Skip to main content

 

สิ่งที่ท้าทายรัฐบาลตุรกีหลังความล้มเหลวการก่อกบฏของกลุ่มทหารส่วนหนึ่งผ่านความช่วยเหลือของประชาชน

 

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา

[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur

 

ขอบคุณภาพจากเพจ شهاب

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน

เหตุการณ์ความล้มเหลวการก่อกบฏของกลุ่มทหารส่วนหนึ่ง ด้วยวิธีรัฐประหารที่ตุรกีต่อผู้นำตุรกีหรือประธานาธิบดีอัรดูฆอนเพราะการที่ประชาชนทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ด้วยสองมือสู้ด้วยรถถัง อาวุธหนักและอาวุธสงครามได้รับการสรรเสริญจากผู้รักประชาธิปไตยและแสดงถึงประชาชนตุรกีมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยสูงถึงแม้รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งด้วยอำนาจของพวกเขาจะชอบหรือไม่แต่ประชาชนมองว่าการรัฐประหารไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาและประชาชนยอมสละชีพนับร้อยเพื่อธำรงค์อำนาจของประชาชน

ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวเหตุปัจจัยอื่นๆซึ่งหลายสำนักสื่อ หรือ นักวิชาการหลายคนคงวิเคราะห์แล้วแต่สิ่งที่ท้าทายหลังจากนี้ต่อผู้นำประเทศอย่างประธานาธิบดีอัรดูฆอนและต้องตระหนักมากขึ้นคือต้องคิดถึงประชาชนไม่ว่าจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ ท่านจะต้องไม่ฉวยโอกาสใช้กระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสจัดการฝ่ายไม่เห็นด้วยต่อรัฐบาลหรือคนที่ก่อการกบฎก็ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสเช่นกันโดยเฉพาะเป็นพรรคที่ขึ้นชื่อว่านิยมอิสลามสายกลาง ยิ่งจะต้องตระหนักต่อเรื่องนี้เพราะนี่คือความชอบธรรม

อาจารย์อิมรอน โส๊ะสัน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า ."ผู้นำ" ที่ประชาชนยอมเสียสละปกป้องหมายถึงผู้นำที่ครองหัวใจ ครองความศรัทธาและความหวังของประชาชน แต่ถ้าผู้นำฉวยโอกาสแบบนี้เพื่อ "สร้างอำนาจให้ตัวเอง" โดยอิงเสียงสนับสนุนของประชาชน และคิดว่ามันเป็นเกมการต่อรองทางอำนาจของตนและพวกพ้อง วันหนึ่งความเชื่อมั่นและความศรัทธาของประชาชนจะค่อยๆจางหายไปจนถึงการลุกขึ้นต่อต้านผู้นำในที่สุด...."เวลา" เท่านั้นจะพิสูจน์ความจริงใจของผู้นำที่มีต่อประชาชนของเขา

อีกประการหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคการเมืองที่นิยมอิสลามจะถูกต่อต้านทั้งแนวคิดเสรีนิยม มหาอำนาจตะวันตกหรือแม้กระทั่ง ไอเอส ที่บอกว่านิยมอิสลามดังนั้นประธานาธิบดีอัรดูฆอนยิ่งจะต้องใช้หลักการอิสลามสายกลางที่มีบรรทัดฐานสอดคล้องกับจริยโลกสากล ( Global Ethic )ในการบริหารประเทศและดูแลประชาชนของตนหรือนโยบายกับต่างประเทศ

ข้อสงสัยต่อบุคคล ประเทศที่หนุนรัฐประหารครั้งนี้ ถึงแม้ปากจะบอกรักประชาธิปไตยจะต้องมีหลักฐานชัดเจนที่ผ่านกระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสเพราะนี่ก็คืออีกความชอบธรรมหนึ่ง

รัฐบาลนี้ยังต้องถูกทดสอบทั้งในประเทศ และตะวันตกโดยเฉพาะท่ามกลางโรคหวาดกลัวอิสลามดังนั้นหลักการอิสลามที่มีหลักจริยธรรม ยุติธรรม ตามชื่อพรรคนี้จะต้องแสดงให้เห็นผ่านความเมตตาเชิงประจักษ์ให้มากกว่าการกวาดล้างผู้ถูกกล่าวหาทางการเมืองอย่างไร้หลักการพร้อมสร้างสรรค์โลกภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมที่สามารถปรับปรนภายใต้หลักการอิสลามอย่างถูกต้อง

นี่คือสิ่งที่ท้าทายรัฐบาลชุดนี้หลังความล้มเหลวการก่อกบฏของกลุ่มทหารส่วนหนึ่งผ่านความช่วยเหลือของ