Skip to main content

ชุมคน ชุมชน คนใต้: สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่ควรจะเป็น

29 มิ.ย. 2559 ในงาน “จับปลาต้องลงน้ำ: 30 ปี กับบทเรียนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนภาคใต้” ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา บนเกาะยอกลางทะเลสาบสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โดยจะมีนักพัฒนาเอกชน (NGOs) แกนนำชุมชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักศึกษา ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศิลปินเพื่อสังคม สื่อมวลชนในภาคใต้ และส่วนหนึ่งจากทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 300 คน

ย้อนรอยสื่อทางเลือกชายแดนใต้ 2: “เชื่อมร้อยเครือข่าย ผสานกำลังสื่อ สร้างพลังต่อรอง”

 
การสร้าง "พื้นที่สาธารณะ" เป็นอำนาจทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถดูดพลังอำนาจของประชาชน พลเมืองกลุ่มต่างๆ มารวมตัวกันเพื่อแสดงบทบาทของภาคพลเมืองจนสามารถกำหนดวาระสำคัญของกลุ่มหรือเครือข่ายขึ้นมาให้ได้ (civic assembly) โดยมี “ปฏิบัติการสื่อสาร” (communicative action) ที่สามารถท้าทายข้ออ้างและความชอบธรรมที่ดำรงอยู่อย่างไม่เคยถูกตั้งคำถามได้ คือยกระดับเป็น “ผู้ชี้นำ” มากกว่าการเป็นส่วนประกอบของสื่อกระแสหลัก นี่คือความท้าทายบทบาทของสื่อทางเลือกชายแดนใต้