Skip to main content
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
 
color:#454545;">การที่ขบวนการบีอาร์เอ็นประกาศข้อเสนอของตนเองผ่านยูทูบได้ส่งผลสะเทือนต่อสถานการณ์สันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการต่อสู้เพื่อปาตานีที่กำลังเดินไปในระยะเริ่มต้นขณะนี้ มีข้อสังเกตุที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
color:#454545">
1.
การชิงการนำทางการเมือง
 
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นการชิงการนำในทางการเมืองของบีอารเอ็นด้วยการเสนอประเด็นใน 'การเจรจา' ที่ไม่ใช่การพูดคุยในแบบที่ภาษามลายูเรียกว่า 'บีจารา' ข้อเสนอที่เป็นเงื่อนไขของการพูดคุยได้ถูกหยิบยกขึ้นมาได้กลายเป็นรูปแบบใหม่ในเนื้อหาของ 'การเจรจา' ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องการให้มาเลเซียมีฐานะเป็นคนกลางผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย (mediator) ในวงเจรจา จะต้องมีผู้สังเกตการณ์ที่เป็นมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โอไอซี และเอ็นจีโอ ต้องมีการยอมรับ 'การนำ' ของฝ่ายบีอาร์เอ็นในวงเจรจา มีข้อเรียกร้องการปล่อยนักโทษคดีความมั่นคงอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องมีการยอมรับว่าบีอาร์เอ็นไม่ใช่พวกแบ่งแยกดินแดน หากแต่เป็น 'ผู้ปลดปล่อย'
 
color:#454545">
2.
การท้าทายบทบาทของมาเลเซีย
 
ในอีกด้านหนึ่ง การนำเสนอในครั้งนี้นับเป็นการแสดงให้เห็นในทางสัญญลักณ์ของความพยายามชิงการนำจากอิทธิพลของมาเลเซียตามที่ก่อนหน้านี้มีการอ้างว่าพวกเขาถูกบังคับฝืนใจให้มาเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพ เพราะบีอาร์เอ็นกล้าชิงเสนอข้อเสนอของตนเองต่อสาธารณชนก่อนวันประชุมวันที่ 29 เมษายน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากทีโออาร์ (TOR) ในตอนแรกกำหนดว่าจะต้องส่งผ่านมาเลเซียซึ่งเป็นประธานฝ่ายเลขานุการการประชุมเท่านั้น และในเงื่อนไขดังกล่าวทำให้การพูดคุยรวมทั้งข้อเสนอในการสนทนาเป็นความลับ แต่การปฏิบัติการครั้งนี้ถือว่าเป็นการรุกทางการเมืองต่อทั้งทางการไทยและทางการมาเลเซีย
color:#454545">
3.
แสดงความพร้อมและความเป็นมืออาชีพ
 
เนื้อหาสำคัญของข้อเสนอสะท้อนว่าการนำเสนอของบีอาร์เอ็นนมีความเป็นมืออาชีพมากโดยที่พยายามยกระดับการพูดคุยธรรมดา (dialogue) หรือขั้นการเตรียมการก่อนการเจรจา (pre-negotiation) ให้กลายเป็น'การเจรจา' (negotiation) โดยที่ตัวเองเป็นผู้กำหนดเกมส์และดูเหมือนว่า พวกเขาจะมีแผนที่เดินทาง หรือ roadmap ล่วงหน้าดีกว่าฝ่ายรัฐไทยที่เดินเป็นขั้นๆ ตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และยังดูคล้ายกับจะมีท่าทีที่สับสน บางครั้งมีลักษณะเหมือนมวยวัดมากเกินไป แม้จะชกเข้าเป้าอยู่ก็ตาม แต่ ณ เวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายชี้ขาด เพราะเป็นการเผชิญหน้ากันในเวทีการพูดคุยสันติภาพ หรือ 'บีจาราดามัย' ซึ่งต้องการการเตรียมตัวและวางแผนที่เดินทางที่ดีกว่านี้ ฝ่ายรัฐไทยอาจจะต้องปรับปรุงยุทธวิธีของตนให้มีความพร้อมในทางวิชาการและเทคนิคมากขึ้น
color:#454545">
4.
ใครติดกับดักกระบวนการสันติภาพ?
 
color:#454545;">เป็นความจริงที่ว่าการที่บีอาร์เอ็นเปิดตัวในทางการเมืองรอบใหม่ครั้งนี้เป็นเสมือนการรุกทางการเมืองที่น่าหวาดหวั่นและอย่างไม่คาดฝัน ด้วยการสร้างควาประหลาดใจทางการเมือง (political surprise) ในเชิงรุก แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ไม่ควรมองข้ามว่านี่ถือเป็นการ 'ติดกับดัก' ของกระบวนการสันติภาพบีอาร์เอ็นได้พาตัวเองก้าวล่วงเข้าไปสู่อาณาบริเวณที่เรียกว่า 'พื้นที่กลาง' อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ด้วยการประกาศตนผ่านยูทูบให้เห็นหน้าเห็นตัวจริงอย่างเปิดเผยในนามของ 'บีจารา ดามัย' (Bicara Damai, สันติสนทนา) ในที่นี้ความหมายก็คือ ขบวนการบีอาร์เอ็นแสดงตัวต่อสาธารณะว่ายอมแสดงตนและผูกมัดตัวเองต่อกระบวนการสันติภาพอย่างเปิดเผยในพื้นที่กลางแล้ว
color:#454545">
5.
พื้นที่กลางในการสร้างสันติภาพ
 
ในกรณีดังกล่าว บทบาทของ'พื้นที่กลางในการสร้างสันติภาพจากคนใน (Insider Peacebuilders Platform: IPP) ' จึงมีความหมายและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น กล่าวในอีกแง่หนึ่งการยินยอมแสดงตัวของบีอาร์เอ็นในพื้นที่สาธารณะทำให้ภาคประชาสังคมและคนในพื้นที่กลางที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้กำลังจะมีบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์มากยิ่งขึ้น ปัญหาก็คือในสถานการณ์อันท้าทายเช่นนี้ พื้นที่กลางนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเองได้หรือไม่ การชุมนุมของสภาประชาสังคมจังหวัดชายแเนภาคใต้และเครือข่ายครั้งใหญ่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 สะท้อนให้เห็นพลังที่กำลังเติบโตดังกล่าว ภาคประชาสังคมจะรักษาและขยายพลังของตนเองได้อย่างไรเพื่อเป็นพลังในพื้นที่กลางที่แท้จริง เป็นคำถามที่ท้าทายมากในขณะนี้เพื่อถ่วงดุลกับความรุนแรงของทุกฝ่ายและเป็นตาข่ายนิรภัย (safety net) ของกระบวนการสันติภาพที่ยังเปราะบางอยู่ในขณะนี้
color:#454545">
6.
การเข้าร่วมในระบบที่ซับซ้อนและผกผัน
 
พื้นที่กลางในกระบวนการสันติภาพเป็นระบบสังคมขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบที่ซับซ้อนและคุณภาพขององค์ประกอบส่วนย่อยๆ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของระบบใหญ่ทั้งระบบ ดังนั้นปรากฎการณ์หนึ่งๆ ของระบบย่อยไม่อาจจะเข้าใจด้วยตัวมันเองต้องดูที่ปรากฎการณ์ในส่วนประกอบอื่น ทั้งหมดของระบบใหญ่ด้วย เพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าว เวทีสร้างสันติภาพจึงต้องมีการ 'เปิดพื้นที่กลาง' ด้วยการผสมผสานจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างระบบแห่งสันติภาพอันเป็นระบบผสมแบบ พันธ์ทาง (hybridity) ในพื้นที่ทางสังคมและในระบบนี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า 'สภาพแวดล้อมในการสร้างสำนึกแห่งอัตวิสัยร่วมกัน' (Inter-subjective milieu) ขึ้นเมื่อใครเข้ามาอยู่ในพื้นที่กลางนี้แล้ว ทุกคนทุกฝ่ายก็จะตกอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกทางอัตวิสัยทางสังคม ขบวนการต่อสู้เพื่อ 'ปลดปล่อย' ปาตานีหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองอื่นใดก็ตามเมื่อเข้าสู่อาณาบริเวณนี้ก็จะต้องตกอยู่ภายใต้กระบวนการดังกล่าวด้วยเช่นกัน
color:#454545">
7.
การเปลี่ยนความขัดแย้ง
 
สิ่งที่เราคาดหวังให้เกิดขึ้นในท้ายที่สุดก็คือการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นและนำไปสู่ปฎิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์โดยที่คนในกระบวนการนี้ถูกปรับความรู้สึกภายในของตนให้เข้ากับโอกาสในการเปลี่ยนความคิดความเชื่อ พฤติกรรม และมีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมขึ้นภายในกระบวนการสันติภาพ ที่สำคัญก็คือ กระบวนการนี้อาจจะไม่เดินทางเป็นเส้นตรง อาจจะผกผันหันเหไปบ้างในระหว่างทาง แต่ท้ายที่สุดถ้ามันเดินไปได้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ ไม่มีการทำลายกันหรือใช้ความรุนแรงจากทุกฝ่าย ในสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขดังกล่าวพวกเขาจะผ่านการปรับความรู้สึกของตัวเองและจะหันมา 'เลือก' ใช้วิธีการทางการเมืองที่ไม่ใช่ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
color:#454545">
8.
การสนทนาภายในขบวนการ(และแนวร่วม)
 
นอกจากนี้ การแสดงตัวของผู้นำบีอาร์เอ็นในพื้นที่สาธารณะเพื่อยืนยันข้อเรียกร้องทางการเมืองของตนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพูดคุยภายในของตนเองด้วย  เพราะภายในกลุ่มพวกเขา อาจจะมีความระแวงสงสัยและความไม่ลงรอยทางความคิดในเรื่องการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ ในระหว่างกลุ่มต่างๆ นั้นอาจจะมีความคิดไม่เหมือนกัน แต่การที่กลุ่มผู้นำบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมการพูดคุยประกาศตัวและจุดยืนของตนเองอย่างเปิดเผยอาจเป็นการสื่อสารทางการเมืองภายในพวกเขาเองด้วยเช่นกัน เพื่อให้คลายความสงสัยข้องใจและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้าร่วมสันติภาพอย่างเป็นทางการ สะท้อนว่าพวกเขาอาจจะกำลังทำ “บิจารา” ภายในกลุ่มของตัวเองและแนวร่วมอีกด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็จะยิ่งยืนยันให้เห็นความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพที่มีพลังดึงดูดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมในพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดการปรับตัวภายใน ปรากฏการณ์ซับซ้อนที่ดูเหมือนจะสับสน แต่ก็ดูคล้าย จะเป็นระบบ จะกลายเป็นกระบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสถานการณ์ในท้ายที่สุด
 
สิ่งที่จะต้องทำก็คือให้โอกาสกับสันติภาพปล่อยให้กระบวนการสันติภาพมีโอกาสได้ทำงานของตนเองต่อไปไปจน กระทั่งกระบวนการนี้มีพลังอำนาจและความชอบธรรมเพียงพอในการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งและนำพาสันติสุขและความยุติธรรมกลับมาสู่ดินแดน “ชายแดนใต้/ปาตานี” แห่งนี้
 
 
 
หมายเหตุ
 
คลิป ‘PENGISTIHARAN BARISAN REVOLUSI NASIONAL MELAYU PATANI’
 
 

 
คลิกดูคำแปลอย่างละเอียด โดย ฮาร่า ชินทาโร ที่นี่