Skip to main content
 
 
กลุ่มด้วยใจและเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานในองค์กรพัฒนาเอกชนได้ยกร่างแถลงการณ์ขึ้นมาฉบับหนึ่งซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างหนักในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะการส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กและผู้หญิง ตลอดไปจนถึงพระสงฆ์ในเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราจึงอยากรวบรวมรายชื่อผู้ที่เห็นด้วยในแถลงการณ์ข้างท้ายนี้ โดยสามารถติดต่อประสานงานได้โดยตรงที่ อัญชนา หีมมิหน๊ะ เบอร์โทร 081-8098609 หรือหน้าวอลล์ของอัญชนา ที่ Anchana Heemmina
 
 
แถลงการณ์องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชนทั่วไป
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557
 
การกระทำต่อเด็กและผู้หญิงในจังหวัดชายแดนใต้
 
จากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมาได้ส่งผลต่อเนื่องในการใช้ความรุนแรงและส่งผลโดยตรงต่อเด็กและผู้หญิงรวมไปถึง พระ โดยเฉพาะในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่มีเหตุรุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้ง เด็ก ผู้หญิง คนชรา และพระที่เป็นศูนย์รวมใจของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ  นอกจากนี้การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากเหตุวันที่ 3 กุมภาพันธ์เป็นต้นมาก็เป็นเหตุที่เกิดกับประชาชนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและศาสนา
 
ทั้งนี้ไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับด้วยกันอาทิเช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination – CERD) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิง (The UN Declaration on the Elimination of Violence Against Women: CEDAW) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ซึ่งอนุสัญญาได้ให้ความสำคัญในการไม่ยอมรับความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และการกระทำที่แบ่งแยกทางเชื้อชาติ ดังนั้นไทยจึงมีพันธะที่จะต้องให้การปกป้องและคุ้มครองประชาชนตามสนธิสัญญาที่กล่าวมาข้างต้น
 
ในทางกลับกันผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงก็ต้องคำนึงถึง Jus In Bello ("[What is] right in war") หรือการปฏิบัติท่ามกลางภาวะสงครามคือ การแยกแยะความแตกต่าง (Discrimination) กล่าวคือ ผู้ทำหน้าที่ในการรบต้องแยกระหว่างประชาชนที่บริสุทธิ์กับทหารของฝ่ายตรงข้าม หลีกเลี่ยงความรุนแรงที่โหดร้ายป่าเถื่อนและไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ในไม่ทำลายศพด้วยการตัดคอ ตัดแขน ตัดขา หรือหั่นศพ หรือฆ่าแล้วเผาไม่ฆ่าเด็ก คนชรา ทาส ผู้หญิง และนักบวช ผู้ทรงศีลไม่ทำลายศพด้วยการตัดคอ ตัดแขน ตัดขา หรือหั่นศพ หรือฆ่าแล้วเผาไม่ฆ่าเด็ก คนชรา ทาส ผู้หญิง และนักบวช ผู้ทรงศีลการทำสงครามตามหลักศาสนาอิสลาม จะต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมในการทำสงคราม ซึ่งปรากฏในหลักคำสอน และแบบฉบับของท่านรอซู้ล (ซล.) อาทิเช่น :ห้ามฆ่าผู้ทรงศีลห้ามฆ่า เด็ก สตรี คนชรา ผู้ป่วยและ ห้ามการทำลายศพ
 องค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายจึงขอเรียกร้องต่อทุกฝ่ายดังนี้
 
 1.    ขอเรียกร้องให้ทุกคนในสังคมปฏิเสธความรุนแรงในทุกกรณีที่กระทำต่อผู้บริสุทธิ์โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง และผู้นำทางจิตวิญญาณ
 
2. เรียกร้องให้รัฐที่มีพันธะ หน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดำเนินการหามาตรการป้องกันเหตุอย่างจริงจังและแสวงหาความร่วมมือร่วมจากทุกฝ่าย
 
3. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่ใช้ความรุนแรงหยุดการกระทำต่อผู้บริสุทธิ์โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีอาวุธที่จะลุกขึ้นมาตอบโต้ได้เช่น เด็ก และผู้หญิง
 
สุดท้ายนี้องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชนเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตระหนักถึงปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม แต่การใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้เกิดวงจรของความไม่เป็นธรรมนี้ต่อไปไม่สิ้นสุด จึงถึงเวลาที่ทุกฝ่ายควรดำเนินการร่วมกันในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญอย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส และเป็นธรรม และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในสังคมต่อไป
 
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม อัญชนา หีมมิหน๊ะ Tel. 081-8098609
 
อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ
 
ซุไบดา เด็ง          กลุ่มด้วยใจ
 
ยามีละ ดอมอรอ   กลุ่มด้วยใจ
 
ละม้าย มานะการ เครือข่ายชาวไทยเพื่อสันติภาพ
 
งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
 
ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์  หัวใจเดียวกัน
 
ธัญญธร สายปัญญา
 
วริสรา มีภาษณ์
 
ปลายมนัส ลิ้มสุวรรณ
 
อาภินทร์ ปุรินทราภิบาล
 
ฐิตินบ โกมลนิมิ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
ดวงฤดี มหัทธนาภรณ์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
รอฮานี จือนารา ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์