip to main content
color:#4F6228;">NOTE: เนื่องจากสิ่งที่เรียกว่า “ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ” ของบีอาร์เอ็นได้รับการหยิบยกมากล่าวถึงอย่างกว้างขวางสำหรับผู้ที่ติดตามกระบวนการสันติภาพอย่างใกล้ชิด ข้อเรียกร้องดังกล่าวถือเงื่อนไขสำคัญที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นวางกรอบไว้เป็นเบื้องต้นเพื่อ “สนทนา” กับฝ่ายคณะผู้แทนฝ่ายไทย การพิจารณาถึงเงื่อนไขดังกล่าวอย่างรอบด้านน่าจะมีส่วนทำให้การพูดคุยเพื่อสันติภาพสามารถจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีความหมาย
 
color:#4F6228;">ทว่าเนื่องจาก “เนื้อหา” ของข้อเรียกร้องดังกล่าวได้มีการเผยแพร่ในหลากหลายช่องทางก่อนหน้านี้และมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งเนื้อหาสาระในรายละเอียดและจังหวะเวลาในการเผยแพร่ ต้นฉบับนั้นมีทั้งเผยแพร่ผ่านยูทูปโดยตัวแทนของคณะพูดคุยสันติภาพ ( color:#4F6228;">26 เมษายน และ 24 พฤษภาคม)  การยื่นผ่านผู้อำนวยความสะดวกบนโต๊ะพูดคุยสันติภาพที่มาเลเซีย (29 เมษายน) ตลอดจนเผยแพร่ต้นฉบับภาษาอังกฤษผ่านอีเมล์ส่วนตัว (27 พฤษภาคม) และเพจในหน้าเฟสบุ๊ค  (28 พฤษภาคม) ส่วนบทแปลเองก็มีหลายสำนวนที่เผยแพร่ในหลากช่องทาง
 
color:#4F6228;">กองบรรณาธิการเห็นว่าการรวบรวมเนื้อหาของข้อเรียกร้องดังกล่าวเอาไว้ในที่เดียวกันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่ติดตามสถานการณ์และผู้ที่ปรารถนาจะเป็นส่วนหนึ่งของการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งที่ชายแดนใต้/ปาตานี จึงนำมาเผยแพร่อีกครั้งตามข้างล่างนี้
 
๐๐๐๐๐
 
I. ต้นฉบับภาษามลายู (เผยแพร่ครั้งแรก)
วิธีการสื่อสาร: แถลงผ่านยูทูป
โดย: AbdulKarim Khalib
วันที่: 26 เมษายน 2556
 
 

 
ถอดความภาษามลายู
โดย: Hara Shintaro
 
 
Bagaimanakah sikap BRN seterusnya terhadap Bicara Damai yang akan datang?
(แสดงเป็นตัวอักษร)
 
Pembicaraan akan berterusan dengan catatan.
 
1. Penjajahan Siam mesti menerima Malaysia sebagai mediator, bukan fasilitator.
 
2. Pembicaraan berlaku di antara bangsa Patani yang dipimpin oleh BRN dengan penjajahan Siam.
 
3. Dalam pembicaraan, mesti ada saksi dari negara ASEAN, OIC dan NGO.
 
4. Penjajah Siam mesti membebaskan semua tahanan dan menghapuskan semua waran tangkap tanpa syarat.
 
5. Penjajah Siam mesti mengakui bahawa BRN adalah gerakan pembebasan bangsa Patani, bukan pemisah.
 
 
บทแปล
สำนวนที่ 1
โดย: Hara Shintaro
 
 
องค์กร บี.อาร์.เอ็น. มีท่าที่อย่างไรต่อการพูดคุยสันติภาพที่จะมาถึงนี้?
 
การพูดคุยจะดำเนินต่อไปโดยมีเงื่อนไข (ต่อไป)
 
1. นักล่าอานานิคมสยามต้องยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ไม่ใช่แค่ผู้ให้ความสะดวก (facilitator)
 
2. การพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างชาว (bangsa) ปาตานี ที่นำโดย บี.อาร์.เอ็น. กับนักล่าอานานิคมสยาม
 
3. ในการพูดคุย จำเป็นต้องมีพยานจากประเทศอาเซียน องค์กร OIC และองค์กร NGO
 
4. นักล่าอานานิคมสยามต้องปล่อยผู้ที่ถูกควบคุมตัวทุกคนและยกเลิกหมายจับทั้งหมด (ที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง) โดยไม่มีเงื่อนไข
 
5. นักล่าอานานิคมสยามต้องยอมรับว่า องค์กร บี.อาร์.เอ็น. เป็นขบวนการปลดปล่อยชาว (bangsa) ปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน
 
 
สำนวนที่ 2
โดย: รัตติยา สาและ
 
 
ต่อไป บี.อาร์.เอ็น.มีท่าทีต่อการพูดคุยสันติภาพอย่างไร?
 
การพูดคุยจะดำเนินต่อไปด้วยการลงบันทึกความ
 
(1) ผู้ยึดครองแห่งสยามต้อง(ยอม) รับ(รอง) มาเลเซียว่าเป็นคนกลาง (ผู้ไกล่เกลี่ย) ไม่ใช่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น
 
(2) การพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างชนชาติปาตานี ซึ่งนำโดยบี.อาร์.เอ็น. กับผู้ยึดครองแห่งสยาม
 
(3) ในการพูดคุยกันนั้นต้องมีสักขีพยานที่มาจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน, โอ.ไอ.ซี. และองค์กรอิสระ
 
(4) ผู้ยึดครองแห่งสยามต้องให้อิสรภาพแก่ผู้ต้องคุมขังทุกคนและยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยปราศจากเงื่อนไข
 
(5) ผู้ยึดครองแห่งสยามต้องรับรอง ว่า บี.อาร์.เอ็น. เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อการปลดปล่อยชนชาติปาตานี ไม่ใช่เป็นผู้แบ่งแยก
 
 
สำนวนที่ 3
โดย: โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
 
 
บทบาทของบีอาร์เอ็นจะเป็นอย่างไรหลังจากนี้
 
ต่อการเจรจาสันติภาพที่จะถึงนี้ การพูดคุยก็จะยังคงดำเนินต่อไปภายใต้เงื่อนไข 5 ข้อดังนี้
 
1.รัฐสยาม (รัฐไทย) ต้องให้มาเลเซียเป็นคนกลางในการเจรจา ไม่ใช่ผู้อำนวยความสะดวก
 
2.ต้องเป็นการพูดคุยระหว่างชาวมลายูปาตานีที่นำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น กับฝ่ายสยาม
 
3.ในระหว่างการพูดคุยจะต้องมีผู้สังเกตการณ์จากประชาคมอาเซียน โอไอซี (องค์การการประชุมอิสลาม) และเอ็นจีโอ (องค์กรพัฒนาเอกชน)
 
4.รัฐสยามต้องปล่อยนักโทษที่ถูกคุมขังและยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
 
5.รัฐสยามจะต้องยอมรับว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน
สำนวนที่ 4
 
 
 
II. ต้นฉบับภาษามลายูบนโต๊ะพูดคุย
วิธีการสื่อสาร: คณะผู้แทน BRN แถลงในที่ประชุมและยื่นให้ผู้อำนวยความสะดวกเพื่อส่งต่อให้คณะผู้แทนฝ่ายทางการไทย
โดย: คณะผู้แทน BRN
วันที่: 29 เมษายน 2556
 
 
(หมายเหตุ: ไม่มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ)
 
 
 บทแปล
ภาษาอังกฤษ
โดย: Peace Support Working Group (Ad-hoc)
 
 
First Requests of the
Delegation of the Barisan Nasional Melayu Patani (BRN)
in the Peace negotiations with the Thai Royal Government
April 29. 2013
 
Whereas:
 
1. This peace negotiation is between representatives of the Patani warriors, who are led by the Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN), and the Thai Royal Government.
Accordingly:
 
a. BRN is a liberation organization that acts as representative of Bangsa Melayu Patani people;
 
b. BRN defends the rights and interests of Bangsa Melayu Patani people;
 
c. BRN carries out the mission and aspirations of the Bangsa Melayu Patani people.
 
2. Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN) agrees that the Malaysian Royal Government may act as a facilitator and mediator and be directly involved in this negotiation, in order to:
 
a. Be successful in this negotiation process.
 
b. Gain trust from Melayu Patani people and from the international community.
 
c. Gain authority in political conflict resolution efforts in the Patani land.
 
3. This negotiation process must be witnessed by representatives of the ASEAN Countries, Organization of the Islamic Conference (OIC), and NGOswhich approved by both the BRN and the Thai Royal Government.
Because:
 
a. The agreement between the BRN and the Thai Royal Government must be witnessed by the international communityand representativeof international organizations which supports human rights, peace, and security;
 
b. In order to guarantee consistency for both parties. 
 
4. The Thai Royal Government must acknowledge the rights of the Melayu Patani nation for the Patani land,
Because:
 
a. The essence conflict that has happened Patani land is that it seized the rights of Melayu Patani people to the Patani land.
 
b. There are issues regarding human rights and the right to self-determination.
 
c.There are also issues regarding political, economic, education, and social culture rights covenants, as well as other rights.
 
5. Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN) demand that the Thai Royal Government liberate all detained Patani liberation warriors, without conditions.
Because:
 
a. The Patani warriors acted in defense of the people and are not criminals, nor separatists or terrorists.
 
b. The Patani warriors are enforcers of justice, and are not oppressors, and are neither cruel nor cheating the people;
 
c. The Patani warriors love calm and real peace, and have no criminal or extremist intent.
 
 
Kuala Lumpur, April 29, 2013
Delegation/representation leader
Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN)
In Malaysia
 
Hassan Taib
 
 
ภาษาไทย
โดย: คณะทำงานของสถาบันพระปกเกล้า
 
 
ข้อเรียกร้องเบื้องต้น
คณะผู้แทน BRN
ในการพูดคุยเรื่องสันติภาพกับรัฐบาลไทย
วันที่ 29 เมษายน 2013
 
กล่าวว่า:
 
1. การพูดคุยครั้งนี้เป็นการพูดคุยของขบวนการต่อสู้ปาตานี โดยการนำของขบวนการปฏิวัติชนชาติมลายูปาตานีBRNกับรัฐบาลไทย
 
เพราะ:
 
a. BRN คือองค์ปฏิวัติเพื่อเสรีภาพที่เป็นตัวแทนของชาวมลายูปาตานี
 
b. BRN คือผู้ปกป้องสิทธิและความสำคัญของชาวมลายูปาตานี
 
c. BRN คือผู้นำการสื่อสารและความหวังของชาวมลายูปาตานี
 
2. ขบวนการปฏิวัติชาติมลายูปาตานี BRN เห็นด้วยกับการแต่งตั้งให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกและการเป็นคนกลาง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการพูดคุยครั้งนี้
 
a. เพื่อดำเนินการและนำความสำเร็จในการพูดคุยครั้งนี้
 
b. เพื่อการพูดคุยครั้งนี้ได้รับการยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวมลายูปาตานีและสังคมนานาชาติ
 
c. เพื่อให้ได้รับความสำเร็จในความพยายามการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในแผ่นดินปาตานี
 
3. ตลอดระยะเวลาในการพูดคุยมีความจำเป็นที่ต้องมีตัวแทน (ของประเทศ) อาเซียน โอไอซี และเอ็นจีโอ ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายคือฝ่าย BRN และรัฐบาลไทย
 
เพราะ:
 
a. ในเนื้อหาข้อตกลงระหว่าง BRNและรัฐบาลไทย จำเป็นต้องมีสักขีพยานจากประชาคมนานาชาติ องค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน (องค์กร) ที่แสวงหาสันติภาพและความสันติสุข
 
b. เพื่อให้การพูดคุยครั้งนี้ เป็นหลักประกันที่มั่นคงแก่ทั้งสองฝ่าย
 
4. รัฐบาลไทยต้องยอมรับความเป็นเจ้าของการเป็นชนชาติมลายู บนแผ่นดินปาตานี
 
เพราะ:
 
a. ความจริงในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คือการเข้ายึดครอง สิทธิความเป็นเจ้าของ ของชนชาติมลายูปาตานี
 
b. ปัญหาสิทธิมนุษยชนและสิทธิความเป็นเจ้าของ ในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
 
c. ปัญหาพันธะสัญญา ในสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคมวัฒนธรรมและอื่นๆ
 
5. ฝ่ายขบวนการปฏิวัติชนชาติมลายูปาตานี BRN เสนอเพื่อรัฐบาลไทย ต้องให้อิสรภาพแก่นักต่อสู้ที่ต่อสู้กรณีการเรียกร้องอิสรภาพให้กับปาตานี และให้ลบ(ยกเลิก)หมายจับ(บุคคล)ของนักต่อสู้เพื่อปาตานี โดยไม่มีเงื่อนไข
 
เพราะ:
 
a. นักต่อสู้เพื่อปาตานีคือผู้ปกป้องประชาชน (เขา) ไม่ใช่โจร (เขา) ไม่ใช่ขบวนการแบ่งแยกดินแดน (เขา)ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย
 
b. นักต่อสู้เพื่อปาตานีเป็นผู้สนับสนุนความยุติธรรม  ไม่ใช่เป็นผู้กดขี่ข่มเหง ไม่ใช่ผู้ที่กระทำความอธรรม(เลวร้าย) และไม่ใช่ผู้ที่หลอกลวงประชาชน
 
c. นักสู้เพื่อปาตานีคือผู้รักความสันติสุขอย่างแท้จริง ไม่ใช่ผู้ทำลาย (ก่อกวน สร้างความเลวร้าย) และไม่ใช่พวกหัวรุนแรง
 
กัวลาลัมเปอร์ 29 เมษายน 2013
หัวหน้าคณะ/ตัวแทน
ขบวนการปฏิวัติชาติมลายูปาตานี BRN
ที่มาเลย์เซีย
ฮาซัน ตอยิบ

 
III. ต้นฉบับภาษามลายู (“คำอธิบาย” ฉบับยูทูปครั้งที่ 2)
วิธีการสื่อสาร: แถลงผ่านยูทูป
โดย: Adam Muhammad Nur
วันที่: 24 พฤษภาคม 2556
 
 

 
ถอดความภาษามลายู
โดย: Hara Shintaro
 
 
…Maka untuk melancarkan proses perundingan di pihak kami ajukan lima tuntutan awal.
 
1. Rundingan ini adalah di antara pejuang Patani yang dipimpin oleh Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN) dengan kerajaan Thai Kerana
 
a. BRN adalah sebuah organisasi pembebasan yang mewakili rakyat bangsa Melayu Patani;
 
b. BRN sebagai pembela hak dan kepentingan rakyat bangsa Melayu Patani;
 
c. BRN sebagai pembawa misi dan aspirasi rakyat bangsa Melayu Patani.
 
2. Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN) bersetuju melantik Kerajaan Malaysia sebagai mediator yang terlibat secara langsung dalam perundingan ini.
 
a. Supaya melancarkan dan menjayakan proses perundingan ini;
 
b. Supaya perundingan ini mendapat pengiktirapan dan kepercayaan dari masyarakat Melayu Patani dan masyarakat internasional;
 
c. Supaya mempunyai pengendali dalam usaha penyelesaian konflik politik di bumi Patani.
 
3. Sepanjang perundingan ini mesti disaksikan oleh wakil dari Negara ASEAN, OIC dan NGO
Kerana:
 
a. Dalam konteks perjanjian BRN dengan Kerajaan Thai, mesti disaksikan oleh komuniti antarabangsa dan wakil-wakil pertubuhan dunia yang mendukung hak-hak asasi manusia dan cinta kepada kedamaian dan keamanan.
 
b. Supaya rundingan ini mempunyai jaminan yang konsisten bagi kedua-dua pihak.
 
4. Kerajaan Thai mesti mengakui wujudnya hak pertuanan bangsa Melayu Patani, atas bumi Patani kerana:
 
a. Hakikat konflik yang berlaku di bumi Patani adalah masalah perampasan hak pertuanan bangsa Melayu Patani;
 
b. Masalah Hak Asasi Manusia dan Hak penentuan nasib sendiri;
 
c. Masalah konvenan hak politik, ekonomi, pendidikan, sosial budaya dan sebagainya.
 
5. Piahk Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (BRN) menuntut supaya kerajaan Thai membebaskan semua tahanan atas kes perjuangan pembebasan Patani dan menghapuskan semua waran tangkap terhadap pejuang Patani dengan tanpa syarat.
 
 
บทแปล
สำนวนที่ 1
โดย: Hara Shintaro
 
 
สำหร้บการดำเนินการเจรจา พวกเรานำเสนอข้อเรียกร้องขั้นแรกทั้งหมดห้าข้อ
 
1. การเจรจาครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างตัวแทนนักต่อสู้ปาตานีที่นำโดยแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) กับรัฐบาลไทย เนื่องจาก
 
เอ. บีอาร์เอ็นเป็นองค์กรปลดปล่อยซึ่งเป็นตัวแทนสำหรับประชาชนชาว (เชื้อสาย) มลายูปาตานี
 
บี. บีอาร์เอ็นพิทักษ์สิทธิประโยชน์ประชาชนชาว (เชื้อสาย) มลายูปาตานี
 
ซี. บีอาร์เอ็นเป็นองค์กรที่ได้รับมอบภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนชาว (เชื้อสาย) มลายูปาตานี
 
2. แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) เห็นด้วยที่จะแต่งตั้งรัฐบาลมาเลเซียเป็นคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งมีส่วนรวมโดยตรงในการเจรจา
 
เอ. เพื่อให้กระบวนการเจรจาดำเนินไปอย่างสะดวกและประสบความสำเร็จ
 
บี. เพื่อที่จะกระบวนการนี้ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากสังคมมลายูปาตานีและสังคมนานาชาติ (สังคมโลก)
 
ซี. เพื่อให้มีผู้ไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ดินแดนปาตานี
 
3. ตลอดช่วงการเจรจาต้องมีตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรโอไอซี และองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ เป็นพยาน
เนื่องจาก
 
ในบริบทของการตกลงระหว่างบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลไทย จำเป็นต้องมีพยานจากสังคมนานาชาติ (สังคมโลก) และตัวแทนขององค์กรระดับโลกที่ยึดถือหลักสิทธิมนุษยธรรม และนับถือหลักความยุติธรรมและสันติภาพ
 
เพื่อที่จะกระบวนการเจรจานี้มีการรับรองอย่างต่อเนื่องสำหรับทั้งสองฝ่าย
 
4. รัฐบาลไทยจำเป็นต้องยอมรับว่าชาว (เชื้อสาย) มลายูปาตานีมีสิทธิความเป็นเจ้าของต่อดินแดนปาตานี เนื่องจาก
 
เอ. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดนปาตานีมีสาเหตุเนื่องจากสิทธิความเป็นเจ้าของของชาวมลายูถูกยึดไป (ถูกปฏิเสธ) (โดยฝ่ายรัฐสยาม/ไทย)
 
บี. มีประเด็นปัญหาในด้านสิทธิมนุษยธรรมและสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง
 
ซี. มีประเด็นปัญหาทางด้านสิทธิการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคมวัฒนธรรม ฯลฯ
 
5. ฝ่ายแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยผู้ที่ถูกควบคุมตัว (นักโทษทางการเมือง/ผู้ต้องสงสัย) เนื่องจากคดีความมั่นคงทุกคน และยกเลิกหมายจับที่ออกสำหรับนักต่อสู้ปาตานีทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
 
 
สำนวนแปลที่ 2
โดย: Abdulloh Wanahmad
 
 
เพื่อทำให้การเจรจาสันติภาพสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เราขอยื่นข้อเสนอเบื้องต้นนี้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน
 
1.การเจรจาในครั้งนี้ถือเป็นการเจรจาระหว่างนักต่อสู้ชาวปาตานี(ทั้งหมด)ที่นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็นกับทางรัฐบาลไทย
 
a. บีอาร์เอ็น ถือเป็นองค์กรเพื่อการปลดปล่อยที่เป็นตัวแทนของชาวมลายูปาตานี
 
b. บีอาร์เอ็นคือผู้ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาวมลายูปาตานีทั้งมวล
 
c. บีอาร์เอ็นคือผู้ที่ทำหน้าที่และนำพันธกิจของชาวมลายูปาตานี
 
2.บีอาร์เอ็นเห็นพ้องต้องกันที่มาเลเซียเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวก (mediatur) ที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงในการเจรจาครั้งนี้
 
a. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีและบรรลุตามเป้าหมาย
 
b. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากชาวมลายูปาตานีตลอดจนประชาคมโลก
 
c. เพื่อให้มีฝ่ายที่รับผิดชอบในการหาทางออกปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ปาตานี
 
3.ตลอดช่วงการเจรจาต้องมีตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สมาชิกโอไอซีและองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ เป็นสักขีพยาน
 
a. ในการเจรจาระหว่างขบวนการบีอาร์เอ็นกับรัฐไทย จะต้องเป็นที่จะต้องรับรู้โดยองค์ระหว่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนที่ต้องการเห็นความสงบสุขสันติภาพและความมั่นคง
 
b. เพื่อให้การเจรจาในครั้งนี้ได้มีหลักประกันที่แน่นอนสำหรับทั้งสองฝ่าย
 
4. ทางรัฐบาลไทยต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีย่อมมีสิทธิเหนือดินแดนปาตานีแห่งนี้ ด้วยเพราะว่า
 
a. รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่ดินแดนปาตานีแห่งนี้ก็คือการที่สิทธิของชาวมลายูปาตานีถูกปล้นไป
 
b. ในด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
 
c. สิทธิในการจัดการด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม และอื่น
 
5. ทางฝ่ายบีอาร์เอ็นขอเรียกร้องให้ทางรัฐบาลไทยทำการปล่อยตัวนักโทษที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีและให้ยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
 
 
IV. ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
วิธีการสื่อสาร: อีเมล์ส่วนตัวถึงผู้สื่อข่าว ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรเอกชน และผู้ที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนใต้จำนวนหนึ่ง (ส่งจาก [email protected]) และพบว่ามีการเผยแพร่ซ้ำในหน้าเพจ FREE PATANI(ขออิสรภาพแก่ปาตานี)
วันที่: 27 (อีเมล์) และ 28 (เพจ) พฤษภาคม 2556