Skip to main content

มองขบวนการนักศึกษาท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง วาระครบรอบ 10 ปี ชุมนุมใหญ่มัสยิดกลาง

 

นายทวีศักดิ์ ปิ

 

 

กระแสการได้รับตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 ของ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ท่ามกลางกระแสเชี่ยวการเมืองในยุครัฐบาลรัฐประหาร ทำให้ผู้เขียนนึกคิด นายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ในปี 2550 ซึ่งเวลาดังกล่าวนั้น เป็นยุคของรัฐบาลรัฐประหารเช่นกัน โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้นำสูงสุดของนักศึกษา ในฐานะนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาได้ทำการลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นมีคำถามที่เป็นเงื่อนงำ ว่า อาจจะเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดในพื้นที่ชายแดนใต้ เนื่องจากเป็นเวลาเดียวกันกับขบวนการนักศึกษาจากส่วนกลางได้เดินทางมาชุมนุมใหญ่ที่หน้ามัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานีเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม

ซึ่งผู้เขียน ได้มีสัมภาษณ์ นายตูแวดานียา ตูแวแมแง แกนนำชุมนุมใหญ่ในครั้งนั้นถึงสาเหตุของการชุมนุม ตูแวดานียา ได้เผยว่าสำหรับการชุมนุมในครั้งนั้น ตนในฐานะ ประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำในการชุมนุม ระบุว่า ต้นเหตุของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มาจากการได้รับข้อมูลการสังหารชาวบ้านที่ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน โดยเชื่อว่าหนึ่งในนั้นคือหญิงสาววัย 21 ปี ถูกฆ่าข่มขืน ซึ่งเหตุการณ์นี้กลายเป็นตัวจุดประกายให้เพื่อนๆ นักศึกษามีความรู้สึกว่าอยากจะช่วยชาวบ้านเรียกร้องความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาและร่วมแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้มีเป้าหมายที่จะพูดคุยเสวนากับชาวบ้าน แต่พบว่า เมื่อไปถึงที่มัสยิดกลางแล้ว มีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมแล้วเมื่อถามถึงสาเหตุชาวบ้านจำนวนมาก บอกว่าต้องการคำชี้แจ้งถึงความไม่เป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ตนเองเชื่อว่าขบวนการนักศึกษาจะช่วยแก้ไขปัญหาสถานการณ์ได้ นักศึกษาจึงตัดสินใจตั้งขบวนชุมนุมโดยมีขบวนการนักศึกษาจากส่วนกลางรวมกันลงมาชุมนุม ซึ่ง ณ ขณะนั้น ผมเองก็อยู่ในสถานภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สังกัดกลุ่ม เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชนได้นำขบวนลงมารวมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย (สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558)

ปรากฏการณ์นี้ส่งผลกระทบโดยตรงกับ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เนื่องจากเป็นนักศึกษาในพื้นที่และภายหลังเหตุการณ์นี้เช่นกันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการแตกแยกเป็นกลุ่มต่างๆมากมาย แต่ที่สำคัญเป็นที่หมายของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงว่า นักศึกษากลุ่มไหนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุมนุมในครั้งนั้น

นาย อับดุลเราะหมาน มูเก็ม นายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา มหาวิทวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในสมัยนั้นก็ได้ให้สัมภาษณ์ กับสำนักข่าวต่างๆว่าในช่วงเวลาดังกล่าวการชุมนุมในครั้งนั้นก็มีเป้าหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารได้ถอนกองกำลังออกไปจากพื้นที่ เนื่องจากมีข้อสงสัยว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารไปข่มขืนชาวบ้านในหมู่บ้าน เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งแล้วแต่ไม่เคยมีการสื่อสารสู่สาธารณะ วิธีเดียวที่สามารถแก้ปัญหาได้ คือ ถอนกำลังออกจากพื้นที่ฉะนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีดังกล่าวเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษาม.อ.ปัตตานีในขณะนั้นก็ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าการออกมาชุมนุมในครั้งนั้นมีอัตราการเสียงที่สูงเหมือนกันเหนื่องจากการเคลื่อนไหวของเราถูกจับตามองว่าเป็นฝ่ายที่สนับสนุนขบวนการ มีการออกแบล็คลิสต์ แต่ว่าหากไม่ทำอะไรเลยก็ถูกสังคมโจมตีว่านักศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ไม่ได้ทำอะไรเลย ฉะนั้นการไม่ทำอะไรเลยเป็นส่งผลให้นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี อยู่ลำบาลในสถานการณ์เช่นนี้

อย่างไรก็ดี ทางแพร่งในจุดตัดสินใจของขบวนการนักศึกษาในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นสิ่งจำเป็นในการเลือกทางที่จะนิ่งหรือออกโรงในทามกลางสถานการณ์ความรุนแรงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่านักกิจกรรม หรือ นักศึกษา อยู่ท่ามกลางความรุนแรงที่เรียกว่าใน ภาวะเขาควาย (Dilemma)

 

ขอบคุณรูปภาพ จากสำนักข่าวบ้ายอ.com

บรรณานุกรม

 

http://www.prachatai.com/node/12949/talk

http://www.prachatai.com/journal/2007/06/12925

#PATANISOCIETY