Skip to main content

ข้อกังวลชายแดนใต้ต่อการอุดหนุนของรัฐบาลต่อไปในการหนุนเสริมการศึกษาภาคบังคับ

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ) 

ที่ปรึกษาสมาคมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้, ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา 

[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur

 

        ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

        ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับก่อนลงประชามติ ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หน้าที่ของรัฐจะมีเพียงการสนับสนุนให้นักเรียนเรียนฟรีจนถึง ม.3 ซึ่งจะส่งผลดังนี้

'1. ร่างรธน.ใหม่'ตัดสิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย และ ปวช. หวั่นเด็กออกจากระบบพุ่ง!

2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า บุคคลเป็นหลักสากลที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพ เมื่อเราเน้นการศึกษา ถามว่าการศึกษาความเป็นบุคคลในประเทศไทยนั้น ครอบคลุมบุคคลทุกเชื้อชาติที่อยู่ประเทศไทย นี่คือหลักการของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กในความเป็นบุคคล ความเป็นบุคคลเป็นสิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกฎหมายสากล

และป็นการจำกัดสิทธิของเด็กในการที่เขามีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นสูง ทั้งการศึกษาสายสามัญ ชั้น ม.4-ม.5 และ ม.6 รวมถึงสายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตร (ปวช.1-ปวช.3) ที่ถูกตัดไป  แม้มีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่โอกาสของเด็กที่จะได้รับการศึกกษาก็ถูกตัดไปตั้งแต่เรียนจบม.3

          3. สำหรับเด็กจังหวัดชายแดภาคใต้จะขาดโอกาสทางการศึกษาถ้าดูสถิติ 10 ปีหลังพบว่า เด็กจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี  โท  เอก มากขึ้นกว่า ร้อยละ ห้าสิบ และกลับมาพัฒนาในพื้นที่ถิ่นเกิดมากขึ้นเกือบทุกสาขาวิชา

        แต่รัฐบาลปัจจุบันยืนยันว่าจะสนับสนุนถึงม. 6และปวช  ณ ตอนนี้ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมว่ารัฐบบาลใหม่กับรัฐธรรมนูญใหม่หากผ่านจะสวนทางกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

        กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใดของกฎหมายหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใดๆ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามที่อ้างถึงลำดับที่ 1. ในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 5 อีกทั้งในหมวด 5 หน้าที่รัฐ ได้บัญญัติไว้ตามมาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

               ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้านการจัดการศึกษาถูกบังคับด้วยคำว่าเป็นเวลา 12 ปีตายตัว  ต่างกันสิ้นเชิงกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่รัฐต้องจัดหรือประชาชนต้องได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี

               รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 43 ความว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่งถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”

               รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 49  ความว่า  “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”

               รัฐบาลที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจึงสามารถปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการจัดการศึกษาโดยรัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายได้เกินกว่า 12 ปี (ไม่ใช่ไม่มีกฎหมายรองรับ)

               แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ชัดเจนตามตัวอักษรจะเน้นปฏิรูปการศึกษาในส่วนการศึกษาของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนเท่านั้น ตามมาตรา 54 วรรคสองและมาตรา 258 จ.ด้านการศึกษา บังคับไว้ต้องตรากฎหมายให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี   ไม่มีมาตราใดในร่างรัฐธรรมนูญนี้จะอนุญาตให้ขยายการศึกษาภาคบังคับไปถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายได้เลย  การกล่าวว่ารัฐบาลนี้ ณ ตอนนี้ทำได้แต่รัฐบาลใหม่จะส่งเสริมการศึกษาภาคบังคับไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านจะสามารถทำได้จริงตามกฎหมายหรือ

        อย่าลืมว่าการศึกษาคือส่วนหนึ่งในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ/สันติสุขอย่างยั่งยืน