Skip to main content

 

โครงการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสาร

สู่การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ครอบครัว ในพื้นที่สามชายแดนใต้ (Media Facilitator)

 

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สถานการณ์ในห้วงปัจจุบันของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังจากมีกระบวนการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 โดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การเกิดขึ้นขององค์กรประชาสังคมเป็นจำนวนมากที่ทำงานในชุมชนระดับล่างทั้งในเชิงประเด็นการขับเคลื่อนและในบริบทพื้นที่การดำเนินงาน ที่สำคัญกว่านั้น ในกระบวนการก่อเกิดองค์กรใหม่และการขับเคลื่อนในรอบใหม่นี้มีองค์กรเยาวชนเกิดขึ้นจำนวนหนึ่งที่ขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์ที่เป็นหัวใจของกระบวนการสันติภาพนั่นคือ การขับเคลื่อนในประเด็นการเสริมสร้างศักยภาพ การตระหนักรู้ในสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักการของสากล ด้านการศึกษา การเยียวยาเหยื่อสถานการณ์ความรุนแรง การสื่อสารสาธารณะ การหนุนเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ที่อาจจะเรียกได้ว่าครอบคลุมทุกมิติของสังคมชายแดนใต้ที่อยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังในกาลปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์นี้โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้เห็นว่า แม้นว่าองค์กรประชาสังคมที่มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรเยาวชนและองค์กรที่ทำงานในประเด็นเด็กและเยาวชนยังขาดกระบวนการสื่อสารสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเนื้อหาสาระ กิจกรรม ประเด็นการขับเคลื่อน ผลลัพธ์ของกิจกรรมหรือกระทั้งผลกระทบต่อชุมชน สังคม ของการทุ่มเททำงานของพวกเขาออกสู่การรับรู้ของสาธารณะอย่างจริงจัง เป็นระบบและมีประสิทธิผล เพราะเชื่อว่าการทุ่มเททำงานขององค์กรเหล่านี้จะสามารถก่อเกิดการผลักดันเชิงนโยบายหรือกระทั่งเป็นข้อเสนอสู่โต๊ะการพูดคุยเพื่อสันติภาพ

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างกลไกและเครื่องมือให้องค์กรเยาวชนชายแดนใต้สามารถปฏิบัติการสื่อสารสาธารณะ นำเสนอเรื่องเล่า บอกเล่าเรื่องราว สามารถผลักดันประเด็นขับเคลื่อนขององค์กรของตนสู่พื้นที่กลาง สามารถแสดงภาพกิจกรรม แผนผังความคิด โชว์ผลงานเชิงประจักษ์ ออกสู่สาธารณะโดยอาศัยช่องทางการสื่อสารของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้และสื่ออื่นๆ อย่างที่ควรจะเป็น โดยขณะนี้มีช่องทางสื่อออนไลน์แล้วคือเว๊บไซต์โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (http://deepsouthwatch.org/dsj) และเว๊บไซต์เครือข่ายสื่อเยาวชนชายแดนใต้ (http://www.deepsouthnewsnetwork.org/)

เป้าหมาย

1.       จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะองค์กรที่ทำงานในประเด็นเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยสร้างกลไกและเครื่องมือที่สามารถปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ

2.       ระดมองค์กรเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชานแดนใต้จำนวน 40-50 คน อบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตเนื้อหาเพื่อบอกเล่ากิจกรรม การขับเคลื่อน ผลงานความสำเร็จหรือเนื้อหาในมุมอื่นๆ เพื่อการสื่อสารสู่สาธารณะ

3.       กองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ทำหน้าที่บรรณาธิกร (Editorial work) และบริหารจัดการเพื่อการสื่อสารสู่สาธารณะตามวาระที่เหมาะสม

 

กำหนดการ

การสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ “Media Facilitator ร้อยพลังเยาวชนสื่อสารสันติภาพ”

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องสะบารัง 2 โรงแรมซีเอส ปัตตานี

เวลา

กำหนดการ

หมายเหตุ

08.30 น.

ลงทะเบียน

·        การสัมมนาจะเป็นการนำเสนอและแสดงให้เห็นบทบาท ความสำคัญและความจำเป็นที่แต่ละองค์กร แต่ละคนจะต้องสื่อสารเรื่องราวและประเด็นของตัวเองสู่สาธารณะ เทคนิคการจับประเด็นสำคัญ การเล่าเรื่อง การเรียบเรียงเนื้อหา มุมมองและแง่มุมการนำเสนอ รวมทั้งบทบาทและความสำคัญของการสื่อสารสาธารณะต่อประเด็นเด็กและเยาวชนในกระบวนการสันติภาพ

·        Workshop จะเป็นการร่วมคิดค้นเครื่องมือ พัฒนารูปแบบและวิธีการสื่อสารที่สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพและสภาพความเป็นจริงขององค์กร ผู้เข้าร่วม ทรัพยากรและประเด็นเนื้อหา

·        ให้ผู้เข้าร่วมเตรียมประเด็น เนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณะรับรู้สำหรับการฝึกปฏิบัติการจริงในช่วงของ workshop

09.15-09.30 น.

กล่าวรายงานโดย สะรอนี ดือเระ หัวหน้าโครงการพัฒนานวัตกรรม

กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย

มูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

09.30-12.00 น.

สัมมนา “Media Facilitator ร้อยพลังเยาวชนสื่อสารสันติภาพ

วิทยากรโดย

อ.สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี

สมเกียรติ จันทรสีมา ผอ.สำนักสื่อพลเมือง ThaiPBS

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหาร/ละหมาด

13.00-15.30 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)

“ร่วมสร้างนวัตกรรมการสื่อสาร สู่การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรเยาวชน”

โดย อ.สมัชชา นิลปัทม์

สะรอนี ดือเระ และทีมข่าว

15.30-16.00 น.

สรุปกิจกรรม/ขมวดประเด็น

โดย มูฮำมัดอายุบ ปาทาน

 16.00 น.

ปิดเวที/เดินทางกลับบ้าน

 

ประสานงาน ติดต่อ

น.ส.อิสมะห์รูปายดะ ดอเลาะ 080 702 5210

สะรอนี ดือเระ 064 047 0141

 

Event date