Skip to main content

หมายเหตุ บทความชิ้นนี้เป็นการแปลจากบทความตันฉบับจาก http://www.islamituindah.my/mengapa-china-menzalimi-muslim-uighur 

Abdulloh Wanahmad  แปล

 

1. เหตุผลที่รัฐบาลจีนเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมอุยกูร์

การค้นพบทรัพยากรน้ำมันที่ซินเจียง ทำให้ต่างประเทศได้ให้ความสนใจต่อดินแดนแห่งนี้ยิ่งนัก ในการนี้ทางปักกิ่งเองรู้สึกกังวลอยู่มิน้อย หากว่าอิทธิพลของตนที่มีต่อจังหวัดซินเจียงได้หมดไป ซึ่งรัฐบาลจีนเองได้เตรียมแผนที่จะพัฒนาเมืองแห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับประเทศในแถบเอเชียกลาง ซึ่งในแผนการนี้ได้รวมถึงนโยบายการอพยพของกลุ่มชนฮันสู่ซินเจียงอีกด้วย ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ

http://ichef.bbci.co.uk/news/624/media/images/79576000/jpg/_79576846_hi022369960.jpg

แผนการมากมายที่ได้เตรียมการ ถูกดำเนินการไปบ้างแล้ว หนึ่งในนั้นคือ การกำหนดพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ(1990) ที่ได้ให้งบสนับสนุนแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายในท้องถิ่น และได้ปรับปรุงระบบการเก็บภาษีใหม่ เมื่อเดือนสิงหาคม 1991 และเมืองซินเจียงได้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำในเขตซินเจียง(Projek Tarim Basin) เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จากนั้นทางปักกิ่งได้ลงทุนทางด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานในซินเจียง และโครงการการลงทุนจำนวนมหาศาล อย่างการสร้างถนนคมนาคมสายตาริม- ดีเซิรต์ และรางรถไฟสู่ทิศตะวันตกของซินเจียงอีกด้วย ซึ่งโครงการอภิมหาโปรเจคนี้ ก็เพื่อเป็นการสร้างความแน่นแฟ้นระหว่างซินเจียงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

จากนั้นทางซินเจียงได้ก่อสร้างนิคมเกษตรบินตูวันขึ้นเมื่อปี 1954 โดยความร่วมมือของบรรดาผู้ผลิตและหน่วยงานพัฒนาของซินเจียง (XPCC)  ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและการป้องกันชายแดนของจีน ซึ่งมีหน่วยงานความมั่นคงเป็นของตนเอง หน่วยตำรวจพร้อมอาวุธ ที่สามารถจัดหาแรงงานต่างชาติได้อย่างอิสระ สุดท้ายเมืองซินเจียงเริ่มถูกควบคุมโดย XPCC ได้อย่างรัดกุม จากนั้นทางปักกิ่งได้ให้เมืองซินเจียงเริ่มเป็นที่รู้จักแก่ชาวโลกด้วยการรณรงค์ที่ว่า‘’ ’Open up the West’’ และ ‘’Go West’’ ผ่านนโยบายเมื่อปี 2000

เมื่อปี 2010 พรรคคอมมิวนิสของจีน ได้หารือเพื่อพัฒนางานด้านเศรษฐกิจของซินเจียงและได้วางแผนการไว้ในระยะเวลาห้าปี เพื่อยกระดับการพัฒนาและความมั่นคงในระยะยาว ทว่าในความเป็นจริงแล้วแผนการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะกำจัดกลุ่มชนมุสลิมอูยกูร์

 

 

2. ศักยภาพทางเศรษฐกิจในซินเจียง

แผนการที่จะกำจัดชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ของรัฐบาลจีนสามารถมองเห็นได้จากการที่ ตำแหน่งงานว่างในซินเจียงมีมากเท่าไหร่ แรงงานต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาในซินเจียงกลับยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชาวฮันมากกว่า ที่มีจำนวน 6.7%  (1949) ถึง 40% (ในปี 2008). หนำซ้ำการอพยพย้ายถิ่นของชาวฮันได้รับการอำนวยโดยรัฐบาลจีนอย่างเปิดเผย ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใดก็ตามที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ที่ได้อยพยเข้าสู่ซินเจียง จะได้รับการพัฒนาทักษะและเพื่อมีอาชีพที่มั่นคง

http://www.whatsonweibo.com/wp-content/uploads/2015/02/F213CE60-EEF4-484D-A13F-ED3019ED7EF3_w640_r1_s.jpg

ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ อัตรางานได้เปิดโอกาสให้กับชาวฮันเป็นการส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับจำนวนของประชากรมุสลิมอุยกูร์ ไม่ว่าจะเป็นในบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ยิ่งไปกว่านั้นความร่ำรวยของชาวฮันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าคนมุสลิมอุยกูร์ จนภาคเศรษฐกิจของซินเจียงได้ตกอยู่ในมือของชาวฮัน ในขณะที่ชาวมุสลิมอุยกูร์ได้แต่ค้าขายพรมเท่านั้น แต่ยังไม่หมดแค่นี้แผนการทำลายเมืองคัชการ์(Kashgar)ก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องด้วยการออกมาตราการจัดระเบียบ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเส้นทางซูตรา(Sutera)ที่มากไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ ด้วยเหตุผลเพื่อเป็นการป้องกันเฝ้าระวังภัยพิบัติจากแผนดินไหวที่อาจเกิดขึ้น

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าวว่า นโยบายที่มีต่อเมืองซินเจียงนั้น ก็เพื่อต้องการที่จะพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ มิได้ต้องการเปลี่ยนแปลงทางรัฐะภูมิศาสตร์แต่อย่างใด ทว่าด้วยการอพยพเข้ามาของชาวฮันในซินเจียงนั้น ทำให้ชาวมุสลิมอุยกูร์ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดและผืนดินที่อุดมเพื่ออุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตรตลอดจนการจัดการน้ำ

ในที่สุดจุดสูงสุดของความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ก็ได้ปะทุขึ้น เมื่อความรุนแรงครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรฎกาคม 2009 ระหว่างชุมชนชาวฮันกับชาวมุสลิมอุยกูร์ รวมไปถึงตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียงอีกด้วย(XUAR) ฉนวนความรุนแรงได้เกิดขึ้นหลังการประท้วงต่อต้านการฆาตกรรมต่อสองชาวอุยกูร์ทางภาคใต้ของจังหวัดกวนดอง(Guandong) ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200 คน ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,600 คน และอีก 718 ที่ถูกทางการจีนจับกุม จากนั้นเป็นต้นมา ความรุนแรงระลอกแล้วระเล่าได้ปะทุขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเมืองซินเจียงได้กลายเป็นเมืองหนึ่งของจีนที่ไม่มีความปลอดภัย

 

3. อิสลามที่ซินเจียงกับการต่อต้านรัฐบาล

ที่เมืองซินเจียง วิถีในศาสนาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ที่เป็นสิ่งบ่งบอกแยกแยะระหว่างชาวอุยกูร์และชาวฮันได้อย่างชัดเจน และรัฐบาลจีนเองก็มีวิสัยทัศน์ที่จะหลอมรวมชาติพันธุ์ให้เป็นหนึ่ง และพยายามจะลดช่องว่างทุกอย่างที่เป็นอุปสรรค เพื่อให้กระบวนการกลืนกลายชาติพันธุ์สามารถบรรลุผลได้ในเร็ววัน

ทางพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงยึดมั่นว่า ประชาชนทุกคนจำต้องให้ความเคารพต่อสถาบันชาติ(รัฐบาลจีน)เป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องชาติพันธุ์หรือศาสนา ถือเป็นเรื่องที่สอง ทุกแนวคิดที่เป็นภัยคุกคามที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล ไม่ว่าจะโดยรูปแบบการต่อต้านอย่างเปิดเผยหรือเป็นการปลุกแนวคิดชาติพันธุ์นิยม หรือสัญลักษณ์ความเชื่อทางศาสนานั้น ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการโค่นล้มอำนาจของพรรคดังกล่าว

ในมาตราที่ 36 ในรัฐธรรมนูญของจีนระบุว่า “ไม่เป็นการอนุญาตที่จะใช้ศาสนาเพื่อจัดกิจกรรมที่เป็นการคุกคามความสงบของส่วนรวม ที่เป็นการทำลายสุขภาพของประชาชน หรือเป็นการทำลายระบบการศึกษาในประเทศนี้” และยังได้เพิ่มเติมด้วยคำเตือนอีกว่า หน่วยงานทางศาสนา และกิจการที่เกี่ยวข้องมิอาจอยู่ภายใต้การควบคุมของต่างชาติ นั่นหมายถึงทุกกิจการที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน

ในขณะที่ในมาตราที่ 1 ระบุว่าระบบสังคมนิยมถือเป็นพื้นฐานการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน การคุกคามใดๆ ที่เป็นภัยต่อระบบสังคมนิยมโดยองค์กร หรือบุคคลใดถือเป็นสิ่งต้องห้าม นี่คือข้ออ้างที่ใช้โดยพรรคดังกล่าวในการ “ปราบปราม” ที่ถูกใช้กับชาวมุสลิมอุยกูร์