Skip to main content

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, แว่นกันแดด

 

--ยังอยู่ที่มาเลเซีย--

 

สิ่งหนึ่งที่ทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์เป็นที่ครั่นคร้ามของบรรดาผู้นำโลกนั้นก็คือ "ความกล้า และ ตรงประเด็นแบบไม่ไว้หน้า" ของท่าน

จริงๆแล้วจะว่าไปคือนิสัยท่านก็ไม่ผิด ความคิดคมบวกกับใจกล้าๆ

พลังมันก็เกิด เปิดปากวิพากษ์ทีไร เรียกใจถึงๆของผู้คนตื่นมาทันที

ช่วง"มหาเธร์"รับตำแหน่งใหม่ๆ ท่านแสดงความเห็นว่า "ทางอังกฤษซึ่งเดิมเป็นเจ้าอาณานิคมมาเลเซียนั้นตักตวงผลประโยชน์ไปมากล้น ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ดินแดนที่นำไปเจรจาทางการเมือง ภาษี และยังรับรายได้จากการเก็บค่านั้นนี่ต่างๆ มากมาย

เมื่อชาวมาเลย์ไปเรียนที่อังกฤษ จริงอยู่ที่ค่าเล่าเรียนนั้นจ่ายเท่ากับเรตนักเรียนอังกฤษ แต่นั้นก็เป็นแค่เศษเงินหากเทียบกับผลประโยชน์ที่อังกฤษตักตวงไปหลายเท่านัก"

ต่อมารัฐบาลอังกฤษขึ้นค่าเล่าเรียนของนักเรียนต่างชาติขึ้น นักเรียนมาเลย์ที่ไปเรัยนอังกฤษก็มิใช่จำนวนน้อยๆจึงได้รับผลกระทบเข้าอย่างจัง เพราะถ้ามองภาพรวม เงินในประเทศมาเลเซียต้องจ่ายเพิ่มเข้าอังกฤษเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเรัยนมันใช้เวลาไม่ไช่วันสองวัน

ท่านผู้นำที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างท่านถึงกับแถลงความเห็นโอดครวญดังไปถึงอังกฤษว่า "อังกฤษเอาผลประโยชน์จากมาเลเซียมากไปแล้วก็สมควรตอบแทนกลับมาบ้าง แม้จะอยู่ในด้านการศึกษาก็ยังดี"

ลอนดอนได้ยินก็ทำเป็น"หูทวนลม" แถมยังตอบในเชิงที่ว่า

"เฮ้ย พวกมาเลย์ที่ความรู้น้อยเอ่ย ถ้าอยากเรียนต่อสูงๆ ก็เอาเงินมาจ่ายค่าเทอมสิ"

ท่านผู้นำโกรธมาก ลุกประกาศต่อต้านสินค้าอังกฤษ อะไรที่ "เมดอินอิงแลนด์" เอาให้ค้างคาร้านไปเลย คนมาเลย์ก็มีอารมณ์ร่วมไปด้วย แบนสินค้าอังกฤษกันยกใหญ่ เพราะความโลภของอังกฤษต่อเงินค่าเทอมที่เล็กน้อยมากหากเทียบกับมูลค่าการค้าสมัยนั้นจริงๆ

ความสัมพันธ์กระท่อนกระแท่นล่วงเวลากว่าหกเจ็ดปี อังกฤษเคาะตัวเลขในมาเลเซียแล้วใจหาย ส่งหญิงเหล็ก "มากาเร็ต แธตเชอร์" มาง้อท่านผู้นำด้วยเงินช่วยเหลือโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าเปอร์กอ ในปี พ.ศ ๒๕๓๒ ง้อกันได้สักพักก็เชิญท่านนายกมหาเธร์เยือนอังกฤษ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นหน่อย

มหาเธร์เยือนอังกฤษครั้งนั้นนี่เป็นข่าวใหญ่โต เพราะคนอังกฤษไม่ค่อยปลื้มด้วยคิดไปว่า "ไอ้นายกเมืองขี้ข้าเก่า ไฉนเลยจึงกร่างกับประเทศยิ่งใหญ่อย่างพวกไอได้!?!"

การไปเยือนอังกฤษครั้งนั้นรัฐบาลบิ๊กเบนเสนอให้เงินช่วยเหลือในการสร้างเขื่อนจำนวน ๒๓๔ ล้านปอนด์แลกกับการที่มาเลเซียซื้ออาวุธอังกฤษ ๑,๐๐๐ ล้านปอนด์พอดิบพอดี, เห็นฤทธิ์การดีลของมหาอำนาจหรือยัง ?

(เขียนมาถึงนี้ ทำไมใจผมคิดถึงเมื่อวันสองวันก่อนที่ทำเนียบขาวเลยฟร่ะ !)

กลับถึงกัวลาลัมเปอร์ ท่านผู้นำโดนกับดักทางสื่อจากหนังสือพิมพ์อังกฤษ หาว่าท่านนี้เรียกรับสินบนจากบริษัทอังกฤษในมาเลเซียจำนวน ๕ หมื่นดอลลาร์เพื่ออนุมัติโครงการสร้างโรงงาน ใครๆต่างขำกันเพราะดูจากรูปการณ์แล้วเงินจำนวนนี้แลกกับชื่อเสียง หากท่านเลือกรับจริงก็ด้อยปัญญาเกินจะทนไหวแล้ว

ท่าน ดร.มหาเธร์ เจอแบบนี้เข้า เลยแก้เกมด้วยการออกประกาศมาตรการ "ห้ามบริษัทอังกฤษเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆของรัฐบาลมาเลเซียอีกต่อไป ห้ามนักเรียนมาเลย์ไปเรียนที่อังกฤษ"

เมืองบิ๊กเบนเจอแบบนี้เข้าถึงกับกระอัก หนังสือพิมพ์ที่โจมตีถึงกับเงียบ ทาง บริษัท มหาวิยาลัยน้อยใหญ่ส่งจดหมายเปิดผนึกถามเหตุผลถึงมาตรการนี้ยกใหญ่

ท่านผู้นำมาเลย์เลยสวนแบบเชือดนิ่มๆว่า

"อังกฤษเป็นประเทศไม่ปลอดภัย ท่านเกรงว่านักเรียนมาเลย์จะได้รับอันตราย"

เจอปิดประตูตีแมวแบบนี้ สื่ออังกฤษต้นเรื่อง รัฐบาลลอนดอนมองตากันปริบๆ

ช่วง"ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด" เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นช่วงเวลาที่มาเลเซียก้าวกระโดดอย่างมาก ความเป็นตัวของตนเองที่ยึดหลักเหตุผล ดื้อ และมุ่งมั่นทำให้วิกฤตการณ์เศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่มาเลเซียไม่มีคำว่า "IMF" เป็นเครืี่่องปรุงมากัดลิ้น กวนใจ

นึกแล้วก็เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างผู้นำที่ปฏิรูปประเทศจากหัวคิดไกลๆถึงการกระทำละเอียดลออ กับ ผู้นำที่คิดกันเพียงวันต่อวัน บ้านเมืองคันที่ไหน ไปเกาอีกที่

บทสรุปคาแร๊กเตอร์ผู้นำนี่เป็นจุดพิจารณานโยบายต่อประเทศนั้นๆของมหาอำนาจ ลองดูละกันว่าผู้นำใดบ้างที่สามารถงัดข้อกับมหาอำนาจอย่างฉลาดๆเหมือนมหาเธร์ท่านนี้

แล้วลองลงไปดูนโยบายมหาอำนาจต่อชาตินั้น มันเปลี่ยนดุลอำนาจให้ได้เปรียบเสียเปรียบได้จริงๆนะ

"ตัวตนของผู้นำเนี้ยะ !"

 

#PrinceAlessandro

07-10-2017