Skip to main content

 ปอเนาะปมปัญหาของรัฐในอดีต

        จากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งมักมีคำว่าปอเนาะเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการสั่งปิด “ปอเนาะสะปอม” หรือ “โรงเรียนอิสลามบูรพา” จ.นราธิวาส ในข้อหาว่ามีบุคลากรทางการศึกษาที่นี่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงถึงขั้นก่อการร้ายในพื้นที่ 

        ภายหลังจากการสั่งปิดสถาบันดังกล่าวยิ่งทำให้ปอเนาะจะถูกมองจากรัฐบาลและคนทั่วไปหรือสังคมภายนอก ว่าเป็นสถานศึกษาที่บ่มเพาะความคิดบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติอย่างเหมารวม

        เจ้าหน้าที่หลายคนถึงกับให้ข้อมูลผ่านสื่อว่าโรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตระเบิดเพื่อส่งกระจายไปก่อเหตุในเกือบทุกพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และเป็นแหล่งบ่มเพาะเพื่อผลิตโจรใต้ ใช้ในการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่

        การเข้ามาตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจึงทำให้นายการัณย์  ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น ได้ลงนามถอนใบอนุญาต “มูลนิธิอัดดีรอซาตอัลอิสลามียะห์” โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 85 (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 เพื่อปิดการเรียนการสอนของโรงเรียนอิสลามบูรพาในวันที่ 5 ก.ค.2550 จึงไม่สามารถเปิดได้อีกถึงปัจจุบัน

        ผลของเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ฝ่ายผู้บริหาร ครู และอุสตาซเกือบทั้งหมดของโรงเรียนต้องออกเรียกร้องเนื่องจากพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบ บุคคลที่ถูกจับกุมก็ไม่มีความเกี่ยวพันกับทางโรงเรียน ขณะที่เด็กนักเรียนของอิสลามบูรพาในขณะนั้นต่างก็ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีที่เรียนแม้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะพยายามโอนย้ายเด็กไปเรียนยังโรงเรียนแห่งใหม่ แต่พวกเขาต่างก็เฝ้ารอมาตลอดว่าโรงเรียนของพวกเขาจะเปิดอีกเมื่อไหร่พวกเขาก็ยังคิดถึงและผูกพันกับโรงเรียนเก่าอยู่เสมอ

เสียงของศิษย์เก่า-ผมเอง

        ผม นายทวีศักดิ์   ปิ  ซึ่งเป็นบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปัจจุบันเป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคมปาตานี  ผมเป็นศิษย์เก่ารุ่นสุดท้ายของโรงเรียนอิสลามบูรพาที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 ก่อนที่หน่วยความมั่นคงจะเข้ามาตรวจค้นจึงเป็นเหตุให้ถูกยึดใบอนุญาตในเวลาต่อมา ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวการสั่งปิดโรงเรียนปอเนาะหรือโรงเรียนอิสลามบูรพา กลายเป็นข่าวที่โด่งดังมาก

        เวลาผมแนะนำตัวเองว่าจบจากสถาบันแห่งนี้ ทำให้การไปไหนมาไหนของผมในเวลานั้น ต้องรับมือกับคำถามที่มีของผู้คนที่พยายามสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เวลาเพื่อนถามว่า “จบจากไหน” เวลาที่บอกว่า จบจากอิสลามบูรพา มักจะมีคำถามต่ออยู่เสมอ “ออ....โรงเรียนที่ถูกปิด แล้วเป็นไงบ้าง?”

        สำหรับผมแล้ว ข่าวที่สื่อมวลชนได้ออกในเวลานั้นเป็นข่าวที่ดังมาก ผมขอยกตัวอย่าง ข่าวจากสำนักหนึ่งที่ได้เขียนข่าวว่า การสั่งปิดโรงเรียนอิสลามบูรพาเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตโจรใต้ ผมมีความรู้สึกเหมือนกับว่าสถาบันที่ผมได้เรียนมาเป็นโรงงานที่ผลิตโจร ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นผู้บริสุทธ์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน

        ผมเฝ้ารอมาตลอดว่าโรงเรียนเก่าของตนจะเปิดอีกเมื่อไหร่กันแม้เวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปี แต่ผมก็ยังคิดถึงและผูกพันกับโรงเรียนอยู่ตลอดเวลา

 

อิสลามบูรพากลับมามีชื่ออีกครั้ง

        สำหรับข่าวดีของบรรดาผู้บริหาร อุสตาส ครู และศิษย์เก่าของโรงเรียนอิสลามบูรพา มีความหวังอีกครั้ง ภายหลังจาก พ.ต.อ ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. คนใหม่ เดินทางมาที่โรงเรียนอิสลามบูรพา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา พ.ต.อ ทวี ได้หารือกับคณะครู อุสตาซหลายคน ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจว่า โรงเรียนอิสลามบูรพา จะกลับมาเปิดอีกครั้ง เพราะครั้งนี้เลขาธิการ ศอ.บต.มาเอง ทำให้ชาวบ้านมั่นใจมากที่สุดว่าโรงเรียนจะกลับมาเปิดอีกครั้งในเร็วๆ นี้

        ในวันทีจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานาธิวาสเขต 1 ได้ออกหนังสืออนุญาติให้เปิดการเรียนการสอนได้อีกครั้ง ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 เลขาธิการ ศอ.บต. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง   ในฐานะ เลขาธิการ ศอบต. คนใหม่ เดินทางไปที่โรงเรียนด้วยตัวเองหลังรับตำแหน่งหมาดๆ ได้ลั่นวาจาว่า จะต้องมีการ ผลักดันให้เปิดอีกครั้ง เพราะคดีความทั้งหมดที่เกี่ยวกับโรงเรียน ศาลก็ยกฟ้องหมดแล้ว จึงไม่น่าจะมีเงื่อนไขใดๆ อีก

        ในที่สุดความพยายามก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 1 ได้ลงนามในคำสั่งอนุญาตเปิดดำเนินการโรงเรียนอิสลามบูรพาได้ อีกครั้ง หลังจากผ่านกระบวนการตรวจสอบ ตามขั้นตอนของกฎหมาย

        โรงเรียนอิสลามบูรพาเปิดรอบสอง อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ในวันนั้น ได้มีจัดงานฉลองวันเปิดโรงเรียน ได้มี เลขาธิการ ศอบต. เป็นผู้มอบใบอนุญาตเปิดโรงเรียน เป็นพิธี  และได้มีการเปิดสมัครรับสมัครนักเรียน ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555 โดยเปิดทำการเรียนการสอน สายสามัญ มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และสายศาสนาชั้นปี่ที่ 1-10

        ในปัจจุบัน ทางโรงเรียนจำเป็นต้องสร้างอาคารมัสยิดภายในโรงเรียน จึงขอเรียนเชิญทุกร่วมรับประทานอาหาร และร่วมบริจาค ในวันที่ 10 มีนาคม 2557  ณ โรงเรียนอิสลามบูรพา บ้านใหม่ หมู่ที่ 5 ตำบล กะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

 

การปิดอิสลามบูรพา สร้างนักต่อสู้ รางวัล สิทธิและสันติภาพ

 

  color:windowtext">“แยน๊ะ สะแลแม”    สตรีนักผู้ปกป้องสิทธิแดนใต้ 

     หลังจากเหตุการณ์ที่ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547   ลูกชายโดนข้อหาเป็นแกนนำในการชุมนุม เจ้าหน้าที่ยังตั้งข้อหาด้วยว่าเขามีอาวุธซ่อนอยู่ กะแยนีะ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทนายความจากสภาทนายความ ที่มาจากกรุงเทพ กับจำเลยในคดีตากใบ เหตุการณ์ตากใบ ยังไม่ถึงไหน เหตุการณ์ปิดล้อมตรวจค้น โรงเรียนอิสลามบูรพา ก็เกิดขึ้น ทำให้ ตนเพิ่มภาระหน้าที่ ที่จะต้องต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมกับ โรงเรียนอิสลามบูรพาที่ถูกปิด  จึงกลายเป็น นักต่อสู้ สิทธิ มนุษย์ชน เป็นที่รู้จักของ ทุกคน

 

ซูไบดะห์ ดอเลาะเจ้าของรางวัลสตรีสันติภาพ

ตั้งแต่โรงเรียนถูกปิด ซูไบดะห์ ในฐานะครูใหญ่โรงเรียนอิสลามบูรพา  ไม่หยุดนิ่ง เธอต่อสู้ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมมาตลอด พยายามส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเดินสายขึ้นเวทีเสวนาเพื่อยืนยันว่าการปิดโรงเรียนไม่ใช่แนวทางแก้ไข ปัญหาที่ถูกต้อง เนื่องจากอาคารสถานที่ไม่ได้ผิด

จนทำให้ เธอเป็นที่รู้จัก ในหมู่คณะ ของนักสิทธิมนุษย์ชน และได้รับรางวัลสตรีสันติภาพ

 

(หมายเหตุ ข้อมูลบางส่วน ได้รับจาก ศูนย์ข่าวอิสรา และ DSJ)