Skip to main content

เมื่อคุยเรื่องกระบวนการสันติภาพ ไม่ว่าจะคุยกับชาวบ้าน นักศึกษา นักข่าวหรือนักวิชาการก็ตาม ดูเหมือนว่าหลายๆ คนยังมีความสับสนกับเนื้อหาของคำแถลงการณ์จาก BRN ผ่าน Youtube ฉะนั้นผมขออนุญาตลงข้อสังเกตสั้นๆ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องและเงื่อนไขต่างจากฝ่าย BRN 

แถลงการณ์ครั้งที่ ๑ และ ๒ 

ก่อนหน้านี้ ฝ่าย BRN ก็ได้ประกาศคำแถลงการณ์ทั้งหมดสี่ครั้ง ในแถลงการณ์ครั้งที่ ๑ BRN อธิบายถึงจุดยืนกับความเป็นมาขององค์กร และนำเสนอ “ข้อเรียกร้อง” 5 ข้อ ซึ่งประกอบด้วย: 

1. นักล่าอานานิคมสยามต้องยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ไม่ใช่แค่ผู้ให้ความสะดวก (facilitator)
2. การพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างชาวปาตานีที่นำโดย BRN กับนักล่าอานานิคมสยาม 
3. ในการพูดคุย จำเป็นต้องมีพยานจากประเทศอาเซียน องค์กร OIC และองค์กร NGO ต่างๆ 
4. นักล่าอานานิคมสยามต้องปล่อยผู้ที่ถูกควบคุมตัวทุกคนและยกเลิกหมายจับทั้งหมด (ที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง) โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ 
5. นักล่าอานานิคมสยามต้องยอมรับว่า องค์กร BRN เป็นขบวนการปลดปล่อยชาว ปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน

ข้อที่ 1 และ 3 บ่งบอกถึงเจตนารมณ์ (และน่าจะความพร้อมด้วย) ของฝ่าย BRN ที่ต้องการจะยกระดับกระบวนสันติภาพจากสันติสนทนา/การพูดคุย (peace dialogue) ให้เป็น การเจรจาสันติภาพ (peace negotiation) ส่วนข้อที่ 2 และ 5 เกี่ยวข้องกับความต้องการของฐานะของ BRN ในกระบวนการสันติภาพ และข้อที่ 4 เป็นข้อเรียกร้องทางปฏิบัติการ 

แถลงการณ์ครั้งที่สองเป็นคำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 5 ข้อนี้เอง (บางข้อถูกสลับลำดับแล้ว) 

ข้อเรียกร้องเหล่านี้เป็นข้อเรียกร้องขั้นพื้นฐานจาก BRN และสำหรับความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพ ดูเหมือนว่าจำเป็นต้องมีคำตอบที่ชัดเจนจากฝ่ายรัฐไทยเกี่ยวกับข้อเรียกร้องนี้ 

แถลงการณ์ครั้งที่ ๓ 

แถลงการณ์ครั้งที่ ๓ เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้แก่ 

- ความหมายของสันติภาพจากสายตาขององค์กร BRN 
- ข้อสังเกตของ BRN ต่อกองทัพไทยและเหตุรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานี 
- จุดยืนของ BRN ในกระบวนการสันติภาพ 

ในแถลงการณ์ครั้งนี้ ฝ่าย BRN ก็เรียกร้องให้รัฐสภาไทยรับรองข้อเรียกร้อง 5 ข้อดังกล่าวและให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ สิ่งที่น่าสังเกตคือ สองเรื่องนี้กลายเป็นเงื่อนไขเพื่อดำิเนินการพูดคุยกับฝ่ายไทยในแถลงการณ์ครั้งที่ ๔ 

แถลงการณ์ครั้งที่ ๔ 

เป็นแถลงการณ์ล่าสุด ซึ่งสาระสำคัญประกอบด้วย 

- เงื่อนไขเพื่อยุติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนและสิบวันแรกของเดือนเชาวัล (เดือนที่สิบในปฏิทินอิสลาม) 
- ข้อที่ควรปฏิบัติิในเดือนรอมฎอน (แต่ไม่ใช่เงื่อนไข) 
- ความพร้อมที่จะเข้าร่วมกระบวนการสันติภาพต่อไป และเงื่อนไขเพื่อดำเนินกระบวนการดังกล่าวต่อไป

แถลงการณ์ล่าสุดนี้มีหลายคนที่สับสนเงื่อนไขสองประเภทดังกล่าว และคิดไปเองว่า BRN อยากจะล้มโต๊ะเจรจา แต่ความจริงแล้ว เราต้องแยกแยะเงื่อนไขสองประเภทนี้ 

เงื่อนไขประเภทแรกคือเงื่อนไข้ 7 ข้อพื่อยุติความรุนแรงในเดือนรอมดอนบวกสิบวันแรกของเดือนเชาวัลที่ฝ่ารรัฐไทยมีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับ ถ้าดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ขั้นตอนกระบวนการสันติภาพและกลไกต่างๆ ฝ่ายรัฐไม่น่าจะรับเงื่อนไขหล่านี้ได้อย่างเต็มที (ถึงแม้ว่ามีบางข้่อที่รับได้ก็ตาม) สิ่งที่เราควรเข้าใจคือ การปฏิเสธเงื่อนไขเหล่านี้ ไม่ได้หมายถึงกระบวนการสันติภาพจบลงแค่นี้ ถึงแม้ว่าจะไม่นำไปสู่เดือนรอมฏอนอันสันติสุขในปีนี้ 

ในตรงกันข้าม BRN แสดงความพร้อมที่จะนั่งโต๊ะเจรจาต่อไป แต่เรียกร้องให้รัฐไทยยอมรับเงือนไขอีกสี่ข้อดังต่อไปนี้ 

1. ให้รัฐสภาไทยรับรองข้อเรียกร้อง 5 ข้อ (ที่ได้นำเสนอ แถลงการณ์ครั้งที่ ๑ และ ๒) 
2. ให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ
3. ให้ฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนรัฐไทยชัดเจนและมีเสถียรภาพ 
4. ไม่มีการเจรจาลบ (การเจรจาต้องดำเนินอย่างเปิดเผย) 

ผมไม่แน่ใจว่า คนที่ (คิดไปเองและ) อ้างว่า ฝ่าย BRN ต้องการล้มโต๊ะเจรจานั้นเอาหลักฐานมาจากไหน เพราะฝ่าย BRN ให้ “คำแนะนำ” ต่อรัฐไทยเพื่อให้ฐานะของหัวหน้าตัวแทนมีเสถียรภาพ เนื่องจากยังมีความเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งของ พล. โท ภราดร พัฒนถาบุตร อาจตดแทนโดย คุณ ถวิล เปลี่ยนศรี ตามคำตัดสินของศาลปกครอง ถ้าฝ่าย BRN ต้องการล้มโต๊ะเจรจา ทำไมอุตสาห์ตั้งเงื่อนไขเช่นนี้ และอีกเรื่องหนึ่งที่ควรสังเกตคือ ในข้อเรียกร้อง 5 ข้อและเงื่อนไขอื่นๆ ไม่มีข้อใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญไทยแม้แต่ข้อใด ฝ่าย BRN ก็ไม่เคยใช้คำว่า merdeka (เอกราช) ในแถลงการณ์ทั้งหมดสี่ครั้งด้วย ถ้า BRN มีความประสงค์ที่จะล้มโต๊ะเจรจาจริงๆ น่าจะได้นำเสอนบางข้อที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว 

โดยสรุปแล้ว แถลงการณ์ของ BRN มีสาระสำคัญสองอย่าง 

1. อธิบายจุดยืนของ BRN ในกระบวนการสันติภาพให้ชัดเจน 
2. นำเสนอข้อเรียกร้องและเงื่อนไขต่างๆ