Skip to main content

ย้อนรอยวัน "สื่อ" ทางเลือกชายแดนใต้ครั้งแรก

 

ย้อนรอยวัน "สื่อ" ทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 1: 2011

ฐิตินบ โกมลนิมิ
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

สื่อชายขอบกับการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างสันติภาพ

           สื่อทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เวลาจับเข่าแลกเปลี่ยนปัญหาหลายคนพบว่าวิทยุและอินเตอร์เนทครองพื้นที่สำคัญในการถกเถียงทางการเมือง เป็นสื่อของคนต่างกลุ่มแต่ตอบโจทย์คนในพื้นที่ได้ดีกว่าสื่อส่วนกลาง สรุปบทเรียนว่าการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายต้องยึดโยงข้อเท็จจริง ไม่ตีความเกินข้อมูล เสนอความเห็นที่ยึดหลักสามัญสำนึกไม่ใช้อารมณ์เกินเหตุ ปัญหาใหญ่ที่แก้ยากคือการเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐเจอแรง

สื่อมาเลย์วิเคราะห์สถานการณ์ใต้-สถานการณ์เพื่อนบ้านหลังพบอาวุธสงครามและระเบิดซุกซ่อนในมาเลย์ฯ

 กองบรรณาธิการสำนักข่าวอามานจับประเด็น แปล และเรียบเรียง
http://voicepeace.org

สื่อมวลชนของมาเลเซียหลายสำนักรายงานข่าวว่า  จากการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียในบ้านเช่าตั้งอยู่ในหมู่บ้าน แกแบ็ง เขตอำเภอปาเซมัส รัฐกลันตันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลมาเลเซียตระหนักถึงภัยความมั่นคงที่เกิดจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

สงครามสื่อกลางสมรภูมิในภาคใต้

อารีฟิน บินจิ
 

          ท่านที่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการนำเสนอปัญหาภาคใต้ของสื่อต่างประเทศในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะสื่อของโลกมุสลิมหรือโทรทัศน์อาหรับจะพบว่า อัล-จาซีรา ได้ให้ความสนใจข่าวคราวในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ได้จัดทำสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ชายแดนใต้ขนาดยาว

มอง "ปัญหาชายแดนใต้" ผ่านสื่อมุสลิมโลก

ศราวุฒิ อารีย์
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "มุสลิมอุษาคเนย์ศึกษา" (Muslim of Southeast Asia Monitoring Project) ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตีพิมพ์ใน มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 10 มีนาคม 2552

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาชิกระดับแกนนำของกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเนต (National Revolutionary Front Co-ordination) ซึ่งอ้างตัวว่ามีส่วนอยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมุสลิมโลกอย่างอัล-ญะซีเราะห์ (Al-Jazeerah)