Skip to main content

อสนียาพร   นนทิพากร letter-spacing:-.3pt">

letter-spacing:-.3pt">สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) ร่วมกับมูลนิธิศักยภาพชุมชน และเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ จัดกิจกรรมเสวนาครบรอบ 1 ปี Bicara Patani “ตอบโจทย์พื้นที่ทางการเมืองปาตานีหรือไม่?เมื่อวันที่ 21 ก.ย.57 ที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ซึ่งเวทีเสวนาในวันนั้นมีการเสวนากันในหัวข้อ ทำไม Bicara Patani ต้องมี?และ อนาคตปาตานีกับวาทกรรมสันติภาพและสันติสุขมีผู้เข้าร่วมประมาณ 4,500 คน

การจัดเสวนาในหัวข้อ ทำไม Bicara Patani ต้องมี?

ผู้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อนี้ประกอบด้วย นายฮารา ชินทาโร่ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ที่ปรึกษาองค์กร NUSANTARA นายฮากิม พงติกอ รองประธาน PerMAS นางรอมละห์ แซเยะ (ภรรยานายมูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ) ตัวแทนสตรีที่ได้รับผลกระทบใน จชต. และนายเจ๊ะมุ มะมัน (บุตรถูกยิงเสียชีวิต 3 คน เมื่อ 2 ก.พ.57) โดยมีนายซาฮารี เจ๊ะหลง เป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที

ประเด็นความคิดเห็นของอาจารย์ฮารา ชินทาโร่ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งได้กล่าวว่า เวที Bicara Patani เป็นเวทีที่ใช้ภาษามลายู เพื่อที่สะท้อนความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ในเรื่องการเมือง กฎหมาย สิทธิหน้าที่ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน จชต.ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งใช้ภาษาต่างประเทศ อาทิ ภาษาอังกฤษ อาหรับ เพื่อให้ต่างชาติเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นใน จชต.ได้อย่างถูกต้อง

letter-spacing:.2pt">อาจารย์ฮารา ชินทาโร่ ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของภาษามลายูถิ่น ผู้เขียนเองเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์คงอยู่ในเรื่องอัตลักษณ์ ประเพณี และวัฒนธรรมของปาตานี แต่อุปสรรคของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้คือปัญหาเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน เจ้าหน้าที่ที่ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่นไม่เข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ หลายต่อหลายครั้งที่มีการสื่อสารคลาดเคลื่อน การตีความไม่ตรงกัน ส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อกันซึ่งปัญหาดังกล่าวก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ยังคงเป็นประเด็นมาจนถึงทุกวันนี้ เลยเกิดช่องว่างในการเรียนรู้ทำความเข้าใจระหว่างกัน

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของการใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสาร ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีที่ยังคงอัตลักษณ์นี้ไว้อยู่คู่กับท้องถิ่น แต่เป็นจุดอ่อนให้กับหน่วยงานภาครัฐในการเข้าถึงประชาชน การเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง เลยแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน กลับเป็นโอกาสให้กับกลุ่มผู้มีความคิดต่างจากรัฐ เข้าทำการโฆษณาชวนเชื่อ บิดเบือนข้อมูล ด้วยการทิ้งใบปลิว แขวนป้ายผ้าทำการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือรัฐ ควบคู่กับการปล่อยข่าวลือส่งผลให้สังคมมุสลิมปั่นป่วน เพราะชาวบ้านได้รับฟังแต่เรื่องที่ไม่เป็นความจริง

ขณะที่นายฮากิม พงติกอ รองประธาน PerMAS นายเจ๊ะมุ มะมัน และนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ที่ปรึกษาองค์กร NUSANTARA เรียกร้องให้ประชาชนใน จชต. กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนในทุกเรื่อง และลุกขึ้นต่อสู้นำสิ่งที่เคยเป็นของตนกลับคืนมา โดยไม่ยอมให้ใครมากำหนดชะตากรรมของตน แต่จะต้องเป็นคนกำหนดชะตากรรมเอง

ขณะเดียวกันมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แสดงความคิดเพิ่มเติมว่า เกิดอะไรขึ้นกับคนปาตานีที่เคยร่ำรวยมาก แต่กลับไม่มีแผ่นดินเป็นของตัวเอง ซึ่งต่างกับพม่า หรือกัมพูชาที่ยากจนแต่มีแผ่นดินเป็นของตัวเอง ดังนั้นพวกเราคนปาตานีต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อให้ได้แผ่นดินของเราคืนมา

การปลุกระดมในลักษณะนี้มีให้เห็นกันมาอย่างต่อเนื่องทั้งในเวที และนอกเวทีของการเสวนา เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนปาตานีลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาลไทย โดยเฉพาะกลุ่ม PerMAS ที่มีการจัดเวทีเสวนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีกลุ่มขบวนการคอยบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลอมประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อว่าปัตตานีและอีกหลายจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของมลายู แต่ต้องเสียดินแดนให้ไทยเพราะอังกฤษเข้ามารุกราน แล้วอังกฤษก็แบ่งส่วนนี้ให้ประเทศไทยเข้าทำการยึดครอง

เมื่อประเทศมลายูทั้งหมดได้รับเอกราชจากอังกฤษ แต่ประเทศไทยไม่ยอมให้เอกราชแก่ปัตตานีแม้เพียงตารางนิ้วเดียว

สิ่งเหล่านี้คือการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

ความจริงในประวัติศาสตร์นั้น ปัตตานีและอีกหลายจังหวัดในแหลมมลายู เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ไทรบุรี เป็นต้น ปัจจุบันนี้ก็ยังมีหมู่บ้านไทยตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน รัฐเปอร์สิส และเมืองอะโรสตาร์ หมู่บ้านบางหมู่บ้านยังมีชื่อไทยอีกด้วย เช่น หมู่บ้านนาคา คนไทยในประเทศมาเลเซียพูดไทยสำเนียงกรุงเทพฯ ยังไงยังงั้น เหมือนคนบางกอกไม่ผิดเพี้ยน

ดินแดนปัตตานี เป็นของประเทศไทยตั้งแต่โบราณกาล แต่เนื่องด้วยคนมลายูได้อพยพเข้ามามาก ประกอบกับนับถือศาสนาอิสลาม จึงอ้างไปส่งเดชว่า ไทยปกครองปัตตานีมายาวนาน ไม่ยอมคืนเอกราชให้

การจัดเสวนาในหัวข้อ อนาคตปาตานีกับวาทกรรมสันติภาพและสันติสุข

ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ประธานมูลนิธิศักยภาพชุมชน นายตูแวดานียา ตูแวแมแง ผอ.สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) นายยูวันดา ญามาล ตัวแทนภาคประชาสังคมจากอาเจะห์ อินโดนีเซีย นายฮัร สารีมะเจ๊ะ ตัวแทน LEMPAR โดยมี นายชารีฟ สะอิ เลขา Insouth เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นตรงกันว่า กระบวนการสันติภาพหรือสันติสุขจะเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ภายใต้ประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ และมีเสรีภาพในการกำหนดชะตากรรมตนเอง รวมทั้งทหารต้องลดบทบาทในพื้นที่ลง เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ในการกำหนดชะตากรรมของตนเองอย่างเสรีและปลอดภัยขึ้น

อยากทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านก่อนว่า วาทกรรม ที่เรียกร้องบนเวทีเสวนาเป็นเพียงแนวความคิดของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ที่มีการปักธงไว้ล่วงหน้าแล้วในการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพได้เปิดไว้กว้างแล้วสำหรับประชาชนทั่วไปที่มีการระดมแนวความคิดเพื่อหาทางออกของปัญหาร่วมกันในระดับเวทีย่อยอยู่แล้ว

ส่วนการเรียกร้องให้ทหารลดบทบาทในพื้นที่ลง เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ในการกำหนดชะตากรรมของตนเองอย่างเสรีและปลอดภัยขึ้น เป็นการเรียกร้องที่สวนกระแสของประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ จากผลการประเมินรอบ 1 ปี ของการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งได้ผลสรุปออกมาว่า ความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือมากที่สุดคือ การส่งเสริมอาชีพ มีรายได้ มีงานทำ ส่วนความต้องการในลำดับถัดมาคือ การแก้ปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดอย่างหนัก การให้ความสำคัญในด้านการศึกษา ความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งแสดงว่าประชาชนยังต้องการให้เจ้าหน้าที่ดูแลอยู่

ผลการประเมินข้าราชการที่ประชาชนพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อันดับหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ทหาร ส่วน จ.สงขลา อันดับหนึ่ง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ รองมาคือเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งยังไม่มีพื้นที่ไหนที่ต้องการขับไล่เจ้าหน้าที่ทหารออกนอกพื้นที่

ด้านนายตูแวดานียา ตูแวแม ได้กล่าวว่า หลังจากรัฐประหารคำว่าสันติภาพหายไป เหลือเพียงคำว่าสันติสุข ขณะที่นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ มีความเห็นว่า ต้องทำประชามติก่อนมีการพูดคุยเพื่อสันติสุข เพื่อรับฟังความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียเสียที่สำคัญ

ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าไม่ว่าจะใช้คำว่า สันติภาพ หรือ สันติสุข จุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกันคือ นำความสงบสุขกลับคืนมาให้กับคนในพื้นที่ จชต.หากมองอย่างใจเป็นกลางกับการใช้คำว่า สันติสุขน่าจะมีความเหมาะสมกว่า เมื่อประชาชนเกิดสันติสุข อยู่ดีกินดี มีความพร้อม อะไรๆ ก็ง่ายไปหมดจะพัฒนาไปในทิศทางใดไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป ขออย่างเดียวกลุ่มหรือองค์กรที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ จชต.ไม่ควรที่จะปลุกระดมสร้างกระแสการกำหนดชะตากรรมของตนเอง (RSD) นำไปสู่การลงประชามติเพื่อแยกตัวอิสระในการปกครองตนเอง ถือว่าเป็นเรื่องกระทบความมั่นคงแห่งรัฐ กลุ่ม PerMAS พยายามสร้างเงื่อนไขมติ UN ที่ 1514 (XV) ลงวันที่ 14 ธ.ค.1960 เรื่องการให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม ซึ่งปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว ท่านผู้อ่านก็ลองใช้วิจารณญาณไตร่ตรองดูว่าการกระทำของบุคคลบางกลุ่มที่พยายามสร้างเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อเหตุผลกลใด? หรือเพื่อใคร?

ขอบคุณภาพประกอบจาก Wartani