Skip to main content
โรงเรียนนักข่าว
ม.อ.จัดสัมมนาอิสลามศึกษานานาชาติที่ปัตตานี วอศ.ทุ่มกำลังภายในสุดๆ ใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือนดึงนักวิชาการ/อธิการบดีทั่วโลกร่วมงาน 20 ประเทศ 34 มหาวิทยาลัย 38 ผลงานวิชาการ ปัดรัฐยืมมือมหา’ลัยเชื่อมโลกมุสลิม เหตุแคร์ซาอุดีอาระเบีย
 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดประชุมวิชาการอิสลามนานาชาติ ในหัวข้อ“Role of Islamic Studies in Post Globalized Society” ในวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีสถาบันการศึกษาด้านอิสลามศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคณาจารย์และนักวิชาการต่างๆ ในเรื่องหลักสูตรที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่
 
รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า แม้จะมีระยะเวลาการเตรียมการจำกัด แต่วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้ใช้จุดแข็งของหน่วยงาน ที่มีบุคลากรเป็นบัณฑิตที่จบจากหลายสถาบันและหลายประเทศในโลก เป็นผู้ร่วมประสานงาน
 
รศ.ดร.บุญสม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักวิชาการจากสถาบันที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ตอบรับเข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 200 คน เช่น จาก Al-Azhar University ประเทศอียิปต์ Al-albayt University Mutah University และ Yarmouk University จากจอร์แดน Al-Neelain University ประเทศซูดาน มหาวิทยาลัย Madinah ในซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งสถาบันที่มีการเรียนการสอนทางด้านอิสลามศึกษา ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และนักวิชาการในประเทศไทย อีกประมาณ 150 คน
 
นอกจากนั้นยังมีผู้บริหารในระดับรัฐมนตรีจากหลายประเทศได้แสดงความจำนงขอร่วมการสัมมนา เช่น รัฐมนตรีกิจการศาสนาของซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมของอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศกัมพูชา
 
การสัมมนา ประกอบด้วยการนำเสนอเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านอิสลามศึกษา และการประชุมโต๊ะกลมระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางและความร่วมมือกันในการพัฒนาวิทยาลัยอิสลามศึกษา ของวิทยาเขตปัตตานี เพื่อขับเคลื่อนอิสลามศึกษาของไทย ในการบูรณาการศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่
 
นอกจากนั้นยังได้ประสานกับสำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อเชิญมุฟตีย์ หรือผู้นำศาสนาในประเทศอาเซียนเข้าร่วมด้วย โดยจะมีการประชุมนอกรอบเพื่อกำหนดกิจกรรมหรือการประชุมใหญ่ ระหว่างจุฬาราชมนตรี หรือมุฟตีย์ของอาเซียน
 
“คาดว่า หลังการสัมมนาครั้งนี้ จะได้แนวคิดโครงการและแนวคิดการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอีกมากกว่า 10 โครงการ” รศ.ดร.บุญสม กล่าว
 
นายยูโซะ ตาเละ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา (วอศ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยที่มาที่ไปของโครงการนี้ว่า วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. เป็นผู้ริเริ่ม โดยต้องการที่จะพัฒนาอิสลามศึกษาของ ม.อ.ให้มีมาตรฐานระดับโลก ส่วนรัฐบาลไทยเองก็มีนโยบายที่จะร่วมมือกับประเทศในทวีปแอฟริกาทุกเรื่อง รวมถึงด้านศึกษาด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.จึงใช้โอกาสนี้ ในการดึงจุดร่วมระหว่างนโยบายของรัฐบาลกับความต้องการของวิทยาลัยมาเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาอิสลามศึกษา
 
นายยูโซะ กล่าวว่า การเตรียมการจัดสัมมนาครั้งนี้ถือว่าน้อยมาก คือใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น เนื่องจากปกติการจัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติแบบนี้ต้องใช้เวลาเตรียมการเป็นปี โดยเฉพาะในเรื่องการการเตรียมนำเสนอผลงานทางวิชาการ จนเป็นที่ตั้งของสังเกตของหลายฝ่ายถึงความรีบเร่งในเตรียมการจัดงานครั้งนี้
 
นายยูโซะ อธิบายเรื่องนี้ว่า เดิมวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.กำหนดจะจัดงานนี้ในเดือนเมษายน 2554 แต่หลังจากประสานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศในทวีปแอฟริกา ปรากฏว่าเป็นช่วงสอบของหลายมหาวิทยาลัย พร้อมกับได้รับคำแนะนำว่า ควรจัดงานในช่วงเดือนพฤษภาคม พฤศจิกายนหรือธันวาคมจะดีที่สุด
 
“ทางวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. จึงคิดจะเลื่อนไปเป็นเดือนพฤษภาคม 2554 แต่เนื่องจากหลังจากสัมมนาครั้งนี้ มี 14 โครงการที่รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันสนับสนุนตามมา ภายใต้งบประมาณ 400 ล้านบาท ในการพัฒนาอิสลามศึกษา ในระยะ 10 ปี และที่ผ่านมาก็มีโครงการที่รัฐบาลได้สนับสนุนมาแล้ว เช่น โครงการส่งนักศึกษาเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศทุนละ 15 ล้านบาท”
 
“ดังนั้น เราจึงเกรงว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะอายุสั้น จึงไม่แน่ใจว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนหรือไม่ จึงจำเป็นต้องจัดในวันที่ 21- 23 ธันวาคม 2553 นี้”
 
นายยูโซะ กล่าวว่า ดังนั้น ก่อนการจัดสัมมนาครั้งนี้ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. ซึ่งมีเครือข่ายซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศมุสลิมจำนวนมากพอสมควร จึงใช้ความสัมพันธ์ในฐานะศิษย์เก่าตรงนี้ เป็นผู้เชื้อเชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาร่วมงานนี้อย่างเต็มกำลัง เป็นการสานสัมพันธ์โดยส่วนตัว ขณะเดียวกันอาจารย์ที่เคยสอนบางท่านก็อยากมาติดตามดูลูกศิษย์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนตนเองก็รู้จักกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบุคคลสำคัญของประเทศเหล่านั้นอย่างดีหลายคน ถือว่าเป็นการติดต่อโดยตรงของวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาล
 
นายยูโซะ เปิดเผยว่า ล่าสุดวันที่ 18 ธันวาคม 2553 ได้รับการยืนยันว่าจะมาร่วมงานแล้ว 20 ประเทศ จำนวน 34 มหาวิทยาลัย ส่วนผลงานทางวิชาการที่จะมีการนำเสนอในงานนี้มี 32 ชิ้น ซึ่งเป็นงานทางวิชาการที่แต่ละมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้ว
 
“การสัมมนาครั้งนี้ เราไม่เน้นเปเปอร์(ผลงานทางวิชาการ) แต่ตั้งใจจะให้เป็นการประชุมโต๊ะกลมของอธิการบดีหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อกำหนดเป็นปฏิญญาปัตตานี ในเรื่องความร่วมมือในการพัฒนาอิสลามศึกษา กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการอิสลามศึกษาร่วมกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ เป็นการเปิดโอกาสนักศึกษาจากต่างประเทศมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และมีการแลกเปลี่ยนทางอิสลามศึกษา” นายยูโซะ กล่าว
 
นายยูโซะ กล่าวอีกว่า งานนี้รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณมา 15 ล้านบาท แต่ไม่ใช่งานของรัฐบาล ส่วนที่นายกรัฐมนตรีมากล่าวเปิดสัมมนาด้วย ก็เพราะต้องการดึงความสนใจของสื่อ และมีอีก 14 โครงการที่รัฐบาลสนับสนุน จะต้องดำเนินการต่อในอนาคตหลังการสัมมนา
 
นายยูโซะ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า งานนี้จริงๆ อาจเป็นของรัฐบาล แต่เหตุใดจึงให้มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ อาจเป็นเพราะการหวังผลทางการเมืองหรือไม่ โดยเฉพาะการเมืองระหว่างประเทศในโลกมุสลิม เนื่องจากเนื่องจากตัวแทนที่เข้ามาร่วมสัมมนาของแต่ละประเทศ ล้วนเป็นบุคคลสำคัญ ในจำนวนยังเป็นรัฐมนตรีของบางประเทศด้วย ขอตอบว่า งานนี้เป็นงานวิชาการไม่ใช่เวทีทางการเมือง ก่อนหน้านี้รัฐบาลเองก็ไม่มั่นใจว่า ทางวิทยาลัยจะเตรียมจัดงานได้ในเวลาอันสั้น แต่ตอนนี้รัฐบาลมั่นใจแล้ว
 
นายยูโซะ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังติดใจกับคำว่า Post globalized ซึ่งมีอยู่ในชื่อการสัมมนาครั้งนี้ด้วย จนทำให้นักวิชาการมาตีความว่าหมายถึงอะไร ซึ่งคำนี้ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.เป็นผู้ตังชื่อเอง โดยได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย Al-Azhar ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นคำศัพท์ใหม่ในทางวิชาการ โดยต้องการสื่อไปถึงอนาคต เพราะคำว่า Post globalized แปลว่า หลังยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งยุคโลกาภิวัตน์เริ่มต้นเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างรวดเร็ว ซึ่งคิดว่าอนาคต ยุคสมัยต่างๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้น จะทำอย่างไรที่จะให้อิสลามศึกษาอยู่ได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
 
นายยูโซะ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับผลงานทางวิชาการของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. ที่จะเสนอ เรื่อง อิสลามศึกษาอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต โดยวิทยาลัยมีเป้าหมายเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน โดยจะเน้นการศึกษาอิสลามอย่างลึกซึ้ง และมีความรู้ในสาขาอื่นๆ ด้วย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า รัฐบาลไทยใส่ใจกับความรู้สึกของประเทศซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรที่ประชุมประเทศมุสลิม หรือ โอไอซีมาก จึงไม่อยากเป็นเจ้าภาพเอง เพราะอาจไม่ได้รับการตอบรับจากประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่เมื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ภาพที่ออกมาจะเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีตัวแทนจากซาอุดิอาระเบียตอบรับที่จะมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย
 
นอกจากนี้ เนื่องจากแกนนำรัฐบาลผสมใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยแถลงนโยบายต่อกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ในที่ประชุมรัฐสภาในช่วงเข้ารับตำแหน่งจัดตั้งรัฐบาล การจัดตั้งองค์กรหลักในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ... หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ “พ.ร.บ.ศอ.บต.” ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว แต่ในเรื่องที่สอง ซึ่งก็คือเสริมสร้างศูนย์กลางอิสลามศึกษานานาชาตินั้นยังไม่ได้มีการผลักดันเป็นรูปธรรมมากนัก สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพมากนักในช่วงเวลานี้จึงอาจมีส่วนสร้างความจำเป็นในการเร่งรัดจัดงานนี้ขึ้นมา
 
....
กำหนดการ
 
INTERNATIONAL CONFERENCE
“ROLES OF ISLAMIC STUDIES IN POST GLOBALIZED SOCIETIES”
21st-23rd December 2010 (15-17 Muharram 1432)
VENUE: COLLEGE OF ISLAMIC STUDIES
PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY, THAILAND
 

Date&Time
Program
Monday,
20 December 2010
14 Muharram 1432
Check in at CS Hotel, Pattani,Thailand (Foreign participants), Southern Views Hotel (Local Participants)
Tuesday , 21 December 2010 (15 Muharram 1432)
08:00-09:00
Registration
09:00-09:15
Recitation of al-Quran
09:15-09:45
 
Welcome Speech by
           Assoc. Prof. Dr. Boonsom Siribumrungsukha
           President of Prince of Songkla University
09:45-10:15
 
Speech by
             Prof. Dr. Kanok Wongtrangan
             Advisor to Prime Minister of Thailand
10:15-10:45
 
Refreshment
10:45-11:15
 
Speech by
 H.E Umar Ubaid Hasanah
Director of  Department of Research and Islamic Studies, Ministry of Awqaf and Islamic Affairs, Qatar
11:15-11:45
 
Speech by
 H.E Prof. Dr. Muhammad Hassan Awadh 
              Vice President of Al-Azhar University, Egypt
11:45-13:30
Lunch/Prayer
13:30-14:00
 
 Speech by
H.E Prof. Dr.Salah Sadek Seddik
 Vice President of Al-Azhar University for Academic and Student Affairs
14:00-14:25
 
Speech by
Representative of Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization (ISESCO)               
14:25-14:50
Refreshment
14:50-16:00
Opening Ceremony
Recitation of al-Quran by
 Mr.AbdulGhaffar Hawang
Conference Report by
             Assoc. Prof. Dr. Boonsom Siribumrungsukha
President of Prince of Songkla University
Inaugural Speech and Conference Opening Declaration by
             H.E Abhisit Vejjajiva
             Prime Minister of Thailand
19:00-20:15
 
Reception Dinner at CS Hotel
Welcome Speech by
             H.E. Phanu Uthairat
             Director of Southern Border Provinces Administrative Centre
Wednesday, 22 December 2010(16 Muharram 1432)
 08:30-10:00
Paper 1: “Teaching of Islamic Studies in Non-Muslim Societies :Problems and Prospects”By: Prof. Dr.Muhammad Zia-ul-Haq, Dean of Faculty of Shari’ ah & Law, International Islamic University, Islamabad, Pakistan
 
Paper 2: “Globalization and Its Impact on Islamic Studies in Malaysia” By: Prof. Dr.Ahmad Hidayat Buang, Director of Academy of Islamic Studies, University of Malaya, Kuala Lumpur, Malaysia
 
Paper 3: “Adab and the approach of the ulem in the spread of Islam in Malaysia: The history and current analysis”By: Assoc Prof. Dr. Shukri Ahmad, Arts and Science College, University Utara Malaysia
 
Paper 4: “The Roles of Islamic Studies Program of the National University of Malaysia in Globalized Society”By: Prof.Dr.Mohd.Nasran Mohamad, Dean of Faculty of Islamic Studies, University Kebangsaan Malaysia
 
Paper 5: “The Contribution of Islamic Education in The Liberian Society” By: Prof.Dr. Brahima D. Kaba, Adjunct Professor, College of Social Sciences, University of Maryland University College, Maryland, USA, Secretary General of Muslim Congress of Liberia, Monrovia, Liberia.
Moderated by Dr.Abdullai Kaba, Lecturer, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani Campus, Thailand
10:00-10-30
Refreshment
10:30-12:00
 
Paper 6:
«الدراسات الإسلامية في تايلاند بين التعليم العالي الحكومي والأهلي: أبعاد التميز ومجالات التكامل»، لفضيلة الدكتور إسماعيل لطفي جافاكيا، رئيس جامعة جالا الإسلامية ـ جنوب تايلاند
Paper 7:
«الدراسات الإسلامية ... رؤى وآفاق» ، لفضيلة الأستاذ الدكتور عمر عبيد حسنه، مدير إدارة البحوث والدراسات الإسلامية بوزارة الأقاف والشؤون الإسلامية ـ قطر
Paper 8:
«الثقافة الإسلامية في مجتمع عولمي»،  لسعادة الأستاذ الدكتور مهدي ساتي صالح، نائب مدير جامعة إفريقيا العالمية للشؤون العلمية والثقافية، السوادن
Paper 9:
«من واقع تجارب طلاب الدراسات العربية والإسلامية : بريطانيا أنموذجا»، لسعادة الأستاذ الدكتور جهاد شاهر المجالي، نائب رئيس جامعة مؤتة ـ الأردن
Moderated by Dr.Ali Mahama Samoh, Researcher, Faculty of Da’wah and Usool al-Deen, Islamic University, Madinah, KSA
12:00-13:30
Lunch/Prayer
13:30-15:00
 
Paper 10:
«التأثيرات المتبادلة بين العولمة والدراسات الإسلامية» ، لسعادة الأستاذ الدكتور عبدالله مبروك النجار، رئيس قسم القانون الخاص بجامعة الأزهر ـ جمهورية مصر العربية
Paper 11:
«عولمة التعدد الثقافي وتجلياتها في الدراسات الإسلامية»، لسعادة الأستاذ الدكتور عبدالحميد العلمي، جامعة سيدي محمد بن عبدالله، فاس ـ المغرب
Paper 12:
«دور الإسلام في مجتمع عولمي»، لسعادة الأستاذ الدكتور محمد محمود أحمد هاشم، عميد كلية أصول الدين بجامعة الأزهر، جمهورية مصر العربية
Paper 13:
التميميم
Moderated by Dr. Bashir Mahdi Ali, Lecturer, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani Campus, Thailand
15:00-15:30
Refreshment
15:30-16:30
Paper 14:“The Challenges of Islamic Education in Southeast Asia : Impact and Prospect”Y.Bhg.Prof. Tan Sri Dato’ Dzukifli Abdul Razak, Vice-Chancellor, University Sains Malaysia, Pulau Pinang, Malaysia 
 
Paper 15:“The Challenges of Islamic Education in Southeast Asia : Impact and Prospect”By: Assoc Prof. Dr. Adnan bin Abdul Rashid, Institute of Education, International Islamic University, Malaysia 
 
Paper 16:  “Islamic Studies in Turkish Educational System : Tradition and New Dimension”  By: Prof. Dr. Sinasi Gundus, Dean of Faculty of Theology, Istanbul University, Turkey
Moderated by Dr. Sukree Langputeh, Dean of Faculty of Liberal Arts and Social Sciences, Yala Islamic University, Thailand
19:00-20:15
 
Dinner at CS Hotel
Dinner Speech by:
Asst. Prof. Sompong Thongpong
Vice President of Prince of Songkla University Pattani Campus
Thursday, 23 December 2010(17 Muharram 1432)
Main Hall
08:30-10:00
 
Paper 17: 
«السيرة النبوية وسيلة الدعوة المثلى في عصرالعولمة»، لسعادة الأستاذ الدكتور حسن علي الشايقي، عميد كلية الشريعة والدراسات الإسلامية، جامعة إفريقيا العالمية ـ السودان
Paper 18: 
«أثر اللغة العربية في لغات شرق آسيا ودورها في نشر الدراسات الإسلامية»، لسعادة الأستاذ الدكتور إبراهيم صلاح الهدهد، وكيل كلية اللغة العربية بالقاهرة، جامعة الأزهر، جمهورية مصر العربية
Paper 19: 
«تاريخ العلم عند المسلمين»، لسعادة الأستاذ الدكتور أحمد محمد المزين، جامعة الأزهر، جمهورية مصر العربية
Paper 20: 
«دور الخبير الأجنبي في الإسهام في ترقية البيئة الأكاديمية بكلية الدراسات الاسلامية بين التأثير والتأثر»، لسعادة الدكتور الريح حمد النيل أحمد الليث، جامعة النيلين ـ السودان
 
Paper 21: 
«اللغة العربية في المنطقة : حضور ثقافي ودواعٍ مرحلية»، لسعادة الدكتور عبدالقادر سعد وسعادة الدكتور بشير مهدي علي، عضوي هيئة التدريس بكلية الدراسات الإسلامية، جامعة الأمير سونجكلا فرع فطاني، تايلاند
Moderated by Dr. Ilyas Hasan Siddik, Lecturer of Faculty of Islamic Studies, Yala Islamic University, Thailand
10:00-10-30
Refreshment
PTT. Room
09:00-10:30
 
Round Table Meeting
Chaired by
             Prof. Dr. Kanok Wongtrangan
           Advisor to Prime Minister of Thailand
Main Hall
10:40-11:30
Pattani Declaration by :
            Assoc. Prof. Dr. Boonsom Siribumrungsukha
            President of Prince of Songkla University
11:30-12:00
 
Closing Ceremony
Closing Report by
Dr.Yusuf Talek
Director of the College of Islamic Studies, PSU, Pattani Campus
Closing Remarks and
Declaring Seminar Closed by
          H.E Abdul Aziz Phitakkumpon
          Sheikh al-Islam of Thailand
12:00-13:30
Lunch/Prayer
13:30-16:00
Pattani Tour
16:00
Departure for Phuket