Skip to main content

 

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...

วันนี้ขอเสนอเรือง "ประตูอัรร็อยยาน"

 

โดย อาริฟ หมานระเด็น

 

 

====

"อัรร็อยยาน" ประตูสำหรับผู้ถือศีลอด ได้ถูกเปิดแล้วในเดือนอันประเสริฐนี้!! มาจองบัตรเพื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ได้รับความเมตตาด้วยการถือศีลอดและประกอบอามั้ลที่ดีกันเถิด

"อัรร็อยยาน" ( “الريَّان” ) เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮฺได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับของคำว่า “อัล-ร็อยย์” หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

====

จากสะฮ์ลฺ อิบนุ สะอ์ดฺ ได้รายงานว่า ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวไว้ว่า

((في الجنة ثمانية أبواب فيها باب يسمى الريان لايدخله إلاالصائمون .))

“ในสวรรค์นั้นมีประตูอยู่แปดบานด้วยกัน บานหนึ่งมีชื่อว่า "อัรรอยยาน "จะไม่มีใครเข้าไปทางประตูนี้ได้ นอกจากบรรดาผู้ถือศีลออดเท่านั้น” (บุคอรีย์)

เดือนเราะมะฎอนจึงเป็นเดือนแห่งความหวังของบรรดาผู้ถือศีลอดในการที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ "อัรร็อยยาน " ซึ่งเป็นประตูของบรรดาผู้ถือศีลอดในสวรรค์

(( إن في الجنة بابايقال له الريان ، يدخل منه الصائمون يوم القيامة ، لايدخل معهم أحدغيرهم ، يقال: أين الصائمون ؟ فيدخلون منه ، فإذادخل آخرهم ، أغلق فلم يدخل منه أحد .))

 

“ในสวรรค์นั้นมีประตูอยู่ประตูหนึ่งมีชื่อว่า "อัรร็อยยาน" ซึ่งบรรดาผู้ถือศีลอดจะได้เข้าไปทางประตูนี้ในวันกิยามะฮฺ ไม่มีผู้ใดนอกเหนือนอกจากเขาจะเข้าไปกับพวกเขาได้ จะมีเสียงเรียกขึ้นมาว่า บรรดาผู้ถือศีลอดอยู่ไหน ? แล้วพวกเขาจะเข้าไปทางประตูนั้น เมื่อคนสุดท้ายของพวกเขาเข้าไปแล้ว ประตูจะถูกปิด จะไม่มีคนหนึ่งคนใดเข้าไปทางประตูนี้ได้” (มุสลิม)

====

คำว่า "บรรดาผู้ถือศีลอด" ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะเจาะจงแต่บรรดาผู้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเท่านั้น แต่หมายถึง ผู้ที่ถือศีลอดสุนัตมาก ๆ และเป็นประจำ ไม่ใช่หมายถึงบรรดาผู้ถือศีลอดที่เป็นฟัรฎู เพราะการถือศีลอดฟัรดูนั้น มุสลิมทั้งหลายต่างมีความเท่าเทียมกัน (ดู อิบนุอัลลาล, ดะลีลุลฟาลิฮีน, เล่ม 4 หน้า 23)

ดังนั้นผู้ที่ชอบถือศีลอดสุนัตอย่างสม่ำเสมอหลังจากทำฟัรฎูเรียบร้อยแล้วนั้น เขาจะถูกเรียกให้เข้าสวรรค์ทางประตูที่ชื่อว่า “อัรร็อยยาน” ซึ่งหมายถึง “ประตูแห่งความสดชื่น” ซึ่งผู้ที่ใดที่เข้าไปแล้วจะไม่มีความหิวกระหายตลอดไปเนื่องจากเขาได้เคยอดทนหิวกระหายในการถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺในโลกดุนยามาแล้วนั่นเอง

อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า การที่ท่านนบีได้บอกว่า “ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์” แทนที่ท่านจะบอกว่า “มันเป็นประตูสวรรค์” นั้น เป็นการชี้ให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งนิอฺมัตและการพักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ ในสวนสวรรค์ การบอกเช่นนี้จะยิ่งเพิ่มความรู้สึกปรารถนาที่จะเข้าไปในนั้นมากยิ่งขึ้น (ฟัตหุล บารีย์ 4/111)

====

ขอให้เราอย่าได้ปล่อยให้เดือนเราะมะฎอนผ่านไป ในขณะที่เราอยู่ในสภาพของผู้ปล่อยปละละเลย

แต่เราจะต้องรีบเร่งไปสู่การทำให้มันเกิดภาคผลแห่งความดีออกมา ในขณะที่เรารู้ถึงความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ของมัน คุณค่าแห่งเวลาของมัน ในขณะที่ท่านเป็นผู้ที่มีการเตรียมพร้อม มีสติปัญญา เอาจริงเอาจัง มีความขยันหมั่นเพียร เพราะเป็นเดือนที่มีของขวัญอันล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย

====

‪#‎ขอให้เราท่านทั้งหลายจงพยายามให้ได้เป็นคนหนึ่งจากพวกเขาเถิด .

วัลลอฮุอะอฺลัม

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(1) ความหมายของเราะมะฎอนและการถือศีลอด

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(2) เป้าหมายของการถือศีลอด

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(3) "เป้าหมายของการถือศีลอด" (ตอนที่ 2)

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(4) วันนี้เสนอ "มารยาทต่างๆ ของการถือศีลอด"

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(5) วันนี้เสนอ "มารยาทต่างๆ ของการถือศีลอด" (ตอนที่ 2)

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(6) วันนี้เสนอเรื่อง "อัลกุรอานกับเราะมะฎอน"

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(7) วันนี้เสนอเรื่อง "สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ"

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(8) วันนี้เสนอเรื่อง "สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ" (ตอนที่ 2)

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(9) วันนี้เสนอเรื่อง "สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ" (ตอนจบ)

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(10) วันนี้เสนอเรื่อง "โจรและมุนาฟิกในละหมาด"

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(11) วันนี้เสนอเรื่อง "ประตูแห่งความเมตตา"

เราะมะฎอนวันละเรื่อง...(12) วันนี้เสนอเรื่อง "บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด"