Skip to main content

ความพยายามที่จะยุติความรุนแรงในเดือนรอมฏอน (Inisiatif “Cease-fire”)

Abu Hafez Al-Hakim เขียน
Abdulloh wanahmad : ถอดความ

หลังจากที่ครบกำหนดสี่สิบวันของการพยายามที่จะลดความรุนแรงในห้วงเดือนรอมฏอน ที่หลายฝ่ายต่างให้ความคาดหวังไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนทั่วไป ที่ต่างต้องการที่จะเห็นรอมฎอนปีนี้อยู่ในสภาวะแห่งความสงบ

การประเมินผลจากบรรดานักวิเคราะห์ออกมาหลายทัศนะด้วยกัน ซึ่งในความพยายามที่หาญกล้าของฝ่ายผู้อำนวยความสะดวก (มาเลเซีย) ในครั้งนี้ ที่ออกมาประกาศแถลงการณ์เพียงฝ่ายเดียวเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 (วันที่ 3 รอมฏอน) โดยนักวิเคราะห์มีความเห็นที่หลากหลายต่อเรื่องนี้ บางคนถึงกับการันตีอย่างแน่วแน่ว่า อาจล้มเหลวตั้งแต่แรกเริ่มก่อนแล้ว บางคนก็บอกว่าความล้มเหลวได้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่สองของเดือนดังกล่าวไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ยังมีอยู่บ้างผู้ที่คิดว่ามันอาจเป็นพื้นฐานแรกเริ่มสำหรับกระบวนการสันติภาพปาตานีที่มีความเปราะบางยิ่งนี้ ว่ายังคงมีความหวังที่อาจมีโอกาสเดินหน้าอีกต่อไปได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคการต่อต้านนานาจากหลายภาคส่วนก็ตาม

ตามทัศนะของผม การเจรจาเพื่อที่จะลดความรุนแรงลงในรอมฎอน เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของกระบวนการสันติภาพปาตานี ที่กำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้ อย่างน้อยก็เป็นเพียงการชั่วคราวเฉพาะหน้า ความพยายามที่"เก่งกล้าแบบไม่ถูกที่ถูกเวลา" จากผู้อำนวยความสะดวกเช่นนี้ มันไม่ควรที่จะให้เกิดขึ้นเลย โดยพิจารณาจากระยะเวลาของกระบวนการสันติภาพยังอยู่ในช่วงของการตั้งไข่เท่านั้นเอง(เพิ่งแค่ห้าเดือน) ซึ่งยังอยู่ในช่วงของการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันเท่านั้น (confidence-building)

หากมองถึง "ถนนแผนที่" (Road Map) ของกระบวนการสันติภาพปาตานี เราจะพบว่าความพยายามที่จะหยุดความรุนแรงชั่วคราว (Temporary Cease-fire) จะถูกหยิบยกขึ้นมาภายหลังจากที่ได้ผ่านช่วงเวลาของการสร้างความมั่นใจได้บรรลุถึงเป้าหมายก่อนเท่านั้น นั่นคืออย่างเร็วที่สุดจะต้องครบรอบ 1 ปี นับจากวันที่ลงนาม (28 / 2/2013) นั่นคือประมาณเดือนมีนาคม 2014

จะเห็นได้ว่าเป็นฝ่ายไทยเองที่ไม่มีความอดทน(รีบร้อน)ต่อสิ่งนี้มากกว่า ที่ได้หยิบยกเรื่องนี้มาคุยในการเจรจารอบที่ 3 เมื่อ 13 มิถุนายน 2013 เหตุผลที่เป็นข้ออ้างก็คือมันเป็นความต้องการของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ตามมาด้วยข้อเสนอแนะที่มาจากท่านผู้รู้ที่ทรงอิทธิพลท่านหนึ่งในพื้นที่และได้รับเสียงสนับสนุนความเห็นจากนักวิชาการอื่น ๆอีกหลายท่าน

เราสามารถ "วิเคราะห์" ได้ว่า ที่ฝ่ายไทยได้หยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุย ก็ด้วยสองเหตุผลหลักด้วยกัน ประการแรกคือ มาจากแรงกดดันจากพวกเดียวกันเอง ที่ต้องการเห็น "ผล" จากการเจรจาพูดคุยกับพวกโจรใต้ พวกเขามีข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดยิ่งมีการเจรจาพูดคุย ยิ่งเกิดการโจมตีจากกองกำลังติดอาวุธถี่ขึ้นเท่านั้น? ประการที่สอง ฝ่ายไทยเองต้องการที่จะพิสูจน์ให้แน่ใจว่า คณะพูดคุยที่ทำหน้าที่บนโต๊ะเจรจานั้น สามารถที่จะควบคุมกองกำลังติดอาวุธที่อยู่ในพื้นที่ได้หรือไม่?

ความจริงแล้ว ก่อนหน้านี้ทางฝ่ายนักต่อสู้ของเราเอง ก็มีบางคนที่ได้แสดงทัศนะมุมมองเพื่อที่ว่า คงจะเป็นการดีหากว่าเดือนรอมฎอน(รอมฏอนที่ผ่านมา)จะลดปฏิบัติการทางทหารลง และจำกัดเป้าหมายให้เป็นการเฉพาะ นี่เป็นนิมิตรหมายที่ดีจากเราที่มีความอะลุ่มอล่วยและความเป็นมนุษยธรรมของเหล่านักต่อสู้ที่ออกมาในรูปแบบของการ "ลดปฏิบัติการทางทหารลง”

เมื่อผู้แทนจากฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเมื่อ 2013/06/13 ในจังหวะที่ไม่มีความสมควร ก็ได้ถูกตอบรับโดยหลักการจากตัวแทนของเรา ภายใต้เงื่อนไขอีกหลายข้อที่ยื่นให้ภายหลังในเวลาต่อมา
จุดนี้เองเป็นที่เข้าใจกันว่า ได้ผ่านการหารือกับฝ่ายที่อยู่ในพื้นที่แล้ว และข้อเสนอที่ยื่นไปจำนวน 7 ข้อควบคู่กับอีก 4 เงื่อนไขจากนักต่อสู้ เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึงการลดเหตุความรุนแรงในเดือนรอมฎอนไม่ได้เป็นเพียงแค่ลดการก่อเหตุเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการหยุดปฏิบัติการณ์อย่างสิ้นเชิง( Total Suspension) นับจากสามสิบวันของเดือนรอมฏอนและอีกสิบวันของเดือนเชาวัลล์ รวมทั้งหมดสี่สิบวัน

เงื่อนไขต่างๆ (7+4) ได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ You Tube ไปแล้วก่อนหน้านี้ และได้ยื่นเอกสารอย่างเป็นทางการไปยังหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ผ่านทางผู้อำนวยความสะดวกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ตามที่ได้ชี้แจงไปแล้วก่อนหน้านี้ที่ http://www.deepsouthwatch.org/node/4551 ท่าทีจากฝ่ายไทยเองไม่ได้เป็นไปในทางบวกเลย ทั้งที่เขาเองเป็นฝ่ายแรกเริ่มที่นำเสนอก่อน อย่างเป็นทางการ มีรายงานจากแหล่งข้อมูลมาว่า ฝ่ายตัวแทนคณะพูดคุยของไทยเองไม่ได้หยิบยกเนื้อหา 7+4 ขี้นมาหารืออย่างเป็นทางการกับฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับท่านผู้บัญชาการทหารบก นอกจากว่าเป็นเพียงให้การรับรู้แก่ท่านแม่ทัพภาคที่สี่เท่านั้น

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายนักต่อสู้ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากที่คำประกาศหยุดยิงได้ออกมาในวันที่ 3 ของเดือนรอมฎอน ฝ่ายไทยคงอาจจะไม่สามารถที่จะยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวได้ เพราะเห็นว่าอาจเป็นเรื่องที่หนักเกินไปที่จะรับข้อเสนอได้ ส่วนทางฝ่ายนักต่อสู้เองก็ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับเรื่องนี้เช่นกัน เพราะไม่มีการตอบสนองใดๆ ที่เป็นที่น่าพอใจจากรัฐบาลไทย

จากข้อสังเกตของเรา ยังมีจุดอ่อนบางอย่างในการเจรจาหยุดยิงรอมฎอนในครั้งนี้คือ:

1 เพราะถูกจัดให้มีขึ้นอย่างรีบร้อน (Ad-hoc) ก่อนจะถึงจังหวะที่เหมาะสม โดยที่ยังไม่ได้ผ่านช่วงระยะเวลาที่คู่ควร คือผ่านระยะเวลาการ"สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ" ก่อนเป็นอันดับแรก


2 ปราศจากการถกเถียง การเตรียมการและการวางแผมาเป็นนอย่างดี ในความพยายามที่จะหยุดยิงเหมือนปรกติที่อื่นๆ เขากระทำกันอย่างที่ควรจะเป็น


3 เป็นการประกาศโดยฝ่ายเดียว (ผู้อำนวยความสะดวก) เท่านั้น โดยปราศจากความยินยอมอย่างเป็นรูปธรรมจากทั้งสองฝ่ายในข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีอยู่ใน "ข้อตกลงและเงื่อนไขแห่งสันติภาพในเดือนรอมฎอน 2103" ความหนา 7 หน้ากระดาษ


4 ไม่มีการตกลงอย่างเป็นทางการ และการลงนามจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด นั่นหมายถึงฝ่ายที่มีความขัดแย้งกัน สามารถที่จะยอมรับและละเมิดข้อตกลงเงื่อนไขดังกล่าวได้เช่นกัน


5 ปราศจากกรรมการ(referee) และไม่มีผู้สังเกตการณ์ (Observer) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (neutral) แม้กระทั่งทีมตรวจสอบ (monitoring team) ที่ประจำการในพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่คอยตรวจสอบว่าฝ่ายใดที่เป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลง


6 ไม่มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ ถึงรายละเอียดที่มีอยู่ในข้อตกลงและเงื่อนไข เกี่ยวกับสิทธิในการได้รับการคุ้มครองของพวกเขา(ประชาชน)และสถานที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ หากว่าสิทธิดังกล่าวถูกละเมิดโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

อะไรที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอนและอีกสิบวันของเดือนเชาว์วัลที่ผ่านมา ซึ่งได้เป็นที่รับรู้กันมาแล้วโดยทั่วกัน เพียงช่วงแรกของเดือนรอมฏอน เหมือนเป็น "สัญญาณ"ที่ดีว่า การหยุดยิงเดือนรอมฏอนนั้นเสมือนว่าจะเป็นจริง แต่ "ความเงียบ" เพียงชั่วคราวนั้น เป็นเพียงปรากฏการณ์ภาพลวงตาเท่านั้น ถึงที่สุดแล้วก็เข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่แตกต่างกับก่อนถึงเดือนรอมฏอนมากนัก

ทางฝ่ายเราคาดว่าปฏิบัติการณ์ที่รุมเร้ายิ่งนี้ ได้เริ่มมานับตั้งแต่จากการที่ได้มีการลอบยิงผู้ต้องสงสัยที่ต่อต้านรัฐ หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการประกันตัว และผู้ที่ได้รับการยกฟ้องจากศาลไปแล้ว ในบรรดาพวกเขาได้ถูกฆ่าตาย ใครหรือเป็นผู้กระทำ? มีความเป็นไปได้สูงที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้กระทำหรือโดยบุคคลที่ติดอาวุธ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ หรือฝ่ายรัฐที่อยู่นอกเหนือการควบคุมซึ่งพวกเขาเองก็รู้ตัวดี หลังจากนั้นก็มีการตอบโต้จากฝ่ายนักต่อสู้ ตามมาด้วยการปิดล้อมตรวจค้นและเกิดการปะทะกันโดยกองกำลังติดอาวุธของไทย และนักสู้ก็ตอบโต้ตามหน้าที่อีกครั้งหลังจากที่หมดความอดทน

ในที่สุดตัวแทนจากเหล่านักต่อสู้ที่นำโดยฝ่ายกองกำลังติดอาวุธ ได้ออกมาประกาศผ่านยูทูปอีกครั้ง ที่ได้นำมติชี้ขาดจากสภาชูรา ถึงความล้มเหลวของรัฐไทยที่ทำการละเมิดข้อกำหนดและเงื่อนไขที่มีอยู่ในเอกสารการหยุดยิงรอมฎอน ที่ฝ่ายเขาเองเป็นผู้จุดประกายในเรื่องนี้ ทำให้การพูดคุยอย่างเป็นทางการกับรัฐไทยถูกระงับไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าฝ่ายไทยจะให้คำตอบต่อข้อเงื่อนไขเบื้องต้นทั้ง 5 ข้อที่ได้ยื่นเสนอไปก่อนหน้านี้

นั่นคือข้อสรุปที่ได้นำเสนอผ่านสื่อประจำวัน(สื่อกระแสหลัก)ไปยังพี่น้องประชาชนถึงความข่มชื่นที่จำต้องฝืนกลืนเข้าไป ว่ารอมฏอนปีนี้อาจมิได้เป็นไปอย่างที่พวกเขาคาดหวังไว้ ในขณะเดียวกันมีบางส่วนได้ออกมาวิเคราะห์ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นการลอบยิง การฆ่ากัน การลอบวางระเบิด การโจมตีด้วยอาวุธ การลอบวางเพลิงและอื่น ๆ และได้มีการสรุปสถิติออกมาว่า ภึงแม้จำนวนเหตุการณ์จะลดลง แต่จำนวนผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้น สำหรับฝ่ายไทยเองก็เชื่อมั่นว่าการเจรจาหยุดยิ่งในเดือนรอมฏอนนี้โดยตัวของมันเองมีความสำคัญมากทีเดียว และเริ่มที่จะเชื่อมั่นว่า พวกเขา(รัฐไทย)กำลังพูดคุยกับตัวจริงที่ก่อนหน้านี้พวกเขาเองยังไม่มีความมั่นใจ

สำหรับเราแล้วความพยายามที่จะยุติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนไม่ได้บรรลุผลอย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้งเพราะมันไม่ได้เป็นวาระเดิมของเราแต่อย่างใด อย่างน้อยเป็นแค่ในขั้นตอนนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามบทวิเคราะห์ที่มาจากหลายๆ ฝ่ายไม่ได้อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของเราแต่ประการใด ที่ว่าการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันควรจะเป็นเป้าหมายและวาระแรกของเรามากกว่า ในที่นี้สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า การเสริมสร้างเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความเชื่อใจระหว่างกันและความจริงใจนั้น ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเลยที่เดียว

ถึงแม้ว่าจะมีบทเรียนจากประสบการณ์เพื่อหยุดยิงในเดือนรอมฎอนในครั้งนี้ จะมีก็เป็นเพียงเรื่องที่น่าเศร้าเท่านั้น ในสถานการณ์ที่ฝ่ายนักต่อสู้ที่อยู่บนโต๊ะเจรจาจะสวมบทบาทเป็นผู้เฝ้ามองและสังเกตการณ์ และในขณะเดียวกันกองกำลังที่อยู่ในพื้นที่ก็จะทำหน้าเฝ้าระวังตรวจสอบความจริงใจของฝ่ายไทยอยู่ด้วยเช่นกัน ในฐานะเป็นฝ่ายที่ยื่นข้อเสนอการหยุดยิงนี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ฝ่ายไทยเองกลับเป็นผู้ละเมิดข้อกำหนดที่มีอยู่ในข้อตกลงและเงื่อนไข "การหยุดยิงเพื่อสันติภาพรอมฏอน 2013” เสียเอง ตามที่เราได้รับรู้กันมาแล้ว การโป้ปดมดเท็จของฝ่ายไทยก็ได้ถูกโต้ตอบด้วยการติดป้ายผ้านับร้อยผืนที่ขับไล่ทหารออกจากพื้นที่ โดยประกาศอย่างประจักษ์ชัดว่าฝ่ายไทยนั้นคือจอมผู้ร้าย จอมทำลาย จอมหลอกลวง จอมใส่ร้าย

บัดนี้การพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพปาตานีในทางเปิด(ทางการ)จะถูกยุติไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าฝ่ายไทยจะตอบข้อเสนอเบื้องต้นทั้งห้าข้อเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ ในระหว่างนี้จะเป็นเพียงการประสานโดยผ่านฝ่ายผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น โดยจะไม่มีการเผชิญหน้ากันโดยตรงบนโต๊ะเจรจาอีกต่อไป หวังว่าการเจรจาหยุดยิงรอมฎอนครั้งที่ผ่านมา จะเป็นข้อเตือนใจว่าสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง หากมีความต้องการอย่างแน่วแน่ จะต้องมีการวางแผน หารืออย่างรอบคอบ ต้องเห็นพ้องต้องกันและได้รับการยอมรับร่วมกันก่อนที่จะดำเนินการต่อไป เรายังหวังว่าภายหลังจากนี้กระบวนการสันติภาพปาตานีจะยังคงเดินหน้าต่อไปได้

 

Cuka dan Madu
Dari Luar Pagar Patani
Syawal /Ogos 2013

  (หมายเหตุบทความนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากบทแรกที่เผยแพร่ผ่านทาง http://www.deepsouthwatch.orgเมื่อ 28/07/2013)