Skip to main content
แปลโดย
ตูแวดานียา มือรีงิง
บรรณาธิการสำนักข่าวอามาน 

หมายเหตุ : รายงานชิ้นนี้แปลจากรายการโลกประจำสัปดาห์ (DUNIA MINGGU INI - DMI) ทางทีวี 3 มาเลเซีย ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558

มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยการความสะดวกถูกมองว่าเงียบเชียบ หลังจากที่เกิดความขัดแย้งทางทางการเมืองในประเทศช้างเผือกแห่งนี้ แต่ในความจริงคือ มาเลเซียไม่เคยหยุดนิ่งในความพยายามในการหาช่องทางต่อการดำเนินการพูดคุยเพื่อสันติภาพชายแดนใต้นับตั้งมีการลงนามเมื่อวันที่ 28  กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา  ในทางลับแล้ว ดาโต๊ะซัมซามิน ผู้อำนวยความสะดวกคณะทำงานร่วม (Joint Working Group) ได้วางแผนเพื่อการพูดคุยโดยท่านได้แบ่งกลุ่มสังคมในภาคใต้ออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มขบวนการติดอาวุธและกลุ่มภาคประชาสังคม โดยที่ไม่อยากให้มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องตกหล่นจากการมีส่วนร่วมในการพูดคุยสันติภาพในครั้งต่อไป

“เรากำลังพยายามเพื่อที่จะได้มาซึ่งความร่วมมือและข้อเรียกร้องต่อเป้าหมายของฝ่ายขบวนการว่าพวกเขาต้องการอะไร นี่คือสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มขบวนการ พวกเขากำลังระดมความคิดเห็นและข้อเรียกร้องเพื่อรวบรวมข้อเรียกร้องต่างๆ ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ และเช่นเดียวกัน เรากำลังรวบรวมข้อเรียกร้องจากฝ่ายภาคประชาสังคมด้วย” ดาโต๊ะซัมซามินกล่าว

ข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายจะถูกรวบรวมและนำมาพูดคุยบนโต๊ะการเจรจาที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับฝ่ายขบวนการก่อนกลางปีนี้ที่มาเลเซีย

“เราไม่อยากให้มีการเร่งรีบในการพบกันของทั้งสองฝ่าย เราต้องการให้ทุกอย่างดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน ในเมื่อกระบวนการนี้สามารถดำเนินการได้ จะได้ไม่ถูกกดดันจากปัญหาต่างๆ”ผู้อำนวยการอำนวยความสะดวกกล่าว

ที่สำคัญคือประสานงานระหว่างข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงสันติภาพเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือการสูญเสียชีวิตในอนาคต จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำฝ่ายรัฐบาลไทยไม่เร่งรีบการพูดคุยกับขบวนการ

“ผมว่าความกดดันในส่วนของรัฐบาลที่จะเข้าไปเร่งสู่การพูดคุยสันติภาพนั้นก็ลดน้อยลง ขณะเดียวกันสิ่งนี้จะเป็นการกดดันทางฝ่ายขบวนการเองว่า อำนาจต่อรองการพูดคุยก็จะลดน้อยลงด้วย ทำให้เกิดช่องว่างเกิดขึ้นในช่วงนี้” ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าว