Skip to main content

 

ที่มาของวงน้ำชาสาธารณะถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ที่มีเป้าประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่สารณ เพื่อการถกเถียงประเด็นทางสังคมที่แหลมคมที่อยู่ในวงเฉพาะแต่ทำให้มันดูง่ายต่อการพูดคุยและถกเถียงในที่สาธารณได้ ด้วยความตั้งใจที่ว่า จะทำอย่างไรให้ประเด็นที่แหลมคมทางสังคมเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถพูดคุยได้ตามร้านน้ำชาและที่สาธารณอื่นๆ ชบานี้ ที่ปาตานี เป็นวงจิบชาสาธารณ ครั้งที่สอง ของกลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้ ได้จัดขึ้นในวัน 14 กันยายน 2558 เป็นวงสนทนาสาธารณะที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการ สานเสวนาในหัวข้อ “ปาตานี คำนี้ สำคัญไฉน?” จัดขึ้นที่บ้านท่านหะยีสุหลง โต๊ะมีนา จัดโดย สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน ปาตานีฟอร์รั่มและภาคีร่วมจัดอีกหลายองค์กรในวันเดียว ซึ่งในระหว่างการทำกิจกรรม วงชาสนทนา สาธารณ มีการอ่านบทกวีเกี่ยวกับชายแดนใต้ โดยจัวแทนเยาวชนความฝันชายแดนใต้ แต่งและอ่านซึ่งจะแนบบทกวีใว้ในตอนท้าย

ประเด็นสำคัญที่ตั้งใว้ในวงนี้คือ เยาวชนมีมุมมองอย่างไรต่อคำว่า “ปาตานี” เนื่องด้วยคำว่า “ปาตานี” ได้ถูกหยิบยกมาอธิบายความหมายในมิติต่างๆกัน และมีมุมมองสะท้อนที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ล่ะมุมมอง แล้วมุมมองของเยาวชนที่มองต่อคำว่า “ปาตานี” เป็นอย่างไร

ขอขอบคุณภาพจาก http://news.sanook.com/1430841/

มีการพูดถึงและตั้งคำถามถึงคำว่า “ปาตานี” มาจากไหนและเริ่มใช้กันจริงๆตั้งแต่เมื่อไหร่?

มีความเห็นในสนทนาและข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกบ ที่มาและช่วงเวลาที่เริ่มใช้ของคำว่า “ปาตานี” ดังข้อเสนอที่ว่าคนที่นี่ในอดีตเรียกตนเองว่าอะไร

“ผมอยากรู้ว่าคนในสมัยนั้นเรียกตัวเองว่าอะไร”

“ผมไม่รู้ว่าคำว่าปาตานีเริ่มใช้กันตอนใหนแต่พอจะรู้ว่าคำนี้มีความหมายทางประวัติศาสตร์ และเมื่อปีประมาณ 2555 เริ่มได้ยินคำนี้”

“เราอาจจะต้องอ้างอิงจากแผนที่ว่า ในแผนที่เขียนว่าอะไร “

ในที่สุดแล้วการแสดงความเห็นที่มาและการเริ่มใช้คำว่า “ปาตานี” ในมิติทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆว่ามีการเริ่มใช้หรือพบเจอในยุคสมัยใดบ้าง และพบเจอคำว่า “ปาตานี” ในบริบทต่างๆของหน้าประวัติศาสตร์ดังความเห็นที่ว่า

“คำว่าปาตานี เริ่มจากลี่ยนจากลังกาสุกะ มาเป็นปาตานี ในสมัย พระยาอินทิรา(อิสมาแอลชา) มาจากคำว่าปันตัยอีนี่”

“มีคนเล่าว่าคำว่าปาตานีมีมาก่อนนานแล้ว แต่ ผมเกิดทันไหม คนพูดเกิดทันไหม”

มีการตั้งคำถามถึงที่มาของปาตานีว่าเกิดตอนไหน มีข้อถกเถียง ว่าต้องอาศัยภาษา วัฒนธรรม ศาสนา หรือแผนที่ในอดีต และมีความเห็นแย้งว่า เมื่อก่อนภูมิภาคนี้ไม่มีกรอบคิดเรื่องเขตแดน เนื่องจากคนแถวนี้สนใจอำนาจเรื่องของจำนวนคน แรงงาน ใครมีแรงงานมากก็มีอำนาจมาก แต่กรอบคิดปัจจุบันคือ เรื่องของเขตแดน จึงทำให้ข้อถกเถียงนี้หมายถึงที่มาของ”ปาตานี” หาข้อสรุปไมได้เนื่องจากเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงกัน

จนกระทั่งมีข้อเสนอว่า “มารา ปาตานี มีข้อเสนอเรื่องปาตานีว่า มันหมายถึงทุกอย่าง(มิติพื้นที่)คือปาตานี ไม่ใช่เรื่อง เชื้อชาติ หรือศาสนาและวัฒนธรรม “

“ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มี PPM และ GAMPAR ซึ่งทั้งสองมีคำว่าปาตานี นั่นหมายถึง ปาตานีก็มีตัวตนอยู่น่ะ”

ในวงสนทนาสาธารณมีการแลกเปลี่ยนกันถึงที่มาของคำว่า “ปาตานี” มีความสัมพันธ์อย่างไรกับคำว่า “มลายู” ?

“ปาตานีจะมาจากคำว่ามลายู คำว่ามลายูจะเป็นฐาน ของปาตานี”

“คำว่ามลายูเรียกคลอบคุมถึงอินโดนีเซีย มาเลย์เซีย บรูไน เป็นต้น แต่อาจจะมีการต่อคำเพื่อระบุพื้นที่ เช่น มลายูกือเดาะ มลายูตานิง เป็นต้นื “

 “คำว่ามลายูที่ถูกใช้ กลับพบว่าคำว่า มลายูลื่นมาก ใช้เพื่อต่อรองทางการค้า ไม่ได้แยกตามสายเลือด แต่แยกตามบริบท เช่นคนใกล้ทะเลทำการค้า และมีความเห็นว่า คำว่ามลายูมันลื่นกว่านี้ ไม่ได้แข็งขนาดนี้”

“คำว่ามลายู ไมใช่คนในพื้นที่เรียก แต่คนจีนเรียก”

มีการตั้งคำถามในวงว่า อะไรคือปาตานี มีข้อถกเถียงเกิดขึ้นว่า “ปาตานีเกิดจากมลายู แล้วถ้าปฏิเสธความเป็นมลายูแล้วจะเป็นปาตานีอีกหรือไม่”

มีข้อเสนอว่า ปาตานีอาจจะแบ่งได้สามประเภท คือ หนึ่งเป็นชาวปาตานีโดยกำเนิด คือคนที่วัฒนธรรมมลยูและรวมไปถึงมลายูโพ้นทะเลด้วย สอง คนที่ยอมรับและสังคมยอมรับว่า เป็นชาวปาตานี สาม คือก่ำกึ่งว่าตัวเองเป็นหรือไม่ โดยไม่ใช่ชาวปาตานีตั้งแต่กำเนิด

“ทีนี้เมื่อถ้าปฏิเสธความเป็นมลายูแล้ว ยังคงเป็นปาตานีหรือไม่ แม้จะยอมรับว่าเป้นปาตานีและไม่สนว่าสังคมจะยอมรับด้วยหรือไม่”

มีคำถามว่า “ใครคือหรือมีความชอบธรรมที่จะตัดสินว่าใครคือปาตานี”

คำถามสำคัญที่มีต่อคำว่า “ปาตานี”  “ทำไมฮะยีสุหลงไม่ใช้คำว่า ปาตานี ในการยื่นข้อเสนอ” และคำถามที่ว่าใช่หรือไม่ว่าเป็นเหตุผลของการแยกมิตรและศัตรูในยุคก่อนจึงทำให้มลายูจึงต้องผูกติดกับมุสลิม เนื่องจากสยามส่งมุสลิมในพื้นที่อื่นมาเผชิญหน้ากับมุสลิมที่นี่ ซึ่งต่างประสบชะตากรรมที่ต่างกัน

มีผู้ร่วมวงสนทนาแสดงความเห็นต่อคำถามดังกล่าวว่า

“เพราะว่า ฮะยีสุหลงมองพื้นที่สำคัญจึงเรียกร้องเฉพาะมลายูก่อน เนื่องจากคนมลายูอาศัยอยู่ที่นี่ไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรก็ตาม”

“อาจจะเป็นเพราะเรื่องการรับอิสลามและการแต่งงาน เราคงไม่ยอมให้ลูกหลานแต่งงานข้ามศาสนาแน่นอน”

มีการตั้งคำถามว่า “ถ้ารัฐไทยใจกว้างให้ทำประชามติ ใครคือปาตานี จะต้องอยู่นานแค่ไหนถึงจะเป็นปาตานี? ...เนื่องจากการมองปาตานีมันแยกไม่ออกจากมลายู มันจึงยากที่จะใช้มาตรวัดว่า ใครคือปาตานี...อีกทั้งทำว่าปาตานี ยังไม่สามารถรวมกลุ่มให้ความต่างเป็นก้อนเดียวกัน และจะทำอย่างไรให้คำว่า “ปาตานี” สามารถรวมกลุ่มให้ความแตกต่างเป็นก้อนเดียวกันได้ โดยไม่ทำลายรากเหง้าของใครคนนึง”

แล้วคำว่า “ปาตานี” กับ คำว่า “ฟาฎอนี” มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอย่างไรบ้าง?

“ความรู้สึกมองว่า เวลาพูดถึงปาตานีเราจะนึกถึงดินแดน แต่พอเราพูดถึงฟาฎอนีเราจะนึกถึงคน”

“คำว่าฟาฎอนี วิวัฒน์มาจากคำว่า ปาตานี ในตอนที่คนปาตานีเริ่มไปเรียนในโลกอาหรับ ซึ่งปาตานี ในความหมายของภาษาอาหรับมีความหมายในแง่ลบ จึงหยิบเอาคำว่า “ฟาฏอนี” มาใช้ เนื่องจากคำว่า “ฟาฏอนี” มีความหมายในทางบวก”

“เมื่อสัมพันธ์กับอาหรับแล้ว เป็นเรื่องของความหมายและการออกเสียง อาจจะมีความเป็นไปได้ว่า ความหมายมันไม่เวิร์ค”

เยาวชนมีมุมมองต่อคำว่า “ปาตานี” อย่างไร?

เยาวชนได้ตั้งข้อสังเกตว่า คำนี้มีความเข้าใจอย่างไรบ้างและส่งผลต่อสังคมอย่างไรเมื่อมีการใช้คำว่า “ปาตานี”

“ผมไม่แน่ใจว่า เราเข้าใจคำว่า ปาตานี ตรงกันหรือไม่ เราเข้าใจว่า ปาตานีหมายถึงชายแดนใต้หรือเพียงแค่จังหวัดปัตตานี”

“ผมอยากรู้ว่าใครเป็นเริ่มคำนี้ เนื่องจากผมเห็นว่ามันทำลายความสัมพันธ์ โดยเฉพาะในเมือง นายูส่วนนายู ซีแยก็ส่วนซีแย มันทำให้พหุวัฒนธรรมในเมืองมันลดลงไปเพราะคำว่า ปาตานี...ทำให้คนใช้คำว่าปาตานีและปัตตานีแตกแยกกัน”

“เมื่อเราอยู่ในวงแบบนี้เราพอเข้าใจน่ะ แต่พอไปอยู่ในสังคมทั่วไปมันยังงแรงอยู่ ผมไม่รู้ว่าจะตั้งคำถามยังไง  ผมเงได้ยินคำไม่นาน คำถามคือ 20 ปีที่ผมอยู่บ้านคำนี้อยู่ไหน  วันนี้ผมเริ่มเข้าใจ แล้วเพื่อนผมล่ะ ถ้าขาบอกว่า เขาคือคนไทยล่ะ เขาคือคนยะลาล่ะ”

เยาวชนได้บอกว่า ชื่อยังไงก็ไม่สำคัญไปกว่าสิ่งที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้อง เรื่องการเมือง และการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังยืนยันว่า รายละเอียดและผลกระทบทางสังคมยังคงเป็นตัวกำหนดว่าควรใช้คำว่าอะไรมากกว่าที่จะมองว่า “ปาตานี”นั้นสำคัญเพียงใด

“ผมมองว่า ใครจะเรียกว่าอะไรก็ตามมันคือสิ่งเดียวกัน เช่น ส้ม ใครจะเรียกว่าแตงโม มันก็ยังคงเป็นส้ม “

“แต่ความเข้าใจคำว่าปาตานี มันหมายถึงแค่ปัตตานีหรือไม่ แล้วยะลา นรา ถูกลดทอนความสำคัญหรือไม่ คำว่า ปาตานี”

“คำไม่น่าจะสำคัญ แต่เหมือนวาทกรรม ทำไมไทยไม่ยอมให้เรียกว่าปาตานี แค่คำว่าปาตานี มันมีผลต่อความมั่นคงเลยหรือ”

“คนที่ใช้คำว่าปาตานี เพราะเขาไม่ชอบคนตั้งชื่อให้เขาหรือไม่ เขาจึงตั้งชื่อขอเขาเอง “

“เราดูคลิปเวลาเขาพูดไทยเขาจะใช้คำว่า เอาปัตตานีคืนมา”

“ทำไมล่ะ จะเรียกว่าอะไรก็ตาม ถ้าเรียกแล้วสงบก็เรียกเถอะ ถ้าคนกลุ่มหนึ่งใช้คำนี้ แล้วคนที่ไม่ชอบล่ะ เขาไม่เอาด้วยจะทำไง มันจะรบกันเองต่อหรือไม่ “

“ตอนนี้เราต่อสุ้เพื่ออะไร เพื่อชื่อ แล้วถ้าได้ชื่อคืนมา แต่เสียสิทธิอย่างอื่นที่ต้องการ แล้วถ้าใช้ชื่อเดิม แต่สิทธิที่ควรจะได้มันมีและมากขึ้น ผมไม่คิดมากกับชื่อ”

“ถ้าผมถามเพื่อนต่างศาสนิกในสมัยเรียนว่า รู้จัก ปาตานีไหม เพื่อนจะตอบว่า ปาตานีคืออะไร”

“มีใครกี่คนที่ทันคำว่า ปาตานีตอนความรู้สึกเย็นๆ มีสักกี่รุ่น”

มีข้อเสนอถึงการใช้คำว่า “ปาตานี” ว่าจะทำยังไงไม่ให้มันคมจนแทงใคร และมันไม่หายไปจากกรอบคิดเดิมของมัน

“คำว่าปาตานีกำลังจะละลายความหมายของ ปาตานีเท่ากับมลายู ให้คำนิยามปาตานีที่ไม่ใช่แค่มลายูเท่านั้น”

“คำว่า ปาตานี ปัตตานี ฟาฎอนีขายได้และขายไม่ได้ ผมเลยละลาย คนที่จะใช้คำเหล่านี้ ถ้าใช้แล้วดีก้ใช้ไปเลย”

 

บทกวีที่ไม่มีชื่อ

นกพิราบโบยบินอยู่ในกรง

พุ่มมะกอกออกผลในกระถาง

ปลาฉลามแวกว่ายในอวนแห

เหล่าเสือสิงห์ถูกพร่ำสอนในสวนสัตว์

มิคิวแสดงในโรงละครทุกเช้าค่ำ

 

เรากำลังพูดในขณะที่ปากถูกปิด

เรากำลังคิดในขณะที่ปืนจ่อหัว

เรากำลังมองในขณะเส้นผมบังสายตา

เรากำลังอ่านในขณะที่ปกหนังสือถูกปิด

 

เมื่อใจเลือกที่จะมองเห็นในสิ่งที่ใจอยากจะเห็น

จึงมองไม่เห็นดวงจันทร์เต็มดวงกำลังลอยเด่นบนท้องฟ้า

จึงไม่ได้ยินเสียงคลื่นกำลังถาโถมเข้าสู่ฝั่ง

จึงมองไม่เห็นดวงตะวันในวันรุ่งขึ้น

 

เรากำลังรอคอยการมาถึง

เพียงแค่ท่านส่งสารมายังเรา

เรากำลังรอคอยความเข้าใจ

เพียงแค่ท่านสื่อสารมายังเรา

และใจจะไม่เลือกฟังเพียงแค่ใจอยากจะฟัง

แต่จะได้ยินทุกหัวใจที่สื่อสารมา