Skip to main content

คิดอย่าง ทวีศักดิ์ 

       

 

   จะทำยังไง ให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ สื่อสารได้ถื่อเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการริเริ่มทำและกล้าที่จะมีการปรับเปลี่ยน

 

 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ในยุคของ นาย วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุจ ได้มีความคิดริเริ่มให้เด็กไทยหันมาพูดภาษาอังกฤษ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1วัน ตามยุทธศาสตร์การศึกษา 2555  

พูดตรงๆว่าในวันนั้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไร...ทั้งครูและนักเรียนจะต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องรอให้ ประชาคมอาเซียน(ASEAN Economic community :AEC) ที่มีผลบังคับใช้ในปี 2558  แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับทุกคน รองรับการติดต่อในโลกแห่งการสื่อสารที่กว้างไกล

ในวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด.ศธ.)ประชุมคณะทำงานยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งระบบ โดยได้แนะนำให้ทำแผนยุทธศาสตร์ 5 แผน ได้แก่ 1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา 3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษระดับอาชีวศึกษา และสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อการมีงานทำ เพื่อนำไปสู่อาชีพ 4. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษตลอดชีวิตของประชาชน และ 5. การพัฒนาบุคลากรทางด้านภาษาอังกฤษ

 ตนเป็นห่วงว่าในเรื่องของการเชื่อมแผนระหว่างส่งต่อ เพราะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ผ่านมา ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังนั้นจึงจะต้องมีการทบทวนว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการสอนที่ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ และสาเหตุที่ไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากวิธีการสอนหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องมือการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เช่น อินเตอร์เน็ต จะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่จะเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ทุกคนควรจะรู้ อย่างไรก็ตาม สถานทูตประเทศต่างๆ มีความยินดีที่จะเข้ามาร่วมในการยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วย   

 

    และในวันที่ 16มกราคมที่ผ่านมา นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้เดินทางเข้าพบนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ เพื่อหารือเกี่ยวกับงานด้านการศึกษาของไทย โดยมีประเด็นสำคัญที่ โทนี แบลร์ ได้กล่าวคือ การศึกษาไม่ใช่เรียนท่องจำแต่การศึกษาคือการค้นหาได้ ให้บริการได้ ต้องมีนวัตกรรมและเข้าใจตลาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต้องสร้างการศึกษาให้คนเปิดกว้างเห็นว่าการคบค้าสมาคมเป็นเรื่องที่ดีจะช่วยเหลือคนอย่างไร จะต้องผลักดันให้สังคมเปิดกว้าง และนายโทนี แบลร์ ก็ได้ช่วยกระตุ้นบรรยากาศการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับคนไทยด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับที่ ศธ.ประกาศให้ปี 2555เป็นปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ หรือ English Speaking Years : 2012อีกด้วย จะเห็นได้ว่าทุกฝ่ายมีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาและส่งเสริมการศึกษาทุกรูปแบบเพื่อจะทำให้เด็กไทยสามารถพูดภาษาอังกฤษได้
ถ้าเราดูจากสถิติในวันนี้ เด็กในวัยเรียน ที่มีอายุตั้งแต่ 5-21ปีมีมากถึง 16 ล้านคน หากทุกคนได้มีการเตรียมพร้อมสามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาอังกฤษ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่สุดท้ายเด็กก็ส่งคืนครูหมด โดยมีสัดส่วนที่น้อยมากที่เด็กไทยสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ส่วนหนึ่งอาจจะอยู่ในระบบการเรียนการสอนที่ไม่สอดรับการทักษะการเรียนรู้เพื่อการสื่อสารที่ไมุ่งเน้นเรียนรู้ในแก่นหลักของภาษาอังกฤษ แทนที่จะมุ่งสอนเพื่อให้สื่อสารกันให้ได้ก่อน แล้วค่อยๆลงลึกไปถึงแก่นหลักในระดับสูงๆยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นเพราะประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการคนไทยไม่คอยพูดภาษาอังกฤษ  

 

 พวกเราลองคิดดูสิว่า...ในอีก 3ปีข้างหน้าเมื่อประชาคมอาเซียนมีผลบังคับใช้ทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมฉะนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน แต่ถ้าในเวลาที่เหลืออยู่เรามีการเตรียมตัวที่ดี อย่างน้อยพอที่จะสื่อสารกับต่างประเทศได้ก็ถือว่า เราจะไม่ล้าหลังและเสียเปรียบคนจากประเทศเพื่อนบ้านได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

http://www.bungarayanews.org/news/view_news.php?id=600   

http://www.deepsouthwatch.org/node/2652

http://www.deepsouthwatch.org/node/2659