Skip to main content

 [FOR ENGLISH PLEASE SCROLL DOWN]

 
ประเทศไทย: 10 ปีผ่านไป ร่วมกันค้นหาความจริงและความยุติธรรม
ให้กับครอบครัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร
 
                ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนของไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ทางการไทยค้นหาว่าเขาอยู่ที่ใด และมีชะตากรรมอย่างไร และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ทางหน่วยงานยังเรียกร้องให้ทางการให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) โดยทันที ทั้งนี้ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 และให้นำมาบังคับใช้เป็นกฎหมายในประเทศ
 
                สมชาย นีละไพจิตรหายตัวไปจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 แม้จะมีความพยายามร่วมกันทั้งครอบครัวของเขาและภาคประชาสังคมในไทยเพื่อค้นหาความจริง แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมและที่อยู่ของเขา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเห็นว่าการหายตัวไปของสมชาย นีละไพจิตรถือได้ว่าเป็น “การบังคับบุคคลให้สูญหาย” ซึ่งเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่กระทำตามคำสั่ง หรือได้รับความสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจจากรัฐ
 
                จนถึงปัจจุบัน ทางการไทยยังไม่ได้นำตัวผู้ที่ทำให้บุคคลสูญหายมาลงโทษ นอกจากนั้น ศาลอุทธรณ์ยังปฏิเสธการร้องขอเป็นโจทก์ร่วมของครอบครัวของสมชาย นีละไพจิตร ในคดีที่มีการยกฟ้องนายตำรวจที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
 
                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้ทางการไทยนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยผ่านกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม รวมทั้งตัวผู้ที่มีพยานหลักฐานที่รับฟังได้มากเพียงพอและยืนยันว่าเกี่ยวข้องในการสั่งการ การ ปฏิบัติหรือการปกปิดกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายที่มีต่อสมชาย นีละไพจิตร และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่กระทำต่อเขา โดยไม่คำนึงว่าบุคคลดังกล่าวจะมีตำแหน่งหรือยศใด
 
                อีกครั้งเรียกร้องให้ทางการไทยรับประกันว่า ครอบครัวของสมชาย นีละไพจิตรสามารถเข้าถึงการเยียวยาจากการบังคับบุคคลให้สูญหาย รวมทั้งการชดเชย ค่าเยียวยา การบำบัดฟื้นฟู ความพึงพอใจ และการรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก
 
                การแก้ปัญหากรณีการสูญหายของสมชาย นีละไพจิตรเป็น “บททดสอบสำคัญ” ในแง่การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในไทย รวมทั้งการให้การเยียวยาและการชดเชยเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงใจหรือความสามารถของทางการไทยในการแก้ปัญหาการลอยนวลพ้นผิดของผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ
 
                ความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาความจริงและความยุติธรรมอย่างต่อเนื่องในกรณีของสมชาย นีละไพจิตร และการสูญหายในกรณีอื่น การคุกคามที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเขาและอดีตลูกความของเขาที่พยายามแสวงหาการเยียวยา เน้นให้เห็นความจำเป็นที่ทางการต้องประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบทางสิทธิมนุษยชน และต้องประกันให้เกิดบรรยากาศที่ประชาชนสามารถเข้าแจ้งความเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน และกล้าที่จะแสวงหาการเยียวยาโดยไม่กลัวการตอบโต้
 
                 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอเรียกร้องอีกครั้งให้ทางการยุติการลอยนวลพ้นผิด และประกันให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน อย่างถี่ถ้วน อย่างเป็นอิสระและอย่างไม่ลำเอียง ต่อการแจ้งความกรณีผู้สูญหายทุกกรณี ทั้งนี้เพื่อให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษและเพื่อให้การคุ้มครองอย่างเป็นผลต่อผู้เสียหาย ผู้แจ้งความ พยาน และครอบครัวของพวกเขาในระหว่างที่มีการดำเนินคดี
 
ข้อมูลพื้นฐาน
 
                นายสมชาย นีละไพจิตร อายุ 53 ปี ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และรองประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ได้ถูกบังคับให้สูญหายในช่วงค่ำ วันที่ 12 มีนาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าผู้ลงมือกระทำเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบห้านาย ก่อนหายตัวไปอย่างลึกลับเพียงหนึ่งวัน นายสมชายได้ยื่นหนังสือร้องเรียนในนามของลูกความห้าคนซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาสเมื่อเดือนมกราคม 2547 และได้ร้องเรียนกับนายสมชายว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายร่างกายเพื่อบังคับให้รับสารภาพระหว่างถูกควบคุมตัว
 
                เดือนเมษายน 2547 เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้านายได้ถูกจับกุมในข้อหาเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย แต่เนื่องจากกฎหมายไทยไม่มีข้อบัญญัติโดยตรงในกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหาย จึงไม่มีการตั้งข้อหาการทำให้บุคคลสูญหายต่อตำรวจ และเนื่องจากไม่สามารถค้นพบศพของนายสมชาย และเป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักเกณฑ์ด้านพยานหลักฐานของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้ไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรมต่อตำรวจได้ เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนข้อหาเป็นการปล้นทรัพย์และการใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
 
                เดือนมกราคม 2549 เจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งในห้านาย ได้ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลาสามปี ส่วนตำรวจอีกสี่นายสามารถกลับไปทำงานโดยไม่ถูกลงโทษ ขณะนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ในศาลฎีกา
 
                ปี 2554  ศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจจากความผิดฐาน กักขังหน่วงเหนี่ยว  และความผิดต่อเสรีภาพ และเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นจำเลยเพียงคนเดียวได้หายตัวไปอย่างปริศนา อีกทั้งยังตัดสิทธิของครอบครัวในการเข้าเป็นโจทก์ร่วม  เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าทนายสมชายบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต 
 
                หลังการหายตัวของทนายสมชาย ครอบครัวนีละไพจิตรต้องอยู่อย่างหวาดระแวง มีโทรศัพท์ข่มขู่เป็นระยะให้ระมัดระวังอาจมีอันตราย
 
                เดือนธันวาคม 2555 เจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมแจ้งแก่ผู้สื่อข่าวว่าเอกสารสำนวนคดีของทนายสมชาย นีละไพจิตร หายไปบางส่วนระหว่างที่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเข้ายึดพื้นที่สำนักงาน แต่หลังจากครอบครัวนีละไพจิตรยื่นหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงและขอให้เร่งรัดการดำเนินคดี เจ้าหน้าที่ให้สัมภาษณ์ต่อมาว่าพบเอกสารสำนวนคดีของทนายสมชายแล้ว
 
                ข้อร้องเรียนเรื่องการถูกทรมานจากลูกความทั้งห้าคนของทนายสมชายได้รับการสอบสวน เมื่อธันวาคม 2553 ข้อร้องเรียนดังกล่าวถูกยกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมพิสูจน์ได้ว่ามีการทรมาน ต่อมาลูกความคนหนึ่งได้ถูกตำรวจแจ้งความกลับในข้อหาแจ้งความเท็จ ในปี 2554 ศาลอาญากรุงเทพตัดสินว่าจำเลยมีความผิดจากการให้หลักฐานปรักปรำเจ้าหน้าที่รัฐ และลงโทษจำเลยด้วยโทษจำคุกสองปี ส่วนลูกความอีกหนึ่งคนที่เป็นพยานให้การถึงการหายตัวไปของทนายสมชายได้หายตัวไปในปี 2552
 
 
AMNESTY INTERNATIONAL
PUBLIC STATEMENT
 
12 March 2014
ASA 39/001/2014
 
Thailand: 10 years on, find truth and justice for family of Somchai Neelapaijit
 
                On the tenth anniversary of the enforced disappearance in Thailand of human rights lawyer Somchai Neelapaijit, Amnesty International calls on the Thai authorities to establish his fate and whereabouts and to bring suspected perpetrators to justice. The organization is calling also on authorities to promptly ratify the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance, signed by Thailand on 9 January 2012, and to implement it into national law.
 
                Somchai Neelapaijit disappeared in Thailand’s capital Bangkok on 12 March 2004. Despite the concerted efforts of his family and civil society groups in Thailand to find the truth, his fate and whereabouts remain unknown. Amnesty International considers Somchai Neelapaijit’s disappearance to be an “enforced disappearance” – carried out by state agents or by persons acting with their authorization, support or acquiescence.
 
                The Thai authorities have so far not held anyone responsible for the disappearance. In addition, the Court of Appeal has ruled that Somchai Neelapaijit’s family has no right to appeal against the acquittal of a policeman suspected of involvement.
 
                Amnesty International calls once more on the Thai authorities to bring to justice, in fair proceedings, all those against whom there is sufficient admissible evidence that they took part in ordering, carrying out or covering-up Somchai Neelapaijit’s enforced disappearance and any other human rights violation to which he may have been subjected, irrespective of rank or official position.
 
                The organization again calls for the Thai authorities to ensure that Somchai Neelapaijit’s family can access reparation for his enforced disappearance, including restitution, compensation, rehabilitation, satisfaction and guarantees of non-repetition.
 
                The handling of Somchai Neelapaijit’s disappearance has been a ‘litmus test’ for the respect for human rights in Thailand, and the provision of redress and remedy for human rights violations. It has given rise to doubt around the Thai authorities’ willingness or ability to address impunity for human rights violations and crimes under international law.  
 
                The continuing need for truth and justice in Somchai Neelapaijit’s case and other cases of disappearance, and the intimidation faced by both his family and former clients in seeking redress, highlights the need for authorities to ensure accountability in cases of human rights violations and abuses and to guarantee a climate in which people may report on all alleged violations of human rights by state officials and seek redress without fear of reprisal.
 
                Amnesty International renews calls on authorities to end impunity and ensure a prompt, thorough, independent and impartial investigations into all reports of disappearance, for suspected perpetrators to be brought to justice and to provide effective protection to victims, complainants, witnesses and their families during the process.
 
Background information
 
                A respected lawyer, Somchai Neelapaijit was President of the Muslim Lawyers Club of Thailand and Vice President of the Human Rights Committee of the Law Society of Thailand. He was a prominent critic of the declaration of martial law in Thailand’s southern provinces and had received death threats.
 
                At the time of his disappearance, Somchai Neelapaijit was representing five individuals detained in connection with the theft of weapons from an army camp in Thailand’s southern Narathiwat Province. They had alleged that police had tortured them to elicit a false confession, and on 11 March 2004, the day before Somchai Neelapaijit disappeared, authorized him to make a written complaint to the authorities.
 
                Somchai Neelapaijit, then aged 53, disappeared in Bangkok on the evening of 12 March 2004, when he was removed from his car and abducted by a group of men. According to plausible evidence, including eyewitness statements, five plain-clothed police officials were involved in the disappearance. Senior government officials have publicly stated that there is evidence that Somchai Neelapaijit is dead.
 
                In April 2004, five policemen were arrested in relation to Somchai Neelapaijit’s disappearance. They were charged with the offences of theft and violent coercion – they could not be tried for enforced disappearance, in the absence of domestic legislation making it a crime. In January 2006, one of the policemen was sentenced to three years' imprisonment for coercion, while the other four were acquitted and permitted to resume duties.
 
                In 2011, Thailand’s Court of Appeal overturned the judgment and acquitted the convicted police officer, who had gone missing while on bail after his original sentencing. The Court of Appeal also denied Somchai Neelapaijit’s family the right of appeal, holding that they are not “injured parties” and cannot act for Somchai on the basis that there is no proof that he is dead.
 
                Somchai Neelapaijit’s family has vigorously sought justice for his disappearance, and has faced intimidation including threatening telephone calls and death threats.
 
                In December 2013, officials at the Ministry of Justice’s Department of Special Investigation informed the media that part of the investigation file on Somchai Neelapaijit’s disappearance went missing during anti-government protesters’ occupation of the building in which it was kept. Following further inquiries by the family, the officials confirmed that the whole investigation file has been retrieved.
 
                While the torture complaint against Somchai Neelapaijit’s five clients was investigated, it was dismissed in December 2010 largely on the basis of inconclusive physical evidence of torture. A policeman allegedly involved in the torture then filed a complaint against one of Somchai Neelapaijit’s five clients, Suderueman Malae, for issuing a false complaint. In 2011, a Bangkok criminal court found him guilty of maliciously giving information to judicial officers and sentenced him to two-years’ imprisonment. Another of the clients, Abdulloh Abubakaree, who acted as a witness in the trial on Somchai Neelapaijit’s disappearance, disappeared in 2009.