Skip to main content

 

โพลสันติภาพ: การศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้ง ในไอร์แลนด์เหนือและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

 

เขียนโดย รุ่งรวีเฉลิมศรีภิญโญรัช

 

บทนํา

 

กรณีไอร์แลนด์เหนือมักถูกยกเป็นตัวอย่างของกระบวนการสันติภาพที่ประสบความ สำเร็จ หลายท่านที่สนใจติดต่อ และมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในภาคใต้ได้เดินทางไปไอร์แลนด์เหนือเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการหาข้อตกลงทางการเมืองด้วยสันติวิธีซึ่งนวัตกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่ใช้ในการนำเอาเสียงประชาชนเข้ามาในกระบวนการพูดคุยระหว่างคู่ขัดแย้งต่างๆ ในไอร์แลนด์เหนือก็คือ โพลสันติภาพ (Peace Poll)

แม้ว่าประเทศไทยจะเริ่มต้นการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการมาตั้งแต้ปี พ.ศ. 2556 แต่ยังไม่ได้มีความก้าวหน้ามากนัก  การสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงน่าจะมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันกระบวนการสันติภาพ

งานชิ้นนี้ศึกษาโพลสันติภาพซึ่งจัดทำในช่วงเวลาเดียวกับที่กระบวนการสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือกำลังดำเนินอยู่ และได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้และข้อท้าทายในการนำเอารูปแบบการทำโพลในลักษณะนี้มาใช้ในภาคใต้

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนแรกจะกล่าวถึงภูมิหลังความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ การทำโพลสันติภาพ 10 ครั้งเพื่อหนุนเสริมกระบวนการเจรจาและการอธิบายถึงกระบวนการในการทำโพลดังกล่าว ส่วนที่สองจะพูดถึงกรณีภาคใต้ของไทย ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยการให้ภาพรวมเกี่ยวกับพัฒนาการความขัดแย้งในภาคใต้ โดยเฉพาะการพูดคุยสันติภาพในช่วงสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทบทวนการทำโพลที่เกี่ยวข้องกับการพูดคุยสันติภาพในช่วงนั้น ในช่วงท้าย ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นท้าทายและโอกาสสำหรับการทำโพลสันติภาพในภาคใต้

 

สนับสนุนโดย ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (PRC) สังกัดสถานวิจัยความขัดแย้ง และความหลักหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (CSCD)

 

โหลดหนังสือโพลสันติภาพ: การศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้ง ในไอร์แลนด์เหนือและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  ฉบับสมบูรณ์