Skip to main content

 

แนวคิดปฏิวัติในเรื่องผู้หญิง

 

เมาลานา ซัยยิต อบุล หะซัน อลี อัน นัดวียฺ

 

 

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่ถูกอธิบายอย่างชัดเจนในอัล กุรอานและคำสอนของท่านนบีมุฮัมมัดนั่นถือว่าเป็นแนวคิดปฏิวัติถอนรากถอนโคน หมายถึงมันได้ก่อให้เกิดสังคมแบบใหม่ขึ้นมา ก่อนการมาของอิสลาม ผู้หญิงทุกๆ หนแห่งถูกถือว่าเป็นเพียงกองขยะ เป็นสัตว์เลี้ยง หรือเป็นวัตถุที่ไร้ชีวิตอันเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก ผู้หญิงอาจถูกฝังทั้งเป็นหรือไม่ก็ถูกเก็บไว้ในฐานะสิ่งของเครื่องประดับ ในเวลานี้เองที่ผู้หญิงได้รับสิ่งที่สอดคล้องกับสถานภาพที่ถูกต้องของพวกเธอในสังคมและครอบครัว ผ่านการชำระล้างด้วยคำสอนอิสลาม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้รับการต้อนรับจากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อิสลามได้เข้าไปพิชิตและได้เปลี่ยนอำนาจของรัฐบาล อิสลามได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในฐานะพลังแห่งการปฏิรูปในสังคมที่ผู้หญิงไม่ทีสิทธิจะมีชีวิตอยู่ด้วยตัวเธอเองได้ และถูกบังคับให้ต้องสังเวยชีวิตพร้อมกับสามีของเธอ

ผู้ปกครองมุสลิมแห่งอินเดียหลายคนพยายามที่จะทำเท่าที่สามารถในการปฏิรูปสังคมอินเดีย (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฮินดู) โดยพยายามไม่ให้มีประเพณีที่เรียกว่า 'สตี' (พิธีกรรมตามกฎหมายฮินดู คือการที่ภรรยาต้องเผาตัวตายตามสามีที่ได้เสียชีวิตไป) แต่ต้องมั่นใจว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการของศาสนาอื่น

นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Dr. Francois Bernier ได้ไปเยือนอินเดียในช่วงรัชสมัยของสุลต่าน ชาฮ์จาฮาน (แห่งราชวงศ์โมกุล) และได้อธิบายถึงความพยายามของผู้ปกครองมุสลิมในการไม่ให้มีการทำพิธีสตีขึ้นในหมู่ชาวฮินดูเขาได้บันทึกไว้ว่า

"จำนวนเหยื่อ(ของพิธีสตี)น้อยกว่าแต่ก่อนมาก ชาวมุสลิมซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศนี้ ได้ใช้อำนาจทั้งหมดเพื่อระงับประเพณีที่ป่าเถื่อนนี้ แต่ผู้ปกครองมุสลิมไม่สามารถห้ามด้วยการออกกฎหมายที่ชัดเจนได้ เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งจากนโยบายของพวกเขาที่จะต้องปล่อยประชากรที่บูชารูปเคารพ ซึ่งเป็นประเทศที่มีมากกว่าประชากรชาวมุสลิม ให้มีเสรีภาพในการประกอบกิจเรื่องศาสนาได้

อย่างไรก็ตาม พิธีกรรมนี้ก็ยังถูกตรวจสอบด้วยวิธีการทางอ้อม นั่นคือไม่มีผู้หญิง(ฮินดู)คนไหนที่ยอมพลีชีวิตแบบนี้ได้ โดยไม่ได้อนุญาตจากข้าหลวงของจังหวัดนั้นๆ ที่เธออาศัยอยู่ ซึ่งข้าหลวงจะไม่อนุญาตให้กระทำ จนกว่าเขาจะรู้แจ้งชัดแล้วว่าหล่อนไม่เปลี่ยนเจตนาของหล่อน และเพื่อให้เป้าหมายนี้ลุล่วง ข้าหลวงจะต้องหว่านล้อมภรรยาหม้ายนี้และต้องให้สัญญาต่างๆ ที่ดึงดูดใจหล่อน หลังจากนั้น หากวิธีการนี้ล้มเหลว เขาก็จะส่งหล่อนไปยังพวกผู้หญิงของเขา ซึ่งการคัดค้านก็อาจได้รับการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าจะมีการวางอุปสรรคต่างๆ ไว้ แต่จำนวนของผู้หญิงที่เซ่นสังเวยชีวิตตัวเองก็ยังคงมีจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของผู้ปกครองท้องถิ่นฮินดู อันเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการแต่งตั้งข้าหลวงมุสลิม" (Travels of the Moghul Empire by Francois Bernier [A.D. 1658-1668] [ed.] Archibald Constable, Vol.l, pp. 306-307)

 

ที่มา เพจ Abul Hasan Ali Hasani Nadwi