Skip to main content

บันทึกจากตุรกีว่าด้วยผลประชามติถึงประชาธิปไตยไทย ตอนที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">§

ที่มา Patani Forum

อันวาร์ กอมะ*

 อ่านตอนที่ 1 

คำถามและการมองหาชุดคำตอบ

อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นยังไม่สามารถตอบคำถามหลักได้ว่าทำไมนักรัฐศาสตร์ชาวต่างชาติจึงให้ความสนใจกับพัฒนาการทางการเมืองของตุรกีและส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนระบบการบริหารจากระบบรัฐสภาไปเป็นระบบประธานาธิบดี ยิ่งกว่านั้น คำตอบดังกล่าวสามารถให้บทเรียนอะไรได้บ้างกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย

เนื่องจากไม่มีวิธีอื่นที่สามารถทำได้ ผมจึงเริ่มต้นด้วยการกลับไปหาบทความและข้อมูลเก่าๆ ที่เคยผ่านตาเกี่ยวกับการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบของประเทศตุรกีและประเทศไทยโดยพบว่ามีงานเขียน 2 ชิ้นสำคัญที่ศึกษาการเมืองเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับตุรกี

งานชิ้นแรกเขียนโดยดันแคน แม็คคาโก้และอาอีเช ซาราโคล ในหัวข้อ Turkey and Thailand: Unlikely Twins (2012) ส่วนชิ้นที่สองเขียนโดยอาอีเช ซาราโคล คนเดียว ในหัวข้อ Revisiting Second Image Reversed: Lessons from Turkey and Thailand (2013) งานชิ้นแรกวิเคราะห์ความเหมือนต่างของทั้งสองประเทศในด้านประวัติศาสตร์การเมือง พลังของเครือข่ายทางสังคมที่มีพลวัต และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจที่ไม่สามารถย้อนกลับไปเป็นเหมือนในอดีตได้โดยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสร้างชาติทั้งสองประเทศวางอยู่บนการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางซึ่งมีสถาบันทหาร (สำหรับประเทศตุรกี) และทหารกับสถาบันกษัตริย์ (สำหรับประเทศไทย) เป็นศูนย์กลาง mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[1]

ส่วนงานชิ้นที่สองถกเถียงว่าธรรมเนียมของสังคมระหว่างประเทศ เช่น การทำให้เป็นสมัยใหม่และประชาธิปไตย มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันการเมืองภายในประเทศไทยและตุรกีตั่งแต่ยุคการสร้างชาติและในหลายกรณีถูกใช้เป็นเหตุผลเพื่อต่อต้านกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยทหารและข้าราชการชนชั้นกลาง mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[2]

นอกจากนั้น ในงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “ตุรกีในวิกฤติการเมืองระหว่างประเทศ” จัดโดยศูนย์ศึกษาตุรกีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อาจารย์จรัญ มะลูลีม ศาสตราจารย์ด้านการเมืองโลกมุสลิม ได้ฉายภาพความเหมือนและต่างของพัฒนาการและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศไทยและตุรกีได้อย่างน่าสนใจโดยชี้ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศมีลักษณะร่วมอยู่ที่การเป็นประเทศพ่ายแพ้สงครามโลกแต่ไม่เสียเอกราชให้กับฝ่ายชนะ การมีอุดมการณ์คอมมิวนิสเป็นภัยคุมคาม การมีการปฎิวัติวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ และความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[3]

ในทำนองเดียวกันงานเขียนของอาจารย์ยาสมิน ซัตตาร์ นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอิสตันบูลได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ เหตุการณ์และพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญของตุรกีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกมาให้คำอธิบายหลังช่วงรัฐประหารล่มและประชามติที่ผ่านมา mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[4]

นอกจากนั้น เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่กว้างขึ้นผมกลับไปสำรวจงานเขียนในสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบและพบข้อสรุปขั้นเบื้องต้นว่า

ประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ล้าสมัยในการทำความเข้าใจการเมืองตุรกีคือข้อถกเถียงเรื่องกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[5]
 หากกล่าวเป็นการเฉพาะโจทย์สำคัญของนักรัฐศาสตร์ในการอ่านพัฒนาการทางเมืองของตุรกีคือการศึกษาการสร้างความมั่งคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตยในโลกมุสลิม

หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองของโลกมุสลิม ตุรกีถือว่าเป็นหัวขบวนประชาธิปไตยในประเทศมุสลิมมาตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านจากระบอบคอลีฟะฮ์ซึ่งมีผู้นำสูงสุดคนเดียวที่มีทั้งอำนาจทางการเมืองและทางศาสนาไปสู่ระบบรัฐชาติในรูปแบบสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1923 อย่างเป็นทางการโดยมีมุสตาฟา กามาล อาตาเติร์กดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีเป็นคนแรก

 ​

ช่วงการนับคะแนนประชามติ สถานีรถไฟใต้ดิน อิสตันบูล 16/04/2017

อย่างไรก็ตาม หลังจากประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบแบบพรรคเดียวไปเป็นระบบหลายพรรคเพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองในปี 1950 แล้วนั้น ตุรกีก็ประสบปัญหาการย้อนกลับไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหลายครั้งด้วยกับการทำรัฐประหารในปี 1960, 1971, 1980, และ 1997[6] นอกจากนั้น หลังจากที่พรรค AKP ได้รับเลือกตั้งให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลในปี 2002 นั้น การกลับมามีบทบาทของอิสลามในสนามการเมืองทำให้ฝ่ายที่นิยมแนวคิดอาตาเติร์กและเซคคิวล่าเกิดความกังวลในเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพบนหลักการประชาธิปไตย

พลวัตของปรากฏการณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนห้องทดลองของนักรัฐศาสตร์ในการพัฒนาสมมุติฐานและทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจเหตุและผล ความต่อเนื่องและหมุนกลับ และความสามารถในการประยุกต์ใช้แบบแผนประชาธิปไตยในกรณีอื่นๆ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[7]
 ดังนั้น ในแง่ของการศึกษาเชิงวิชาการตุรกีสามารถเป็นได้ทั้งตัวแบบและบทเรียนให้กับประเทศมุสลิมและประเทศโลกที่สามที่ประสบปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตย และหนึ่งในประเทศเหล่านั้นคือประเทศไทย

 


mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">§
  ขอขอบคุณอาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ สำหรับคำวิพากษ์วิจารณ์บทความนี้ก่อนการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ  คุณซัลมาน หมัดหมัน สำหรับการจัดหารูปภาพจากนครอิสตันบูล และปาตานีฟอรั่มที่อนุญาติให้นำมาเผยแพร่ต่อ 

นักศึกษาปริญญาเอก Dokuz Eylül University, Turkey

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกที่  mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#330099;border:none windowtext 1.0pt;
mso-border-alt:none windowtext 0cm;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">Patani Forum
 


mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue;border:dotted blue 1.0pt;
mso-border-alt:dotted blue .75pt;padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[1]
 Duncan McCargo and Ayşe Zarakol, ‘Turkey and Thailand: Unlikely Twins’, Journal of Democracy, 23.3 (2012), 71–79 ; ‘ไทย/ตุรกี: องศาที่แตกต่าง’, ed. by เอกรินทร์ ต่วนศิริPatani Forum, กันยายน-ตุลาคม 2559.19, 3–5.

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[2]
 Ayşe Zarakol, ‘Revisiting Second Image Reversed: Lessons from Turkey and Thailand’, International Studies Quarterly, 57.1 (2013), 150–62 .

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[3]
 Islam Nara, ตุรกีในวิกฤติการเมืองระหว่างประเทศ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2016) [accessed 15 March 2017]; อิมรอน ซาเหาะ, ‘ปาฐกถา ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม ชี้ตุรกีใช้ Soft Power พัฒนาประเทศและสร้างสันติภาพ’DSJ School, 2016 [accessed 28 February 2017].

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[4]
 ยาสมิน ซัตตาร์, ‘Binti Hamid Khan’s Blog’, ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ [accessed 15 March 2017]; วิทยาลัยวันศุกร์, ‘นโยบายต่างประเทศตุรกี: ระหว่างสงครามและสันติภาพ?’ โดยคุณยาสมิน ซัตตาร์ (ห้อง REG301 ตึกอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2015), 4 กันยายน 2558 [accessed 20 January 2017]; WAQAF TV, ‘ถ่ายทอดสด วิเคราะห์สถานการณ์ “ตุรกี” โดยผศ.ดร.สุกรี หลังปูเตะ นายอับดุลเอาว์วัล สิดิ  ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ ดำเนินรายการโดย  นพ. มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ’WAQAF TV, 2016 [accessed 15 April 2017].

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[5]
 โปรดดูเพิ่มเติมที่ ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจำนงค์, การเมืองเปรียบเทียบ ทฤษฎี แนวคิด และกรณีศึกษา (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559), chap. 3.

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[6]
 การทำรัฐประหารในปี 1997 อาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นรัฐประหารยุคหลังสมัยใหม่เพราะไม่มีการใช้กำลังทหารบังคับนายกรัฐมนตรีให้ลงจากตำแหน่งโดยตรงแต่เป็นการกดดันจากทหาร (สภาความมั่นคงแห่งชาติ) ให้นายกรัฐมนตรีนัจมุดดิน แอรบาคานลงจากตำแหน่งโดยสันติ ดูเพิ่มเติมที่ Al Jazeera, ‘Timeline: A History of Turkish Coups’, Al Jazeera, 2016 [accessed 16 April 2017].

color:blue;border:dotted blue 1.0pt;mso-border-alt:dotted blue .75pt;
padding:0cm;mso-fareast-language:EN-GB">[7]
 ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจำนงค์, pp. 9–13.หนึ่งในข้อถกเถียงว่าอิสลามเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยมาจากนักรัฐศาสตร์คนสำคัญอย่างซามูเอล ฮันทิงตัน Samuel P. Huntington, ‘Will More Countries Become Democratic?’, Political Science Quarterly, 99.2 (1984), 193–218.