Skip to main content

 

INTERNATIONAL CONFERENCE ON
COMPARATIVE CONFLICTS AND PEACE PROCESSES
[Southern Thailand, Mindanao, Aceh, East Timor, and Myanmar]
การประชุมวิชาการนานาชาติ
เรื่อง ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในสถานการณ์สากล
(ภาคใต้ของประเทศไทยมินดาเนา อาเจะห์ ติมอร์ตะวันออก และเมียนมาห์)
 
 
25 July 2013
8.30-15.00 hrs.
Imam al-Nawawi Conference Room of International Islamic College,  the College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani campus
 
25 กรกฎาคม 2556
8.30-15.00 น.
หอประชุม Imam al-Nawawi วิทยาลัยอิสลามศึกษา อาคารวิทยาลัยอิสลามศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
 
8.30 – 9.00                 
Registration
ลงทะเบียน
 
9.00 – 9.10     
Welcoming Remark by
Assistant Professor Srisompob Jitpiromsri, Ph.D.  
Faculty of Political Science, Prince of Songkla University
กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี
 
9.10 – 9.30     
Opening Remark by
Assistant Professor Sompong Thongpong
Prince of Songkla University
กล่าวเปิดงาน โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี
 
9.30– 12.30    
Panelists’ Presentation and Discussion:
- Assistant Professor Srisompob Jitpiromsri, Ph.D. (Southern Thailand)
Faculty of Political Science, Prince of Songkla University
- Professor Susan D. Russell, Ph.D. (Mindanao)
Department of Anthropology, Northern Illinois University
- Professor Andrea Katalin Molnar, Ph.D. (Aceh & East Timor)
Department of Anthropology, Northern Illinois University
- Isaac Khen (Myanmar)
Gender and Development Initiative/Gender and Peace Study Center
ร่วมอภิปรายและนำเสนอโดย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี (ภาคใต้,ประเทศไทย)
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
- ศาสตราจารย์ ดร.ซูซาน  เรซเซล (เมืองมินดาเนา, ประเทศฟิลิปปินส์)
ภาควิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
- ศาสตราจารย์ ดร. แอนเดรีย โมลนาร์ (อาเจะห์ และ ติมอร์ตะวันออก)
ภาควิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
- คุณไอแซค  เคน (เมียนมาห์)
ศูนย์ศึกษาเพศสภาวะและการพัฒนาเพื่อสันติ
 
12.30– 13.30  
Lunch
พักรับประทานอาหารเที่ยง
 
13.30– 14.45.
Public Discussion
อภิปรายพร้อมซักถาม
 
14.45– 15.00.
Conclusion and closing
พิธีปิดงาน
 

 ประวัติวิทยากร

 
color:#943634;">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสมภพ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผู้อํานวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นผู้มีบทบาทในกระบวนการสร้างสันติภาพในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) องค์กรอิสระซึ่งทำหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ สื่อ ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสมภพเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติในฐานะผู้เชี่ยวชาญประเด็นความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย ได้ทำงานเพื่อส่งเสริมการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และแก้ไขสาเหตุของความขัดแย้งรุนแรงที่ดำเนินมากว่า 10 ปี อาจารย์ได้หนุนเสริมการใช้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อการเคลื่อนไหวจากในพื้นที่ กระตุ้นให้มีการเปิดพื้นที่ทางการเมือง และล่าสุดได้เข้าไปเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายไทยในการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี หรือ บีอาร์เอ็น สามครั้งที่ผ่านมา
 
color:#943634;">ศาสตราจารย์ ดร.ซูซาน  เรซเซล
ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์รัชเซล เป็นนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งมีความสนใจและความเชี่ยวชาญพิเศษเรื่องมานุษยวิทยาทางเศรษฐกิจ และประเทศฟิลิปปินส์ งานศึกษาที่สำคัญได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมและเศรษฐกิจที่มีต่อบทบาทของสถาบันทางเศรษฐกิจของชาวนาในพื้นที่ราบสูงและสังคมชายฝั่ง งานศึกษาเกี่ยวกับชาวประมงและผู้ค้าขายหาบเร่แผงลอยในเมืองมานิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ ความพยายามในการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในตอนใต้อของฟิลิปปินส์ (Conflict Transformation Efforts in the Southern Philippines) นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ศาสตราจารย์รัชเซลเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างหนุ่มสาวมุสลิม คริสเตียน และกลุ่มชนพื้นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ และได้รับเกียรติเป็นศาสตราจารย์รับเชิญ ณ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ University of the Philippines อีกด้วย
 
color:#943634;">ศาสตราจารย์ ดร. แอนเดรีย โมลนาร์
color:#943634;">ภาควิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์โมลนาร์ เป็นนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งมีความสนใจและความเชี่ยวชาญพิเศษเรื่องศาสนา สัญลักษณ์ อิสลาม และองค์กรทางสังคม มานุษยวิทยาการเมืองและภาษา และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ศาสตราจารย์โมลนาร์มีความเชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก และชายแดนใต้ของไทย  ได้ลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒธรรมโฮกา ซารา, โฮกา ทากะ, และโซลซึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของฟลอร์ส และ กลุ่มประชาชนชาวแมนกาไรทางตะวันตกของฟลอร์ส ในประเทศอินโดนีเซีย ศึกษาลักษณะองค์กรทางสังคมในกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศติมอร์ตะวันออก  และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มผู้หญิงมลายูมุสลิมทางตอนใต้ของประเทศไทย ด้วยประสบการณ์การทำงานวิชาการอันยาวนานในสามพื้นที่ดังกล่าว ศาสตราจารย์โมลนาร์จึงมีความเชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ
 
color:#943634;">ไอแซค  เคน
color:#943634;">ศูนย์ศึกษาเพศสภาวะและการพัฒนาเพื่อสันติ
ไอแซค เคน เป็นผู้นำภาคประชาสังคม นักเคลื่อนไหวและรณรงค์เพื่อสันติภาพและสิทธิของชนกลุ่มน้อยในประเทศเมียนมาร์ เขาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการมิติทางเพศและการพัฒนา และศูนย์ศึกษาเพศสภาวะและสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นที่มีบทบาทในการสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ สิทธิของชนกลุ่มน้อย และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมต่อกระบวนการสันติภาพและการปรองดอง กิจกรรมหลักที่เขาริเริ่ม ได้แก่ ศึกษาวิจัย จัดอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และการพูดคุยเชิงนโยบาย ตลอดช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาเคนมีประสบการณ์ในการทำงานหลากหลายและท้าทายภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารเมียนมาร์ ปัจจุบันเขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการเครือข่ายเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Equality Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีสมาชิกครอบคลุมมากกว่า 70 องค์กร รวมองค์กรในสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ 
 
 
Event date