Skip to main content

 เผยแพร่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

 
แถลงการณ์มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
กลุ่มใช้ความรุนแรงทุกกลุ่มต้องยุติการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ในจังหวัดชายแดนใต้
รัฐต้องเยียวยาเนื่องจากไม่สามารถปกป้องชีวิตประชาชนได้
 
จากเหตุการณ์สังหารที่เป็นเหตุสะเทือนขวัญต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั้งสองเหตุการณ์คือ กรณีเกิดเหตุสังหารชาวนาจากจังหวัดสิงห์บุรีเสียชีวิตสองราย เมื่อวันที่ 1 ก.พ.  color:#222222">2556 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และการสังหารอย่างโหดเหี้ยมพ่อค้าผลไม้จากจังหวัดระยองเสียชีวิตทั้งหมด 4 ราย ในพื้นที่จังหวัดยะลาเมื่อวันอังคารที่ 5 ก.พ.2556 ที่ผ่านมา
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้สูญเสียทุกราย และขอเน้นย้ำว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ยังคงเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุด   การสังหารประชาชนที่บริสุทธิ์ รวมทั้งการสังหารโหดพ่อค้าผลไม้ 4 รายนี้ที่ผ่านมาเป็นการกระทำที่ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรี ไม่อาจยอมรับได้
ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้มาเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เกิดการสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเป็นระบบ  โหดร้ายทารุณและกว้างขวาง กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ color:#222222"> มีทั้งกลุ่มติดอาวุธของรัฐ กลุ่มติดอาวุธที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐบางคนสนับสนุน รวมทั้งกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐทั้งที่มีผลประโยชน์แอบแฝง  และกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงที่วัตถุประสงค์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน color:#222222;">  ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของกลุ่มใดก็ตาม ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง นอกจากจะเป็นการผิดกฎหมายในประเทศแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
ความรุนแรงที่ผู้ใช้อาวุธกระทำต่อพลเรือนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์  ต่อเนื่องจากช่วง เดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2555และเดือนมกราคมพ.ศ. 2556 รวมทั้งเหตุการณ์ที่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ตกเป็นเหยื่อความุรนแรง ข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ color:#222222"> (Deep South Watch) พบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเสียชีวิตด้วยเหตุความรุนแรง 56 คน บาดเจ็บจำนวน 345 คน มีเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อ/แม่ จำนวน 4,942 คน (ข้อมูลถึงวันที่12ธันวาคม 2555)  การโจมตีเป้าหมายที่เป็นพลเรือนในระยะหลายปีที่ผ่านมารวมทั้งการสังหารโหดชาวนา 2 ราย และพ่อค้าผลไม้ 4 ราย ที่มาจากจังหวัดภาคกลาง   color:#222222">มีแนวโน้มที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการสังหารที่เกิดจากการเลือกปฏิบัติหรือความเกลียดชังทางเชื้อชาติและศาสนา มีลักษณะโหดเหี้ยม รุนแรง กว้างขวาง และเป็นการกระทำอย่างเป็นระบบ ที่ผู้กระทำและผู้อยู่เบื้องหลัง พึงตระหนักว่า เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรืออาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ ที่ผู้กระทำและผู้บงการจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดก็ตาม และโดยไม่มีอายุความ
อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของกลุ่มใดก็ตาม รัฐย่อมมีหน้าที่จักต้องนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งโดยความร่วมมือของประชาชนและนานาประเทศ และเมื่อเกิดความสูญเสียต่อพลเรือน รัฐจึงต้องเยียวยาต่อครอบครัวของผู้สูญเสียโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติรวมทั้งนำคนผิดมาลงโทษตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการกระทำของกลุ่มใดก็ตาม