Skip to main content

 

 

เราจะคุยอะไรกันในงานเสวนาโรฮิงญา

พ.ญ.อารีนา สะอีดี 
อาสาสมัครแพทย์หญิงคนเดียวมีประสบการณ์เดินทางไปประเทศบังคลาเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์กับผู้อพยพ ชาวโรฮิงญา คำถามจึงมีอยู่ว่า สภาพของผู้หญิงและเด็กที่เขาเจอเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ในประเทศบังคลาเทศเป็นอย่างไร ตัวเลขปัจจุบันมีชาวโรงฮิงญาอพยพเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศมากกว่า 200,000 คน สภาพของผู้อพยพที่ผ่านมาเป็นอย่างไร นีคือคำถามหลักๆต่อแพทย์หญิงอารีนา 

อิสมาแอน หมัดอะด้ำ 
บุคคลที่เคลื่อนไหวในติดตามประเด็นชาวโรฮิงญามาอย่างต่อเนื่องในภาคสนามและการสร้างความเข้าใจที่ผ่านมาในนามของผู้ทำงานทางด้านมนุษยธรรม แน่นอนคำถามหลักของเราที่อยากจะถามคือเรื่องคดีโรฮิงญา กล่าวโดยเฉพาะคำพิพากษาคดีค้ามนุษย์ "โรฮิงญา" ความยาว 540 หน้า นับเป็นคดีแรกในประวัติศาสตร์ของศาลไทยที่ใช้เวลาในการอ่านคำพิพากษานานที่สุด เราจะถามและเขาจะตอบ ไมว่าจะอย่างไรการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา เป็นประเด็นที่เรามิอาจจะละเลยได้ 

อาจารย์ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ 
นักวิชาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มุ่งความสนใจกลไกระหว่างประเทศที่มีต่อประเด็นชาวโรฮิงญา ทางเราจะชวนถกเถียงและแลกเปลี่ยน “ตัวละครเวทีระหว่างประเทศ” ต่อการเมืองแห่งมนุษยธรรม (Humanitarian Politics) หากทว่าเรื่องโรฮิงญาคงหนีไม่พ้นเรื่ององค์ความรู้ว่าด้วย “การเมืองโลก” (Global Politics) ที่เราจะตั้งคำถามให้เห็นภูมิทัศน์ของแนวคิดการเมืองระหว่างประเทศ และเนื้อดินอุดมด้วยความรุนแรงจะนำไปสู่การก่อการ(ร้าย)ข้ามพรมแดนหรือไม่ ? 

ผู้เข้าร่วมทุกคน 
เราอยากชวนท่านแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อประเด็นโรฮิงญา ความเห็น ข้อเสนอ ที่หลากหลายจะช่วยให้เกิดบรรยากาศของการตื่นรู้ท่ามกลางบรรยากาศความรุนแรง อำมหิต และเลือดเย็นของบุคคลที่ได้รับรางวัลสันติภาพ คล้ายๆอยู่แผ่นดินเดียวกันแต่คนละโลก ในห้วงยามเช่นนี้ เวทีสาธารณะจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับความเข้าใจต่อกัน ในนามของเพื่อนมนุษย์

ดำเนินรายการโดย เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 

ออกแบบโปสเตอร์โดยฮาซัน Hasun Kuntishol Jimmee นักศึกษาปริญญาโทสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้จัดงานขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้ด้วย 

จัดโดย Humanity for all mankind

 

Event date