Skip to main content
normal">อัลฮัมดุลิลละฮ์ การจัดงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ในวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี ได้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ในงานวันนั้นแม้ผมจะมีภารกิจหลายอย่าง แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่พอจะมานำเสนอในที่นี่ได้ นั่นคือ การกล่าวรายงาน ซึ่งต้องรับหน้าที่แทนอาจารย์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเดินทางกลับเข้าพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานีในเช้าวันนั้น
ข้างล่างนี่คือคำกล่าวของผมครับ
 

 

 
ท่านรองอธิการบดี
ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
ท่านผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี)
และพี่น้องเครือข่ายสื่อและภาคประชาสังคมทุกท่าน
            กระผม ในนามของตัวแทนเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ซึ่งริเริ่มผลักดันให้เกิด "วันสื่อทางเลือกชายแดนใต้" มาตั้งแต่ปี 2554 มีการจัดงานต่อเนื่องกันมาแล้วสามครั้ง ประสบความสำเร็จในแง่ของการ "สร้างพื้นที่การทำงาน" “สร้างตัวตน" และ "สร้างบทบาทความสำคัญ" ให้กับสื่อทางเลือกชายแดนใต้ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยประเมินจากเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้สามารถสื่อสารประเด็นที่แหลมคมและกำหนดวาระการสื่อสารเกี่ยวกับสันติภาพในพื้นที่ได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถกำหนดทิศทางข่าวสารของความขัดแย้งได้ ไม่ว่าเครือข่ายต่างๆจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ก็ตาม
            และในวาระ 10 ปีแห่งความรุนแรงรอบใหม่ตั้งแต่ปี 2547 และครบรอบ 1 ปีการพูดคุยสันติภาพ จึงต้องการปักหมุดหมายใหม่ ให้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็น 'วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี' เนื่องจากเป็นวันที่คู่ขัดแย้งหลักทั้งสองฝ่ายคือตัวแทนรัฐไทยและตัวแทนขบวนการ BRN ได้ทำข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพ
            วันนี้ก็น่าจะเป็น 'วันแห่งเสียงสันติภาพ' อันเป็นจุดริเริ่มสำคัญให้ประชาชนในพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีโอกาสพูดเรื่องอนาคตของชายแดนใต้ได้อย่างอิสระมากขึ้น ส่งผลให้ความรู้สึกและบทสนทนาของชาวบ้าน ชุมชน เปลี่ยนไปอย่างมีความหวัง เสรีภาพในการพูดเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงและตัวตนของคู่ขัดแย้งก็เปลี่ยนไป วิธีคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาก็มุ่งเน้นแนวทางการเมืองมากขึ้น อัตลักษณ์ความเป็นมลายูมุสลิมได้รับการยอมรับสูงขึ้น
            รวมทั้งภาคประชาสังคมชายแดนใต้ปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานของตนเองและกลุ่มมีทิศทางการทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นนัยยะที่สำคัญของ 1 ปีสนามสันติภาพที่เกิดขึ้น
โดยวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้
1. เพื่อทบวนความรู้และการเคลื่อนไหวทางสังคมของเครือข่ายสื่อและภาคประชาสังคมในห้วงเวลา 10 ปีของการใช้ความรุนแรง และทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นใน 'สนามสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี' ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
2. เพื่อสร้างพื้นที่/เกิดการเรียนรู้การทำงานร่วมกันของเครือข่ายสื่อและภาคประชาสังคมชายแดนใต้ เพื่อเชื่อมร้อย เสริมพลังการทำงานของคนในแทร็ค 2 (ภาคประชาสังคม) กับคนในแทร็ค 3 (ชุมชนระดับฐานราก) ให้เป็นตาข่ายนิรภัย/ เครือข่ายหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพให้มั่นคงและแข็งแรงมากขึ้น
normal">3. เพื่อสื่อสารความต้องการสร้างกระบวนการสันติภาพ normal">จาก " normal">คนข้างล่าง" normal">และ " normal">คนใน" normal">ให้คู่ขัดแย้งหลัก และผู้ใช้ความรุนแรงจากทุกฝ่าย รวมทั้งสังคมไทยและนานาชาติได้ยิน
            normal">โดยงานครั้งนี้ มีเครือข่ายเข้าร่วมจัดงานมากกว่า normal">40 องค์กร มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 500 normal">คน ที่พร้อมร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ ในการร่วมขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ให้เดินหน้าต่อไปได้ จนกลายเป็นความหวังของพี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสังคมไทย
            normal">บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านรองอธิการบดี กล่าวเปิดงานด้วยครับ.