Skip to main content


 

 

โครงการประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา
เรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
และการมีส่วนร่วมของไทยในการพัฒนาภูมิภาค
 
วันที่ 14 กันยายน 2549 นี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ให้ดำเนินการจัดประชุมเวทีภูมิภาคที่ปัตตานี ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของไทยในการพัฒนาภูมิภาค” เพื่อประมวลองค์ความรู้และเสริมสร้างพลังความรู้ด้านสังคมวิทยาในการเผชิญกับบริบทใหม่ของภูมิภาคและปัญหาอันจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการพัฒนาและทิศทางการวิจัยที่เหมาะสมและยั่งยืน
 
การประชุมครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยด้านสังคมวิทยาที่มีประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ พร้อมกับสำรวจองค์ความรู้ของงานวิจัยด้านสังคมวิทยาในช่วงระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา จากแง่มุมเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์หลักทั้ง 5 ด้านได้แก่ การพัฒนาคน การพัฒนาชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การพัฒนาความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อมและการเสริมสร้าง และธรรมาภิบาลของประเทศ อันนำไปสู่การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาคมวิชาการ (Research Community) และประชาคมทางนโยบาย (Policy Communities) โดยผ่านการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิจัยวิทยาและการวิจัยทางนโยบาย
 
ทั้งหมดข้างต้นนำเพื่อนำไปสู่สังเคราะห์เชิงทฤษฏี ตลอดจนวิธีวิทยาในการศึกษาแนวคิด 3 เรื่อง ได้แก่ ลักษณะข้ามชาติ กับภูมิภาคนิยม (Transnationalism & Regionalism) พหุวัฒนธรรม (Multiculturalism) และการดำรงชีวิต (Livelihoods) และเสริมสร้างเครือข่ายทางนโยบาย (Research-Policy Networks) และการเรียนรู้ทางนโยบาย (Policy Learning) ในหัวเรื่องที่มีความสำคัญต่ออนาคตของสังคมไทย
 
...................

กำหนดการ
โครงการประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา
เรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
และการมีส่วนร่วมของไทยในการพัฒนาภูมิภาค
วันที่ 14 กันยายน 2549 ณ เวลา 08.00 – 16.30 น.
ณ ห้องมะเดื่อ ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 

08.30-09.00 น.

 
ลงทะเบียน
09.00-09.10 น.
พิธีเปิด
โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
09.10-09.50 น.
ปาฐกถา เรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของไทยในการพัฒนาภูมิภาค”
โดย   คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิชาสังคมวิทยา
09.50-10.15 น.
- การศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงและผลการสำรวจความเห็นของประชาชน 
   เจ้าหน้าที่รัฐต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
   ทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร
10.15-10.30 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-10.55 น.
- ความหลากหลายของโบราณสถานในพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองโบราณปัตตานี
   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา
10.55-11.20 น.
- แนวทางการพัฒนากลุ่มสตรีบุหงาดุงกัล ต.ตะโล๊ะหะรอ อ.รามัน จ.ยะลา
   โดย นางนูรีย๊ะ ดำลอ
11.20-11.45 น.
- การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการทำกริชรามันห์ ต.ตะโล๊ะหะรอ อ.รามัน จ.ยะลา
   โดย นายตีพะลี อะตะบู
11.45-12.10 น.
- คุณสมบัติของบัณฑิตแพทย์ที่สังคมต้องการ : ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนทุกวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
   โดย นางสาวสิริรัตน์ บำรุงกรณ์
12.10-13.10 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.10-13.35 น.
- การพัฒนารูปแบบโครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จังหวัดนราธิวาส
 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญพักตร์ ทองแท้
13.35-14.00 น.
- ผู้หญิงและเด็กในสถานการณ์ความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้
   โดย นางโซรายา จามจุรี
14.00-14.15 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
14.15-14.40 น.
- ปฏิสัมพันธ์ “ใหม่” : ชาวพุทธ-มุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้
   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา สาและ
14.40-15.05 น.
- โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายชุมชนด้านการจัดการความขัดแย้ง
   โดย นายนิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า 
15.05-15.30 น.
- ผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบต่อการย้ายถิ่นของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน    ภาคใต้
   โดย นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล 
15.30-16.25 น.
- อภิปรายทั่วไปและสรุป
16.25-16.30 น.
- พิธีปิด
 โดยคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์