Skip to main content

 

ชุดรายงานจำนวน 4 ตอนจบเรื่อง “ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ” นี้ เคยเผยแพร่ในเว็บไซต์ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ในช่วงปี 2554 - 2555 โดยเป็นการเรียบเรียงมาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการสำรวจและจัดทำแผนผังองค์กรประชาสังคม/องค์กรชุมชนที่ทำงานในภาคใต้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP) ซึ่งจัดทำโดย มูฮำมัดอายุบ ปาทาน และคณะ

 
กรุณาคลิกดาวน์โหลดรายงานในรูปแบบไฟล์ pdf
 
[คลิกที่ภาพเพื่ออ่านแบบ e-book]
 
หรือคลิกอ่านแต่ละตอน ตามลิงค์ต่อไปนี้
 

 
 
ทบทวนแนวความคิดเกี่ยวกับ “ประชาสังคม” ที่ถือกำเนิดในสังคมประชาธิปไตยตะวันตกและสร้างข้อถกเถียงในโลกนอกตะวันตกอื่นๆ รวมทั้งโลกมลายูและโลกมุสลิม ในขณะที่การพิจารณาประชาสังคมทั้งในฐานะที่เป็น “พื้นที่ทางการเมือง” ซึ่งแต่ละฝ่ายมุ่งใช้ต่อรอง และในฐานะ “ตัวแสดง” สำคัญในความขัดแย้งอาจส่งผลให้มองเห็นความเป็นไปได้ของสันติภาพบางประการ
 

 
 
สำรวจความรู้และประสบการณ์โดยย่นย่อเพื่อตอบโจทย์ที่ว่าเมื่อความขัดแย้งปะทุเป็นความรุนแรงทางการเมืองขึ้นมาแล้ว กลุ่มองค์กรประชาสังคมอยู่ตรงไหนและมีบทบาทหน้าที่อย่างไรได้บ้าง? ความแตกต่างหลากหลายในหมู่พวกเขาจะสร้างโอกาสให้กับสันติภาพได้อย่างไร? การรวมกลุ่มในอาณาบริเวณนอกรัฐเช่นนี้จะนำพาสังคมที่แตกร้าวจากความรุนแรงไปได้อย่างไร?
 

 
 
‘องค์กรประชาสังคม’ ในบริบทของชายแดนใต้คืออะไรและเป็นใครบ้าง? รายงานตอนที่ 3 ซึ่งถอดมาจากงานวิจัยชิ้นนี้พยายามแจกแจงให้เห็น โดยการประมวลคำนิยามและแชร์ฐานข้อมูลเปิดเกี่ยวกับ ‘องค์กรประชาสังคม’ ที่เปิดเอื้อต่อการพัฒนาร่วมกันในอนาคต พร้อมๆ กับการเป็นฐานสำหรับการทำงานร่วมกันในเชิงเครือข่ายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น
 

 
 
รายงานตอนสุดท้ายที่พุ่งตรงสู่การวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ข้อจำกัดและโอกาสของพวกเขาในการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพในอนาคตไม่สามารถถูกผูกขาดเพียงแค่คู่ขัดแย้งหลักได้อีกต่อไป
 
 
หมายเหตุ: คลิกดูแผนผังฐานข้อมูลองค์กรประชาสังคมชายแดนใต้ (ฉบับปรับปรุง 30 เมษายน 2555) ตามลิงค์ข้างล่าง