Skip to main content

มุสลีมะห์ เป็นชื่อเรียก ผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลาม และกลุ่มมาวัรปาตานีซึ่งได้จัดกิจกรรมการรณรงค์ให้มุสลีมะห์แต่งกายให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ในกิจกรรม “เธองาม ด้วยการปกปิด (Muslimah to share)” ทำไมศาสนาอิสลามถึงให้ผู้หญิงปกปิดร่างกาย

กลุ่มมุสลีมะห์รุ่นใหม่ในนามกลุ่ม Mawar PATANI ซึ่งมีความหมายว่า กุหลาบช่องามแห่งปาตานี ได้รวมตัวกันและทำกิจรรมรณรงค์เพื่อให้เพื่อนมุสลีมะห์แต่งกายตามหลักของศาสนาอิสลามได้อย่างถูกต้อง ภายใต้สโลแกน “เธองาม ด้วยการปกปิด “(Muslimah to share) ที่สวนสาธารณะ สนามโรงพิธีช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ทางประธานกลุ่ม Mawar PATANI อธิบายถึงที่มาของกลุ่มและกิจกรรมดังกล่าวว่า เกิดจากการวมตัวของเพื่อนๆ ในสมัยเรียนที่อยากให้มีกาพบปะกลุ่มกันอย่างสร้างสรรค์

รุสนีย์ ซาแม ประธานกลุ่ม Mawar PATANI กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้สโลแกน “Muslimah to share (เธองาม ด้วยการปกปิด)” เพราะหลังจากที่เราเรียนจบกันมา 4-5 ปี ก็ยังไม่เคยมีการรวมตัวกัน จึงคิดว่าควรจะจัดให้มีการรวมกลุ่มกันพร้อมกับการจัดกิจกรรมเพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์ เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นนิมิตใหม่นอกจากการที่มีการพบปะกันเพียงอย่างเดียว

ทางด้าน รุสดา สะเด็ง อุปนายก สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Perwani) กล่าวว่า ตนเองรู้สึกภูมิใจและชื่นชมน้องๆ มุสลีมะห์รุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาเปิดพื้นที่ให้ตนเองได้เขามาทำงานสาธารณะ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ตนนั้นคาดหวังมาตลอดก็คือ การเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้หญิงได้เข้ามาทำงานเพื่อสังคมและศาสนาให้มากขึ้น และเราก็จะมองเห็นว่าภาพที่ผู้หญิงลุกขึ้นมาทำงานเพื่อสาธารณะเป็นภาพที่งดงาม ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่กลุ่ม มาวัรปาตานี (กุหลาบช่องามแห่งปาตานี) ได้ทำงานเพื่อสังคม

นอกจากนี้ รุสนีย์ ซาแม ประธานกลุ่ม Mawar PATANI ยังกล่าวอีกด้วยว่า สำหรับกิจกรรมการรณรงค์ให้ผู้หญิงใส่ใจและเห็นคุณค่าของการแต่งกายให้ถูกต้องตามหลักศาสนาโดยการเข้าหากลุ่มเพื่อนผู้หญิง เข้าไปพูดคุยและมอบถุงเท้า หรือปลอกแขน เพื่อปกปิดร่างกายให้ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม ซึ่งในช่วงเริ่มต้นที่เข้าไปคุยก็รู้สึกกดดันตัวเอง เพราะตนเองไม่รู้ว่าเมื่อเข้าไปคุยแล้วเขาจะรู้สึกอย่างไร แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการแต่งกายของมุสลีมะห์ ถึงแม้เขาอาจจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายภายในวันนี้ แต่ตนก็คาดหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดีขึ้นได้

ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ดอกไม้ช่องามที่จะเป็นความหวังแก่สังคมมุสลิมช่อนี้ จะเติบโตขึ้นเพื่อจรรโลงให้สังคมตระหนักถึงความดีงามต่อไป

การรวมกลุ่มเยาวชนจากจำนวนไม่กี่คนสู่การขับเคลื่อนประเด็นที่ใกล้ตัวของกลุ่มผู้หญิงถือเป็นก้าวเล็กๆ ที่สำคัญในการสร้างความเข้าใจร่วมและสื่อสารกับคนอื่นๆ ให้เข้าใจในอลักษณ์ของมุสลีมะห์ หรือ ผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลามค่ะ

งานเขียนชิ้นนี้สื่อสารโดยสำนักสื่อ WARTANI ชมคลิป https://www.youtube.com/watch?v=7SRZA1A7HjA