Skip to main content

color:#333333">บทความ การทหาร color:#333333">,สิทธิมนุษยชน และสันติวิธี เราร่วมทางกันได้ไหม?
color:#333333">โดย นวพล ลีนิน
 
color:#333333">          คำว่า “กระบวนการยุติธรรม”อาจเป็นคำแสลงใจของใครหลายคน กระบวนการยุติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลไทย ในการดูแลความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่ เครื่องมือในการจัดการกับผู้ละเมิดกฎหมายของรัฐ ในพื้นที่พิเศษที่เกิดปัญหาความไม่สงบ ด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนา จากรากเหง้าของปมปัญหาที่ยาวนาน กระบวนการยุติธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน หากในพื้นที่สู้รบระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงกับกองกำลังฝ่ายขบวนการฝ่ายตรงข้ามรัฐ แน่นอนว่ากระบวนการยุติธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะในกลศึกที่ต่างกำลังใช้ยุทธวิธีช่วงชิงมวลชน ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยชั้นเชิงเพื่อไม่ส่งผลกระทบให้เกิดปฏิกิริยามวลชน ซึ่งหากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐอาจพลาดพลั้งส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ในขณะที่ฝ่ายขบวนการได้ประกาศจุดยืนมาตั้งแต่ต้นถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม แม้ที่ผ่านมาฝ่ายขบวนการได้ใช้วิธีการที่รุนแรงในการต่อสู้ แต่แนวโน้มการปรับบทบาทจากการประกาศทำความเข้าใจของ ฮัสซัน ตอยิบ ต่อผู้คนทุกเชื้อชาติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พูดถึงความพร้อมในการรับบทบาทนำในการสร้างกระบวนการยุติธรรมให้เกิดขึ้น เป็นคำถามที่เจ้าหน้าที่รัฐควรเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ และนี้คือความท้าทายใหม่ต่อวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">



การปรับตัวของฝ่ายนำขบวนการมีแนวโน้มที่ดี  ทิศทางของการปรับตัวกำลังถ่ายทอดถึงแกนนำในระดับปฏิบัติงานของฝ่ายขบวนการ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ในฐานะประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องเฝ้าติดตาม ขณะเดียวกันเป็นเรื่องที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐควรทบทวนถึงบทบาทการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน ว่าพร้อมปรับการทำงานในพื้นที่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน
 
ปมปัญหา color:#333333"> 2 ข้อที่เป็นสาเหตุให้ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประชาชนในพื้นที่ลดลงคือ 1.การไม่ให้คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.การเลือกปฏิบัติต่อประชาชนในพื้นที่ ผลจากทั้ง 2 ข้อนี้กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะชาวไทยมลายูมุสลิมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการสร้างรัฐชาติของฝ่ายขบวนการฯ  ที่ผ่านมาหากกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายรัฐไม่สร้างสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ นั้นคือแรงผลักให้ประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจำเป็นต้องหาทางเลือกเข้าข้างฝ่ายขบวนการซึ่งจะดีหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์หากสิทธิขั้นพื้นฐานของตนถูกลิดรอนไป มนุษย์ย่อมดิ้นรนเพื่อให้ได้สิ่งนั้นคืนมา และหากมีองค์กรอื่นใดที่ไม่ใช่รัฐ หรือแม้กระทั่งองค์กรที่อยู่ตรงข้ามรัฐ สามารถให้ความหวังที่ดีกว่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาจะไขว่คว้าสิ่งนั้นไว้  
 
ศักดิ์ศรี color:#333333"> คือ คุณค่าที่มาจากความเป็นอิสระของมนุษย์หรือความสามารถในการกำหนดตัวเอง (autonomy) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์ หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนำมนุษย์มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้ และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ ทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
หลักการไม่เลือกปฏิบัติ หลักการไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักการพื้นฐานของความเสมอภาคในกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและคุ้มครองโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยเหตุผลทางด้านเผ่าพันธุ์ เพศ ภาษา  และศาสนา
 
จากทั้งสองปมปัญหาคือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ การไม่เลือกปฏิบัตินั้น มีความเชื่อมโยงสู่ทัศนคติส่วนบุคคล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หากเป็นบทบาทของความเป็น เจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนด้วย ที่มีแรงผลักจากชุดประสบการณ์ที่สั่งสมมา แสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรม ท่วงท่า กริยาท่าทางที่มีต่อกัน หากพูดให้ตรงจุดในบริบทของสามจังหวัดภาคใต้มากขึ้นก็คือ ปมปัญหาของทัศนะคติเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานของรัฐไทยที่มีต่อชาวมุสลิม ในการกระทำที่เกิดกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ในหลายๆครั้งนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากทัศนคติเดิมที่มองชาวมุสลิมในด้านลบ เงื่อนไขใหม่ของความรุนแรงจึงเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ จากจุดเล็กๆ กับสิ่งที่ยากจะทำความเข้าใจนั้นคือมโนคติส่วนลึก
 
ช่วงวันที่ color:#333333"> 29 เมษายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมให้เป็นพิธีกรร่วมกับคุณพรเพ็ญคงขจรเกียรติ หรือพี่หน่อย ในงานอบรมเจ้าหน้าที่ทหารของ กอ.รมน.ภาคใต้ เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมในจังหวัดขายแดนภาคใต้” ณ ห้องประชุมโรงแรมไดอิชิ เบื้องต้นเราเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคงเป็นกลุ่มทหารรุ่นใหม่ที่จะลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ แต่และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นทหารปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่มาแล้ว ตั้งแต่ระดับ ผบ.หมู่ และกลุ่มทหารสัญญาบัตรรุ่นใหม่อายุยังไม่มากนัก ซึ่งทั้งหมดอยู่ในชุดนอกเครื่องแบบจึงไม่สามารถทราบชั้นยศได้ เราได้แบ่งกระบวนการบรรยายโดยพี่หน่อย (ผู้หญิงตัวเล็กๆ นักสิทธิมนุษยชน) ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้ดำเนินการหลัก ส่วนผมได้เตรียมพาวเวอร์พอยท์และคลิปวีดีโอของกลุ่มกิจกรรมมาเปิดเพื่อให้ผู้ร่วมอบรมทำความเข้าใจ โดยวิเคราะห์กันในเบื้องต้นว่าคลิปและรูปภาพดังกล่าว สามารถเปิดเพื่อถอดบทเรียนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยเสริมมุมมองผลสะท้อนจากการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่
 
แน่นอนว่า ทหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการลงพื้นที่ของ color:#333333"> NGO ที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชน พี่หน่อยเองเป็นหนึ่งในคนทำงานที่ทหารส่วนใหญ่ในพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาคดีความมั่นคงรู้จักกันดี ปฏิกิริยาแรกที่เราได้รับจากเวที เมื่อพี่หน่อยเล่นเกมพูดคำสามคำ เพื่อสร้างสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมอบรม ประโยคสะกิดใจจากคำสามคำที่เราได้ยินคือ “มาทำไม!?.” พี่หน่อยปะทะสังสรรค์อยู่กับบรรดาเจ้าหน้าที่ทหาร 120 นาย ภาพผู้หญิงตัวเล็กๆ ถือไมโครโฟนวิ่งไปมาอยู่ในกลุ่มผู้ร่วมอบรม สะท้อนพลังแห่งอุดมการณ์สิทธิมนุษยชนในตัวเธอได้ดีทีเดียว
 
สำหรับผมนั้น ได้วิเคราะห์แล้วว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่น่าจะมีความเข้าใจในหลักกฎหมายมากพอสมควร จึงได้จัดทำพาวเวอร์พอยท์ที่มีภาพสะท้อนการทำงานและคลิปวีดีโอภาพกลุ่มนักกิจกรรมเรียนร้องให้ปล่อยตัวครูตาดีกา เพื่อการถอดบทเรียนและบรรยายนำสรุปในหัวข้อ color:#333333"> “กระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้สร้างความเชื่อมั่นด้วยการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการไม่เลือกปฏิบัติ” โดยเป้าหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมได้ ฝ่ายขบวนการพร้อมที่จะช่วงชิงพื้นที่การนำด้านกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่
 
ยกตัวอย่างภาพที่ผมเตรียมมา เป็นภาพการ์ตูนที่ได้จากอินเตอร์เน็ตเป็นภาพ ทหารกำลังถือปืนจี้นักศึกษาหน้ามหาวิทยาลัย คล้ายผลักให้นักศึกษาที่โพกผ้าที่มีเครื่องหมายวงกลมสันติภาพ ให้เดินเข้าไปในซุ้มที่มีคนคาดปากและโพกหัวถือปืน มีป้ายแขวนไว้ว่า Merdeka ความแปลกใจเกิดขึ้นเมื่อพบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกลับไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของภาพ อาจเป็นเพราะตัวผมเองสื่อสารไม่ชัดเจนก็เป็นได้ ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นว่าใครเป็นคนวาดภาพ ปล่อยให้ภาพนี้ออกมาได้อย่างไร จนผมต้องอธิบายว่า “ภาพพวกนี่พบได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต” และเสียงสะท้อนในคำถามว่า “พวกที่เป็น NGO ด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ข้างไหนกันแน่!”
 
อย่างไรก็ดี ในบางส่วนของผู้เข้าร่วมอบรมได้ส่งเสียงสะท้อนของทหารในพื้นที่ ผ่านเวทีอบรมเพื่อขอความเห็นใจ ในการทำงานในพื้นที่ โดยเห็นว่าสื่อมวลชนและ  color:#333333">NGO ควรคำนึงถึงความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากมองมุมกลับว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อยู่ในสภาวะที่กดดัน ภาพข่าวทางสื่อมวลชนหลายอย่างที่ทำให้ทหารรู้สึกเสียกำลังใจ ในความเสียกำลังใจนั้นอาจแสดงพฤติกรรมในด้านลบต่อประชาชนในพื้นที่อีกต่อหนึ่ง เสียงสะท้อนที่คนทำงานด้านสื่อควรให้ความสำคัญ ว่ามุมมองในความเป็นจริงและผลสะท้อนในทางสร้างสรรค์ เป็นไปได้หรือไม่ที่คนทำสื่อสามารถประคองความสมดุลทั้งสองสิ่งนี้ไว้
 
ในความเป็นจริงองค์กรด้านสิทธิมนุษย์ชน และหน่วยงาน NGO ในด้านต่างๆที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ได้สร้างประโยชน์ให้ภาครัฐเป็นอย่างมาก ในการสร้างพื้นที่พูดคุยระหว่างประชาชนในส่วนที่ภาครับไม่สามารถเข้าถึง โครงการและงานวิจัยมากมายที่เสนอทางออกให้รัฐบาลนำมาปรับใช้ สร้างนโยบายในการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มงาน NGO สายพัฒนาได้การสร้างนักกิจกรรมดึงแนวร่วมให้เห็นทางออกที่มากกว่า และเลือกแนวทางสันติวิธีมากกว่าการใช้ความรุนแรง แม้ในคำถามที่ยอกย้อนว่าเหล่านักสิทธิมนุษยชนเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ก่อการร้าย ซึ่งประเด็นเหล่านี้หน่วยงานทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพื้นที่ควรทำความเข้าใจให้ได้ โดยทบทวนจากการเคลื่อนไหวในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะทหารตำรวจไม่พยายามเปิดรับข้อมูลการเคลื่อนไหวด้านสันติภาพ และเปิดใจเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน วิธีคิดแบบเดิมคือการเอาชนะด้วยการใช้กองกำลังเข้าจัดการ ด้วยกลยุทธ์แบบเดิมเหมือนสงครามประชาชนเมื่อราว 30 – 50 ปีก่อน
 
อีกเสียงสะท้อนจากเวทีอบรมของผู้เข้าร่วมอบรมคือเจ้าหน้าที่ต้องการกำลังใจ ต้องการความร่วมมือกับกลุ่มคนทำงานในพื้นที่ และสื่อที่ทำข่าวในพื้นที่ ซึ่งดูส่วนทางกับท่าทีที่ปฏิบัติต่อวิทยากรผู้ดำเนินการบรรยาย การแสดงออกอย่างชัดเจนถึงทัศนคติของเจ้าหน้าที่ทหารบางส่วนที่เข้าร่วมอบรม ที่มีต่อวิทยากรนักสิทธิมุษยชนในเวทีอบรม อาจตีความไปถึงเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความรู้สึกด้านลบต่อนักสิทธิมนุษยชน ภาพที่เกิดขึ้นสามารถประเมินสถานการณ์แนวรบในพื้นที่ได้บ้างว่า เจ้าหน้าที่รัฐในระดับกลางลงไปถึงระดับปฏิบัติการยังไม่ปรับตัวเพื่อเปิดรับต่อกระบวนการสันติภาพ
 
เข้าใจได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ ภาพข่าวของเพื่อนร่วมงานที่ต้องเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บในระหว่างการปฏิบัติงาน การฝึกทหารในหลักสูตรสะสมความเกลียดชังด้วยคลิปต่างๆ ที่สร้างความรู้สึกเจ็บแค้น ในความเชื่อที่ว่าหลักมนุษยธรรมจะทำให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสนามรบ ในจุดนี้ทำให้สถานะของเจ้าหน้าที่รัฐคล้ายจะลดระดับลงไป ทั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐมีภาพใหญ่ที่ชอบธรรมในการสร้างกระบวนการยุติธรรม อย่างน้อยในฐานะของความเป็นรัฐ หรือเป็นผู้ที่มีความยิ่งใหญ่กว่า หรืออาจเปรียบเทียบได้ประหนึ่งพ่อกับลูก color:#333333">  ในความเป็นพ่อจำเป็นต้องมีจิตใจที่หนักแน่นกว่า เที่ยงธรรมกว่าแม้ลูกจะเกเรเรียกร้องสิ่งต่างๆด้วยการทำลายข้าวของ และนี้เป็นประเด็นที่ภาครัฐจำเป็นต้องทบทวนว่า ในหลักสูตรข้าราชการการปกครอง ทหาร ตำรวจ ควรบรรจุเรื่องหลักสิทธิมนุษยชน และกระบวนการสันติวิธีให้มากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ หรือไม่ก็คงปล่อยไปตามคำพูดที่ว่า “รัฐไทยยังไม่คุ้นชินกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้สติปัญญา...นั้นคือ รัฐไทยยังนิยมการใช้กำลังมากกว่าใช้เหตุผล”
 
ความท้าทายในการสร้างกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อเสนอสามข้อของผมต่อผู้เข้าร่วมในการจัดอบรมเพื่อเสริมทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเรียนรู้ชั้นเชิงการทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดภาคใต้ คือ
 
1. เจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจ ในชั้นเชิงการปฏิบัติงานในพื้นที่มีการใช้กฎหมายพิเศษและในสถานการณ์ความขัดแย้งในการช่วงชิงมวลชน โดยเฉพาะหลักสิทธิมนุษยชน
 
2. ความเคารพกฎหมายย่อมสำคัญกว่าความเกรงกลัวกฎหมาย เป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ต้องสร้างความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่ให้เห็นความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมาย และหากเป็นไปได้พยายามลดการใช้กฎหมายให้มากที่สุด
 
3. สร้างทัศนคติที่ดีต่อวัฒนธรรมอิสลามไม่ว่าพื้นฐานความคิดเดิมของท่านจะเป็นอย่างไรก็ตาม ในข้อนี้หมายรวมถึงการสร้างสุขภาวะทางใจที่ดี ทำงานในพื้นที่กดดันได้อย่างปกติสุข
 
อย่างไรก็ตาม ในบรรยากาศการอบรมที่ดูท่าว่าวิทยากรกำลังถูกรุมกินโต๊ะ ด้วยคำถามกึ่งคำตัดพ้อการทำงานของนักสิทธิมนุษย์ชนและนักเคลื่อนไหวกิจกรรมสันติภาพในพื้นที่ เรามักพบว่าในเวทีใหญ่ของหน่วยงานราชการนั้นข้าราชการมักระมัดระวังการแสดงออกทางความคิด การแสดงความคิดเห็นถูกกดดันด้วยชั้นยศในสายการปฏิบัติงาน ในครั้งนี้ทหารรุ่นใหม่ๆหลายนายที่พยายามแสดงความคิดเห็น ผ่านเสียงกระแอ้มไอของผู้ที่อยู่ในสายบังคับบัญชาที่สูงกว่า กระทั่งมีเสียงเตือนออกมาอย่างชัดเจน ด้วยการว่ากล่าวกันในที่ประชุมให้ระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในช่วงท้ายมีผู้เข้าร่วมอบรมระดับอาวุโสท่านหนึ่งได้นำเสนอประเด็นสรุปที่ค่อนข้างนุ่มนวล โดยเรียบเรียงความคิดเห็นจากผู้เข้าอบรมโดยสรุป ด้วยประโยคตบท้ายที่ว่า “เป็นไปได้ไหม ว่าทางฝ่ายนักสิทธิมนุษยชนนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวในพื้นที่และสื่อต่างๆ ช่วยทำงานให้สอดคล้องไปกับงานของรัฐด้วย” นัยยะในคำถามนั้น เป็นการชงประเด็นปิดท้าย เพื่อเรียกบรรยากาศที่เข้าอกเข้าใจกันกับคืนมา
 
คำอธิบายของคุณพรเพ็ญ (พี่หน่อย) ในคำถามของฝ่ายทหารที่ว่า “....เราจะไปด้วยกันได้ไหม?” โดยความเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนบทบาทสำคัญคือเป็นเสียงสะท้อนในเรื่องความยุติธรรม เราจำเป็นต้องทำหน้าที่ให้กระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการละเมิดสิทธิของมนุษย์ คุณพรเพ็ญเสนอว่าทหารควรมีคู่มือด้านสิทธิมนุษยชนในการทำงานอีกด้วย และคำตอบที่ชัดเจนคือ
 
 “...จริงๆ แล้วเราเข้ากันไม่ได้นะ เพราะแนวทางของเราคือเราไม่ใช้ความรุนแรงชัดเจน”
 
ในความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ทั้งการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ในความขัดแย้งที่ซับซ้อนขึ้น ภาครัฐต้องการความร่วมมือร่วมใจไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในขณะที่องค์กรนอกภาครัฐมีเป้าหมายในภาพที่กว้างกว่า เป้าหมายที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมในมุมมองผู้ปฏิบัติงาน กระบวนการยุติธรรมที่ก้าวข้ามกลุ่มสังคมย่อยในระดับรัฐ แต่ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนกว่า สิ่งหนึ่งของแรงผลักในการทำงานคือความเชื่อมั่นในมโนคติอันเป็นอุดมการณ์ฝ่ายตน การทหาร หลักสิทธิมนุษยชน และแนวทางสันติวิธี กำลังทำปฏิกิริยากัน ในสูตรสำเร็จของคำตอบที่สันติภาพเราทั้งหลายอาจยังมึนงงสงสัยกันอยู่ว่า ทั้งสามอย่างจะไปด้วยกันได้อย่างไร.