Skip to main content

 

 

 อิสลามและมุสลิมในประเทศอังกฤษ :  อิสลามพิชิตตะวันตก ตอนที่ 2

บุรฮานุดดีน อุเซ็ง

                                                                           แปลและเรียบเรียง

                                                                                        

 นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 80 ถึงต้นศตวรรษที่ 90 นับเป็นความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นกับชุมชนมุสลิมในอังกฤษอีกวาระหนึ่งแต่น่าจะกล่าวว่าเป็นความพ่ายแพ้ของมุสลิมทั่วโลกก็ได้  นั้นคือเหตุการณ์การตีพิมพ์หนังสือที่จาบจ้วงล่วงเกินและดูหมิ่นศาสนาอิสลามชื่อ The Satanic Verses. (โองการปีศาจ) อาจกล่าวได้ว่าไม่เคยมีหนังสือเล่มใด เรื่องใด ที่สามารถสร้างความโกรธแค้น และก่อให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยความเกรี้ยวกราด สร้างความน่าขยะแขยงที่สุดของมุสลิมทั่วโลก ที่มีต่อสำนักพิมพ์ Viking / Penguin:ผู้จัดพิมพ์ขึ้นในเดือนกันยายน  พ.ศ. 2531 (ค.ศ.1988)  ไม่เคยมีหนังสือเล่มใดที่มีลักษณะเช่นหนังสือเรื่อง The Satanic Verses หนังสือที่ถูกใช้เป็นหนังสืออ้างอิง ใช้เป็นเครื่องมือในการกล่าวหา จาบจ้วง โจมตีอิสลามซึ่งเขียนโดยผู้ที่อ้างว่าเป็นมุสลิมคนหนึ่งเอง ตลอดจนผู้มีเจตนาร้ายสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกล่าวหาชาวชุมชนมุสลิมในตะวันตกได้ดีที่สุดเท่ากับหนังสือเล่มนี้  และเช่นเดียวกันก็ไม่มีหนังสือเล่มใดที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิต บาดเจ็บจำนวนมากในโลกมุสลิมเนื่องจากความโกรธแค้นการจัดพิมพ์นี้  และไม่มีหนังสือเล่มใดเป็นต้นเหตุของการสร้างความเข้าใจผิดและสร้างความเป็นปรปักษ์ทำให้เกิดการต่อต้านอิสลามในตะวันตกเท่ากับหนังสือชื่อ The Satanic Verses  การดูหมิ่นดูแคลนกลายเป็นฉนวนความขัดแย้งระหว่างมุสลิมและวัฒนธรรมเสรีของตะวันตก

ผลที่เกิดตามมาคือ ชาวมุสลิมที่ถูกได้รับดูถูกการเยาะเย้ยเหยียดหยามและเหน็บแนม นับเป็นปฏิกิริยาที่สนองตอบต่อมุสลิม แทนที่พวกเขาจะพยายามศึกษา หรือทำความเข้าใจความละเอียดอ่อน ในทัศนะของมุสลิม  ความลึกซึ้งในความรู้สึกและยอมรับฟังความคิดเห็นของอิสลามและมุสลิม พวกเขากลับใช้วิธีการโต้ตอบการต่อต้านอิสลามและยิ่งรุกโหมต่อชุมชนมุสลิมด้วยความรู้สึกปรามาสและยิ่งดูหนักข้อขึ้นยิ่งขึ้น กลายเป็นการโหมกระพือความโกรธแค้นต่อต้าน ข้อกล่าวอ้างถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการตรวจสอบและเซ็นเซอร์ 

กรณี ซัลมาน รุชดี (Salman Rushdie)[1]

นับเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่สื่อสารมวลชนได้ใช้จังหวะโอกาสนี้ เป็นเครื่องมือในการโต้ตอบแก้เผ็ดอิสลาม ด้วยการข่มและกล่าวหาผู้เป็นเหยื่อ ให้กลายเป็นผู้ร้ายและอาชญากร จากผู้ที่เป็นผู้ถูกกดขี่ กลับกลายเป็นผู้กดขี่ขมเหง จากผู้บริสุทธิ์กลายเป็นผู้มีมลทิน การใช้วิธีการสร้างหมอกอำพรางจากความยุ่งเหยิงของเหตุการณ์ เพิมเชื้อการใส่ความให้ร้ายและการผูกพยาบาท บิดเบือนแก่ผู้ที่ไม่รู้เท่าถึงการณ์ นำสู่ความเกลียดชังและกลัวอิสลามอย่างไร้เหตุผล (Islamophobia) การกล่าวหาและต่อต้านอิสลามโดยสื่อ ค่อยๆเพิ่มกระแสด้วยปรากฏการณ์ที่เหลวไหลไร้สาระจนเกิดการต่อต้านมุสลิมที่เมืองแบรดฟอร์ด ,ชุมชนมุสลิมอังกฤษและตลอดจนมุสลิมทั่วโลก

ประเด็นที่น่าสนใจ คือกระบวนการการรณรงค์ต่อต้านหนังสือ The Satanic Verses ของชุมชนมุสลิมในอังกฤษที่ดำเนินการด้วยวิธีการสันติ อหิงสา ตามลำดับ  คือ

            -หนึ่ง ทำหนังสือคัดค้าน ต่อสำนักงานผู้จัดพิมพ์ และเรียกร้องให้สำนักพิมพเพิกถอนการจัดพิมพ์ และพร้อมทั้งแสดงความขอโทษ

             -สอง  ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนากรัฐมนตรี อังกฤษ โทนี แบลร์

            -สาม  ทำหนังสือขึ้นถวายฏีกา ทูลต่อสมเด็จราชินีควีนอลีซาเบธ

             -สี่     ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาอังกฤษ

 ความพยายามที่จะบรรเทาความขุ่นข้องหมองใจของชาวชุมชนมุสลิมในอังกฤษ  และเพื่อการยึดมั่นด้วยวิธีการสันติ อหิงสาชุมชนมุสลิมในอังกฤษจึงได้จัดให้มีการเดินขบวนประท้วงอย่างสงบทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

ชุมชนมุสลิมในอังกฤษ

ชุมชนมุสลิมในแบรดฟอร์ด ได้ทำการประท้วงด้วยการเดินขบวนประท้วง ด้วยการใช้สัญลักษณ์ของความไม่พอใจ คือการเดินขบวนประท้วงและการเผาหนังสือ The Satanic Verses ในที่สาธารณะ

มุสลิมในฐานะผู้เสียหายตามกฎหมายการรักษาความสงบเรียบร้อยสาธารณะ (the Public Order Act) ได้ไปแจ้งความดำเนินคดี  และมีการติดตามผลการดำเนินการ ต่อผู้อำนวยการสำนักงานอัยการ เพื่อให้มีการใช้กฎหมายดังกล่าวในการดำเนินคดีต่อผู้เขียนหนังสือ (ซัลมาน รุชดี) แต่ทั้งหมดกลับเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีผลตอบสนองในทางปฏิบัติ และมีมุสลิมมุสลิมบางท่านได้ยื่นร้องต่อศาลสูงและแจ้งดำเนินคดีตามกฎหมายลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา(the Law of Blasphemy) ตามกระบวนการของนิติรัฐ

 อย่างไรก็ตามการดำเนินการที่พอมีผลบ้าง เมื่อศาลสูงวินิจฉัยว่า กฎหมายลบหลู่ดูหมิ่น มีเจตนารมณ์ใช้กับกรณีผู้ใดทำการลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาคริสต์นิกายแองกลิแคนเท่านั้น  แต่เมื่อมุสลิมยื่นอุทธรณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลครอบคลุมต่อการลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น เช่นอิสลามด้วยเช่นกัน

  แต่อย่างไรก็ตาม มีนักการเมืองสายเซคิวลาร์ หรือ ฆราวาสโลกีย์ และสายเสรีนิยมสนับสนุนผู้นำศาสนาให้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการดูหมิ่นศาสนา แทนที่จะมีการยอมรับในความเท่าเทียมความเสมอภาค มุสลิมในอังกฤษได้รับการเลือกปฏิบัติ เช่นเดียวกับผู้นับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์นิกายคาธอลิค ทีก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนี้เช่นเดียวกัน

ในความพยายามที่จะแก้ไขวิกฤติกาลนี้ ผู้นำมุสลิมในอังกฤษเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย, ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน, และมีการร้องเรียนด้วยการเข้าพบและให้คำให้การและร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการความเสมอภาคทางเชื้อชาติ (Commission For Racial Equality) แต่ก็ยังไม่มีผลมากนัก แต่มุสลิมได้รับความเห็นอกเห็นใจ และมีความเข้าใจในความรู้สึกของมุสลิมในการรณรงค์ที่ไม่ได้ขัดกับหลักการเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการพูดที่ละเมิดและลบหลู่ล่วงเกินในสิ่งที่เคารพ การลบหลู่ดูหมิ่นด้วยความหยาบคาย และไม่อาจกดดันสำนักพิมพ์ได้

ประชาคมมุสลิมในอังกฤษและมุสลิมในตะวันตก ได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมอย่างกว้างขวาง ผ่านการลงมติขององค์กร OIC  และแถลงการณ์ประกาศอย่างเป็นทางการจาก มุฟตีแห่ง ซาอุดิอาระเบีย,อียิปต์ , สุลต่านแห่ง โซโกโต, ไนจีเรีย, อย่างไรก็ตาม มติจากที่ประชุมขององค์การ OIC ว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสและรุนแรงมีความจำเป็นเร่งด่วน ตามด้วยการเรียกร้องให้หามาตรการการลงโทษสำนักพิมพ์ผู้เกี่ยวข้อง และให้คงไว้ซึ่งคำพิพากษาประหารชีวิตของท่านอยาตุลลอฮฺโคมัยนี่อีกต่อไป เพื่อที่จะให้เห็นถึงการสนับสนุนประชาคมมุสลิมในอังกฤษและตะวันตก ผู้นำประเทศมุสลิมกลับไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการใช้วาทศิลป์ต่อกรณีที่เกิดขึ้นเท่านั้น และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการแสดงการกดดัน หรือเป็นรูปธรรม

การวินิจฉัย (ฟัตวา)ของอิหม่ามโคมัยนี ไม่มีผลหรือช่วยให้ประชาคมมุสลิม ซึ่งจะทำให้มีการหยิบยกและเบนความสนใจในการรณรงค์ หรือเบนความสนใจของสื่อโดยไม่สนใจในเนื้อหาของหนังสือและสำนักพิมพ์ผู้รับผิดชอบ กลับไปสนใจแค่ตัวผู้ประพันธ์เพียงอย่างเดียว  มุสลิมในอังกฤษอธิบายถึงการวินิจฉัย (ฟัตวา)ของอิหม่ามโคมัยนีว่าแม้จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักการและทฤษฏี แต่ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในดินแดนอังกฤษ เหมือนกับการประยุกต์ใช้กฎหมายอิสลามในประเทศอังกฤษนั้นเอง

อย่างไรก็ตามถือเสมือนดัง“เสียงของการรณรงค์ของพวกเขาได้จมดิ่งไปในทะเลแห่งการกล่าวหาของบรรดาสื่อ” พวกแซคิวลาร์หรือนักฆราวาสโลกีย์หัวอนุรักษ์นิยมกลับใช้โอกาสกล่าวหาว่ามิใช่แค่การวินิจฉัย (ฟัตวา) ของอิหม่ามโคมัยนีว่า อิสลามเป็นศาสนาที่มีปฏิกิริยารุนแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและถือทิฐิไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่นเท่านั้นและเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษควรขับไล่นักรบมุสลิมหัวรุนแรงออกจากประเทศนี้ หรือไม่ก็ควรดำเนินคดีกับมุสลิมในข้อหาการต่อต้านนักประพันธ์ ซึ่งเป็นพลเมืองของอังกฤษ

การรณรงค์ของมุสลิมในอังกฤษต่อต้านการละเมิด การลบหลู่ดูหมิ่นลวงเกินต่อสิ่งที่เคารพนับถือ และเป็นหนังสือที่ดูหมิ่นหยาบคายที่สุด ทำให้มุสลิมในอังกฤษกลับมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีการหล่อหลอมจิตสำนึกความเป็นเอกภาพความสามัคคีให้แน่นเฟ้นที่สุดนับเป็นประวัติการณ์ของมุสลิมในอังกฤษ  ภายใต้ความอุปถัมภ์ขององค์กรคณะกรรมการกำกับกิจการศาสนาอิสลามแห่งอังกฤษ (the United Kingdom Action Committee on Islamic Affairs) มีมัสยิดและองค์กรต่างๆในประเทศอังกฤษ ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ซึ่งยังคงไม่ดำเนินการใด และยังคงยึดมั่นยืนยันในรณรงค์ให้มีการเก็บหนังสือดังกล่าวและเสนอ ระเบียบข้อกฎหมายในการปกป้องอิสลามและความบริสุทธิ์แห่งศาสนา

กรณีการ์ตูนเดนมาร์กหมิ่นศาสนา[2]

ความทรงจำของประชาคมมุสลิมทั่วโลกเกี่ยวกับขุ่นเคืองและมีความข่มขื่นจากการจัดพิมพ์

และจำหน่ายหนังสือมีเนื้อที่ดูหมิ่น ลบหลู่และจาบจ้วงศาสนาอิสลามของ ซัลมาน รุชดี ชื่อหนังสือThe Satanic Verses  ในปีพ.ศ. 2531 (ค.ศ.1988) ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งเมื่อนักเขียนการ์ตูน

ชาวเดนมาร์คเขียนภาพการ์ตูนล้อเลียนและดูหมิ่นท่านศาสดาฯ และมีการตีพิมพ์ภาพดังกล่าวจำนวน 12 ภาพ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ปีพ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) หนังสือพิมพ์อันทรงอิทธิพลของพวกขวาจัด หนังสือพิมพ์ Jyllands Posten ในประเทศเดนมาร์ค ประเทศเล็กๆในยุโรป จึงเป็นเรื่องปกติที่ก่อเกิดกระแสความขุ่นเคืองไม่พอใจแก่ชาวมุสลิมทั่วโลก ส่งผลทำให้ชาวมุสลิมทั่วโลกมีความเดือดดาล ปะทุด้วยความโกรธ มีการประท้วงมีการก่อความรุนแรงเป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิต ในประเทศต่างๆ เช่นอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, ลิเบีย และไนจีเรีย

  ขณะที่มุสลิมทุกแห่งหนทั่วโลกต่างกำลังตกอยู่ในความรู้สึก สับสน และเศร้าใจ และโกรธแค้นกับเหตุการณ์ต่างๆกับกรณีประเทศอัฟกานิสถาน อิรัค ถูกกองกำลังสหรัฐอเมริการุกรานบุกโจมตีและเข้ายึดครองประเทศ, กรณีฉาวโฉ่และอัปยศอดสูที่สุดเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงข่มเหงนักโทษที่เรือนจำ อบูคราอิบ (Abu Ghraib) โดยน้ำมือของทหารสหรัฐอเมริกา , การใช้ความรุนแรงด้วยการใช้อำนาจที่มิชอบต่อวัยรุ่นชาวอิรัคโดยกองทัพอังกฤษ,  การยืนฉี่รดคัมภีร์อัลกุรอาน และฉีกเทลงในโทส้วมในค่ายที่อื้อฉาวค่ายอ่าวกวนตานาโม(Guantanamo Bay) ตลอดจนเหตุการณ์อื่นๆที่สร้างความอัปยศ  และมีลักษณะของการดูถูกดูหมิ่น และสร้างความโกรธแค้นต่อพี่น้องมุสลิมทั่วโลก

เมื่อมุสลิมถูกดูถูกดูหมิ่นสร้างความคับแค้น เป็นแรงกดดันใหม่ที่เกิดจากนักเขียนการ์ตูนชาวเดนมาร์คเขียนการ์ตูนล้อเลียน จาบจ้วงดูหมิ่นท่านศาสดามุฮัมมัด ศอลฯ  และยังมีการท้าทายด้วยการตีพิมพ์ซ้ำอีกในหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ ในประเทศยุโรปหลายๆประเทศ โดยอ้างในนามของความมีเสรีภาพในการคิดและเสรีภาพในการพูด และยังได้รับความคุ้มครองจากชาวยุโรปว่าเป็นสิทธิเสรีภาพอันเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเซคิวล่าร์ของชาวตะวันตก ในขณะที่มุสลิมกำลังตกอยู่ในห้วงของอารมณ์ความโกรธแค้นในหลายๆเรื่องที่ประดังเข้ามาและรู้สึกผิดหวังกับกรณีของ Abu Ghraib   และกรณีของ   Guantanamo Bay  เรื่องราวของการ์ตูนล้อเลียนจาบจ้วงท่านศาสดา ศอลฯ จึงเป็นเสมือนเป็นการราดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่กองไฟ สร้างความโกรธแค้นและเกลียดชังจากการดูถูกดูหมิ่น ปรามาสอิสลาม สร้างความรู้สึกหวาดกลัวอิสลามอย่างไร้เหตุผล (Islamophobia) นับเป็นความรุนแรงอย่างสุดกู่ จนไม่มีทางออกหรือระบายความโกรธแค้นและความขมขื่นได้

 

มิใช่เพียงแค่นั้น  ยังมีการดูถูกดูหมิ่นคำสอน จึงก่อให้เกิดความขาดความอดทนอดกลั้นโดยเฉพาะมี  ม๊อบในกลุ่มประเทศมุสลิมชายขอบทำการเผาสถานเอกอัครราชทูต  การข่มขู่โจมตีและทำร้ายร่างกายชาวต่างชาติ การประกาศให้รางวัลค่าหัว ตามล่าผู้วาดภาพการ์ตูนล้อเลี่ยน

หนึ่งในจำนวน 12 ภาพการ์ตูนล้อเลียน เป็นภาพของท่านศาสดาฯ มุฮัมมัด ศอลฯ มีลูกระเบิดที่จุดฉนวนแล้วโผล่ด้านซ้ายมือที่ซ่อนไว้บนผ้าโพกหัวด้วยผ้าสารบั่น คำเขียนภาษาอาหรับ (กาลีมะฮฺซาฮาดะฮฺ)เขียนบนลูกระเบิด แม้ในรูปภาพผู้เขียนมิได้อธิบายภาพ แต่เป็นภาพที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าท่านศาสดาฯ คือหัวหน้าผู้ก่อการร้าย และเป็นผู้ประกาศสาส์นของการก่อความรุนแรงและทำให้บรรดาสาวกทั้งหลายยึดถือการก่อความรุนแรงอย่างแท้จริง

ยังมีภาพการ์ตูนล้อเลียนอีกภาพหนึ่งที่เขียนข้อความใส่ร้าย เป็นภาพของท่านศาสดาฯ ศอลฯ ยืนกางแขนบนก้อนเมฆ กำลังแสดงความยินดีกับวิญญาณของผู้พลีชีพด้วยการระเบิดฆ่าตัวตาย และตะโกนด้วยคำว่า “ จงหยุด จงหยุด เราได้ใช้พรหมจรรย์จนหมดแล้ว”

 เริ่มต้นด้วยประชาคมมุสลิมในเดนมาร์ค โกรธและตกใจอย่างรุนแรง จากพฤติการณ์ที่หยาบช้าของภาพการ์ตูนล้อเลียน จึงได้ทำการประท้วงคัดค้านการพิมพ์โดยผู้นำมุสลิม 11 องค์กรลงนามในหนังสือร้องเรียนถึงสำนักหนังสือพิมพ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบที่น่าพึงพอใจ  มุสลิมในเดนมาร์คจึงรวบรวมลายเซ็นประชาชนกว่า 17,000 รายชื่อยื่นฏีกาต่อนายกรัฐมนตรีแอนเดอร์ส  ฟอร์จ ราสมุสเส็น (Anders  Forgh Rasmussen )  เรียกร้องให้มีการขอโทษ แต่ก็ทำได้แค่การยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเท่านั้น  ผู้นำชุมชนมุสลิมในเดนมาร์ค พยายามเข้าพบกับบรรดาเอกอัครราชทูตประเทศมุสลิม 11 ประเทศ  เพื่อให้มีการติดต่อขอพบกับนายกรัฐมนตรีเดนมาร์ค  แทนที่รัฐบาลจะตอบรับผู้แทนเอกอัครราชฑูตประเทศมุสลิมทั้ง 11 ประเทศ นายกรัฐมนตรี Anders  Forgh Rasmussen  กลับปฏิเสธการขอเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และการให้ข้อมูล นับว่ารัฐบาลเดนมาร์คประเมินต่ำและผิดพลาดอย่างร้ายแรง แทนที่จะแสวงหาโอกาสสร้างสัมพันธ์ไมตรี กลับเป็นการแสดงออกถึงความไม่เอาใจใส่ตอบสนองเจตนารมณ์ที่ดีของเอกอัครราชทูต นับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงต่อโลกมุสลิม และอาจกล่าวได้ว่าการตัดสินใจของรัฐบาลเดนมาร์คเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างรุนแรงที่เดียว

หนทางการพูดคุย หรือเจรจาถกกับรัฐบาลและสื่อมวลชนเดนมาร์คถูกปิดประตูลงอย่างสิ้นเชิง ระยะกว่าสองเดือนเศษ ประชาคมมุสลิมเดนมาร์คจึงตัดสินใจเข้าหารัฐบาลมุสลิมในตะวันออกกลางเพื่อแสวงหาการสนับสนุนการต่อสู้กับการจาบจ้วงการล่วงเกินในสิ่งที่เคารพ  ข่าวสารความเจ็บปวดจากการจาบจ้วงละเมิดท่านศาสดาฯ ศอลฯ กระจายอย่างกว้างขวาง และรวดเร็วด้วยความทันสมัยของเครื่องมือ สื่อสารอิเล็คโทรนิค เช่นโทรศัพท์ มือถือ , อีเมล์, เว็ปไซด์, และเครื่องมือสื่อสารอิเล็คโทรนิคอื่นๆได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง แต่กลับมีความแตกต่างในการเคลื่อนไหวในประเทศอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, ลิเบีย, เยเมน, และโซมาเลีย การเคลื่อนไหวในการประท้วง การเดินขบวนในตะวันตกมีผู้เข้าประท้วงจำนวนมากและเป็นไปในลักษณะการประท้วงอย่างสงบสันติ อหิงสา ภูมิฐานภายใต้กรอบของกฎหมาย

การเดินขบวนประท้วงบนถนนในโลกอาหรับเป็นผลทำให้เกิดการบอยคอตทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลเดนมาร์ค ด้วยไม่ซื้อสินค้าในห้างสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ของเดนมาร์คในซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และประเทศอาหรับรอบอ่าว ด้วยการเริ่มเก็บสินค้าจากเดนมาร์คออกจากหิ้งที่วางจำหน่าย ขณะที่ไม่ว่าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดนมาร์คหรือคณะผู้แทนรัฐบาลเดนมาร์ค ต่างก็ไม่นึกเฉลียวใจว่า ความโกรธแค้นที่ระอุในใจนี้เป็นต้นเหตุที่เกิดจากภาพการ์ตูนล้อเลียนท่านศาสดาฯ ศอลฯ จะเป็นต้นเหตุของการบอยคอตทางเศรษฐกิจ และทำให้รัฐบาลประเทศ ซาอุดิอาระเบีย, ลิเบีย, อียิปต์, และรัฐบาลอีกหลายประเทศต่างเรียกตัวเอกอัครราชทูตกลับประเทศเป็นการแสดงการประท้วงรัฐบาลเดนมาร์คในกรณีดังกล่าว

สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จนเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปีพ.ศ. 2549(ค.ศ.2006) เมื่อนายกรัฐมนตรีแอนเดอร์ส  ฟอร์จ ราสมุสเส็น (Anders  Forgh Rasmussen) และหัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน จิลแลนด์ โพสเตน Jyllands - Posten ของเดนมาร์คออกมา แสดงความเสียใจและขอโทษ ภายหลังระยะเวลา 3 เดือนเศษที่มีการพิมพ์ภาพการ์ตูนเจ้าปัญหา Carsten Juste หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน Jyllands - Posten กล่าวว่า “ในทัศนะของเรา ภาพวาดการ์ตูนจำนวน 12 ภาพแม้จะถือว่าไม่ได้เป็นการเหยียดหยามดูหมิ่น ทั้งยังไม่เป็นการละเมิดกฎหมายของเดนมาร์คแต่ประการใด แต่เราก็ไม่อาจต้านทานกระแสการต่อต้านของมุสลิมจำนวนมากได้  ซึ่งเราจำเป็นต้องขอโทษ”

   และตามมาด้วยคำแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีที่ยืดยาวไม่เป็นสาระเป็นที่น่าเบื่อหน่าย แต่กลับมีคำกล่าวขอโทษที่แสนสั้น ทำให้มุสลิมส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจ นายกรัฐมนตรีกล่าว่า “ผมเองโดยส่วนตัวแล้ว มีความเคารพต่อความรู้สึกที่เกี่ยวข้องในศาสนาของผู้อื่นอยู่แล้ว โดยส่วนตัวของผมแล้วจะกระทำการหรือไม่ละเมิดกล่าวหา ท่านศาสดาฯ มุฮัมมัด, ท่านเยซู (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) หรือท่านศาสดาแห่งศาสนาอื่นใดซึ่งเป็นพฤติกรรมแห่งการละเมิดผู้อื่น”

 

ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปคำแถลงการณ์ว่า “ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคำขอโทษ สำหรับการจัดพิมพ์ภาพการ์ตูนที่พิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพในการพูดการแสดงความคิดเห็น”  ผลทำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศประเทศมุสลิม 11 ประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลเดนมาร์คพิจารณาลงโทษในความรับผิดขอบของนักเขียนการ์ตูน พร้อมกับขอให้คำยืนยันว่าการละเมิดจาบจ้วงเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก

องค์การ The Organization of Islamic conferences : OIC สันนิบาติอาหรับ (The Arab League) เรียกร้องให้สหประชาชาติ(United Nation) พิจารณาใช้มาตรการแทรกแซงบีบบังคับและแซงชั่นเดนมาร์ค และเรียกร้องให้สหภาพยุโรป พิจารณากระตุ้น เร่งเร้าให้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องความบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลาม และรวมถึงศาสนาอื่นๆ อย่างมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย เหมือนๆกับการเสนอให้มีการตรากฎหมาย ห้ามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  (Holocaust denial) เช่นเดียวกับ กรณีการฆ่าล้างเผาพันธ์ชาวยิวในอดีต

 ความขัดแย้งกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่มีการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง มีบทความจำนวนมาก, บทบรรณาธิการ,จดหมายสิ่งตีพิมพ์ โดยหนังสือพิมพ์ตะวันตก และมีบทความและโพสต์ข้อความผ่านอินเตอร์เน็ต การบอยคอตทางเศรษฐกิจด้วยการพร้อมใจกันไม่ซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากประเทศเดนมาร์ค โดยเฉพาะนม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มูลค่าประมาณวันละ $ 1,5 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประชาคมชุมชนมุสลิมในอังกฤษ ได้แสดงออกด้วยความชื่นชมพึงพอใจและแสดงความขอบคุณต่อสื่อสารมวลชนที่ละเว้นไม่มีการพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนซ้ำและละเว้นการออกนำเสนอทางโทรทัศน์

ในอิตาลีและประเทศอื่นๆบางประเทศมีการเรียกร้องให้นายโรเบร์โต คาลเดอรัล(Roberto  Calderal)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปฏิรูป แสดงการท้าทาย ให้เลิกการสวมใส่เสื้อ ที่เชิร์ตที่มีรูปภาพ การ์ตูนล้อเลียนท่านศาสดาฯ มุฮัมมัด ศอลฯ

การแสดงออกถึงความชื่นชมพอใจต่อผู้นำต่างศาสนา ผู้นำสาธารณะ เช่นเจ้าชายชาล์ส แห่งราชวงสศ์อังกฤษ,โคฟี่ อันนานและผู้นำอื่นที่ได้แสดงถึงความไม่สบายใจ และไม่พึงพอใจต่อการจัดพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนดูหมิ่นท่านศาสดาฯ เจ้าชายชาล์ส ได้ทรงมีพระราชดำรัสต่อประชาชนกว่า 800 คน ที่มหาวิทยาลัยอัลอัซฮาร์ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006)  ว่า

 “ต่อกรณีเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ความโกรธเคืองต่อการ์ตูนเดนมาร์คนั้น ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการไม่เอาใจใส่ละเลยและความล้มเหลวในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการไม่ให้เกียรติ เคารพต่อสิ่งที่เป็นที่เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของผู้อื่น”

นายกรัฐมนตรีเดนมาร์คกล่าวว่า “สถานการณ์รุนแรงที่เกิดจากเรื่องราวของการ์ตูน นับว่าเป็นวิกฤติที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกที่ 2 เป็นต้นมา”

ผู้นำศาสนา และผู้นำประเทศมหาอำนาจ ผู้นำองค์กรโลก แสดงออกเพื่อที่จะระงับป้องกันมิให้เหตุการณ์ หรือสถานการณ์เลวร้ายขยายตัวมากขึ้น ด้วยการสร้างความเข้าใจต่อกันเช่น แถลงการณ์ร่วม ซึ่งเป็นการร่วมลงนามโดยของเลขาธิการสหประชาชาติ นายโคฟี่ อันนัน, ดร.เอ็กมาเล็ดดีน  อิหฺซาโนกลู เลขาธิการ The Organization of Islamic conferences : OIC, ดร.ฮาเวียร์ โซลานา ประธานคณะนโยบายการต่างประเทศ สหภาพยุโรป (Dr.Javier Solana :the European  Union Foreign Policy Chief) ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ กล่าวว่า

“เราเชื่อว่าเสรีภาพในการตีพิมพ์  จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ และต้องมีความระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้อื่นโกรธเคือง และควรเคารพในความเชื่อ และคุณค่าของทุกศาสนา  แต่เราเชื่อว่า การก่อความรุนแรงเมื่อเร็วๆนี้ มากเกินข้อจำกัดของการประท้วงด้วยความสันติ อหิงสา”

สภาแนิจฉัยและการวิจัยแห่งยุโรป (The European council for Fatwa and Reserch : ECFR) โดยความร่วมมือกับปัญญาชนจำนวนหนึ่ง  ได้กล่าวประณามการ์ตูนหมิ่นศาสนา ที่ทำให้เกิดความโกรธเคืองและร้องขอให้บรรดาผู้มีความโกรธแค้นได้อดทนอดกลั้น ลดอุณหภูมิ ความรุนแรง และสนับสนุนให้มีการเปิดการเจรจาระหว่างกันทั้งสองฝ่าย และร่วมกันสร้างสรรค์ความสัมพันธ์อันดีระหว่างโลกมุสลิมและยุโรป

 องค์การ OIC  ยื่นข้อเสนอต่อ สหประชาชาติและองค์กรระดับโลกอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้อง ให้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับประเด็นการดูหมิ่นศาสนา และออกกฎหมายปกป้องความบริสุทธิ์ใจต่อความเชื่อ ความเคารพของชาวมุสลิมที่มีต่อท่านศาสดาฯ ให้มีสภาพบังคับและและกำหนดความผิดคล้ายๆกับกฎหมาย ป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust denial) เพื่อให้มีสภาพบังคับคล้ายกฎหมายอาญา

การเข้ารับศาสนาอิสลามของชาวอังกฤษพื้นเมือง

ทั้งๆที่มีขบวนการโฆษณาชวนเชื่อ กล่าวหา ใส่ร้ายต่อศาสนาอิสลามและต่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีพฤติการณ์กีดกัน ขัดขวางทั้งในระบบการศึกษา การจ้างงาน ต่อมุสลิม         ทำให้การกอบกู้ภาพและฟื้นฟูเป็นไปอย่างล่าช้า แต่ในทางกลับกันปรากฏว่าตัวเลขผู้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นไปอย่างมั่นคงไม่คลอนแคลน แม้ว่าไม่มีตัวเลขที่บันทึกอย่างเป็นทางการที่ระบุเป็นตัวเลขแน่นอน แต่โดยประมาณการแล้วมีชาวอังกฤษเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมากว่า 10,000 คนเศษแล้ว

ในห้วงระยะที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์เกิดขึ้นมากมายหลายเหตุการณ์ และติดต่อมาเป็นระยะๆ มีบทความทางหนังสือพิมพ์ พยายามสร้างภาพ สร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัว ยุยงป้อนข้อมูลผิดๆเข้าสู่สามัญสำนึกของชาวอังกฤษมาตลอด พร้อมๆกันนั้น ข่าวชาวผิวขาวพื้นเมืองนับพันหันเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม[3]ดังรายงานหนังสือพิมพ์ที่ให้ตัวเลขระหว่าง 20,000 -50,000 คนซึ่งดูจะเป็นการให้ตัวเลขที่ดูจะเกินเลยความจริงบ้าง  อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงที่ว่า หากอิสลามได้มีการฝังรกรากในประเทศอังกฤษหรือในประเทศตะวันตก มีผู้เข้ารับอิสลามด้วยความรู้สึกที่เกิดจากการร่วมกัน ความรู้สึกในความเป็นพี่น้องที่แตกต่างในระหว่าง เชื้อชาติ ภาษา ผิวสี จากประขากรที่มีพื้นเพของถิ่นกำเนิด เป็นเอกภาพและสามารถเป็นจุดเด่นที่มีผลต่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในตะวันตกได้เป็นอย่างดี

ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการดำเนินการ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการให้ความสนใจช่วยส่งเสริมพัฒนา การกระตุ้น สร้างความมั่นใจการบำรุงขวัญกำลังใจ ให้การสนับสนุนแต่ละกลุ่ม มูลนิธิอิสลามิค เฟาน์เดชั่น (The Islamic Foundation) เริ่มเข้าดำเนินการด้วยการจัดการศึกษา จัดหน่วยฝึกอบรม พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990) จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะให้กับมุสลิมใหม่  เริ่มต้นด้วยการจัดระบบการทำงาน การรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลเข้ารับอิสลามใหม่,การจัดทำตัวเลขที่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอน และมีการประเมินสังคมของผู้เข้ารับอิสลามใหม่ สภาพเศรษฐกิจ   ภูมิหลังการศึกษา และปัญหาที่เขาประสบหลังจากเข้ารับศาสนาอิสลามแล้ว การปลูกฝังสร้างบุคลิกอิสลามด้วยการจัดการศึกษา และอบรมอิสลาม บุคคลเหล่านี้มิได้เพียงเข้ารับอิสลามเพียงอย่างเดียวแต่จะพัฒนาการตนเองเพื่อให้เป็นพลังที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคผลกระทบต่างๆที่มีในสังคมตะวันตกอย่างมั่นคง

ไม่ต้องสงสัยว่า พวกเขาจะมีพลังพอที่จะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและค่านิยม ทัศนคติตะวันตกในการชักจูง และชี้นำมิใช่แค่เพียงเฉพาะชาวตะวันตกแต่ต่อมวลมนุษยชาติทั้งมวล  การดำเนินงานของมูลนิธิมิใช่แค่เพียงมีผลต่อการสร้างผลต่อเยาวชนมุสลิมที่เกิดในสังคมตะวันตกเท่านั้น แต่มีผลต่อมุสลิมที่ผู้อพยพเพื่อมาตั้งรกรากตั้งฐานในประเทศอังกฤษ และช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากสภาพความคิดที่ล้าหลังและในขณะเดียวกันยังเป็นการปลูกฝังให้ยึดมั่นแนวความคิดอิสลามที่ถูกต้องด้วย

อิสลามในตะวันตก : ทิศทางในอนาคต

อิสลามและมุสลิมในยุโรปยังคงต้องเผชิญกับ นโยบายที่ใช้กลยุทธการผสมผสานกลมกลืนอิสลามและมุสลิมให้เป็นตะวันตก ซึ่งเป็นนโยบายที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมา แต่โดยหน้าที่ของความเป็นรัฐตามทฤษฏีและภายใต้การเคารพในสิทธิของชุมชน รัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนแนววิถีประชาชนดำรงชีวิตสอดคล้องหลักการของความหลากหลายทางวัฒนธรรม(Multi- culturalism) ความเสมอภาคในโอกาส, การยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีในสังคม การให้ความเคารพและให้เกียติในศักดิ์ศรีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน การไม่ใช้อำนาจบังคับไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อม  เพื่อให้ยึดถือปฏิบัติโดยอ้างความเป็นเอกภาพของรัฐโดยบีบบังคบหรือให้ยอมรับในคุณค่าหนึ่งคุณค่าหนึ่งคุณค่าใดให้ยึดถือเป็นบรรทัดฐานยึดถือปฏิบัติแก่คนทั้งหมดในสังคม นั้นย่อมกระทำมิได้

ยิ่งกว่านั้นในความเป็นจริงของการดำเนินชีวิตแล้ว ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นเสมอ เวลานี้ โดยทั่วไปแล้วรัฐเหล่านี้ ตลอดจนสื่อสารมวลชนโดยเฉพาะ สื่ออิสระเสรี , สื่อเซคิวลาร์ มักจะมีการแทรกแซงวัฒนธรรมวิถีของมุสลิมภายใต้ข้ออ้างในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสตรีมุสลิม และเข้ามาจุ้นจ้านกับวิถีชีวิตครองครัวมุสลิมเสมอๆ ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการการแต่งงาน, การมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน, สิทธิและหน้าที่ในการปกครองเลี้ยงดูบุตร, การละเมิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเป็นผลทำให้เกิดความแตกแยกรุนแรง และสามารถจัดการแก้ไขด้วยวิธีอิสลาม

ต่อข้อกล่าวหากลับตรงกันข้าม เบื้องหลังของความสุดโต่ง , มัดราซะฮฺ กิจกรรมด้านศาสนา , ศาลว่าด้วยครอบครัวและบทบาทของอิหม่ามและมัสยิดถูกฉายหรือสะท้อนออกมาด้วย และบิดเบือน และเป็นความเท็จ  และอิสลามยังเผชิญกับอาชญากรรมที่น่าเกลียดชัง ,

รัฐต่างๆในยุโรปมักใช้ข้ออ้างว่าเป็นการยากที่จะประสานงานกับตัวแทนของประชาคมชุมชนมุสลิม ที่มีความหลากหลายในความแตกต่างของนิกาย เชื้อชาติ กลุ่มพื้นเพประเทศดังเดิม,กลุ่มพวก อุดมการณ์แนวความคิดทีรุนแรง, กลุ่มพวกจารีตนิยม, หรือกลุ่มชนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลอื่นอยู่ แต่มุสลิม ผู้เป็นนักกิจกรรมสายศาสนานำการเมืองมีความเห็นต่อต้านทั้งทฤษฏี นโยบายที่ใช้กลยุทธการผสมผสานกลมกลืนที่เป็นความพยายามดำเนินการภายใต้ของรัฐเหล่านี้ จึงมีการรวมตัวจัดตั้งองค์กรขึ้นจึงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

  การจัดตั้งองค์กร “สภามุสลิมแห่งบริเทน” (The Muslim Council of Britain : MCB) เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา นับว่าเป็นการริเริ่มที่ถูกต้อง MCB เป็นองค์กรตัวแทนของมุสลิมทั่วประเทศอังกฤษมีสมาชิกในเครือ รวม 500 องค์กรซึ่งประกอบด้วยต่างๆทั้งในระดับชาติ , ระดับภูมิภาค, ระดับท้องถิ่น, มัสยิด, องค์กรการกุศล และโรงเรียน

MCB เปิดตัวครั้งแรกหลังจากที่ได้มีการประชุมปรึกษา และมีการวางแผนอย่างรอบคอบ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) โดยมีผู้แทนจากองค์กรมุสลิมกว่า 250 องค์กรที่มีสถานที่ตั้งกระจายในทุกพื้นที่ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในเกาะอังกฤษ และไอร์แลนด์เหนือมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์กรและคณะทำงานกลางจำนวน 50 คน และกำหนดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการตามวาระทุก 2 ปี การบริหารองค์กรกระทำโดยคณะกรรมการจำนวน 20 คน ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญในระดับต่างๆ

 จุดประสงค์และเป้าหมายของ MCB  เพื่อสนับสนุนและการสร้างความเข้มแข็งในความพยายามในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของชุมชน ประสานงานสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคี ปรองดอง สร้างความเป็นเอกภาพของมุสลิมในประเทศอังกฤษ  การดำเนินการในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่ออิสลามและมุสลิมแก่สังคมส่วนรวม รวมทั้งทำหน้าที่ในการขจัดข้อด้อยให้หมดไป รวมทั้งการขจัดระบบการเลือกปฏิบัติ สถาปนาและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาคมมุสลิมในสังคมอังกฤษให้เกิดความยุติธรรม มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิเสรีภาพและความผูกพันซึ่งกันและกันอันเป็นที่สุด MCB ประกันในการทำงานเพื่อการสร้างสรรค์ความดีงามแก่สังคมส่วนรวม สนับสนุนปัจเจกมุสลิม, องค์กรมุสลิมเพื่อให้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาททางสาธารณ

 ในยุโรปตะวันตก มุสลิมอพยพส่วนใหญ่ประสบปัญหาการว่างงาน การอาศัยอยู่ในย่านที่มีที่พักอาศัยยากจนมีสถานะภาพทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ และโดยปกติแล้วมักจะได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากชุมชนส่วนรวม, รวมทั้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่มีความยากจนขาดแคลนปัจจัยสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต   ดังเช่นชาวมุสลิมในฝรั่งเศสซึ่งอพยพจากตอนเหนือ อัฟริกา, หรือมุสลิมอพยพจากประเทศตุรกีอาศัยในประเทศเยอรมัน,หรือมุสลิมจากเอเชียใต้ที่อพยพในอังกฤษ เป็นต้น

ในการเผชิญกับปัจจัยต่างๆหลายปัจจัย,ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ร่วมสมัยสร้างความตึงเครียด ทำให้สถานการณ์ของมุสลิมในยุโรปมีความเลวร้ายลงอีก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือและถกกัน เพื่อการสร้างความเข้าใจและมีพันธะข้อตกลงบนหนทางข้างหน้า ซึ่งมิใช่เพียงการให้ความช่วยเหลือแก่มุสลิมในการปฏิบัติตนอย่างมีเกียรติ แต่ยังเป็นแสดงบทบาทตนตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองประเทศอังกฤษ หรือพลเมืองชาวยุโรป ในมิติของการพัฒนาการเมือง , การพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมโดยปราศจากอุปสรรคข้อขัดข้องและความเสมอภาคจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควบคุมเหนี่ยวรั้งแนวโน้มความโน้มเอียงของผู้ที่มีทัศนคติหัวรุนแรงที่นิยมการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน และผู้ที่มีที่มีทัศนคติแบบสุดโต่งทั้งสองฝ่ายทั้งมุสลิม และชาวยุโรป

ความรับผิดชอบจะต้องแบ่งปั่นกันแก่ชุมชนทั้งสองฝ่าย และรัฐบาลยุโรปพึงดำเนินนโยบายที่เน้นความรับผิดชอบในการปฏิบัติต่อพลเมืองมุสลิมของตนอย่างให้เกียรติและมีศักดิ์ศรี ไม่ทำการข่มขู่และบังคับด้วยการออกกฎ ระเบียบที่เข้มงวด ตามกฎหมายการต่อต้านการก่อการร้าย ควบคุมติดตามจับตาอย่างเข้มงวด อย่างหวาดระแวง เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น ตลอดจนเสรีภาพการเคลื่อนไหว    

ทั้งมุสลิมและรัฐบาลยุโรปมีเส้นทางไกลที่จะร่วมกันสร้างความเข้าใจอันดี และเป็นสิ่งที่น่าพอใจว่ามุสลิมในยุโรปมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง มีการปรับตนในการดำรงชีวิตประจำวันในสังคมตะวันตก ในขณะที่เขายังคงรักษาไว้ซึ่งความศรัทธา และรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ วัฒนธรรมประเพณีแห่งตน

ตามรายงานผลสำรวจของ Gallup’s Special Report on Muslims in Europe ระบุว่าในปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ.2007) มีมุสลิมในยุโรปประมาณ 2-3 ของมุสลิมที่อาศัยใน กรุงลอนดอน คือประมาณร้อยละ 64 มีความพึงพอใจและมั่นใจในรัฐบาลของอังกฤษ และอีกประมาณร้อยละ 36 ที่เหลือมีความเห็นแตกต่างนานาทัศนะ การสำรวจทัศนะความมั่นใจเชื่อในเรื่องความโน้มเอียงของการเข้ามีมีบทบาททางการเมืองในระดับชาติประมาณร้อยละ 69 กรุงลอนดอน, ประมาณร้อยละ 66 ในกรุงปารีส, และร้อยละ 87 ในกรุงเบอร์ลิน

เป็นความพึงพอใจที่จะสรุปจากการเสนอทัศนะในแง่ดี ที่ได้จากการสำรวจสอบถามเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมุสลิมซึ่งนาย Graham Turner  นักวิจัย Daily Mail นำเสนอทัศนะความเห็นและตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถึง 4 ตอนคือลงตีพิมพ์ประจำวันที่ 6–9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) โดยสรุปว่า

“ได้รับฟังจากพวกเขา ผมไม่อาจจะช่วยให้มีความหวังใจว่า คนหนุ่ม-สาวชาวผิวขาวมีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาเช่นอย่างพวกเขา มีผู้ปกครองพี่น้องมุสลิมของเราเป็นจำนวนมากที่เราอาจเรียกว่ามีพื้นเพมาจากประเทศที่เราอาจเรียกว่า ประเทศด้อยพัฒนา แต่พวกเขา ลูกหลานของพวกเขากลับเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกให้ความสำคัญในการพัฒนาความศรัทธาในศาสนาสูงมาก ครอบครัวของพวกเขามีการพัฒนามาตรฐานของพฤติกรรมมากกว่าครอบครัวของพวกเราอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าก่อนหน้านั้น พวกเขาได้ใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่ง ก่อนที่พวกเขาเกิดสำนึกถึงการมีบ้านเรือนที่นี้และดำรงชีพอย่างสมบูรณ์แบบในประเทศนี้ เรามีความโชคดีที่ได้เห็นภาพของคนหนุ่ม-สาวที่ดำรงละหมาดวันละ 5 เวลาแม้ในวันหยุดวันพักผ่อน มีการถือศีลอดหนึ่งเดือนทุกปี   เรามีความโชคดีที่ได้เห็นเด็กผู้หญิงผู้ปกป้องศักดิ์ศรีเกียรติยศแห่งตนและครอบครัวของพวกเขาเป็นผู้ที่มีความศรัทธามั่น  ในการนี้อย่างน้อย   เราต่างมีความหวังว่าพวกเขาจะเป็นผู้นำเราสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้เราเป็นผู้นำพวกเขาสู่การเปลี่ยนแปลง[4]

ขบวนการละเมิดสิทธิเสรีภาพ

 เมื่อเร็วๆนี้ มีกลุ่มองค์กรเล็กๆที่มีทัศนคติต่อต้านมุสลิมในอังกฤษเกิดขึ้นอย่างดอกเห็ด โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มของพวกเหล่านี้มีหน้าที่อย่างเดียวคือในการใส่ร้ายป้ายสีอิสลามและชุมชนมุสลิมเป็นหลัก ด้วยวิธีการยั่วยุ และยุยงให้มีการเดินขบวนโดยกระทำกันบริเวณหน้ามัสยิด หรือบริเวณหน้าที่ทำการศูนย์กลางอิสลาม มีกลุ่มต่างๆเช่นกลุ่มพวกสุดโต่ง และกลุ่มต่อต้านอิสลาม ดังนี้  

1.พรรคการเมืองแห่งชาติอังกฤษ (The British  National Party : BNP)จัดว่าเป็นกลุ่มแนวหน้าขององค์กรของขบวนการนี้  พรรค BNP ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982) หลังจากการแตกสลายจากกลุ่มแนวร่วมแห่งชาติ (National Front) การเลือกตั้งเมื่อเร็วๆนี้  ผู้แทนจากพรรค BNP  จำนวน 2 คนได้เป็นตัวแทนรัฐสภาแห่งยุโรป , และในระดับท้องถิ่นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น (Local Councillors) จำนวน 55 คนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่ากลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางการเมือง

ตัวอย่างเช่น การแจ้งข้อมูลที่บิดเบือนของ พรรค BNP  ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการสร้างกระแสต่อต้านมุสลิม ด้วยการแสดงความเห็นในรายการ Question Time ของ BBC  เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม โดยนาย Nick Griffin  เมื่อถูกถามว่า “ทำไม่ท่านจึงยืนยันว่า อิสลามเป็นศาสนาที่มีความศรัทธาอย่างเลวทราม ต่ำช้า?”

 Nick Griffin  ตอบว่า “เพราะอิสลามปฏิบัติต่อสตรีราวเป็นพลเมืองชั้นสอง เพราะมันกล่าวว่า หากมีผู้หญิงคนหนึ่งถูกละเมิดทางเพศ เธอต้องถูกขว้างป่าหินจนตาย ในข้อหาเป็นชู้”เพราะอิสลามสอนให้สาวกจะใช้ความรุนแรงต่อผู้ปฏิเสธที่อยู่รอบตัวของพวกเขาและมีคำสอนบัญชาว่าเป็นหน้าที่ทางศาสนาที่จะต้องจัดการฆ่าชาวยิว เช่นเดียวกับการการคนต่างศาสนา เช่นกัน

 2.กลุ่มสันนิบาตพิทักษ์อังกฤษ (The English Defence League:EDL) ก่อตั้งเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) โดยมีข้ออ้างว่า เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษขาดการให้ความสำคัญในการดำเนินการอย่างจริงจังและจัดการอย่างเด็ดขาดกับ นักเผยแพร่ศาสนาอิสลามหัวรุนแรงและรวมทั้งองค์กรของพวกพวกเขา

 กลุ่ม EDL เป็นองค์กรที่ได้ร่วมมือกับ สันนิบาติพิทักษ์แห่งชาว เวลล์,  ชาวสก๊อต, และชาวนอร์ทไอร์แลนด์ จะทำหน้าที่ในการพิทักษ์และโดยเฉพาะการหยุดยั้งอิสลามแห่งยุโรป (Stop Islamification :SIOE)

 3.กลุ่มหยุดยั้งอิสลามแห่งยุโรป Stop Islamization of Europe :SIOE)  เป็นองค์กรพันธมิตรของชาวยุโรป มีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือ การปกป้อง ป้องกันการเข้ามาครอบงำอำนาจทางการเมืองของมุสลิมในยุโรป  จุดเริ่มต้นของการร่วมมือโดยกลุ่มหยุดยั้งอิสลามแห่งเดนมาร์ค (Stop Islamificering Af Danmark : SIAD) นับเป็นพรรคการเมืองหนึ่งในเดนมาร์คที่อุทิศตนในการทำงานเพื่อการหยุดยั้งอิสลามในเดนมาร์ค รวมกับสมาคมประขาขนอิสระในอังกฤษผู้มักร้องตะโกนคำว่า”ไม่มีชารีอะฮฺที่นี้” กลุ่มที่ต้องการให้ใช้เพียงกฎหมายอังกฤษและหยุดยั้งการคืบคลานเติบโตของกฏหมายชารีอะฮฺในอังกฤษ

 สิ่งบอกเหตุถึงการขยายตัวของลัทธิ Islamophobia

ปรากฏการณ์การพัฒนาการในการการขยายตัวของลัทธิ Islamophobia ความรู้สึกต่อต้านอิสลาม และมีปรากฏการณ์ที่บอกเหตุอย่างขัดเจนว่า ความเกลียดชังกดขี่ทางเชื้อชาติ อุดมการณ์สุดโต่ง ไม่จำกัดต่อตัวบุคคลผู้ศรัทธาคนหนึ่ง หรือชุมชนมุสลิมโดยไม่เป็นการเฉพาะเจาะจงเท่านั้น

Anna Turley  บันทึกในรายงานชื่อ Stronger Togather ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนักเคลื่อนไหวสิทธิของสัตว์, พวกละเมิดสิทธิสุดโต่ง, พวกอนาธิปไตย, และพวกเกลียดชังอาชญากรรม,ที่ก่อให้เกิดการคุกคามความปลอดภัยและความมั่นคงของชุมชนของเรา และที่สำคัญจากรายงานชี้ให้เห็นถึงความวิตกกังวลของสำนักงานหน่วยตำรวจสก๊อตแลนด์ยาร์ด ที่มีต่อกลุ่มก่อการร้ายฝ่ายขวาจัดที่มีรายงานระบุแนวโน้มว่ามีเหตุที่ส่อให้เห็นว่าจะทำการบุกโจมตีชุมชนมุสลิม

ปรากฏการณ์  Islamophobia  - จากรายงานอาชญกรรมของ หน่วย MPS Crime reporting system (CRiS)(Source :Muslim safety Forum Newsletter, occtober 2009)  ตัวอย่างเช่นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) มุสลิมจำนวน 20 คนถูกทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินในเมืองแมนเชสเตอร์

 สัญญาณบอกเหตุ ,เหตุการณ์การต่อต้านมุสลิม เกิดขึ้นจากการประสานงานอย่างกว้างขวางรวมทั้ง เหตุการณ์ในการหมิ่นศาสนาคล้ายๆเหตุการณ์ที่เกิดในฝรั่งเศส

ยังมีเหตุการณ์ตัวอย่างของการขยายตัวของลัทธิ  Islamophobia ดังนี้

1.กรณีมีการพิพาทและมีการใช้กำลังกันระหว่างมุสลิมกับกลุ่มชาวฝรั่งผิวขาวที่ถนน Swansea ในวันครบรอบ5 ปีเหตุการณ์ 9/11 มีคนประมาณ 60 คนเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุลมุนนอกมัสยิด เมือง Swansea ที่ถนนเซนต์เฮเลน และเหตุการณ์ชุลมุนที่  Sin City Night Club ตำรวจสามารถจับกุมชาย สองคนกล่าวว่าเขาไม่เชื่อว่าเป็นคดีเกี่ยวกับอาญาเกี่ยวกับเชื้อชาติ

2.เหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม  ตำรวจเทศกิจจำนวน 6 นาย ถูกสอบสวนด้วยข้อกล่าวหาว่า ปฏิบัติการรุนแรงเกินขอบเขตกับวัยรุ่นมุสลิม และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกปิดความผิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย อัยการและศาลKingston Crown กล่าวต่อคณะลูกขุนว่าพวกเขาผู้มีพฤติกรรมแบบศาลเตี้ย”

บทสรุป

ประชาสังคมมุสลิมในอังกฤษ และสภามุสลิมอังกฤษ (MCB) ยังคงต้องทำงานอย่างหนักกับการเผชิญจากความพยายามของพวกขวาจัดสุดโต่ง ด้วยคำแนะนำและการแสดงเหตุผลด้วยวิธีการสันติ  อหิงสา ต่อพวกละเมิดสิทธิ, พวกเดินขบวนต่อต้านอิสลาม การสนองตอบหรือตอบโต้ควรมอบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นต้น  ควรมีการยื่นข้อเสนอร้องเรียนกับพรรคการเมืองในรัฐสภาทุกพรรค, และมีการประสานงานเสนอแนะมัสยิด กับนักวิชาการศาสนา รวมทั้งระดับชุมชนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเข้ามามีส่วนรวม และรวมถึงการต่อต้านการเหยียดผิว ระมัดระวัง เตือนสติเยาวชนมุสลิมมิให้เข้าร่วมกลุ่มประท้วงการต่อต้าน เตือนความจำแก่ชุมชนมุสลิม โดยเฉพาะคนหนุ่มเกี่ยวกับความรับผิดชอบในความเป็นมุสลิมและเพื่อให้พวกเขาได้ตระหนักว่า “นี้เป็นกลยุทธ์ หรือเกมส์ของพวกคลั่งศาสนาผู้ที่ต้องการสบประมาทเหยียบย่ำความศรัทธาของมุสลิม และชุมชนมุสลิม”

ยิ่งกว่านั้น สภามุสลิมอังกฤษ (MCB) มีคำแนะนำแก่ชุมชนมุสลิมเพิ่มเติมดังนี้

1.ให้มีความระมัดระวังอย่างรอบคอบ การตรวจตราและสังเกต สิ่งห่อหุ้ม หรือกระเป๋าซึ่งอาจมีบางสิ่งซุกซ่อนอยู่ภายใน โดยเฉพาะบริเวณมัสยิดหรือศูนย์กลางอิสลาม  ให้รีบดำเนินการแจ้งความ หรือรายงานสิ่งที่น่าสงสัย หรือพฤติการณ์ที่น่าสงสัยต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยึดมั่นปฏิบัติตามคำแนะนำ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวทางการป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันของตน

2.หากได้รับการข่มขู่จากพวกละเมิดสิทธิ อาจด้วยการการเดินขบวนประท้วง การใช้ใบปลิว โจมตี หรืข่มขู่ ให้มีการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการชุมชนในการจัดตั้งหน่วยที่เป็นศูนย์ในการจัดการกับพวกคลั่งศาสนา การประสานงานติดต่อกับชุมชนต่างศาสนิก, การประสานงานติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทนและสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขต และรวมถึงการประสานงานกับตำรวจ

 3.พัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน นี้เป็นความรับผิดชอบตามหลักการศาสนาอิสลาม และเป็นการปฏิบัติเสมือนเป็นการสกัดกั้นอาชญากรรมและการทำลายทรัพย์สิน

4.ติดตั้ง กล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสนับสนุนการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยสถาบันศาสนา มัสยิด โรงเรียนสอนศาสนาเป็นต้น

 5.ประสานงานติดต่อกับตำรวจเทศกิจ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน ร่วมประชุม ปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการให้ข้อมูล ข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

 

[1] ซัลมาน  รุชดี หรือส่วนบนของฟอร์ม

ส่วนล่างของฟอร์ม

เซอร์ อาเหม็ด ซัลมาน รุชดี (Ahmed Salman Rushdie) (19 มิถุนายน พ.ศ. 2490 - ) นักเขียนลูกครึ่งอินเดีย-อังกฤษ เกิดที่เมืองบอมเบย์ ผู้เคยได้รับรางวัลบุคเคอร์ไพรซ์ จากผลงานเขียนชิ้นที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2524 ผลงานชิ้นที่สี่ของรัชดี มีชื่อว่า The Satanic Verses (โองการปิศาจ)] ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2531 มีเจตนาดูหมิ่นอิสลามและนบีมุฮัมมัดอย่างโจ่งแจ้ง ถูกประท้วงอย่างกว้างขวางในหมู่มุสลิม ทำให้เขาถูกขู่สังหารชีวิต รวมถึงการประกาศ ฟัตวา โดยอยาตุลลอฮฺ โคมัยนี ผู้นำปฏิวัติอิสลามสูงสุดในอิหร่าน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 พิพากษาให้ประหารชีวิตโทษฐานดูหมิ่นศาสนาอิสลามทั้งๆที่ตัวเองอ้างตนเป็นมุสลิม ทำให้เขาต้องใช้ชีวิตหลบซ่อนตัวเป็นเวลานับสิบปี ปัจจุบัน ซัลแมน รัชดี เป็นผู้บรรยายอยู่ที่มหาวิทยาลัยอีมอรี เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา รัฐบาลอิหร่านประกาศเมื่อพ.ศ. 2541 ว่าไม่ได้สนับสนุนให้มีการสังหารรัชดี  แต่ก็ไม่อาจยกเลิกประกาศฟัตวาของอยาตุลลอฮ์โคไมนีได้

 ล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 รัฐบาลโทนี แบลร์แห่งอังกฤษ ประกาศมอบรางวัลเหรียญเกียรติยศจากราชวงศ์อังกฤษ ให้กับรุชดีและประกาศแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน จากผลงานประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับนวนิยาย และวรรณกรรม ท่ามกลางความไม่เห็น และประท้วงอย่างกว้างขวางทั้งจากต่างประเทศและในประเทศอังกฤษอัศวินโดยมีตำแหน่งเป็นเซอร์เมื่อเร็วๆนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่มุสลิมในประเทศต่างๆเท่านั้น แม้แต่บรรดาผู้นำชาวคริสต์โดยเฉพาะในอินเดียและปากีสถานก็ยังร่วมกับมุสลิมในประเทศคัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษในการแต่งตั้งดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงท่าทีของรัฐบาลอังกฤษต่ออิสลามและมุสลิมได้เป็นอย่างดีว่า อะไรก็ตามที่เป็นการต่อต้านอิสลามและมุสลิม รัฐบาลอังกฤษจะส่งเสริมโดยอาศัยเรื่องเสรีภาพเป็นข้ออ้างบังหน้า ประเทศมุสลิมประท้วงการแต่งตั้งเป็นเซอร์ เช่น กระทรวงต่างประเทศปากีสถานและอิหร่านแสดงความได้วยการเรียกทูตอังกฤษประจำประเทศนทั้งสองประเทศ มาเข้าพบเพื่อรับคำตำหนิเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งครั้งนี้   ส่วนนายฮัสซัน วิราจูดา รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซียกล่าวว่า "การแต่งตั้งนายซัลมาน รุชดีไม่ได้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาเลยในเรื่องความเข้าใจกันระหว่างศาสนา”   รัฐสภาอียิปต์ก็วิพากษ์วิจารณ์การแต่งตั้งครั้งนี้ว่าเป็นความผิดที่เลวร้ายยิ่งกว่ากรณีการ์ตูนล้อเลียนนบีมุฮัมมัดในเดนมาร์กเมื่อเร็วๆนี้เสียอีกส่วนรัฐสภาปากีสถานได้มีมติเป็นเอกฉันท์ประณามการแต่งตั้งครั้งนี้และขอให้ทางลอนดอนถอดถอนตำแหน่งดังกล่าว   ที่มาเลเซีย เยาวชนมุสลิมหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งได้จัดการประท้วงการแต่งตั้งครั้งนี้ที่หน้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่อังกฤษในกรุงกัวลาลัมเปอร์    มีการขอส่งคืนตำแหน่งเซอร์เพื่อเป็นการประท้วง     การมอบตำแหน่งหรือแต่งตั้งให้เป็นเซอร์ถือเป็นการให้รางวัลแห่งเกียรติยศสำหรับผู้ทำความดีความชอบและสร้างประโยชน์ให้แก่อังกฤษในอดีต เมื่ออังกฤษเข้าไปปกครองอินเดีย อังกฤษได้มอบตำแหน่ง "เซอร์" และ "คาน" ให้แก่ชาวอินเดียและปากีสถานบางคนเช่นกัน แต่เมื่อ ดร. อัรบาบ ฆุลาม รอฮิม มุขมนตรีแห่งแคว้นซินด์ในปากีสถานรู้ว่านายซัลมาน รุชดี ได้รับตำแหน่งนี้ เขาก็ประกาศคืนตำแหน่งเซอร์และคานที่ปู่และลุงของเขาได้รับคืนแก่รัฐบาลอังกฤษ เขาได้ประกาศว่า "ถ้าคนอย่างนายรุชดีได้รับตำแหน่งเป็นอัศวิน ในฐานะมุสลิมและเป็นผู้นำตระกูลอัรฺบาบ ผมไม่สามารถเก็บตำแหน่งนี้ของบรรพบุรุษไว้ และขอคืนตำแหน่งดังกล่าวแก่อังกฤษเพื่อเป็นการประท้วง" ปู่ของดร.อัรฺบาบ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1937 โดยกษัตริย์ยอร์จที่ 6 ส่วนลุงของเขาได้รับแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง "คาน" ในเดือนมกราคม ค.ศ.1945

"เมื่อตำแหน่งนี้ได้ถูกมอบให้แก่คนที่ดูหมิ่นนบีของเรา มันก็เป็นเรื่องน่าอายสำหรับครอบครัวของผมที่จะเก็บตำแหน่งนี้ไว้ ผมขอคืนตำแหน่งนี้เพื่อให้รัฐบาลอังกฤษรู้ถึงความรู้สึกของชาวมุสลิม ผมรู้ว่าการกระทำของผมครั้งนี้อาจสร้างปัญหาให้ผมและครอบครัว แต่ผมก็พร้อมที่จะเผชิญมันในฐานะที่เป็นคนรักนบีมุฮัมมัด" ดร.อัรฺบาบกล่าวและยังยุให้ชาวปากีสถานคนอื่นที่ได้รับตำแหน่งเช่นนี้ทำตามด้วย"โดยเฉพาะนางเบนาซีร์บุตโตอดีตนายกรัฐมนตรีที่ปู่ของนางก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเซอร์เช่นกัน”  ชาวคริสต์ร่วมวงประท้วงด้วย อิญาซ อินายาตบิชอปแห่งคริสตจักรโปรเตสแตนท์เชื้อสายปากีสถานกล่าวเสียดสีว่า "เราตกใจพอๆกันที่รู้ถึงการตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษและขอประณามการทำเช่นนั้น ผมต้องการประท้วงรัฐบาลอังกฤษว่าถ้าการแต่งตั้งนายซัลมาน รุชดีเป็นอัศวินมีความสำคัญนัก เขาก็จะต้องต่อท้ายด้วยคำว่า "ปีศาจ" ตามหลังตำแหน่งเซอร์ด้วยถึงจะเหมาะสม”      อัชรอฟ เรห์มัต บิชอปแห่งคริสตจักรคาธอลิกในเมืองการาจีกล่าว "นายรุชดีทำร้ายความรู้สึกของมุสลิมนับล้านคนซึ่งมีทั้งมุสลิมและคริสต์ด้วย" และกล่าวต่อว่า "เราขอประณามอย่างรุนแรงต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษและขอให้มีการถอดถอนการแต่งตั้งโดยทันที "ผมต้องการจะบอกพี่น้องมุสลิมของผมว่าระหว่างนายแบลร์กับชาวคริสเตียนนั้นมีความแตกต่างกัน นายโทนี แบลร์มิได้เป็นตัวแทนของชาวคริสเตียน เขาเป็นตัวแทนของพลังที่มิใช่ศาสนา   เมาลานา ซามิอุลฮัก นักวิชาการคนสำคัญและประธานกรรมาธิการกิจการศาสนาของวุฒิสภาปากีสถานได้แนะนำว่า"จะคัดค้านรัฐบาลอังกฤษอย่างไรก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะรัฐบาลอังกฤษคงจะไม่ฟังเหตุผลใดๆ ดังนั้น แทนที่จะมาคัดค้านการตัดสินใจของอังกฤษ โลกมุสลิมควรจะแต่งตั้งอุซามะฮฺ บินลาดินและมุลลาฮ์ อุมัรฺ ผู้นำตอลิบานให้มีตำแหน่งเป็น "เซอร์" เหมือนกับซัลมาน รุชดี บ้างจึงจะสมน้ำสมเนื้อ

ที่มา: http://www.wokingmuslim.org/pers/headley.htm

http://www.salaam.co.uk/themeofthemonth/june02_index.php?l=27และ

เซอร์ซาตาน ซัลมาน รุชดี/ http://www.oknation.net/blog/islam

[2] (*25)การ์ตูนล้อเลียน “ศาสดา นบีมูฮัมหมัด ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 30 กันยายนปี 2548  ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน จิลแลนด์ โพสเตน Jyllands - Posten ของเดนมาร์คโดยนาย Carsten Juste บรรณาธิการ เป็นชนวนให้มุสลิมทั่วโลก ระเบิดความแค้นเป็นเหตุให้มีคนตายแล้วหลายสิบคน รถยนต์ ร้านค้า โบสถ์ของศาสนาคริสต์ถูกเผาถูกทำลาย สถานทูต และทูตหลายประเทศอยู่ในฐานะไม่ปลอดภัย จนต้องปิดและอพยพหนีภัย    แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ปะทุขึ้นอีกเมื่อมีหนังสือพิมพ์ในยุโรปและในอเมริกานำการ์ตูนมาตีพิมพ์ซ้ำอีกในลักษณะของการท้าทายและนิ่งเฉยต่อการประท้วงอย่างสันติ ทำให้มุสลิมทั่วโลกพากันโกรธแค้นรวมตัวกันประท้วงหนังสือพิมพ์และประเทศที่พิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียน โดยเฉพาะเดนมาร์กอย่างรุนแรง มีการ บอยคอตไม่ซื้อสินค้าเดนมาร์กทั่วโลก ทำให้เดนมาร์คเสียรายได้มูลค่านับแสนล้าน,การประท้วงอย่างรุนแรงทำให้ สถานทูตเดนมาร์ค 3 แห่งถูกโจมตี และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 คนในการก่อความวุ่นวายในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง, อัฟริกา, เอเชียและบางประเทศในยุโรป 
 ในไนจีเรียมีผู้เสียชีวิต 16 คน เป็นการประท้วงครั้งรุนแรงที่สุด  ตำรวจต้องยิงก๊าซน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ประท้วง“โบสถ์อย่างน้อย 10 แห่งโรงแรมร้านค้ามากกว่า 20 ร้านรถยนต์หลายสิบคันถูกเผา
 ในลิเบีย ผู้ชุมนุมพยายามเผาสถานกงสุลอิตาลีในเมืองเบงฮาซี ตำรวจเข้าปะทะจนทำให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตไป 10 ราย เหตุประท้วงพุ่งเป้าโจมตีอิตาลีเนื่องจากรัฐมนตรีอิตาลีคนหนึ่งท้าทายด้วยการสวมเสื้อยืดพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อศาสดา ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ก.พ.49 รัฐมนตรีต้องลาออก เพราะถูกรัฐบาลกดดัน
 ปากีสถาน จราจลประท้วงลุกลามไปยังเมืองเปชาวาร์ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 คน เป็นเด็กคนหนึ่ง    ผู้ประท้วงราว 6,000 คน ตะโกนสาปแช่งเดนมาร์ก เหตุปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายสิบคน มีการวางเพลิงร้านอาหารจานด่วนเคเอฟซี, โรงภาพยนตร์ 3 แห่งและสำนักงานบริษัทโมบิลิงค์ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่่สุดของประเทศ    สภาพเมืองเปชาวาร์อยู่ในภาวะเกือบร้าง ,ผู้ชุมนุมเผายางรถยนต์สกัดกั้นปิดถนน ร้านค้าส่วนใหญ่ ขนส่งมวลชนและธุรกิจอื่นๆ ปิดบริการ ตำรวจเผยว่า ผู้ประท้วงมุ่งทำลายป้ายโฆษณาของบริษัทตะวันตกทุกแห่งที่พบเห็น
ที่เมืองแทงค์ มีชาวปากีสถานราว 2,000 คน ชุมนุมกันและเผาทำลายร้านขายซีดี ดีวีดี และวิดีโอ30 แห่ง    ผู้ประท้วงมุ่งเผาทำลายร้านอาหารเครือข่ายของชาติตะวันตก ในเมืองละฮอร์ อาทิ แมคโดนัลด์ เคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน ส่วนตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 125 คน

ปากีสถานสั่งปิดเว็บไซต์ YouTube หลังมีการ์ตูนล้อเลียนท่านศาสดา (ศอลฯ)ซึ่งก่อนหน้าได้สั่งปิดเว็ปไซต์Facebookไปเมื่อวันพุธ ข่าวเปิดเผยว่ามีการจัดแข่งขันประกวดภาพล้อท่านศาสดา (CEO ของบริษัท นายาเทล ซึ่งรับผิดชอบในการบริการอินเตอร์เน็ตกล่าวว่า  PTAได้สั่งการมาอย่างกะทันหันให้บล็อก YouTube ในทันที

บังคลาเทศสั่งปิด  Facebook แล้วนับเป็นประเทศที่สองในเอเชีย

 อินเดีย รัฐบาลรัฐอุตตรประเทศ ประกาศมอบเงินรางวัล 40ล้านบาท ให้แก่คนที่สามารถตัดหัวนักวาดการ์ตูนล้อเลียน มีการประกาศมอบเงินรางวัลในครั้งตีพิมพ์เป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์อินเดียหลายฉบับ โดยมูฮัมหมัด ยะกูบ กุเรซีย์ รัฐมนตรีกระทรวงอนุกิจการและพิธีฮัจย์ ของรัฐบาลอุตตรประเทศ ตอนเหนือของอินเดีย เป็นคนกล่าวเสนอเงินรางวัล  ในวันเดียวกันผู้นำศาสนาในปากีสถานเสนอมอบเงิน จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรถอีก 1 คัน ให้แก่ใครก็ตาม ที่สามารถสังหารมือวาดการ์ตูนล้อเลียนศาสดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่วาดรูประเบิดอยู่บนผ้าโพกหัวของศาสดา
ซาอุดิอาระเบียหนังสือพิมพ์อัชฮาร์ค อัล อวาแซท ของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งวางขายทั่วโลกอาหรับตีพิมพ์คำขอโทษจากหนังสือพิมพ์ จิลแลนด์ โพสเตน หนังสือรายวันของเดนมาร์ก เต็ม 1 หน้ากระดาษของฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549

การประท้วงที่ทำให้คนตายและเสียหายมหาศาลนี้ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าหากรัฐบาลเดนมาร์กยอมรับผิดและประกาศขออภัยต่อผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลก เมื่อได้รับการเรียกร้องในครั้งแรก แต่รัฐบาลเดนมาร์ก นิ่งเฉยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ที่สามารถแสดงความเห็นออกมาในรูปการ์ตูนได้ จึงไม่ยอมขอโทษเรื่องมัน เหตุการณ์จึงลุกลามร้ายแรงขึ้นและยังมองไม่เห็นลู่ทางจะยุติลงได้อย่างไรและนาย เคิร์ด เวสเตอร์การ์ด วัย 74 ปี ชาวเดนมาร์ก นักเขียนการ์ตูนล้อ เลียนได้มีผู้พยายามบุกเข้าไปในบ้านในเมือง Aarhus และจะทำการ ปองร้ายและตำรวจสามารถปกป้องชีวิตเขาได้ครั้งหนึ่ง

[3]  ดู M.M.Ahsan and A.R.Kidwai , Sacrilege Versus Civiliity : Muslim Prosspectivees on the Satanic Verses Affair,   Islamic Foundation,Leicester,1991 p.p. 343 – 375 ,New adition 1993

[4]  Graham Turner, Daily Mail, 9 Febuary , 1989