Skip to main content

EXCLUSIVE: บีอาร์เอ็นขอนานาชาติร่วมสังเกตการณ์เจรจาสันติภาพโดยตรงกับไทย

 
ระเบิดรถยนต์Image copyrightTUWAEDANIYA MERINGING/AFP/GETTYIMAGES
คำบรรยายภาพเหตุระเบิดรถยนต์เมื่อเดือนมิถุนายน 2558

ขบวนการบีอาร์เอ็น ประกาศไม่มีส่วนร่วมในกลุ่มมาราปาตานี ที่กำลังพูดคุยหาแนวทางสันติภาพกับทางการ ไทย แต่ต้องการเจรจาโดยตรงกับรัฐบาลไทยโดยมีประชาคมโลกร่วมสังเกตการณ์ ด้านทหารไทยบอกการพูดคุยกับผู้เห็น ต่างเป็นเรื่องในประเทศ ไม่จำเป็นต้องยกระดับ

นายอับดุล การิม คาลิด ผู้แทนจากแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ ( Barisan Revolusi Nasional - BRN) ให้สัมภาษณ์กับ บีบีซีแผนกภาษาอินโดนีเซียว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นมีความประสงค์ที่จะเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทยโดยตรง และมีสักขีพยาน เป็นผู้แทนจากนานาประเทศร่วมสังเกตการณ์ เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาสันติภาพที่รัฐบาล มาเลเซียเป็นผู้ประสานงานให้ทางการไทยได้เจรจากับกลุ่มมาราปาตานี ที่รวมผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่าง ๆ เข้าด้วย เนื่องจากบีอาร์เอ็น "ไม่เห็นด้วยกับข้อบังคับ และมองว่าการดำเนินการไม่มีความเท่าเทียม"

นายอับดุล การิม คาลิด โฆษกบีอาร์เอ็นImage copyrightBBC INDONESIA
คำบรรยายภาพนายอับดุล การิม คาลิด โฆษกบีอาร์เอ็น

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (10 เม.ย.) บีอาร์เอ็นได้ออกแถลงการณ์ ระบุเงื่อนไข 3 ข้อ ก่อนการเจรากับรัฐบาลไทย คือ

1. การพูดคุยต้องเกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งและจะต้องสมัครใจที่จะหาทางออก ร่วมกัน การพูดคุยจะต้องมีฝ่ายที่สาม (ประชาคมนานาชาติ) เป็นผู้สังเกตการณ์และสักขีพยาน

2. ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความน่าเชื่อถือและมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติสากล ได้แก่ ต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องดำเนินการพูดคุยตามกระบวนการที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน

3. กระบวนการเจรจานั้นต้องได้รับการออกแบบอย่างชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายก่อนเริ่มต้น เจรจา

ประธานกลุ่มมาราปาตานีImage copyrightMANAN VATSYAYANA/AFP/GETTYIMAGES
คำบรรยายภาพกลุ่มมาราปาตานีขณะร่วมแถลงข่าวในกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อกลางปี 2558

ด้าน พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวกับบีบีซีไทย ว่า การเจรจากับ กลุ่มมาราปาตานีขณะนี้มีตัวแทนบีอาร์เอ็นอยู่แล้ว

"ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นก็อยู่ในกลุ่มมาราปาตานีทั้งหมด ถ้าบอกว่าไม่ใช่ตัวจริง คนที่อ้างต้องแสดงตัวออกมาว่าชื่ออะไร นามสกุลอะไร บอกชื่อมา แล้วเราจะเช็คให้ ใช่-ไม่ใช่ เพราะมันมีการอ้างกันอย่างนี้มา 13 ปีแล้วว่า ที่คุยเป็นตัวปลอม เราก็ไปถามตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นในกลุ่มมาราปาตานี เขาก็บอกว่าแล้วตัวจริงมันคนไหนล่ะ เขาขอชื่อมาดูหน่อยว่า คือคนไหน อยู่ในกลุ่มบีอาร์เอ็นหรือเปล่า ส่วนไอ้พวก "ตัวจริง" ทั้งหลาย ช่วยเอาชื่อมาหน่อยเถอะ เพราะที่คุยอยู่ เขามีชื่อหมด และอยู่ในบัญชี สำนักข่าวกรองเขายืนยัน"

นายอับดุล การิม ยืนยันว่า เขาคือ "สมาชิก" ของ "แผนกข่าวสาร" ของ บีอาร์เอ็น ที่มีเป้าหมายในการปลดปล่อย อาณาจักรปาตานี จากการล่าอาณานิคมของสยาม เมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมา พวกเขาเริ่มการต่อสู้จากกระบวนการ ทางการเมือง จนหมดหนทาง จึงต้องหันมาจับอาวุธ เขายอมรับว่าเหตุการณ์ความไม่สงบหลายครั้ง ทึ่คร่าชีวิตทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นฝีมือของบีอาร์เอ็น

ชาวบ้านและทหารImage copyrightMADAREE TOHLALA/AFP/GETTY IMAGES

"เราเสียใจต่อความสูญเสียของพลเรือน แต่คุณต้องเข้าใจว่าปัตตานีตกอยู่ในภาวะสงคราม และในสงคราม เป็นเรื่องยาก มาก ที่จะป้องกันการเสียชีวิตของพลเรือน" นายอับดุล การิม ซึ่งให้สัมภาษณ์เป็นภาษามาลายู กล่าวด้วยน้ำเสียงปกติ

ขณะที่สมาชิกอีกคนหนึ่งของ "แผนกข่าวสาร" ของบีอาร์เอ็น กล่าวเสริมว่าเหตุยิงถล่มจุดตรวจร่วม 3 ฝ่าย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชุมชนกลางตลาดกรงปินัง ม.7 บนถนนเส้นทางสาย 410 สายยะลา - เบตง ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จนเป็นเหตุให้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 10 นาย เมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมาเป็นฝีมือของบีอาร์เอ็น เช่นกัน

ทหารกำลังลบตัวหนังสือปาตานีImage copyrightMADAREE TOHLALA/AFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพบีอาร์เอ็นต้องการให้นักล่าอาณานิคมสยามรู้ว่าชาวมลายูปาตานีมีสิทธิเป็นเจ้าของดินแดนปาตานี

เหตุความไม่สงบใน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ บางอำเภอของ สงขลา นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2547 ได้คร่าชีวิตพลเรือน ทหาร ตำรวจไปแล้ว กว่า 6,800 คน ท่ามกลางความพยายามหลายครั้งของทางการไทยในการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อ ความไม่สงบ

"ถ้าปฏิเสธการพูดคุย ก็คือปฏิเสธแนวทางสันติวิธี ก็กลับไปใช้แนวทางเดิมคือใช้ความรุนแรงกันทุกฝ่าย แล้วใครเดือดร้อนล่ะ ประชาชนในพื้นที่ไงที่เดือดร้อน" พล.อ.อักษรากล่าว

เสาไฟฟ้าที่พังเสียหายในนราธิวาสImage copyrightMADAREE TOHLALA/AFP/GETTYIMAGES
คำบรรยายภาพเหตุโจมตีครั้งล่าสุดทำให้เสาไฟฟ้าเสียหายชาวบ้านขาดไฟฟ้าใช้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

ด้าน น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระด้านความมั่นคง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า แถลงการณ์ของ บีอาร์เอ็นเผยแพร่ออกมาในช่วงสี่วันหลังการก่อเหตุในพื้นที่ 18 อำเภอในปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา ซึ่งทำให้ เสาไฟฟ้าเสียหายไปกว่า 50 ต้นและทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างในปัตตานี การโจมตีเป็นการแสดงให้เห็นถึง ศักยภาพมากกว่าการทำลายชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางการทหาร และกองกำลังที่ยังคงมี อยู่อย่างกว้างขวาง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์การขอเจรจาเมื่อมีความเข้มแข็ง

ด้าน พล.อ.อักษรา บอกกับบีบีซีไทยว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน อาจไม่ใช่ฝีมือของ ผู้เห็นต่าง

ทหารยืนหน้าบ้านที่ได้รับความเสียหายImage copyrightJASON SOUTH/FAIRFAX MEDIA
คำบรรยายภาพเจ้าหน้าที่ไม่อยากให้ด่วนสรุปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ในระยะหลังเป็นฝีมือของผู้เห็นต่าง

"จากที่เคยเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ 3-4 ครั้งในช่วงหลัง เมื่อตำรวจจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้ก็ปรากฏว่าไม่เกี่ยวข้องกับ ผู้เห็นต่าง ทว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ผู้มีอิทธิพล หรือการเมืองในท้องถิ่น จึงอย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นฝีมือของผู้เห็นต่าง"

ขณะที่ น.ส.รุ่งรวี ตั้งข้อสังเกตถึงการออกแถลงการณ์ครั้งนี้ของบีอาร์เอ็นว่า สอดคล้องกับข้อเสนอเดิม ที่บีอาร์เอ็น เคยยื่นไว้ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อปี 2556 ได้แก่

๑. นักล่าอาณานิคมสยามต้องยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ไม่ใช่แค่ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)

๒. การพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างชาวปาตานีซึ่งนำโดยบีอาร์เอ็นกับนักล่าอานานิคมสยาม

๓. ในการพูดคุยจำเป็นต้องมีพยานจากประเทศอาเซียน องค์กรโอไอซี (องค์การความร่วมมืออิสลาม) และเอ็นจีโอต่างๆ

สุเหร่าปัตตานีImage copyrightMADAREE TOHLALA/AFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพสุเหร่าปัตตานี

๔. นักล่าอาณานิคมสยามต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีมีสิทธิในความเป็นเจ้าของดินแดนปาตานี

๕. นักล่าอาณานิคมสยามต้องปล่อยผู้ถูกคุมขังในคดีความมั่นคงทุกคนและยกเลิกหมายจับ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ คดีความมั่นคง โดยไม่มีเงื่อนไข

"ในปัจจุบันคือมีการตั้งคำถามมากว่ามาราปาตานีนั้นคุมกองกำลังในพื้นที่ได้หรือไม่ บีอาร์เอ็นเข้าร่วมหรือไม่ คำตอบคือมีคนที่เป็นสมาชิกบีอาร์เอ็นบางส่วนเข้าร่วมกับมาราปาตานี คนกลุ่มนี้เคยมีบทบาทในบีอาร์เอ็นและต้องการ การพูดคุยสันติภาพ แต่สมาชิกระดับนำอื่น ๆ ของบีอาร์เอ็น รวมถึงผู้ที่มีบทบาทในการคุมฝ่ายทหารของบีอาร์เอ็น ไม่ต้องการเข้าร่วมการพูดคุยจนกว่าที่รัฐไทยจะยอมรับเงื่อนไข 5 ข้อที่เคยเสนอไว้ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น.ส.รุ่งรวี ระบุ

ทหารในที่เกิดเหตุ อ.กรงปินังImage copyrightREUTERS
คำบรรยายภาพนักวิชาการมองว่าการเจรจสันติสุขเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของไทยและมาเลเซียเท่านั้น

ด้านนายแมทธิว วีลเลอร์ นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากอินเตอร์เนชันแนลไครซิสกรุ๊ป (ไอซีจี) กล่าวกับสำนักข่าว เอเอฟพีว่า บีอาร์เอ็นมองว่ากระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถูกขับเคลื่อน เพื่อผลประโยชน์ของไทยและ มาเลเซียเท่านั้น

"การที่บีอาร์เอ็นปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการเจรจายกนี้ ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต้องการปฏิเสธกระบวนการเจรจา สันติภาพโดยรวม"

เสาไฟฟ้าล้มImage copyrightREUTERS/SURAPAN BOONTHANOM

ด้าน พล.ต.สิทธิ ตระกูลวงศ์ เลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวกับบีบีซีไทย ถึงข้อเรียกร้อง ให้มีองค์กรนานาชาติที่เป็นกลางเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาว่า ปัจจุบัน มาเลเซียถือเป็นผู้อำนวยความสะดวกอยู่แล้ว และทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี การดึงฝ่ายอื่น ๆ เข้ามานั้น ขอให้กลับไปดูตัวอย่างกรณีกบฏในศรีลังกา ที่สุดท้ายมีฝ่ายอื่น ๆ เข้ามาร่วมวงพูดคุยจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ไม่ทำให้การเจรจาคืบหน้าและกลับไปสู่การใช้กำลังกันทั้งสองฝ่าย การพูดคุย ที่ดีที่สุดคือควรจะเหลือเฉพาะคู่ขัดแย้งจริงๆ

"รัฐบาลไทยยืนยันมาตลอดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาภายในประเทศ โดยมองผู้เห็นต่าง ก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงไม่ควรดึงองค์กรนานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง" พล.ต.สิทธิกล่าว

เสาไฟฟ้าล้มImage copyrightREUTERS/SURAPAN BOONTHANOM

เลขานุการคณะพูดคุยฯ ยังมองว่า การที่มีบุคคลออกมาอ้างตัว หรือมีแถลงการณ์ ข้อเรียกร้องต่าง ๆ น่าจะเป็นเพราะ การพูดคุยมีความคืบหน้าจนนำไปสู่การเตรียมการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย (เซฟตี้โซน) และตั้งแต่เริ่มต้นพูดคุยในสมัย รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการปล่อยข่าวตั้งแต่เรื่องที่ว่าคนที่มาพูดคุยไม่ใช่ตัวจริง คนที่มาพูดคุยเป็นตัวจริง แต่ไม่ได้คุย หรือคนที่มาพูดคุยเป็นตัวจริงแต่ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์แล้ว

"การปล่อยข่าวเช่นนี้ มันมาปรากฎในช่วงการที่แก้ปัญหาในจังหวัดภาคใต้มีความคืบหน้าเสมอ" พล.ต.สิทธิกล่าว

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.bbc.com/thai/39560844