Skip to main content

 

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

ในภาพอาจจะมี ข้อความ

 

 

(ร่าง) กาหนดการ การสัมมนาวิชาการ

พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.00 – 16.00 น.

ห้องประชุมอิมาม อัลนาวาวีย์ วิทยาลัยอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

กำหนดการช่วงเช้า

08.00 –08.30 น.         ลงทะเบียน

08.30 – 09.00น.         การแสดงศิลปวัฒนธรรมชายแดนใต้ โดยนักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์

09.00– 09.30 น.         พิธีเปิดงานสัมมนา

                                 กล่าวรายงาน โดย นางสาวเมธาพร ชื่นชม ประธานโครงการฯ

                                 กล่าวเปิดงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ปริศวร์ยิ้นเสน

                                       คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์*

09.30– 10.15น.          การกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “พื้นที่กลางทางความรู้….กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”

                             โดย     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10.15– 11.30น.          การเสวนาหัวข้อ “พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์

กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”

                             วิทยากรโดย

                             -อาจารย์หริรักษ์  แก้วกับทองผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

                             - นายอักรอม เลิศอริยะพงษ์กุล นักสังคมสงเคราะห์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปัตตานี

                             - คุณโซเฟีย เจ๊ะนารองผู้จัดการโครงการเยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม Harapan Kampong (HAKAM)- HOPE Yala

                             ดำเนินรายการโดย นายเอียะห์ซาน บิลังโหลด นักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

11.30 – 12.00 น.        การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น การถาม-ตอบ และ สรุปประเด็นจากการเสวนา

12.00 – 13.15 น.        พักรับประทานอาหารกลางวัน


กำหนดการช่วงบ่าย

ช่วงเวลา

ห้องย่อยที่ 1 (58306)

ห้องย่อยที่ 2 (58307)

ห้องย่อยที่ 3 (58309)

ห้องย่อยที่ 4 (58310)

13.15 – 14.45

ประเด็นที่ 1 “จากข้อมูลเคสรีวิวสู่เส้นทางการทำงานเชิงนโยบาย (Form Case Review to Policy Advocacy)                                วิทยากรโดย: นายแวอิบรอเฮม แวบือราเฮง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักประสานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศอ.บต)

ผู้ดำเนินรายการ : นายบาซีร ยูนุห์

พิธีกร : นายนาซีร ยูนุห์

ประเด็นที่ 1 “งานสังคมสงเคราะห์ ในมิติความเท่าเทียม ความเป็นธรรม และการสร้างเสริมศักยภาพให้แก่ผู้พิการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้”

วิทยากรโดย นางสาวปภารัช พวงน้อย             (นักสังคมสงเคราะห์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปัตตานี)

พิธีกร : นายณัฐวัตร เกิดหิรัญ

 

ประเด็นที่ 1 “บทบาทนักสังคมสงเคราะห์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน : กรณีตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น”

วิทยากรโดย นางสาวอารีนา บิลเส็ม              (นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลหาดใหญ่)

พิธีกร : นายอาฟิต เจ๊ะปอ และนางสาวนูรไอนีย์ เจะดือราแม

 

ประเด็นที่ 1 “รักอย่างไร ให้สุขใจและปลอดภัย”

วิทยากรโดย R.KUMARASHWARAN VADEVELU

พิธีกร : นางสาวเกวลิน บวชเดช     นางสาวนูรไอนี สะตี

 

14.45 – 15.00

ช่วงพักเบรก

ช่วงพักเบรก

ช่วงพักเบรก

ช่วงพักเบรก

15.00 – 16.15

ประเด็นที่ 2 “ไทยแลนด์ 4.0 บริการชุมชนเชิงนวัตกรรมในงานสังคมสงเคราะห์”

วิทยากรโดย นายอิสมาแอ ยูนุห์ (ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองสุไหงโกลก)

ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวอามานี แสแลแม

พิธีกร : วราภรณ์ สุวรรณธาดา

 

 

ประเด็นที่ 2 “เสียงภายในที่ต้องรับฟัง: รูปแบบและวิธีการจัดการความรู้สึกของนักสังคมสงเคราะห์”

วิทยากรโดย นางสาวทิชากร เปรมปราโมทย์ (นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดปัตตานี)

นายโองการ หรันเต๊ะ (นักวิชาการอิสระ หมวดจิตวิทยา) และนางสาวฮายาตี บินดอเล๊าะ (นักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์)

ผู้ดำเนินรายการ : นายเอียะห์ซาน บิลังโหลด

พิธีกร : นายอัสรี เจะแม

ประเด็นที่ 2 “แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้”

วิทยากรโดย นางสาวณัฐสิมา บุญมา (บัณฑิตสาขาสังคมสงเคราะห์) และนางสาวอาซีซะห์ เจ๊ะอุมาร์ (นักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์)

พิธีกร : อภิวรรณ แกสมาน

 

ประเด็นที่ 2 “แนวทางการรับมือของนักสังคมสงเคราะห์ต่อพฤติกรรมการใช้ความรุ่นแรงของเด็กและเยาวชน”

วิทยากรโดย นางสาวกูนูรียา พระพิทักษ์ (นักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์)

พิธีกร : นายอุมาร กาหนุง

 

 

ผู้วิพากษ์ : นางฟารีดา ปันจอร์

              นายจิรัชยา เจียวก๊ก

ผู้วิพากษ์ : นางสาวนท ศิริกาญจน์

             นายอิมรอน ซาเหาะ

 

ผู้วิพากษ์ : นางสาวยาสมิน ซัตตาร์

             อาจารย์จุฑารัตน์ แสงทอง

ผู้วิพากษ์ : นายอักกรอม เลิศอริยะพงษ์กุล

              นางสาวอมรพรรณ วงษ์เพชร


 

 

โครงการสัมมนาวิชาการ

พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

1. ชื่อโครงการ พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

2. หลักการและเหตุผล   

ในสังคมที่มีเสรีภาพ คนทุกกลุ่มควรจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องของการพัฒนา ป้องการ แก้ไข หรือขัดการปัญหาต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน และกลไกทางสังคมกลไกหนึ่งที่จะสร้างสมดุลระหว่างมิติต่างๆ นั้นก็คือ “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere) นั่นเอง เนื่องจากคุณสมบัติประการหนึ่งของ “ความเป็นพื้นที่สาธารณะ” ก็คือ ในพื้นที่ดังกล่าว คนทุกคนจะสามารถสื่อสารได้อย่างเต็มที่ และพื้นที่สาธารณะจะต้องทำหน้าที่เป็นกลไกที่เข้มแข็งพอที่จะไม่ปล่อยให้ผลประโยชน์ส่วนตัวของคนบางคน/คนบางกลุ่มเข้ามาครอบงำได้ ส่วนพื้นที่สาธารณะจะเข้มแข็งได้หรือไม่นั้น ก็ต้องมีเงื่อนไขทางสังคมบางประการมารองรับ คือ การมีเสรีภาพทางความคิดและข้อถกเถียงกันบนหลักเหตุและผลหลายๆ ประเภท ซึ่งปัจจุบันหากมองกลับมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว พบว่ายังขาดเงื่อนไขดังกล่าวอยู่ส่วนสำคัญอันหนึ่งของข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เป็นความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่องและยังเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง ข้อมูลจากคณะทำงานฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (2560) พบว่าในระหว่างเดือนมกราคม 2547 – ธันวาคม 2559 มีเหตุการณ์ตวามรุนแรงเกิดขึ้นประมาณ 19,000 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,400 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 12,800 ราย ความรุนแรงมีตรรกเหตุผลบางอย่างที่สามารถอธิบายได้ ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนความรุนแรงและความขัดแย้งสะท้อนรากเหง้าของปัญหาที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์และศาสนา ซึ่งลักษณะของปัญหาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันอย่างซับ ซ้อนและมีความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ ในอีกหลายมิติ

จากสถานการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นนี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ ซึ่งหากพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ในพื้นที่ พบว่าผลกระทบจากเหตุการณ์มีทั้งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อันประกอบด้วย การเสียชีวิตและบาดเจ็บ ความเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย มีความพิการ การตกเป็นผู้ต้องสงสัย ถูกดำเนินคดีและคุมขัง การถูกพลัดพรากจากครอบครัวในกรณีที่คนในครอบครัวถูกกล่าวหาว่าเห็นต่างจากรัฐ และเด็กต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัวโดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งและความรุนแรง จะมีผลกระทบทางจิตใจ มีปัญหาความโศกเศร้าเสียใจ ที่อาจจะนำไปสู่ภาวะความซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหาอีกด้วย รวมทั้งมีผลกระทบต่อความมั่นคงทั้ง ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หลังจากที่ได้ร่วมกันหาทางออกมา หลายวิถีทาง ทั้งการใช้มาตรการความรุนแรง มาตรการทางการทหารและทางการเมือง ในช่วงที่ผ่านมาทุกฝ่าย ก็ได้ให้หันมาให้ความสำคัญต่อการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการและกระบวนการสันติภาพ/สันติสุข ซึ่งทำให้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลายเป็นวาระนโยบายระดับชาติซึ่งได้รับความสนใจ จากประชาคมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ

          ภายหลังกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ เหตุการณ์ในความขัดแย้งในพื้นที่มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรความขัดแย้งก็ยังคงดำรงอยู่ ซึ่งหากพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ในพื้นที่ พบว่าผลกระทบจากเหตุการณ์มีทั้งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อันประกอบด้วย การเสียชีวิตและบาดเจ็บ ความเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (คนพิการ) การตกเป็นผู้ต้องสงสัย ถูกดำเนินคดีและคุมขัง การถูกพลัดพรากจากครอบครัวในกรณีที่คนในครอบครัวถูกกล่าวหาว่าเห็นต่างจากรัฐ และเด็กต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัว โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งและความรุนแรง จะมีผลกระทบทางจิตใจที่อาจจะนำไปสู่ภาวะความซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหาอีกด้วย

สภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขและจัดการปัญหาและผลกระทบที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน โดยนักสังคมสงเคราะห์ นับเป็นหนึ่งในเครือข่ายหลักที่สามารถเข้ามาร่วมในการจัดการปัญหาหลังความขัดแย้งในพื้นที่ได้ เนื่องจากหลักในการดำเนินงานอยู่บนพื้นฐานของการช่วยบรรเทาหรือป้องกันการขยายตัวของปัญหาทางสังคมและปัญหาส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นเฉพาะรายบุคคลและรายกลุ่ม ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้กับผู้ที่ประสบปัญหา ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง  และเป็นงานที่เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ บทบาทของงานด้านสังคมสงเคราะห์สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมได้ เนื่องจากหลังความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาทำให้ความสัมพันธ์ของในพื้นที่ลดลง และอีกบทบาท คือการช่วยหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน  ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ/สันติสุข

แต่หากมองเพียงมุมของนักสังคมสงเคราะห์มุมเดียวนั้น การแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาพื้นที่ก็คงทำได้ยาก ดังนั้นการทำความเข้าใจรูปแบบการดำเนินงาน และบทบาทของงานสังคมสงเคราะห์ ว่ามีส่วนเชื่อมโยง และหนุนเสริมงานในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร จะเป็นจิ๊กซอร์ส่วนสำคัญที่ช่วยในด้านการจัดการปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้คนในพื้นที่  ทั้งนี้ยังเป็นส่วนหนุนเสริมให้กระบวนการสันติภาพดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนที่เกี่ยวข้องและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อันเป็นการใช้ข้อมูลความรู้ มิใช่อารมณ์ความรู้สึกเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง

ความรู้ที่หลากหลาย ผ่านการสื่อสารสาธารณะ ที่เน้นการสร้างพื้นที่และช่องทางการสื่อสารอันหลากหลาย ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสารของผู้คนในพื้นที่ ไปพร้อมๆ กับการสร้างเครือข่ายของการสื่อสารที่สะท้อนเสียง ภาพ และมุมมองจากผู้คนอันหลากหลายจึงมีความจำเป็นโดยกระบวนการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ไปพร้อมๆ กับการพยายามแสวงหาทางออกบนพื้นฐานของความรู้จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้เกิดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

3.วัตถุประสงค์

1. เพื่อเปิดพื้นที่ทางความรู้ทางสังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ ที่นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

4. กลุ่มเป้าหมาย

          กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ประกอบด้วย

1. นักศึกษาสาขสังคมสงเคราะห์ และนักศึกษาสาขาอื่นที่สนใจ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยในพื้นที่

2. อาจารย์ และนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่

3. เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ 

4. เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคประชาสังคม และกลุ่มสื่อมวลชน

5. วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน :

โครงการ สัมมนาวิชาการ พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีรายละเอียดของกิจกรรมตามกำหนดการ (เอกสารแนบ 1) โดยกำหนดให้มีการปาฐกถา ในหัวข้อ “พื้นที่กลางทางความรู้ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”และมีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ในประเด็น “พื้นที่กลางทางความรู้ในงานสังคมสงเคราะห์ กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการกำหนดช่วงเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมการประชุม และในช่วงบ่าย ได้มีการแบ่งห้องย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอการดำเนินโครงการของตนเอง ใน 4 ห้องย่อย 8 ประเด็น ดังนี้ มี

ห้องย่อยที่ 1

-          ประเด็นที่ 1 “จากข้อมูลเคสรีวิวสู่เส้นทางการทำงานเชิงนโยบาย (Form Case Review to Policy Advocacy)

-          ประเด็นที่ 2 “ไทยแลนด์ 4.0 บริการชุมชนเชิงนวัตกรรมในงานสังคมสงเคราะห์”

ห้องย่อยที่ 2

-          ประเด็นที่ 1 “งานสังคมสงเคราะห์ ในมิติความเท่าเทียม ความเป็นธรรม และการสร้างเสริมศักยภาพให้แก่ผู้พิการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้”

-          ประเด็นที่ 2 “เสียงภายในที่ต้องรับฟัง : รูปแบบและวิธีการจัดการความรู้สึกของนักสังคมสงเคราะห์”

ห้องย่อยที่ 3

-          ประเด็นที่ 1 “บทบาทนักสังคมสงเคราะห์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน : กรณีตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น”

-          ประเด็นที่ 2 “แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้”

ห้องย่อยที่ 4

-          ประเด็นที่ 1 “รักอย่างไร ให้สุขใจและปลอดภัย”

-          ประเด็นที่ 2 “แนวทางการรับมือของนักสังคมสงเคราะห์ต่อพฤติกรรมการใช้ความรุ่นแรงของเด็กและเยาวชน”

6. ระยะเวลาการดำเนินงาน :

                   วันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

7. สถานที่ดำเนินการ :

                    ช่วงเช้า ณ ห้องประชุมอิมาม อัลนาวาวีย์ หอประชุมนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา และช่วงบ่าย ณ ตึกเรียน 58  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

8. งบประมาณ 

งบประมาณสนับสนุนจาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ:

นักศึกษาสาขาสังคมสงเคราะห์ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนางสาวสุวรา แก้วนุ้ย อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาค และอาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ และ อาจารย์วรัญญา เต็มรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

10. การประเมินผลโครงการ :

          แบบประเมินโครงการจากผู้เข้าร่วมประชุม

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับได้รับ

1.       นักศึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ทางความรู้ทางสังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ ที่นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

2.       นักศึกษาสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุม มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางด้านองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงาน ที่สามารถนำไปพัฒนาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้

 

Event date