Skip to main content

เวลา 9.00-16.00 น. วันจันทร์ที่ 7 กุมพาพันธ์ 2554 ณ.ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชุมเขิงปฎิบัติการ การส่งเสริมวิชาสันติศึกษาอุดมศึกษา โดย ศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันอัสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และเครือข่ายผู้สนใจทางด้านสันติวิธี

ผศ.ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า สภาพการณ์หลายประการในสังคมไทยในระดับต่างๆที่ทำให้เกิดความสนใจตรงกัน และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องหันมาสนใจเรื่องปัญหาความรุนแรงและการสร้างสันติภาพในสังคม

                ดังนั้นการประชุมในวันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่แสดงถึงความเห็นพ้องต้องกัน อย่างลึกซึ้งและจริงจังยิ่งของทุกฝ่ายที่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างภาคีร่วมกันเกี่ยวกับการส่งเสริมวิชาสันติศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อไป

                ส่วนทางด้าน รศ.ดร.มารค ตามไท ได้กล่าวถึงความจำเป็นโดยเน้นมิติที่มหาวิทยาลัยต้องช่วยกันปรับบทบาทให้สามารถรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการเปิดวิชาสอนที่ตอบปัญหาความเดือดร้อนที่สังคมเผชิญและด้วยการเข้าร่วมปฏิบัติการแก้ไขปัญหากับชุมชนและสังคม

                โดยการประชุมสรุป ที่จะมีการจัดงานใหญ่ในช่วงวันที่ 18-19 เดือนเมษายน ศกนี้ อย่างไรก็ตามนักวิชาการอย่าง ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท มหาวิทยาลัยพายัพ รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม พลเอก.เอกชัย ศรีวิลาส ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า ศิริชัย สาครรัตนกุล กรรมการอำนวยการนโยบาย ทีวีไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยันต์ รัชกูล มหาวิทยาลัยพายัพ ดร.ชาญชัย ชัยโกศล มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์กริยา หลังปูเต๊ะ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ฯลฯ

จะร่วมมือในการประสานงานข้างต้นเพื่อที่เตรียมงานข้างต้น ซึ่งหลักการประชุมในการจัดงานข้างต้น ได้มุ่งเน้นให้เห็นสันติศึกษาในสถาบันการศึกษาของไทยและนานาชาติ และบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จุดเด่นที่สำคัญอย่างยิ่งของงานที่กำลังจะจัดขึ้นก็คือ บทสะท้อนของการใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมไทยที่เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง จากประสบการณ์คนธรรมดา ชุมชน พื้นที่ความรุนแรง หน่วยงาน สถาบันต่างๆ ที่ได้นำหลักการสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร